ร่วมแจมประวัติและพระเครื่อง สุดยอดพุทธคุณสายใต้ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย cornell, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. ohrm

    ohrm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +338
    ขอบคุณครับคุณcornell
    ที่ผมมีตามนี้ครับ
    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พุทธาคุณคุ้มเกล้า - 1

    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พระเครื่องมณีเลิศ - 1

    จะชอบพระของ อ.ชุม ซะมากครับ
     
  2. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    สวัสดียามเช้าครับ กับท่านฆราวาส มหาเวทย์เเห่งเขาอ้อ.....ท่านนี้คือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>อาจารย์ชุม ไชยคีรี
    [​IMG]
    ประวัติ อาจารย์ชุม ไชยคีรี
    อาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นศิษย์สำนักเขาอ้อสายตรง ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย เมื่ออายุได้เพียง 5 ขวบ ก็สามารถภาวนาคาถาแค่สองคำ สะกดงูพิษทุกชนิดไม่ให้อ้าปากขบกัดได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ แม้สุนัขก็เช่นกัน อาจารย์ชุมได้เรียนวิชาอาคมจากพ่อของท่านตั้งแต่ยังเ ด็กๆ ท่านเรียนวิชาได้เร็ว ทำอะไรก็ขลัง มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาคมจนได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้าน เมื่ออาจารย์ชุม อายุได้ 7 ขวบ ก็เคยเอามือปิดปากกระบอกปืนของเพื่อนบิดาที่มาเยี่ยมบ้าน ท่องคาถาเพียง 11 ตัว ยังเป็นเหตุให้ปืนยาวเหล่านั้นถึงแตกระเบิดเมื่อนำไปยิง
    เกิดมาเพื่อ "เป็น" โดยแท้

    จนอายุครบบวชก็ได้ไปบวชที่วัดไชยมงคลกับพระอาจารย์คง อาจารย์ชุมหลังจากบวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรม จนต่อมาท่านได้ไปที่พัทลุง ท่านจึงไปขออยู่ร่วมสำนักเขาอ้อ ฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์เอียด วัดดอนศาลา โดยมีท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้รับรองความประพฤติ อาจารย์ชุมได้รวบรวมตำราเขาอ้อที่กระจัดกระจายไปอยู่ ยังที่ต่างๆ ในระหว่างบวชท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อคง วัดบ้านสวนและมีความเคารพซึ่งกันและกัน ต่อมาอาจารย์ชุมบวชอยู่ 15 พรรษา ลาสิกขาบทเมื่ออายุ 35 ปี และได้แต่งงานมีครอบครัว แต่ก็ยังคงติดต่อกับหลวงพ่อคง วัดบ้านสวนอย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ชุมมีความใฝ่รู้ในวิชาเวทมนต์คาถายิ่งนัก ครูบาอาจารย์ท่านใดในยุคเก่าก่อนที่ว่าเก่ง อาจารย์ชุม ท่านเป็นต้องไปขอเรียน ขอศึกษาเอาจนได้ และนำสรรพวิชาเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี
    โดยพื้นฐานของจริตนิสัยในแต่ละคน เมื่อจิตใจมีความเมตตาอยู่เป็นนิตย์ ก็มักทำของไปทางมหาเสน่ห์ได้ผลกว่าวิชาอื่นๆ หากจิตใจออกไปทางนักเลง กล้าสู้ กล้าลุย ของที่ทำออกมาจะหนักไปทางคงกระพันชาตรีเป็นส่วนมาก เรียกว่าถนัดอะไรก็เก่งไปอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่อาจารย์ชุม
    อาจารย์ชุม ฆราวาสผู้แตกฉานท่านนี้ เมื่อต้องการให้เป็นทางคงกระพัน ท่านก็สามารถกำหนดจิตได้ทันที ขนาดทดสอบเชือดเนื้อ เถือหนัง พิสูจน์กันเห็นๆ ครั้นจะแสดงทางมหาอุด ก็สั่งศิษย์ลงนั่ง ให้ผู้มีอาวุธปืนทุกชนิด ทดลองยิงข้ามศีรษะได้เลยไม่ออกสักกระบอกเดียว
    [​IMG]
    ขอบคุณเจ้าของไฟล์รูปpapa​

