สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,498
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าจะมีผู้ใดหรือสำนักใดทำลายพระไตรปิฏกสร้างสัทธรรมปฎิรูป ทำลายพระอภิธรรม จนจักเป็นเหตุให้พระอภิธรรมปิฏกสูญสิ้น ก็เห็นจะมีแต่สำนักวัดนาป่าพง เตรียมตัวกันได้เลยครับ นี่แหละกลียุคของจริง มันมาแน่นอนแล้วโมฆะบุรุษคึกฤทธิ์และสาวกทั้งหลายฯ

    ปัญจอันตรธาน
    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
    ปริยัติอันตรธาน
    พระปริยัติ ได้แก่พระไตรปิฏกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก ตราบใดที่พระไตรปิฏกยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะบุคคลจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ก็ด้วยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก เมื่อพระปริยัติเสื่อมถอยหาบุคคลที่จะศึกษาเล่าเรียนน้อย ศาสนาก็เสื่อมถอยตามไปด้วย การเสื่อมถอยแห่งพระปริยัตินั้นจะมีสิ่งบอกเหตุให้ทราบเป็นลำดับคือ
    เมื่อถึงกลียุคสมัย พระราชามหากษัตริย์มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี อีกทั้งหมู่อำมาตย์ราชเสนาบดี รวมทั้งอาณาประชาราษฏร์ทั้งในเมืองและชนบท ต่างพากันงดเว้นจากการประพฤติธรรม พากันหาความสุขสำราญตามอัธยาศัย ข่มเหงเบียดเบียนผู้ที่อ่อนแอกว่าให้เดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ดินฟ้าอากาศก็วิปริต ผิดปกติฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาก็หายาก หมู่มนุษย์และสัตว์พากันลำบากเดือดร้อนขาดแคลนอาหารทั้งทรัพย์สินเงินทอง เมื่อมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันอดอยากยากเข็ญแล้ว จตุปัจจัยไทยทานที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ดีมีสุขก็หายาก ภิกษุสงฆ์ก็พลอยได้รับความลำบากไปด้วย เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถสงเคราะห์กุลบุตรให้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติได้ ครั้นเมื่อพระปริยัติขาดผู้เล่าเรียนแล้วก็เสื่อมทรุดลงตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายจะไม่รู้ความหมายแห่งพระปริยัติ จะเหลือแต่บาลีอย่างเดียวแต่ขาดผู้รู้ความหมาย
    ในการเสื่อมสูญแห่งพระไตรปิฏกนั้น พระอภิธรรมปิฏกจะเสื่อมก่อน พระอภิธรรมนั้นมี ๗ คัมภีร์ ได้แก่
    ๑.พระสังคิณี
    ๒.พระวิภังค์
    ๓.พระธาตุกถา
    ๔.พระปุคคลบัญญัติ
    ๕.พระกถาวัตถุ
    ๖.พระยมก
    ๗.พระมหาปัฏฐาน
    ในพระอภิธัมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ เมื่อจะเสื่อมก็เสื่อมลงจากยอด คือคัมภีร์มหาปัฏฐานก่อน ลำดับต่อไปก็เป็นคัมภีร์ยมก กถาวัตถุ จนถึงสังคิณี โดยลำดับ
    เมื่อพระอภิธรรมปิฏกเสื่อมแล้ว ถ้าพระสุตตันตปิฏกและพระวินัยปิฏกยังดำรงอยู่ ก็ชื่อว่าพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่เช่นกัน

    http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/856.pdf
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ใช่แต่รายนี้เพียงเท่านั้น แม้แต่คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพงก็เช่นเดียวกัน ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7แล้วยังหมิ่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระราชวงศ์ในราชสกุล ชมพูนุท ดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระองค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกอยู่ 16 ปี อีกด้วยในกรณีชำระพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ

    Ritti Janson ปากบอกรณรงค์พุทธศาสนิกชนร่วมกันปกป้อง
    พระสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี

    แต่กลับดูหมิ่นพระราชญานของ

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์อีกด้วย ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 64 พรรษา

    ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระนิพนธ์ ปฐมโพธิกถา
    ๑ สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธปฐมสมโพธิกถา ในอันตรธานปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๙ ไดกลาวถึงอันตรธานมีเนื้อความ ตอนหนึ่งวาแทจริง อันตรธานมี ๕ ประการ ปริยตฺติอนฺตรธานํ คือ อันตรธานเสื่อมสูญแหงปริยัติปฏิปตฺ
    ติอนฺตรธานํ คืออันตรธานแหงการปฏิบัติ ปฏิเวธอนฺตรธานํ คืออันตรธานแหงการบรรลุมรรคผล
    ลิงฺคอนฺตรธานํ คืออันตรธานการเสื่อมจากสมณะเพศ ธาตุอนฺตรธานํ คืออันตรธานแหงธาตุ จึง
    เปนอันตรธาน ๕ ประการดวยกัน๘
    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
    ปริยัติอันตรธาน
    พระปริยัติ ได้แก่พระไตรปิฏกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก ตราบใดที่พระไตรปิฏกยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะบุคคลจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ก็ด้วยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก เมื่อพระปริยัติเสื่อมถอยหาบุคคลที่จะศึกษาเล่าเรียนน้อย ศาสนาก็เสื่อมถอยตามไปด้วย การเสื่อมถอยแห่งพระปริยัตินั้นจะมีสิ่งบอกเหตุให้ทราบเป็นลำดับคือ
    เมื่อถึงกลียุคสมัย พระราชามหากษัตริย์มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี อีกทั้งหมู่อำมาตย์ราชเสนาบดี รวมทั้งอาณาประชาราษฏร์ทั้งในเมืองและชนบท ต่างพากันงดเว้นจากการประพฤติธรรม พากันหาความสุขสำราญตามอัธยาศัย ข่มเหงเบียดเบียนผู้ที่อ่อนแอกว่าให้เดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ดินฟ้าอากาศก็วิปริต ผิดปกติฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาก็หายาก หมู่มนุษย์และสัตว์พากันลำบากเดือดร้อนขาดแคลนอาหารทั้งทรัพย์สินเงินทอง เมื่อมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันอดอยากยากเข็ญแล้ว จตุปัจจัยไทยทานที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ดีมีสุขก็หายาก ภิกษุสงฆ์ก็พลอยได้รับความลำบากไปด้วย เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถสงเคราะห์กุลบุตรให้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติได้ ครั้นเมื่อพระปริยัติขาดผู้เล่าเรียนแล้วก็เสื่อมทรุดลงตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายจะไม่รู้ความหมายแห่งพระปริยัติ จะเหลือแต่บาลีอย่างเดียวแต่ขาดผู้รู้ความหมาย
    ในการเสื่อมสูญแห่งพระไตรปิฏกนั้น พระอภิธรรมปิฏกจะเสื่อมก่อน พระอภิธรรมนั้นมี ๗ คัมภีร์ ได้แก่
    ๑.พระสังคิณี
    ๒.พระวิภังค์
    ๓.พระธาตุกถา
    ๔.พระปุคคลบัญญัติ
    ๕.พระกถาวัตถุ
    ๖.พระยมก
    ๗.พระมหาปัฏฐาน
    ในพระอภิธัมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ เมื่อจะเสื่อมก็เสื่อมลงจากยอด คือคัมภีร์มหาปัฏฐานก่อน ลำดับต่อไปก็เป็นคัมภีร์ยมก กถาวัตถุ จนถึงสังคิณี โดยลำดับ
    เมื่อพระอภิธรรมปิฏกเสื่อมแล้ว ถ้าพระสุตตันตปิฏกและพระวินัยปิฏกยังดำรงอยู่ ก็ชื่อว่าพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่เช่นกัน

    เป็นยังไงทีนี้ พันตัวเอง ทั้งคึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพงและRitti Janson เจ้านครเมฆขาว ไอ้พวกสวรรค์ล่มทั้งสองตัวนี่ เล่นงานพระอภิธรรมปิฏกก็หมิ่นพระสังฆราชสิครับ ไอ้พวกจัญไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อภิธรรมวัดคึก อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗

    https://youtu.be/WWNixirDXpo

    https://youtu.be/C2AIfjjYaWE

    หรือจะเอาตามนี้ จะเป็นใครไม่ได้ก็พวกศิษย์วัดนาป่าพงและทีมงานลิ่วล้อโง่ๆ

    http://pantip.com/topic/30216487

    ปริยัติยังไม่รู้เรื่องรู้ราว ปฎิบัติก็ไม่เป็นไม่ได้ จะเอาปฎิเวธ
     
  5. I_am_free

    I_am_free เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +207
    ถ้าจำไม่ผิดเมื่อสัก 7ปีก่อนได้มั้งตอนที่ท่านดังใหม่ๆ ตอนนั้นท่านไปออกรายการอะไรสักอย่างของไตรภพ ช่อง 3 ตอนนั้นก็อินนะแบบผมชอบคนที่มีปฎิปทาในการบวชคือมีความตั้งใจอะไรสักอย่างเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่บวชแบบตามประเพณี บวชหลบร้อนพักผ่อนกายา คือผมทราบประวัติท่านก็รู้สึกแวบแรกเลยเออน่าสนใจ น่าติดตาม เหมือนท่านยันตระ ถึงจะโดนโลกติเตียน สังคมประนาม แต่โอเค ยังมีความตั้งใจ ทุกวันนี้แกก็ยังทำตัวเป็นนักบวช ถึงสำนักพุทธและคนไทยจะไม่รับในตัวท่าน แต่ปฎิปทายังมี ก็ยังอยู่ในสายธรรมต่อไปถึงสอนในไทยไม่ได้ สอนฝรั่งก็ยังดี

    ปฎิปทาท่านคึกฤทธก็เหมือนกัน มีอาจารย์ดีปลูกฝังมา เกิดความศรัทธาความสนใจแรงกล้าพอที่จะทิ้งงานราชการ มาสร้างวัด ก็ส่วนนึงก็ยอมรับในความเด็ดเดี่ยวนะ ถึงงานแปลจะผิดบ้างผมก็เข้าใจว่าท่านเป็นทหารมาก่อน ไม่ได้เรียนบาลีมาแต่เด็ก แต่เจตนาก็คือแกมีความตั้งใจในการแปลเพื่อสอน

    แน่นอนท่านก็ไม่ได้เป็นศาสดา ก็ยึดเอาแต่คำสอนพยายามถ่ายทอดถ้าใครไม่เชื่ออย่างผมก็เฉยๆคือเราก็ไม่ได้ขวางหรือขัดแย้งในความตั้งใจใคร แต่คนที่เชื่อเค้าก็สบายใจเค้า ผมว่าคนที่บวชแบบนี้ได้ผมมองเรื่องความตั้งใจและเป้าหมายมากกว่า ส่วนผลจะออกตามเป้าหรือเปล่ามันก็อยู่ที่กระบวนการ วิธีการที่จะบรรลุผล มันก็มีตามเป้าบ้างผิดเป้าบ้างก็ คนอ่ะนะ ใครเลยจะไม่เคยผิด

