สนทนาสบายๆ ตามประสา

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ธณต, 8 พฤศจิกายน 2011.

  1. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ผมจำได้ว่าเคยโม้ไปแล้วแต่ไม่เป็นไรครับ ขอรวบรวมสติสตังเรียบเรียงหน่อยนะครับ
     
  2. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    พระกรุ ไม่กล่าวถึงเรื่องที่รู้กันดีกว่ามันจะยาวยิ่งจานข้าวหมาผมพิมพ์ยากด้วย
    พระกรุ จริงๆแล้วมีทุกเนื้อนะครับไม่ดินชินผง สิ่งที่ชี้เป็นตายได้ก็คือคราบกรุ คนเก่ามักเชื่อกันว่าถ้าคราบผิด เนื้อดียังไงก็ไม่ใช่ ดังนั้นเราต้องรู้กันก่อนว่ากรุแต่ละกรุธรรมชาติเป็นยังไง แห้งเปียกชื้น
    ถึงตรงนี้ผมนึกอะไรได้อย่าง

    ผมอยากถามว่าเคยสังเกตุบ้างไหม ว่าพระเนื้อดิน ถึงจะเป็นกรุเปียก แต่ทำไมคราบกรุบางจัง อย่างนางพญา ถ้าเทียบกับบางขุนพรม หรือเนื้อผง คนละเรื่องเลย

    ช่วยตอบผมทีนะครับ
     
  3. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    มโนเอานะครับพี่ธณต เอาแค่พระนางพญา ที่เรียกว่ากรุเปียก ที่เรียกว่าพระนางพญากรุน้ำ ผิวพระจะถูกน้ำกัดสึกกร่อน มีเม็ดกรวดลอยเห็นชัด ต่างจากคราบกรุบางขุนพรหม ที่น้ำไปแห้ง แห้งไปน้ำ แถมมีความร้อนจากธรรมชาติภายในกรุ ครับ ^^
     
  4. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ไม่ตรงครับพี่ทิพย์ผมตั้งคำถามสับสนเองขออภัย

    คืองี้ครับ. ผมตั้งใจถามว่า. ทำไมพระกรุเนื้อดิน ถึงมีคราบน้อยกว่าพระกรุเนื้อผงครับ
     
  5. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ขอคิดวันนึงครับ

    [​IMG]
     
  6. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ได้ครับ
     
  7. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    คราบกรุพระเนื้อผง เกิดจาก แคลเซียมหรือหินปูนภายในอากาศจะผสมกับความชื้นภายในกรุพระเจดีย์กลายเป็นหินปูนจับอยู่บนองค์พระ ความหดตัวเพราะความร้อนนี้เอง ทำให้น้ำมันตังอิ๊วที่ผสมอยู่ในมวลสารที่นำมา สร้างองค์พระ กลั่นเป็นเม็ดน้ำมันสีน้ำตาล มากบ้างน้อยบ้างตามธรรมชาติ เมื่อผสมกับหินปูนในอากาศกลายเป็นขี้กรุสีน้ำตาลและแข็งตัวกับหินปูนเราเรียกว่า “คราบกรุสีน้ำตาล” หรือ “ขี้กรุน้ำมันตังอิ๊ว”

    คราบกรุพระเนื้อดินก็คือ คราบที่เกิดจากวัสดุที่ห้อมล้อมพระอยู่ เช่นเศษดิน ทราย กรวด นานเข้าก็แทรกซึมเข้าเกาะผิวพระ ถ้าผ่านกาลเวลามานานพอสมควร ภายในกรุจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และกลางคืนจะคลายตัวเย็นทำให้ความชื้นจากดินบริเวณใต้กรุมาจับ เนื้อพระก็จะแห้งพรุน คราบดินกรุโดยรอบก็สามารถแทรกซึมลึกเข้าไปในเนื้อพระตามรูพรุนบริเวณผิวได้บ้าง โดยเฉพาะพระเนื้อดิน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า คราบกรุที่เกาะตามผิวที่ลึกเป็นเนื้อเดียวกับพระจึงไม่หลุดร่วงออกง่ายๆ นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยรอบข้างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นถ้าภายในกรุมีความอับชื้น ก็จะเกิดมีรามาจับบริเวณผิว โดยเฉพาะพระเนื้อดินบางกรุ คราบหินปูน หรือแคลเซียมจากผนังกรุก็จะละลายกับน้ำฝนมาจับตามผิวพระเนื้อชิน หรือเนื้อตะกั่วสนิมแดง ให้เห็นคล้ายตระกรันบางๆ ถ้าพระอยู่ในกรุที่ดี ก็จะมีคราบดินกรุบางๆ หรือแคลเซียมมาจับตามผิวบ้างเล็กน้อย

    ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญน่าจะเป็นส่วนผสมตัวประสานในองค์พระ พระเนื้อผงส่วนใหญ่จะเป็นตังอิ๊ว หรือน้ำมันอ้อย ส่วนพระเนื้อดินจะแตกต่างกันซึ่งน่าจะเป็นน้ำเป็นตัวประสาน ครับ ถูกไหมครับ ผมหงอกเพิ่มขึ้น 3 เส้น ^^
     
  8. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    แล้ว หมอ กับอีตาน้ำข้าวว่าไง

    คนอื่นก็ว่าได้นะครับ
     
  9. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเลยครับลูกน้องลากลับบ้านเลยต้องตักของขายตลอดครับ



    เรื่องคราบกรุ ขอเดานะครับ

    ผมว่าอยู่ที่คุณสมบัติของสิ่งที่นำมาทำองค์พระและทำให้เกิดปฎิกริยากับอากาศเห็นได้จากแต่ละที่ไม่เหมือนกันเลย


    ส่วนตัวพระเนื้อดินเผาแห้งแล้วเซ็ดตัวแล้วคงเป็นแค่คราบฝุ่นหรือขี้ดินเกาะอาจมีราขึ้นบ้าง


    ส่วนพระสมเด็จทำจากปูนเป็นส่วนประกอบหลักและเป็นพระที่ยังไม่แห้งพอเจอความร้อนก็ดันนํ้าปูนขึ้นมาผสมกับฝุ่นที่ค่อยลงไปเกาะปี่แล้วปี่เล่าแบบค่อยไปครับส่วนกรุที่โดนนํ้าท่วมนํ้าคงมีขี้โคลนเยอะพอแห้งผสมกับนําปูนที่ขับมาจากองค์พระคราบกรุเลยเยอะอ
    ผมเลยเดาว่าปูนเเละตัวประสานเป็นส่วนทำให้คราบกรุเยอะครับเขียนเองงงเองจะโดนเกกะโหลกหรือป่าวน้อ
    ะ(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  10. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    ช่วงนี้สมองตื้อๆครับคิดอะไรไม่ออกเลยครับ ขอตามอ่านละกันครับ
     
  11. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
  12. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ครับ พระเนื้อดินส่วนใหญ่ จะผ่านการทำให้แห้งแข็งตัว จนเนื้อเเกร่ง ความชื้นภายนอกไม่สามารถแทรกเข้าไปในเนื้อได้มากนัก หรือบางทีอาจไม่ได้เลย เหมือนพวกเครื่องปั้นดินเผานะครับ ผิดกับเนื้อผงที่ปล่อยให้เซ็ตตัวตามธรรมชาติ การที่เนื้อผงเซ็ตตัวก็เซ็ตในกรุนะครับ พกคราบต่างๆอย่างที่พี่ทิพย์ว่าก็เซ็ตตัวพร้อมๆกับเนื้อพระ ทำให้คราบต่างๆถูกผนึกเป็นเนื้อเดียวกับเนื้อพระ เอ่อผิวพระดีกว่า ผิดกับเนื้อดิน ที่คราบต่างๆจะเป็นลักษณะการเกาะผิว ทำให้มีโอกาศหลุดร่วง ส่วนคราบที่เป็นผ้าบางๆที่เรียกว่านวลกรุ เรียนตามตรงว่าพระที่ผ่านมือมามากๆ ลำบากครับที่จะอยู่ เพราะคราบในองค์พระที่ถูกไล่มากับความชื้นตอนทำให้แห้งหรือความชื้นของผิวเดิมที่ผสมอากาศที่มาเกาะผิวพระ ก็จะไม่ได้อยู่ในเนื้อพระแต่อย่างไร ที่นี้รารักละ ก็เป็นคราบสีดำ ก็ต้องมีวิธีดูกัน
    พระเนื้อดินส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมจำพวกว่านอยู่พวกนี้เป็นเเหล่งสะสมความชื้นอย่างดี อีกทั้งพวกคราบต่างๆที่มากับน้ำและก็เกาะตามซอกพระก็แหล่งความชื้นสูงด้วย ไอ้จุดดำๆเนี้ยะละ สำมะคัญจริงๆ

    ใครจะว่าเรื่องรารักก่อนมั้ยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3235.JPG
      IMG_3235.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      191
    • IMG_3236.JPG
      IMG_3236.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.9 MB
      เปิดดู:
      236
  13. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    จองแถวหน้าเรื่อรารักครับ
     