    อาจารย์ชุม เมื่อจะแสดงวิชามหานิยม ก็เสกน้ำมันงา ทาหนูกับแมว แล้วปล่อยเข้ากรงเดียวกัน ถ้าเป็นลูกหนูกับแม่แมว ลูกหนูทั้งหมดก็จะคลานเข้าไปดูดกินนมแม่แมว หน้าตาเฉย และแม่แมวก็ยอมนอนให้กินแต่โดยดี จะทำกี่ตัวกี่ครั้งก็มีผลเช่นเดียวกันหมด เป็นสุดยอดของมหานิยมจริงๆ​
    [​IMG]
    [​IMG]
    ต้นตระกูล อาจารย์ชุม ไชยคีรี
    ต้นตระกูลไชยคีรีคือ “ขุนไชยคีรี” เป็นนักรบคนสำคัญของเมืองพัทลุงในอดีต ขุนไชยคีรีเป็นศิษย์เขาอ้อที่มีวิชาอาคมขลังมากคนหนึ่ง อาจารย์ชุมเป็นหลานทวดของขุนไชยคีรี เหตุที่ชื่อว่า “ชุม” ก็เพราะว่าท่านเกิดในระหว่างที่พ่อของท่านกำลังร่วมการประชุมผู้หลักผู้ใหญ่ของเขาชัยสน พระอาจารย์คง วัดไชยมงคล ซึ่งมีความสนิมสนมชอบพอกับพ่อของอาจารย์ชุมจึงตั้งชื่อท่านว่า “ชุม”
    อาจารย์ชุม พิสูจน์ได้ทุกเวลาทุกสถานที่นี้เอง เป็นเหตุให้อาจารย์ชุมปรากฏชื่อลือชาไปทั่ว ได้รับเชิญไปงานพุทธาภิเษกและสาธิตวิชาต่างๆ ไม่ว่างเว้น แลท่านก็สามารถแสดงจิตตานุภาพให้เป็นที่ตื่นตะลึงมาแล้วหลายต่อหลายพิธี ท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัตถุมงคลของเขาอ้อหลายครั้ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นฆราวาสผู้มีอาคมขลังมากผู้หนึ่ง ในบั้นปลายชีวิตของท่านตาม"ประวัติ อาจารย์ชุม ไชยคีรี" ท่านย้ายครอบครัวมาอยู่กรุงเทพ และอยู่มาจนเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2525
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนพระเครื่องของท่านอาจารย์ชุม ผมยังไม่มีเลยครับ แต่เล็งมีดหมอไว้ เห็นพรรคพวกถืออยู่ครับ ไว้ได้มาจะนำมาลงครับ
     
  3. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    รูปท่านในขณะทำพิธีกรรมต่างๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    <!-- #BeginEditable "main" --><TABLE height=285 cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000 height=25>
    อัตตประวัติ หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม
    </TD></TR><TR><TD height=1172>
    [​IMG]ชาติภูมิ
    หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม นามเดิม เจ็ก มะนาวี เกิดเมื่อ วันพุธ ขึ้น 9ค่ำเดือน10 รศ.121 วันที่10 กันยายน พศ.2445 ณ. บ้านเจ็นตก ต.ตำนาน เมืองพัทลุง
    โยมบิดา ชื่อ นายแดง มะนาวี โยมมารดา ชื่อ นางชุม มะนาวี มีพี่น้องรวม 6 คน หลวงปู่เจ็กเป็นบุตรคนที่ 2
    เมื่อ หลวงปูเจ็ก อายุได้ 10ขวบ ก็ได้ บรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดจินตาวาส (เจ็นออก)ต.ตำนาน เมืองพัทลุง เพื่อเล่าเรียน ก ข ก กา และ คุณพระนอโม ขอมไทย ต่างๆ จาก พระอธิการชุม โอภาโส เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตำนาน ต.ตำนาน เมืองพัทลุง และได้ศึกษาวิชา กับ พระอธิการขำ (พระครูถาวรกรณีย์) เจ้าอาวาสวัดจินตาวาส (เจ็นออก) ต.ตำนาน เมืองพัทลุง จนสิ้นวิชา
    พระอธิการขำ ก็ได้นำไปฝากเรียนสรรพเวทย์วิทยาต่อกับ หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ผู้มีสรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา
    ตอมา ทางบ้านท่าน ขอร้องให้สึกมาช่วย งานทางบ้าน ท่านก็ได้สนใจในทางงานช่างทั้งปวง งานปั้น งานแกะสลัก ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน และการฝึกรำ มโนราห์ จนทางบ้านท่านฐานะมั่นคงดีแล้ว หลวงปู่เจ็ก จึงได้ขอทางโยมพ่อโยมแม่บวชอีกครั้งหนึ่ง..เมื่ออายุได้ 23ปี​
    อุปสมบท
    หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ท่านเป็นผู้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา อย่างลึกซึ้งอยู่แล้ว จึงได้ขอทางโยมพ่อโยมแม่บวชอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุได้ 23ปี
    หลวงปูเจ็ก ฐิตธัมโม ได้เข้าอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดจินตาวาส (เจ็นออก)ต.ตำนาน เมืองพัทลุง เมื่อวันศุกร์ แรม6ค่ำ เดือน3ปีชวด เวลา15.32น. ตรงกับวันที่ 13 กพ. พศ.2467
    โดยมี หลวงพ่อดำ อินทสโร เจ้าอาวาสวัดท่าแค เป็น องค์อุปัชฌาย์ พระครูวินัยธร ชู วัดควนอินทรนิมิตร เป็นพระกรรมวาจา พระอธิการขำ (พระครูถาวรกรณีย์) เจ้าอาวาส วัดจินตาวาส (เจ็นออก) เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโมภิกขุ
    ต่อมา หลวงปู่เจ็กก็ได้เรียนสรรพเวทย์วิทยาชั้นสูงต่อกับ หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ผู้มีสรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา
    หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) เป็นผู้มี วาจาสิทธิ์ สรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา เก่งกล้าในวิชาต่อกระดูกเป็นที่เล่าขาน วิชา อักษรเสกเลขยันต์ มหาอุตม์ คงกระ พันชาตรี วิชาสร้างตะกรุดเครื่องรางของขลังสารพัน อันวิเศษ ตลอดจนการหลอมโลหะแปรธาตุ
    หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ได้เมตตาถ่ายทอดให้จนหมดสิ้นกระบวนสรรพวิทยา และได้เมตตาสั่งสอน ทดสอบกวดขันจน ไช้ได้ตามคำภีร์วิเศษ จนชำนาญดีทุกวิชา เมื่อหลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) มรณะภาพลง เมื่อ พศ.2490
    หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ก็ยังได้ศึกษาสรรพเวทย์วิเศษขลัง ต่อจาก หลวงปู่เมฆ ปุณณสโร ผู้ล่องหนหายตัวได้(หลวงปู่เมฆ ปุณณสโร เจ้าอาวาสวัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก)องค์ต่อมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นศิษย์ผู้พี่ของท่าน )
    หลังจากนั้ หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ก็ยังได้เดินทาง ไปยังวัดต่าง ที่มีพระอาจารย์ทรงคุณสรรพเวทย์วิเศษขลัง เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้อันวิเศษ ซึ่งกันและกัน เช่น
    พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดปากสระ
    พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ) วัดดอนศาลา
    พระครูกาเดิม (ปาน) วัดเขียนบางแก้ว เขาซัยสน
    หลวงปู่เล็ก ปุญญโก วัดประดู่เรียง ควนขนุน
    พระครูจรูญกรณีย์ (ตุด) วัดคูหาสวรรค์
    หลวงปู่หมุน ยสโร วัดเขาแดงตะวันออก
    หลวงพ่อศรีแก้ว กุลคุโณ วัดไทรใหญ่ ควนเนียง สงขลา
    และพ่อท่านสีนวน วัดบ้านด่าน หัวไทร นครศรี เป็นต้น

    หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดจินตาวาส (เจ็นออก) จนประมาณ พศ.2478 ก็ ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ.วัดประดู่ทอง 2ปี ต่อมาปี 2480 นายปั้นทองมาก และชาวบ้าน วัดเขาแดงตะวันตก มานิมนต์ท่าน หลวงปูเจ็ก ไปจำพรรษาที่ วัดเขาแดงตะวันตก ซึ่งมี พ่อท่านแจ้ง สุภาจาโร สหธรรมิกของหลวงปู่ จำพรรษา อยู่ก่อนแล้ว..ท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดเขาแดงตะวันตก จวบจนสิ้น อายุขัยของท่าน
    เมื่อ พศ. 2528 หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ได้ อาพาธด้วยโรคชรามีอาการมือบวมเท้าบวม ทางศิษย์ก็ได้หาทางรักาาจนท่าน มีอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พศ. 2528 หลวงปู่เจ็กก็ไม่ยอมฉันอาหารและยาทมุกชนิด จนในคืนวันที่ 3 ธันวาคม พศ. 2528 เวลา21.20 น. ท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ศิริอายุได้83ปี2เดือน23วัน 60พรรษา
    หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม เป็นผู้ทรงคุณวิเศษขลัง ในหลายๆด้าน เก่งกล้าในวิชาต่อกระดูกเป็นที่เล่าขาน วิชาคงกระพันชาตรี วิชาสร้างตะกรุดเครื่องรางของขลังสารพัน ปรากฎคุณอันวิเศษ ตลอดจนการหลอมโลหะแปรธาตุ และยังได้เลื่องลือทางด้านยาสมุนไพร ช่วยชีวิตผุ้คน ยาสมุนไพรที่ลือชื่อของท่าน เช่น ยาแก้ยาสั่ง ยาแก้พิษงูทุกชนิด ยาแก้โรคผิวหนัง โด้ เปื่อย เรื้อน กลากเกลื้อน เน่าเปื่อยพุพอง หนองเน่า ทั้วปวง.. และน้ำมันต่อกระดูกอันวิเศษ กระดูกบั่น ลั่น ร้าวหัก แหลกแตก ก็ประสานได้สิ้น ไม่ต้องพิการ หรือตัดด้วน เลยสักราย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามด้วยพ่อท่านที่เป็นอีกหนึ่งตำนานแห่งเขาอ้อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    วันนี้อัดเเน่นสายเขาอ้อ ฆารวาสอีกท่านที่ขมังเวทย์มากๆแถมท่านเป็นตำรวจ และเป็นตำนานแห่งองค์จตุคามรามเทพ............
    ท่านพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช
    <TABLE id=table2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE id=table6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=661>
    [​IMG]
    ประมวลภาพและประวัติของท่าน

    [​IMG]
    อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 8 เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้ และในจังหวัดอื่นๆ ที่ท่านไปดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้านประวัติศาสตร์คติชนวิทยาและไสยศาสตร์เป็นพิเศษ มีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า " ท่านขุน "