    ที่ผมไม่ชอบกลับเป็นพวกพระที่บวชหาเงิน หาความสุขทางโลก หายศ หาตำแหน่ง พวกนี้น่ากลัวกว่าเยอะ
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ใช่แปลผิดหรอกสหาย ตั้งใจทำลาย สักวันเมื่อพระอรหันต์รูปนั้นจุติ ก็จะรู้เอง ความหวาดหวั่นหวาดกลัวของพวกที่เป็นโมฆะบุรุษและอามิสทายาท

    "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้
    แสนยาก อีก ๖๐ รูป
    จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น"



    ความผิดนี้ผิดถึงตาย


    เรามีหน้าที่เตือน เราคือส่วนล่วงหน้า ถึงเวลาก็จักรู้เอง ว่าการทำลาย อภยปริตร หมายถึงอะไร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เอามารวมการณ์เลยล่ะกัน

    ภาคผนวก


    พระศรีอาริย์ พระจักรพรรดิ พระยาธรรมมิกราช
    ไม่ว่าใครก็ตาม ตราบใดที่ไม่มีปาฎิหาริ์ย ๓ ไม่รู้จักทิพยภาษาในปฎิสัมภิทาญาน ไม่รู้จัก{พระสัทธรรม} {พระธรรมราชา}
    [พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท] (ดั้งเดิม) หรือ [ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม] และ *คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร* หรือ *อหังการวิเศษมาร* อสัทธรรม ผู้นั้นก็เป็นใครใน ฐานะ ๓ นี้ไม่ได้


    ว่าด้วย {O}ธรรมสมบัติ{O} หากพึงมีพึงได้ซึ่งความบริบูรณ์แก่กาลสมัยแล้ว คือสามารถคุ้มครองปกป้องตนเองจากภัยของพระยามารได้ สำหรับตัวจริง

    และสำหรับตัวปลอม จะไม่มีทางได้ {O}ธรรมสมบัติ{O} อันเป็นข่ายพระญานอันต่อเนื่องอย่างเด็ดขาด แต่อาจจะได้นิสสัยคือการตั้งความปรารถนาจะเป็น แต่ไม่ใช่มาจากการแอบอ้างว่าเป็น ไม่อย่างนั้น จะต้องประสบกับสิ่งอันมิใช่ประโยชน์สุขเป็นอันมาก

    หากถึงวาระ อันสมควร ขอให้ท่านแสดงฐานะด้วย ขึ้นชื่อว่า ผู้มีอานุภาพใหญ่แล้ว ย่อมไม่กระทำตนหลบๆซ่อน อยู่ในฐานะอะไร? ก็ย่อมปรากฎสำแดงเดช มีบารมีธรรมออกมา ตั้งแต่แรกเกิด ชั้นวรรณะ สติปัญญา ทว่าจะเอาสำคัญเพียง การปฎิบัติธรรมรักษาศีล หลายที่หลายทางก็มีสอน แม้แต่ในลัทธินอกพระพุทธศาสนาก็มีสอนและลักจำเอาไปสอน

    และทว่าการที่จะปิดทองหลังพระ ว่าอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ไม่สำคัญไม่จำเป็น งั้นโลกนี้ก็อย่ามีเลย อะไรก็อย่ามีเลย แล้วเอาอะไรไปปิดทองหลังพระ ถืออานุภาพอะไรไปปิดไปเผื่อแผ่ จะถือเอาแต่คำพูด คำสอน ใครก็เป็นได้ทำได้ ไม่มีเครื่องหมายที่รองลงมาจาก พระทศพลญาณ ๑๐ ของพระสัพพัญญูเจ้า คือ ปาฎิหาริย์ ๓ และปฎิสัมภิทา ๔ ซึ่งก็มีอภิญญา ฯลฯ รวมอยู่ในนั้นด้วย จะบอกจะสอนเขาในสิ่งที่ตนเองไม่มีไม่รู้นั้นได้อย่างไร
    เพราะพระนิพพานก็คือมหาปาฎิหาริย์ เป็นสิ่งนอกเหตุเหนือผลทั้งปวง จะเอาอาการใดไปสอนไปบอกเขา

    เรื่องเด่นไม่ดี ดังไม่ดี คำโบราณ จะถือตามเอาทั้งหมดโดยไม่ยึดหลักความเป็นจริง แบบนั้น ใครจะรู้จักใครได้ ใครจะรู้จักพระพุทธเจ้า ใครจะรู้จักพระนาคเสน ใครจะรู้จักพระสิวลี หรือใครก็ตามฯลฯ มันต้องดูสิ่งที่ท่านประพฤติปฎิบัติ ดูที่ผลการปฎิบัติของท่านนั้นๆ ว่าสร้างคุณงามความดีอะไรไว้? ไม่ใช่จะเอาแต่ที่ดังแล้วฉิบหาย อย่างเดียวแบบนี้ ถือว่าเลือกปฎิบัติเลือกข้าง มีปราถนาอื่น กลัวเขาจะดีจะเด่นจะดังล้ำตนเอง นี่เป็นเพียงคำพูดปลอบใจของผู้ที่ ไม่สามารถบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งไปกว่า ที่ตนจะจารึกจดจำพบเห็นได้ คือไม่เห็นที่สูงส่งกว่านั้น ดีงามกว่านั้น เลยจบแค่มี โลกวัชชะ นิวรณ์ อคติ ๔ ฯ กับเขา