  14. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    รอฟังด้วยคนครับพี่ธณต
     
  15. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    พักพระกรุแป๊ปนะครับ

    บังเอิญ วันนี้ได้ไปดูเหรียญเก่าเหรียญหนึ่ง ทุกอย่างก็ดีนะครับ และเป็นเหรียญที่ผมจำตำหนิไม่ได้ด้วย ก็ลังเลอยู่พอควร ก็มีพรรคพวกคว้าเอาไป ตอนมานั้งคุยกัน เขาก็คุยว่าเขาจำตำหนิได้ทุกๆจุดเหรียญนี้มีครบ พวกอีกคนก้ถามว่าถ้าบล๊อกฮ่องกงละทำไงตำหนิครับไม่ใช่หรือ
    เจ้าของพระ ก็บอกว่าเหรียญมันจะเล็กกว่า ผมก็เลยถามว่าดูคนละทีจะรู้ได้ไงว่าไม่เท่ากัน

    เจ้าของพระก็ตัดบทว่า จะยังไงก็แล้วแต่ หลักการดูเหรียญเบื้องต้นคือถ้าเหรียญเก่าผิวจะตึงแต่ไม่เรียบ มีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

    เออ.....จริงของมัน

    ไม่เกี่ยวกับเหรียญนี้นะครับผมเอามาดูพื้นเหรียญเฉยๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • อด.png
      อด.png
      ขนาดไฟล์:
      267.9 KB
      เปิดดู:
      165
    • อด2.png
      อด2.png
      ขนาดไฟล์:
      264.4 KB
      เปิดดู:
      126
  16. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    วางไมค์กันหมดเลย ไปเรื่อยๆนะครับอัดมากสับสนครับ
     
  17. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351

    ผมสงสัยเรื่องผิวเหรียญมานานแล้วครับ พี่ ธณต คำว่าผิวเหรียญ ตึงไม่ตึง ดูแบบไหนครับ

    เวลาคนดูเหรียญแล้วบอกว่า ผิวยังไม่ตึงครับยังไม่ได้อายุ ไม่ถึงครับเลยยังงงอยู่ครับพี่ ขอบคุณครับ
     
  18. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    มาส่งการบ้านครับ พี่ธณต ว่ากันด้วยเรื่องรารัก หรือ ราดำ

    เชื้อรา เป็นพืชที่อาศัยกินอาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว

    ราดำ หรือรารัก มักจะเกิดขึ้นบนองค์พระในกรุที่มีความอับชื้น
    ที่เรียกว่ารารัก น่าจะเพราะว่ามีสีดำ คล้ายกับการลงรักในพระ

    การพิจารณา ราดำ หรือรารัก ในพระเนื้อดิน พิจารณาจากธรรมชาติของรา เนื่องจาก
    ราดำ เป็นสิ่งมีชีวิต จึงมีการขยายกิ่งก้าน และเจริญเติบโตคล้ายพืช หากสังเกตุ
    ในราดำ หรือรารัก บริเวณรอบๆราดำ จะพบการแตกกิ่งก้าน กระจายโดยรอบ
    ของราดำ

    พระที่มีรารักจับมีได้ทั้งเนื้อหยาบและละเอียด ตั้งแต่พระกรุกำแพง พระลำพูน
    ไปจนถึง โคนสมอและวัดลิงขบ โดยมากขึ้นอยู่กับสภาพของกรุที่บรรจุไว้
    มากกว่า พระแท้บางองค์ก็อาจไม่มีราได้เช่นกัน เพราะไม่ได้ตกอยู่ในที่อับชื้น

    ราดำ หรือรารัก ที่พระปลอมทำ มักเป็นหมึกจีน นำมาหยด พู่กันแตะ หรือสลัด
    ลงบนเนื้อพระ จะแตกต่างจากราดำที่เกิดตามธรรมชาติชัดเจน (k)(k)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  19. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ตัวอย่าง ราดำ หรือรารัก ในพระไม่แท้ ที่ใช้หมึกจีน หยด สลัด แตะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • e2q.jpg
      e2q.jpg
      ขนาดไฟล์:
      625.5 KB
      เปิดดู:
      141
    • se2w.jpg
      se2w.jpg
      ขนาดไฟล์:
      469 KB
      เปิดดู:
      194
  20. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ตัวอย่าง ราดำ หรือรารัก บนองค์พระที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • we2.jpg
      we2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.8 KB
      เปิดดู:
      141
    • sw.jpg
      sw.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.1 KB
      เปิดดู:
      160
    • t5.jpg
      t5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.4 KB
      เปิดดู:
      172

แชร์หน้านี้

Loading...