    [​IMG]
    </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=131>















    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=40> </TD><TD>[​IMG]
    พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวัดที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ พออ่านสมุดข่อยได้บ้างจึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นามสมภารรูปต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เองท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งด้วย ชื่อนายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ใครๆ เรียกกันว่าหลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้ คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1-2-3 จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร
    เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ.2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน) พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในปี 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ.2472
    หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดชเล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบิตร์ พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ.2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา
    ในปี พ.ศ.2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองมีนราธิวาส ในปี พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ " อะแวสะดอตาเละ " นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า " รายอกะจ ิ" และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง
    <TABLE id=table11 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table12 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> พ.ศ.2482 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ.2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ.2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table13 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ตอนนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล
    ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯกลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารถรไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ.2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2507
    ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปและเป็นคนที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ.2516 เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table14 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE id=table15 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=95>
    </TD><TD><TABLE id=table16 width="103%" border=0><TBODY><TR><TD width=628>
    [​IMG]
    นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ และต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน " รูสมิแล " วารสารของมหาวิทยลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2526 งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ
    ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

    </TD></TR><TR><TD width=628>[​IMG] แด่คุณงามความดีที่ท่านพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สร้างไว้ ตลอดจนเกียรติยศศักดิ์ศรีนายตำรวจมือปราบของตำรวจไทย พวกเราในฐานะข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม ขอระลึกและร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของท่าน
    และเราจะนำเอาแนวทางการทำงานของท่านมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับใช้ประชาชนต่อไปดังคำขวัญของเราที่ว่า
    [​IMG]
    "ถ้าพึ่งใครไม่ได้ก็มานี่
    ป.ขอพลีทั้งชีวิตอุทิศให้
    เพื่อประเทศ หน้าที่ พี่น้องไทย
    เพื่อความเป็นธรรมในผืนแผ่นดิน"
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ประวัติสำนักวัดเขาอ้อ <SUP></SUP>