    เรื่องจะจบหรือไม่จบ ท่านเตือนท่านสอนบอกไปแล้ว เราแสดงเรื่องภัยที่ ๕ อยู่ ไหนล่ะ มีใครเคยเปิดภัยเรื่องนี้บ้าง ตั้งแต่ก่อตั้งพูดคุยกันในสารบบเว็บต่างๆมา เอามาแสดงให้เราเห็นบ้าง ว่ามีผู้สนใจบ้างไหม? ว่าจะทำอย่างไร?จะแก้ไขอย่างไร? ตามพระพุทธวจนะ

    นี่คือทรงตรัสแล้ว นี่คือปัญหาของพระพุทธศาสนา เมื่อไม่รู้ปัญหา จะมาแก้ไขเรื่องอะไร? จะมาจุติเพื่ออะไร? นิกายก็แตกแยก พุทธบริษัท ๔ ก็ไม่ครบ ถึงครบก็ไม่ยอมรับ เป็นอามิสทายาท เสียโดยส่วนมาก ถ้าไม่มีปัญญารู้ในข้อนี้ จะถือดีว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่มา แล้วมานั่งสั่งสอนปฎิบัตินั่นนี่เสียอย่างเดียว ใครก็เป็นได้ ใครก็ทำได้

    ถ้าเวลานี้มีพระเหาะเหินเดินอากาศได้สักรูป เปิดนรกให้ได้เห็นหรือเอาเรื่องราวมาบอกได้สักท่าน คนที่จะทำบาปในพระพุทธศาสนาน่ะ จะมีมากหรือน้อยลง อันนี้คงรู้อยู่แก่ใจ เราคงไม่ต้องตอบ นอกเสียจากจะใจบอดเสียแล้วจึงไม่เห็นคุณค่าอะไร?

    หรือจะเอาแบบบางสำนัก ลูกศิษย์ลูกหาล้นประเทศ ที่ถือตนว่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้า จะเอาแบบนั้นหรือ

    เรื่องฐานะนี้เรารู้อยู่คนเดียว เป็นคนแรก เป็นผู้เปิดเผย จะคิดว่าลักจำมาบอกไม่ได้


    การที่เปิดเผยหรือพยากรณ์อะไรไป โดยเป็นนียัตถะ คือเปิดเผยแล้ว ผู้รู้ก็เสริมแต่งแอบอ้าง

    แต่ถ้าเป็นเนยยัตถะที่ทรงพยากรณ์ต้องไขความ ใคร?ก็ไม่สามารถรู้และแต่งเติมได้ จึงหาผู้แอบอ้างไม่ได้ ต่อให้รู้ว่ามีก็ปลอมฐานะหน้าที่ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามาทำไม
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ 00000 อ่านข้อความ
    ถามจริงเถอะ...เคยคิดว่ากันไหมว่า...ทำไม...พระปเสนทิโกศลต้องฝัน..พระพุทธองค์ต้องมาบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า...มีใครเคยคิดถึงความซับซ้อนในเรื่องแบบนี้บ้างหรือไม่...หรือว่าเรื่องทั้งหมดเป็นกุศโลบาย...อไรบางอย่าง...การที่ท่านผู้ตั้งกระทู้กล่าวถึงเรื่องเวลานั้นก็ดีเลยเพราะ...45 ปี ที่พระพุทธฯพระองค์นี้ท่านได้มาสั่งสอนเวไนย...ท่านมาเพียงไม่ถึงหนึ่งวันในชั้น จาตุมฯ เท่านั้น...แม้ว่าพระศาสนาจะตั้งได้ 5000 ปี นั่นก็หมายถึง 100 วัน ในชั้นจาตุมฯ...ลองคิดดูนะ...การเปลี่ยนทิฎฐิของบางท่านที่ภพภูมิที่ไม่ใช่โลกมนุษย์...จะใช้เวลาขนาดไหนหล่ะ...ส่วนเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์...ก็เป็นกาลของมัน...ยังไงๆ ต้องมีผู้มาจัดการ มีผู้มาจัดระเบียบอยู่แล้ว...แล้วจะเป็นใครเท่านั้น...เรื่องทุกอย่างมีที่มาที่ไป...ท่านผู้ตั้งกระทู้ครับ...ท่านกล่าวถึงการสับเปลี่ยนดอกบัว...ถามจริงเถอะ...ดอกบัวที่ว่านั้น...ได้มาจากใคร...มันต้องดูที่เหตุครับ...
    ตำนานนี้มีหลายพระสูตรที่สืบทอดกันมา ตามที่จะปรากฎในสมัยพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆนั้นด้วย เป็นพระสูตรที่ ว่าด้วยความเสื่อมสูญ ในกาลข้างหน้า ว่าด้วย อันตรธานของพระศาสนาด้วย และ การชี้ทางออกห่างการละเว้นการประหารชีวิตสัตว์ด้วยการบูชายัญ เพื่อตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ


    อรรถกถา มหาสุบินชาดก
    ว่าด้วย มหาสุบิน
    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
    ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
    ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า?
    รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิตร ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตรเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
    เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
    พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
    รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    รับสั่งถามว่า พอจะแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้.
    พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
    รับสั่งถามว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายจักกระทำอย่างไรเล่าถึงจักให้คืนคลายได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
    พระราชาทรงสะดุ้งพระทัยตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็วๆ เถิด.