    วัดเขาอ้อเป็นตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน วัดเขาอ้อเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน
    ได้เกริ่นถึงส่วนของตำนานไปแล้ว ทีนี้มาดูหลักฐานที่ปรากฏเป็นประวัติของวัดเขาอ้อบ้าง อาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทสำคัญคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดเขาอ้อไว้ในหนังสือ “พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ” ตอนหนึ่งว่า
    “เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระเจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกรูปในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์และได้ให้การสั่งสอนแก่ทุกชนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมืองและนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ ๑ ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้น ทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับที่วัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปาก พะยูนปัจจุบันนี้
    ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุง กล่าวว่า ยังมีตายาย ๒ คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรและหลานบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวกันว่าเป็นอัจฉริยะมนุษย์คือเลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ ตาสามโมเป็นนายกองช้างหน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ ๑ เชือก เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ.๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่น ๆ เป็นอย่างดียิ่ง
    ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ได้เป็นเจ้าเมืองชื่อ พระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ต. เขาชัยสน จ. พัทลุง เดี๋ยวนี้)
    การที่ให้ชื่อเมืองว่าเมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดอาราม, พระพุทธรูป, พระเจดีย์ ทั้งในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสะทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. ๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑ วัด (ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่า สร้างครั้งสมัยพระเจ้าไสยณรงค์ เป็นเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ (ผิดพลาดขออภัยด้วย) สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุงเพราะพระกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง
    อีกตอนหนึ่ง “เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ (พ.ศ. ๒๑๗๑) พระสามีรามวัดพะโค๊ะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่าหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยากพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้น ๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโค๊ะ สูง ๑ เส้น ๕ วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์ (แต่ตามตำนานของวัดพะโค๊ะเองบอกว่า หลวงปู่ทวดมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นมาก่อนนั้นแล้วแต่ถูกทำลายเมื่อคราวอุชุตนะ จอมโจรสลัดมาลายูเข้าปล้นบ้านปล้นเมืองและทำลายวัดวาอารามชายฝั่งทะเลแถบภาคใต้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี –เขียน)
    ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือและปัจจุบัน สถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า “ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ”
    ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉัน ท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา
    อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะพอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จพะโค๊ะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้น ๆ ถวายพระ
    การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันก็มีการศึกษากันอยู่
    ลำดับพระอาจารย์เท่าที่ทราบชื่อมี ๑๐ ท่าน คือ
    ๑. พระอาจารย์ทอง
    ๒. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
    ๓. พระอาจารย์พรมทอง
    ๔. พระอาจารย์ไชยทอง
    ๕. พระอาจารย์ทองจันทร์
    ๖. พระอาจารย์ทองในถ้ำ
    ๗. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ
    ๘. พระอาจารย์สมภารทอง
    ๙. พระอาจารย์พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)
    ๑๐. พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม
    (๑๑. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ -หลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสรูปล่าสุด มรณภาพ ๒๕๔๙)
    พระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ มีความรู้ความสามารถคล้ายคลึงกัน เพราะได้ศึกษากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือพระอาจารย์สำนักวัดเขาอ้อทุกองค์สอนเวทมนต์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ธาตุ ๔ ธาตุทั้ง ๕ แม่ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่าง ๆ ซึ่งใช้ความพยายามและจะต้องอยู่ปฏิบัติอาจารย์ จนอาจารย์เห็นความพยายามที่รักวิชาของศิษย์จึงจะสอนให้ ศิษย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนทำให้ตามตำราก็มีจำนวนมาก
    นอกจากสอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์แล้วยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคจนกระทั้งตำรายาของสำนักเขาอ้อมีทั่วไป ทั้งภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซีย
    วิชาไสยศาสตร์ที่เป็นหลักเดิมเป็นคุณวิเศษประจำอาจารย์ทุกองค์ คือ
    ๑. เสกน้ำมันงาให้เดือด ให้แข็ง แล้วทำพิธีป้อนให้ศิษย์เป็นคงกะพัน
    ๒.วิธีอาบว่านแช่ยา เป็นคงกะพันกันโรค
    ๓. พิธีหุงข้าวเหนียวดำกิน เป็นคงกะพัน กันเจ็บเอว เจ็บหลังเป็นอายุวัฒนะ
    ๔. พิธีสอนให้สักยันต์ที่ตัวด้วยดินสอหรือมือ เป็นคงกะพันชาตรีเป็นมหาอุด แคล้วคลาด เป็นเมตตามหานิยม
    ๕. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๕ดอก ๑๖ ดอก
    ๖. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๑๖ ดอก
    ๗.วิชาความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม ตามตำราพิชัยสงคราม
    ๘.วิชาความรู้ทางยารักษาโรค รักษาคนเป็นบ้า รักษาคนกระดูกหัก กระดูกแตก ต่อกระดูก รักษาโรค ตามตำราเขาอ้อ ต้องรักษาเพื่อการกุศลหายแล้วนำอาหารคาวหนาวไปถวายพระ
    ๙. พิธีพิเศษและสูงสุดระดับชาติ ระดับศาสนา คือ ทำไม้เท้ากายสิทธิ์ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ช่วย ชาติในคราวคับขัน เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธพิจารณาแก้ช่วยกัน แก้ได้ โลกจะกลับคืนเข้าสู่สันติตัวจริง สันติตัวปลอมจะหมดไปจากโลก คือ ให้เจริญภาวนาให้เห็นว่าชี้ต้นนาย ชี้เป็นปลายเป็น เป็นตัวโลกุตรธรรม
    ในพงศาวดารยังพูดถึงวัดเขาอ้ออีกครั้ง โดยปรากฏในประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ดังที่อาจารย์ชุม ไชยศีรี ได้เขียนไว้โดยสังเขปในหนังสือเล่มเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น ความว่า