    พวกพราหมณ์พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกินมากๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์ จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ๆ.

    ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ

    พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.

    พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.

    พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑
    แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า
    โคผู้ สีเหมือน ดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่าจักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้ง ๔ เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน บรรลือเสียงคำรามลั่นแล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป
    หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น ในกาลที่โลกเสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัยจักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้าภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตก ครางกระหึ่ม ฟ้าแลบ แล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายไรๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้.

    พระบรมศาสดา ครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่า
    ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิดอกออกผลไปตามๆ กัน
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิงมีระดู มีครรภ์ พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารีเหล่านั้น มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กๆ มีดอก กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดา ก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ มีผล ภัยแม้มีนิมิตรนี้เป็นเหตุ ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    จงตรัสเล่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโค ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคต ฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือในแม่ยาย พ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆ เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร.
    ตรัสเล่า สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโคใหญ่ๆ ที่เคยพาแอกไป ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่นๆ ที่กำลังฝึกเข้าในแอก โครุ่นๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล
    แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่มๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี คนหนุ่มพวกนั้นไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้ เมื่อไม่อาจก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย
    ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้ พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน เขาคงรู้ดี แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่นๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้ เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ๆ ผู้เคยพาแอกไปได้ มาเทียมแอก ฉะนั้น.
    แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง.
    นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเล ไม่ประกอบด้วยธรรม ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้นเป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาล เมื่อให้คำตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสอง ฉะนั้น.

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์ แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง ด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สกุลใหญ่ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลวๆ จักพากันเป็นใหญ่ ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่า เราต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้น ก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาดทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษผู้หนึ่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่ง กัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว.

    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า หมู่สตรีจักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ ที่สามีทำงาน มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญ เอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่าน ในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อม จัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ๆ เท้าฉะนั้น
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอามาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้นไป แม้คนเหล่านั้น ก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่างๆ เลย.

    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคนทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียน ต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูกปุพพันพืช(๑) แลอปรันพืช(๒) ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อยเป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืชเป็นต้นที่เสร็จแล้ว ในที่นั้นๆ มาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่าๆ ในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลย นั่นแล.

    (๑) อาหารมีข้าวสาลีเป็นต้น
    (๒) ของว่างหลังอาหาร มีถั่ว งา เป็นต้น

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง ดารดาษไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์สองเท้าสี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึก กลางสระนั้นขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น เสวยราชสมบัติ จักไม่ประทานการวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเลในทรัพย์ ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน ความเมตตา และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้น จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่างๆ บังเกิดขึ้น เก็บเอาทรัพย์
    พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะให้อะไรๆ ได้ พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดน ตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น น้ำที่ฝั่งรอบๆ ใส ฉันใด ก็ฉันนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คนหุงในหม้อใบเดียวกันแท้ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่าไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี.

    นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคมชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์ จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม
    ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัด ทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้นถูกลมพัดสั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ในชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง แม้ในสระลูกหนึ่ง เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จักไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักเหี่ยวแห้ง เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์
    ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จักเป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียว มีผลเป็น ๓ อย่าง ฉะนั้น.

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร แม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต
    ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่า ในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัยจักมีมาก พวกเหล่านั้นจักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคตกล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน
    ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบท และพยัญชนะ และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก
    ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่างๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสกเป็นต้น โดยประการฉะนี้
    ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์เป็นต้น จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน ไปขายแลกเปรียงเน่า ฉะนั้น.

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

    ด้วยว่า ในครั้งนั้น พระราชาทั้งหลายจักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุล ดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี

    แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุลจักตกยาก ใครๆ จักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่น เช่นกับศิลาทึบ จักไม่หยั่งลง ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม แม้ในที่ประชุมภิกษุ พวกภิกษุ ก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความเคารพว่า เป็นสำคัญ ในฐานะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จักเป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น.

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร

    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ๆ กัดเนื้อขาดเหมือนตัดก้านบัว แล้วกลืนกิน.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า

    ในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมีราคะจริตแรงกล้าชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจตามอำนาจของกิเลส จักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยาเด็กๆ ของตน
    ผู้คนมีทาสและกรรมกรเป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือเป็นต้นก็ดี เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่าง จักต้องอยู่ในครอบครองของพวกนางทั้งนั้น
    เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทองโน้นๆ ว่าอยู่ที่ไหน หรือถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี

    พวกนางจักพากันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ในเรือนของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่างๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอกคือปาก กดไว้ในอำนาจ ดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของตนไว้สืบไป
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือน เวลาที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่าซึ่งมีพิษแล่นเร็ว ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตรดอก

    เชิญตรัสบอกนิมิตรที่ ๑๕ เถิด.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทองที่ได้นามว่าทอง เพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน.

    อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ฉลาดในศิลปะ มีหัสดีศิลปะเป็นต้น ไม่แกล้วกล้าในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทาน ความเป็นใหญ่ให้แก่พวกกุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรงและพวกกัลบกเป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ และโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล ก็ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักพากันปรนนิบัติบำรุงฝูงชนที่ไม่มีสกุล มีชาติและโคตรทราม ผู้ดำรงอิสริยยศ
    จักเป็นเหมือนฝูงพญาหงษ์ทอง แวดล้อมเป็นบริวารกา ฉะนั้น.

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนๆ เสือเหลืองพากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้น เสืออื่นๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยอง พากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ.
    หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

    ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น

    พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆ กัน

    แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า แอบแฝงอยู่ในที่รกๆ

    ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลายเข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัวฝูงแกะ ฉะนั้น.

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ

    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ

    อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ
    ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?

    มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.

    ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?

    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?

    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพทราบ.
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมาภาพฟังก่อนเถิด.
    พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.

    แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

    อรรถาธิบายในคำนั้นมีดังนี้ คือ
    ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.
    เพราะเหตุไร?

    เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอาข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อยถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้
    เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.

    พระมหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการจองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป
    ครั้นแสดงธรรมแล้ว กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
    พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญด้วยพระพุทธดำรัสว่า
    เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในครั้งนี้
    มาณพได้มาเป็น พระสารีบุตร
    ส่วนพระดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้นสู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต ด้วยประการฉะนี้.


    จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗


    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเภท ๑๖ ประการจึงได้เล่าให้ปุโรหิตฟัง เพราะกลัวว่าจะมีอันตรายต่อสมบัติและอาจจะเป็นราชภัยต่อบัลลังก์

    เจ้าปุโรหิตก็มีวิสัยพราหมณ์อยู่แล้ว จึงรับสั่งให้หาทางป้องกัน ทั้งที่มิได้รู้เลยว่าความจริงเป็นเช่นไร จึงให้บูชายัญด้วยของ ๔ อย่าง

    ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี เป็นพุทธบริษัท พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลทัดทาน แล้วให้ไปถามพระพุทธเจ้าก่อน เพราะพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้ความจริงทุกประการ

    พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น (อ่านพุทธทำนายได้ที่นี่ค่ะ)


    พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ไม่มีภัยอะไรหรอกมหาบพิตร ภัยนั้นจะเกิดมีเมื่อหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็คือเรา” และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกบูชายัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    โย ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ

    จากทำนองเสียง*สังคีต*อันป็นทิพย์

    {O} อภยปริตร {O}
    ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม
    {O}ปฎิสัมภิทาญาน{O}

    * อนุชานามิ ภิกฺขเว สรภญฺญ ํ*

    ผู้รักษาพระปริตรยุคกึ่งพุทธกาลเวียนมาจบในภัทรกัลป์พระพุทธศากยมุนีลำดับที่๔

    https://www.facebook.com/10001062837...type=3&theater

    https://youtu.be/5NNBqCPYkyA

    https://www.facebook.com/10001062837...type=3&theater






    สัญญานอันเกิดบ่งบอกเหตุอันมาถึงจุดเสื่อม นั้นมาจาก โฆฆะบุรุษที่อาศัยในพระพุทธศาสนา เป็นโฆฆะบุรุษในที่ทำลาย {O}อภยปริตร{O}ให้กลายเป็นคำแต่งใหม่ ให้กลายเป็นเดรัจฉานวิชา นั่นก็คือ คึกฤทธิ์ แห่ง สำนักวัดนาป่าพง



    สุดแท้แต่จะเป็นไปตามกาล ด้วยกำลังลำพัง ในตอนนี้ทำได้เพียงเท่านี้จริงๆ

    เมตตาธรรม การไม่เบียดเบียนชีวิตสรรพสัตว์ มีอานิสงส์มาก
    https://youtu.be/EbyWSumN_l0
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธทำนายที่มีผู้ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย ความว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า “ ....เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้นจะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนเวียนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้นจะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น …… ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบกลับไม่มีคนเคารพยำเกรง พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง เมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ จะเสด็จมาเสริมสร้างพระศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปอีก ๕,๐๐๐ พระวรรษา …. คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล


    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
    เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
    แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต เป็นของจริง เป็นของแท้
    ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง
    เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ
    แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่
    พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้
    แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม
    เป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคต
    เป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาที
    ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ชาวโลก
    จึงเรียกว่าตถาคโต ด้วยประการดังนี้แล ฯ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ 00000 อ่านข้อความ
    ...ธรรมิกราชโพธิญาณ...?...
    การจุติ มีสองสถานะ จุติกำเนิด เกิดในครรภ์ก็ดี แบบคันธัพพะ โอปาติกะก็ดีฯลฯ
    จุติธรรม คือ บรรลุพระสัทธรรม รู้ทุกข์ในหน้าที่

    พระโพธิญาน ๑ บรรลุธรรม (ปัจเจกบุคคล) พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นต้น ส่งผลต่อบุพกรรมอันเป็นพลวปัจจัยในการเจริญเข้าสู่พระสัทธรรม

    พระโพธิญาน ๒ บรรลุธรรมอันเป็นของพระอริยะนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ พระธรรมราชา (พระพุทธเจ้า)