    “... ในพงศวดารกล่าวว่า ครั้งสมัยศรีวิชัย ตอนกลางของแหลมมาลายูปรากฏว่ามีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ ๓ เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวง มีเจ้าผู้ครองนคร ตกอยู่ในอำนาจของศรีวิชัยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๔๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๓ ต่อจากนั้นเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยครั้งพ่อขุนรามคำแหงเมืองพัทลุงกับเมืองไชยาเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครฯ
    เมืองพัทลุงมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออก ในสมัยนั้นมีเมืองขึ้นเล็กๆ หลายเมือง เช่น เมืองปะเหลียน เมืองจะนะ เมืองชะรัด เมืองเทพา เมืองกำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) เมืองสงขลา เมืองสทิง เมืองสิงห์ (กิ่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน- ผู้เขียน) เมืองระโนด เมืองปราน เมืองสีชะนา (ที่ตั้งเมืองพัทลุงปัจจุบัน) ตัวเมืองพัทลุงสมัยนั้นตั้งอยู่ที่บางแก้ว (เขตอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)
    (ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕ จดหมายเหตุของหลวงอุดมสมบัติ จดหมายเหตุเรื่อง “สยามกับสุวรรณภูมิ” ของหลวงวิจิตรวามการ, และจาการค้นคว้าจากที่อื่นหลายแห่ง)
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งที่พม่ายกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชได้เป็นผลสำเร็จแล้วยกทัพตีมาเรื่อย พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ชาวบ้านน้ำเลือด ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์วัดเขาอ้อ มีความรู้เชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ ได้ลงตะกรุดเลขยันต์ผ้าประเจียดให้ไพร่พล แล้วแต่งเป็นกองทัพยกไปคอยรับทัพพม่าอยู่ที่ตำบลท่าเสม็ด(อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน-ผู้เขียน) ทัพพม่ายามาถึงเห็นกองทัพไทยจากพัทลุงมีกำลังมากว่าตน แต่ที่จริงมีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่าหลายเท่า แต่ด้วยอำนาจเวทมนตร์คาถาที่พระมหาช่วยซึ่งนั่งบริกรรมภาวนาอยู่เบื้องหลัง ทำให้ข้าศึกมองเห็นเป็นจำนวนมาก และมีกำลังร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ
    กองทัพพม่าไม่กล้ารุกเข้าเขตเมืองพัทลุงจึงหยุดอยู่เพียงคนละฝั่งแม่น้ำเป็นหลายวัน จนกองทัพหลวงก็ยกมาถึง พม่าจึงยกทัพกลับไปพระมหาช่วยมีความชอบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ เป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง..
    ปัจจุบัน พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ผู้นี้ ชาวจังหวัดพัทลุงยกขึ้นเป็นวีรบุรุษประจำเมืองโดยร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชา และตั้งเด่นเป็นสง่าราศีแก่เมืองพัทลุงอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ อำเภอเมือง ซึ่งถนนสายสำคัญที่เข้าเมืองพัทลุงต้องผ่านทางนั้น
    ประวัติวัดเขาอ้อปรากฏหลักฐานในเอกสารทางราชการอีกแห่งคือ ในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ที่จัดโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษาซึ่งได้เขียนประวัติวัดเขาอ้อไว้ย่อๆ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง ความว่า
    “...วัดเขาอ้อเป็นตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน วัดเขาอ้อเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมา พ.ศ.๒๒๘๔ พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานีได้เป็นเจ้าอาวาส จึงทำการบูรณะสิ่งปรักหักพัง เช่น บูรณะพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐ องค์ สร้างอุโบสถ ๑ หลังเสร็จแล้วมีหนังสือถวายพระราชกุศลเข้าไปกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑ องค์หล่อด้วยเงิน ๑ องค์ แก่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า
    “เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ
    ต่อมาพระมหาอินทราชได้สร้างพระพุทธบาทจำลองด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ สร้างพระพุทธไสยาสน์ ๑ องค์ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขา ๓ องค์ เสร็จแล้วพระมหาอินทราชไปเสียจากวัด จึงทำให้วัดเสื่อมโทรมลงอีก ปะขาวขุนแก้วเสนา และขุนศรีสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้านใกล้เคียงได้ไปนิมนต์พระมหาคง จากวัดพนางตุงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาวัดก็เจริญขึ้นเรื่อย มีเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อ ๆ กันมากมายหลายสิบรูป ล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้ตราบเท่าทุกวันนี้
    พระพุทธรูปเจ้าฟ้ามะเดื่อที่ว่านี้ ยังมีผู้เล่าประวัติปลีกย่อยออกไปว่าที่เชื่อเช่นนั้นก็เพราะอดีตนายมะเดื่อหรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมัยเมื่อยังเป็นนายมะเดื่อที่เชื่อกันว่าเป็นราชโอรสลับ ๆ ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เดินทางไปศึกษาวิทยากรในสำนักเขาอ้อ โดยยกกันไปทั้งครอบครัว หนึ่งในจำนวนนั้นมีเชื้อพระวงศ์ แต่ไม่แน่ว่าเป็นสายใด มีชื่ออิ่มอยู่ด้วย ครั้นศึกษาได้พอสมควรแล้ว ก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เข้ารับราชการจนกระทั้งเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าเสือ ขณะที่อยู่ที่วัดเขาอ้อก็ได้สร้างปูชนียวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์อย่างหนึ่ง คือ พระพุทธรูปที่ว่านั่นเอง
    ต่อมาเมื่อชาวบ้านทราบว่าผู้ที่เดินทางไปศึกษาวิทยาคุณในครั้งนั้นถึงเป็นถึงเจ้าฟ้าจึงได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นั้นตามชื่อผู้สร้าง คือ “เจ้าฟ้ามะเดื่อ” เพื่อเป็นอนุสรณ์เพราะสร้างตั้งแต่เป็นเจ้าฟ้ามะเดื่อ
    ส่วนเจ้าฟ้าอิ่มนั้นก็เช่นกัน สร้างขึ้นโดยราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งมีนามเดิมว่า “อิ่ม” ซึ่งต่อมาได้เป็นใครก็ไม่อาจจะทราบได้ ผลแต่การศึกษาของเจ้าฟ้ามะเดื่อ หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิทยาการแต่ในอดีตของสำนักแห่งนี้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานบันผู้นำเพียงใดซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่สำนักทิศาปาโมกข์แต่เดิม
    สาเหตุที่ทำให้ข้อสันนิษฐานที่ว่า วัดเขาอ้อเคยเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ของ พราหมณาจารย์ในอดีตส่วนหนึ่งก็เพราะความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำ เพราะสำนักทิศาปาโมกข์ที่สืบถอดมาแต่ตักศิลาประเทศอินเดีย ส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ถวายวิทยาการให้กับเชื้อพระวงศ์และลูกหลานผู้นำ เข้าใจกันว่า สำนักเขาอ้อแต่เดิม สมัยที่ยังเป็นสำนักทิศาปาโมกข์นั้น ผู้ที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนระดับผู้นำ ดังที่ปรากฏรายนามตามประวัติของวัด
    วัดเขาอ้อที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวคงจะเป็นการพูดถึงเขาอ้อเพียงสมัยหนึ่ง คือสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่วัดเขาอ้อสร้างมานานกว่านั้นมาก ร้างและเจริญสลับกันเรื่อยมาตราบปัจจุบัน
    (คัดจากหนังสือ “เขาอ้อ วิทยาลัยไสยเวทแห่งสยาม”
    เวทย์ วรวิทย์ ค้นคว้า-เรียบเรียง สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม)
     
  7. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    คลังความรู้อยู่น่ีแล้ว สงสัยต้องอ่านแต่หน้าแรกแล้วผม
     
  8. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    ยอดเยี่ยมครับ สายใต้คงจะรวมกันอยู่ณที่นี้จนครบล่ะครับกระผม

    ถ้าเป็นไปได้ช่วยนำเกจิสายใต้ในปัจจุบันมาลงบ้างนะครับ จะได้ตามกราบได้ครับ
     
  9. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ยินดีครับทั้งคุณpuedpunon,คุณรับโชค ผมจะหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดครับ ทั้งสายใต้เก่าเเละใหม่ ครับผม....หรือถ้ามีข้อมูลดีๆมาแจมกันนะครับ
     
  10. ohrm

    ohrm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +338
    แจ่มมากๆครับ

    คุณ cornell รบกวนดูพระยอดขุนพลให้หน่อยนะครับ เป็็นเช่นไรบ้างครับแท้ไหมครับ

    สายตรง อ.ชุม ไชยคีรี วิจารย์หน่อยครับ : เว็บ-พระ.คอม

    พระทั้งหมดของผม

    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พุทธาคุณคุ้มเกล้า - 1
    <o:p> </o:p>
    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พระเครื่องมณีเลิศ - 1

    อนุโมทนา ครับ
     
  11. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอเล่าความโชคดีนิดนึงครับผม..........
    1.โชคดีที่องค์นี้ยังไม่ไปจากผม
    2.โชคดีที่ได้นางกวักท่านปลอดมา(หายากม๊ากมาก)
    3.อันนี้ถือว่าโชคดีที่สุดเท่าที่ได้นางกวักมา คือ.....ผมนอนส่องเมื่อคืนปรากฏว่า...
    ....ในนางกวักองค์ในรูปมีเกศาพ่อท่านปลอดอยู่ด้วย อยู่ตรงใบหน้าแม่นางกวัก ก็เลยถือว่าโชคดีสุดๆครับ
    ตั้งแต่เจอมาเคยเห็นเกศาอยู่ในพิมพ์เล็บมือรูปพ่อท่าน แต่ไม่เคยเจอในนางกวัก องค์นี้องค์เเรกครับ......สำหรับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • fe111.jpg
      fe111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.8 KB
      เปิดดู:
      631
  12. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    หลังจากโชคดีกับนางกวักตาหลวงปลอด(ติดเกศา)แล้ว5555...เพิ่งเห็นต้องโชว์หน่อยครับ....
    เรามาต่อกับพ่อท่านซึ่งเป็นหนึ่งในหลักๆของสายพัทลุงครับ........
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ (ดิษฐ์ ติสฺสโร) วัดปากสระ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top> พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ (ดิษฐ์ ติสฺสโร) เป็นพระเกจิด้านไสยศาสตร์รูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พศ.๒๔๒๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู เป็นบุตรนายแก้ว นางนุ้ย หนูแทน เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ ต.ปรางหมู่ อ.เมือง พัทลุง ชีวิตในปฐมวัยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก แต่สืบทราบว่าท่านเป็นศิษย์ของอาจารย์รอด วัดควนกรวด ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ ๒๐ ปีที่วัดปรางหมู่ใน มีฉายาว่า ดิสฺสโร มีพระครูอินทโมฬีฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้จำพรรษาที่วัดควนกรวดประมาณ ๕ พรรษา จนถึงปี พศ.๒๔๔๖ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากสระว่างลง ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมารับตำแหน่งสมภาร และจำพรรษาที่วัดนี้ตลอดมา ปี พศ.๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ เจ้าคณะตำบลไชยบุรี อ.เมือง พัทลุง
    จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพที่วัดปากสระ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พศ. ๒๕๐๗ อายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๖
    หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นพระที่มีอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณา ใจคอเยือกเย็น ถือสันโดษไม่ชอบการสะสมทรัพย์สินสมบัติใดๆ ชอบการอุปการะผู้อื่นโดยเฉพาะบุคคลยากไร้ ท่านจึงเป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย ทั้งที่ประกอบอาชีพส่วนตัวและเล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการในหน้าที่การงานสูงจำนวนไม่น้อย ลักษณะพิเศษของท่านคือมีนัยน์ตาคม บางคนเปรียบว่าตาของท่านเหมือนตางูก็มี หลวงพ่อดิษฐ์ชอบการต่อเรือ ถือว่าเป็นงานช่างที่ต้องอาศัยความสามารถสูงอย่างหนึ่ง เรือที่ท่านสร้างนั้นมีหลายลำสามารถออกทะเลแรมคืนไปต่างถิ่นได้ ส่วนเสนาสนะสงฆ์ท่านได้สร้างไว้หลายหลัง ที่ปรากฏอยู่ปัจจุบันเช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สระน้ำ และสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดปากสระ ได้ใช้เป็นสถานศึกษาของเยาวชนสืบมาจากโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนไม่ถึง ๑๐๐ คน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนประมาณ๔๐๐ กว่าคน งานด้านพัฒนาที่ปรากฏชัดคือ การชักชวนชาวบ้านตัดตัดถนนจากวัดปากสระเชื่อมกับถนนสายพัทลุง-ควนขนุน ช่วยให้การสัญจรไปมาสะดวกสบายไม่ต้องเดือดร้อน ช่วยให้การทำมาหากินของชาวบ้านสะดวกเพิ่มขึ้น สมัยก่อนหมู่บ้านใกล้เคียงวัดปากสระเป็นแหล่งของบุคคลประพฤติมิชอบ มีการลักทรัพย์สิน วัวควายของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อดิษฐ์ได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านช่วยขจัดปัดเป่าให้ผ่อนคลายลง กล่าวกันว่าท่านได้อาศัยวิทยาคมแก้ปัญหาของชาวบ้านสำเร็จลุล่วงมาด้วยดี คาถาอาคมของหลวงพ่อดิษฐ์ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันฉลองอายุของท่านเองในปี พศ. ๒๕๐๖ เรียกว่า คัมภีร์พระเวทย์ หรือพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ พระคาถา มีความตอนหนึ่งท่านเขียนไว้ว่า ขอท่านจงใช้พระคาถาที่เห็นว่าดี มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนและผู้อื่น คนชั่วอยู่กับผีคนดีอยู่กับพระ มีธรรมคุ้มครองและนำคาถาที่ท่านปรารถนาไปใช้ในทางที่จะเกิดผลแก่ตนและผู้อื่น พระคาถานี้จะได้ผลสมประสงค์และศักดิ์สิทธ์จริง
    หลวงพ่อดิษฐ์ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสังกัจจายน์พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก องค์พิมพ์ใหญ่มีพุทธลักษณะแบบขัดสมาธิเพชร ท้องพลุ้ย ปลายนิ้วชนกัน ส่วนพระสังกัจจายน์พิมพ์เล็กมีอักขระที่อกเป็นตัว นะ เส้นนูน หัวกลับ ด้านหลังมีอักขระเป็นตัว เฑาะว์สมาธิ และนอกจากนั้นยังมีพระปิดตา พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก,พระกลีบบัวเนื้อโลหะ.แหวนพิรอด,ลูกอม,ปลอกแขน,ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิษฐ์ล้วนแต่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ว่าเป็นยอดทางด้านมหาอุดอยู่ยงคงกระพัน และมีเมตตามหานิยมแก่ผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น เคยปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับความขลังของวัตถุมงคลของท่านหลายครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือวันที่ ๑๐ กันยายน พศ.๒๕๒๐พระภิกษุช่วง เขมธมฺโม ผู้เป็นศิษย์ได้นำวัตถุมงคลจำนวนหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงเสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง พัทลุง
    หลวงพ่อดิษฐ์ นับได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจิตใจชาวบ้าน โดยเฉพาะชุมชนใกล้วัดปากสระ ให้ฝักใฝ่ด้านประพฤติปฏิบัติธรรม และขยายไปในท้องที่หลายตำบล นับเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร ๔ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างแท้จริง ปรากฏหลักฐานพยานคือ รูปปั้นเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในศาลาด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ทุกๆวันสำคัญจะมีชาวบ้านมาแก้บนที่รูปปั้นของท่าน ขอให้พ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ขอความปลอดภัยและโชคลาภต่างๆ ปัจจุบันนี้มิใช่มีแต่เพียงเฉพาะในท้องถิ่นบ้านปากสระเท่านั้น แต่มีชาวบ้านต่างถิ่นที่รู้เรื่องและศรัทธาต่างได้มาเคารพบูชาที่วัดนี้เป็นประจำเช่นกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. ยุพารัตน์ ยัสพันธุ์

    ยุพารัตน์ ยัสพันธุ์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,158
    ค่าพลัง:
    +735
    อยากทราบประวัติพ่อท่านทองวัดเขาป๊าเจ๊ะค่ะ
    ติดตามและเป็นกำลังใจให้คุณนะคะ
     
  14. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ตำหนิต่างๆของเหรียญและรูปหล่อ อ.นำปี19,ปี20ภปร...
    ตามที่ขอมาหลังไมล์ครับ.......
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอบคุณครับคุณยุพารัตน์ ผมจะดำเนินการหาประวัติพ่อท่านทอง มาให้นะครับ......ท่านเก่งมากๆครับ อีกทั้งราคาค่าบูชาไม่สูงด้วย ผมว่าน่าเก็บมากๆครับ
     
  16. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    ประวัติพ่อท่านเล็ก ปุญญโก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง
    ไม่ทราบว่าพ่ีหลวงได้ลงไวัยังครับผม
     
  17. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ท่านเล็กประดู่เรียงลงไว้เเล้วครับผม......ท่านเก่งมากเคยมีคนเล่าว่าเห็นท่านเดินฝ่าสายฝนโดยจีวรไม่เปียกครับ
     
  18. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    พ่อท่านเนียม วัดบางไทร ท่านเป็นศิษย์สายใหนครับ...ผมว่าท่านไม่ธรรมดาเลยนะครับ
     
  19. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    สำหรับประวัติท่านเนียมและพ่อท่านคล้าย รวมถึงภาพถ่ายลูกอมพ่อท่านคล้ายที่ถามมา พรุ่งนี้จะจัดการลงให้นะครับ.....วันนี้พอดีติดธุระ พบกันพรุ่งนี้คร๊าบ.............thanks
     
  20. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    ขอบคุณขอรับกระผม.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...