    ท่านใดใครรู้มากกว่านี้ ก็มาเติมหากเห็นว่ายังพร่องอยู่

    ธรรมิกราช ?...หมายถึงผู้ใด

    พระศรีอาริย์ พระจักรพรรดิ พระยาธรรมมิกราช
    ไม่ว่าใครก็ตาม ตราบใดที่ไม่มีปาฎิหาริ์ย ๓ ไม่รู้จักทิพยภาษาในปฎิสัมภิทาญาน ไม่รู้จัก{พระสัทธรรม} {พระธรรมราชา}
    [พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท] (ดั้งเดิม) หรือ [ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม] และ *คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร* หรือ *อหังการวิเศษมาร* อสัทธรรม ผู้นั้นก็เป็นใครใน ฐานะ ๓ นี้ไม่ได้

    ผู้ใดมีปาฎิหาริย์ ๓ ผู้นั้นแลฯ

    https://youtu.be/3tspB_o5VV8
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์




    พระบัวเข็ม

    "พระบัวเข็ม"เดิมเป็นพระพุทธรูปมอญ เข้ามาแพร่หลายในไทยช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระรามัญได้นำมาถวายท่านวชิรญาณภิกขุ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) โดยเชื่อในพุทธคุณว่า เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดลาภผล ความมั่งมี ขจัดภยันตราย เสริมสร้างสวัสดิมงคล ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงนำ "พระบัวเข็ม" เข้าพระราชพิธี "พิรุณศาสตร์" จึงนับได้ว่าพระบัวเข็มมีอิทธิฤทธิ์ในทางขอฝนอีกด้วยครับผม

    ประวัติ "พระบัวเข็ม" มีปรากฏในหนังสือ "พระปฐมสมโพธิกถา" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนหนึ่งว่า "…ท่านจุติต่อเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 218 พระวัสสา และพระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนมายุได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า สืบต่อไปภายหน้าจะมีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า "อุปคุปต์เถระ" จักได้ทรมานพญามารให้เสื่อมพยศอันร้ายพ่ายแพ้อานุภาพแล้วจะกล่าวปฏิญาณปรารถนาซึ่งพุทธภูมิ…" และยังกล่าวถึงความสามารถและความวิเศษของ "พระอุปคุปต์เถระ" ความว่า "...พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 84,000 องค์ และจะจัดงานสมโภชพระมหาเจดีย์ถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่เกรงว่าจะไม่พ้นภัยจากพญามารที่จะขัดขวางทำลายพระราชพิธีบุญนี้ พระอุปคุปต์เถระเจริญกรรมฐานอยู่ ณ ปราสาทแก้วกลางมหาสมุทร ได้รับสังฆบัญชาจากพระเถระทั้งหลายจึงเข้าฌานสมาบัติมาช่วยปกป้องภยันตรายจากพญามารซึ่งไม่ส่งเสริมความดีของผู้ใดและคิดทำลายพิธีบุญนี้อยู่ พญามารได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดลมพายุอย่างแรง เป็นลมกรด เพลิง และประการต่างๆ แต่พระอุปคุปต์ก็สามารถเข้าฌานสมาบัติแก้ไขได้ทุกอย่าง จนในที่สุดพญามารก็พ่ายแพ้แก่พระอุปคุปต์และระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าและละพยศอันร้ายกาจนับแต่กาลนั้น…"

    ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น


    อ้างอิงพอสังเขป หากเป็นดังนี้ก็จะมี "พระผู้เป็นเลิศในอิทธิฤทธิ์ผู้ผ่านทิวาราตรียาวนาน ด้วย อิทธิบาท ๔" ท่านก็คงจะรออะไรบางอย่างที่เป็นตัวจุดชนวนกระแสนั้นเฉกเช่นเดียวกัน ท่านคง รู้แต่ท่านก็รอ

    บุคคลบางส่วน ไม่รู้แต่ก็รอ - ไม่รู้และไม่รอ


    พระอรหันต์หลังพุทธกาลที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อปกป้องพระพุทธศานา... พระอุปคุตมหาเถระ
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อุกฺกฎฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺตีสุ อกุตูหลํ
    ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ
    เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
    เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
    เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
    เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
    http://www.84000.org/tipitaka/atita1...ka500.php?s=92

    ถ้าท่านปรากฏตัวแล้ว

    มาก็ดีแล้ว ขอให้ทำหน้าที่ ให้สมบูรณ์กอบกู้พระพุทธศาสนา ให้ยั่งยืนจวบจนสิ้นอายุพระพุทธศาสนา ฤทธานุภาพที่มีสมควรแสดงได้แล้ว ไม่เป็นอาบัติต้องโทษใดๆ เพราะถือว่า เป็นใหญ่สุด ย่อมเป็นผู้ดูแลสวนมะม่วง แทนเจ้าของสวน

    แล้วอย่าบอกว่าไม่มี ไม่มีกลับไปก่อนไปเอามา อย่าลืม? ว่าจะต้องทำอะไรที่สำคัญ๓ ภพภูมิ ตลอดจนสหโลกธาตุ เขารอพึ่งบารมี รอปรากฎตน ถวายเป็นธรรมบูชาอยู่

    ถ้ามาล่ะก้อนะต้องรีบจัดกระบวนทัพได้แล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติซึ่งสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ
    บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารผู้มี
    บาปเป็นเลิศ

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก
    ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
    มนุษย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ


    บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ บรรดา
    บุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้-
    ใหญ่ยิ่ง มารเป็นเลิศ

    พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ ฯ
    จบสูตรที่ ๕




    เพราะอะไรจึงเป็นเหตุ เพราะในตอนนี้มีภัยมาก ในสหโลกธาตุตอนนี้ มีมารครอบอยู่ แม้พระอินทร์พระพรหมพระปัจเจกพุทธเจ้า มารยังก่อกวนไม่เลิกรา ด้วยกำลังของมาร พระปัจเจกยังหนีไม่พ้น แม้แต่พระพรหมก็ไม่เหลือ พระอินทร์พระพรหมยังต้องหนีการเกะกะระราน จากพญามารไปจนสุดขอบจักรวาล เพราะรังเกียจอกุศลกรรมจากความทุจริต โลกนี้จึงเต็มไปด้วยเสนามาร และสายสืบของเสนามาร ถ้าเทวดาใดเอื้อเฟื้อประโยชน์ในธรรมมากเกินไปจน เสนามารจับพิรุธได้ ก็จะถูกรายงานไปถึงหูพญามาร แล้วพญามารก็จะเล่นงานผู้นั้น
    จึงจำเป็นต้องหนี ห่างหายไปทั้งหมด

    แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีช่องว่าง แห่งบุญพลานิสงส์ที่บำเพ็ญมาดีแล้ว ด้วยเหตุนี้แล มนุษย์เมื่อฝึกตนดีแล้วเป็นผู้มีธรรมอันประเสริฐ จึงเป็นผู้ที่ เทพ เทวดา มาร พรหม ฯต่างให้การเคารพสักการะ ดังนี้แลฯ


    มารแทรกแซง สวรรค์ แล้ว พระโพธิสัตว์ ที่ว่า ต้องมาแก้ไข เราไม่แน่ใจ แต่ผู้ที่รู้ที่ถามในเรื่องนี้เกี่ยวพันกัน มีบทบาททั้งหมดแน่ ไม่อย่างนั้น เราคงไปกล่าวที่อื่น

    แม้พระพุทธเจ้าอยู่ มารยังแทรกแซง ทูลขอให้ปรินิพพาน ,ทูลขอให้การออกบวชพ่อแม่ต้องให้อนุญาต ,บังจิตพระอานนท์ ฯลฯ

    ต้องรอจนกว่าจะเกิดปาติหาริย์ ๓ ถ้าไม่มีเป็นใครไม่ได้ เพราะจะไม่มีอานุภาพต่อต้านได้ สู้ใครไม่ได้




    ที่น่าเกรงกลัวคือ การปรากฎของคัมภีร์มารนั่นต่างหาก เพราะถ้าปรากฎที่ผู้ใดสักคนแล้ว แย่แน่ๆ ไม่ทันแน่ๆ

    ถ้าไม่มีอทธิฤทธิ์ใหญ่ แย่แน่ จะไม่สามารถกำราบใครได้
    ปาฏิหาริย์ 3 การกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้, การกระทำที่ให้เป็นอัศจรรย์, การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์

    ใน ๓ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นเยี่ยม

    ถ้าไม่มีมีปาฎิหาริย์ ๓ เขาคนไหนก็เป็นไม่ได้ เป็นบุคคลสำคัญยิ่งมิได้
    อย่าลืมว่ามีศัตรู ไม่อย่างนั้น ยมกปาฎิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าแสดงจะกลายเป็นสิ่งไร้ค่า อย่าคิดอย่างนั้น พระยมกที่ทรงแสดงแม้ในลัทธิอื่นยังบันทึกความพ่ายแพ้และแอบอ้างไว้ ว่า พระเจ้าให้อำนาจพระพุทธเจ้า

    นี่สิ่งสำคัญ เป็นอานุภาพใหญ่ในพระพุทธศาสนา สามารถจะทำกิจให้ลุล่วงต่างๆทำลายอุปสรรคขวางกั้นต่างๆได้ สามารถรวบรวมพระศาสนากลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้ ไม่ใช่ใครจะมีได้ง่ายๆ ไม่ใช่ฐานะเลย

    ถ้าไม่มีก็อย่าดึงดัน ชอบใจในพระธรรมก็ เป็นผู้ปฎิบัติผู้สอนตามสมควรแก่ฐานะตนไป


    ถ้าไม่มีอะไรที่โดดเด่นขึ้นมา ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง การมาแบบนั้น ย่อมไร้คุณค่าความหมาย(ในกาลวาระ) เมื่อมาต้องเกิดประโยชน์ ต้องสร้างประโยชน์ใหญ่หลวง ไม่ใช่เก็บตัวนิ่ง

    นี่คือหน้าที่ที่เรารู้ ถ้าผู้รู้ของท่านรู้มากกว่าเรา ขอให้จงแสดงฐานะนั้นออกมาด้วยซึ่งภาระหน้าที่ ให้เราทราบด้วย จะเป็นการดี

    ก่อนการกำเนิดภัยที่๕ จะมาแน่นอนในพุทธทำนาย ในพระปริตร"อภยปริตร" มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพระยาธรรมิกราช ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น พระยาธรรม คือผู้รู้และเห็นธรรมเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงตรัสรู้เห็น แต่ไม่มีทศพลณญาน ๑๐ และมหาปุริลักษณะ (อาจมีร่างแปลงอันเป็นทิพย์เนรมิตกายอันละเอียด) บารมีก็ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธทั้งหลายได้ พระยาธรรมิกราชเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานอย่างไม่ต้องสงสัย ชัดเจนเด็ดขาด เป็นผู้มีฤทธานุภาพ ชี้แจงแก้ไขพระไตรปิฎกที่ถูกตีพิมพ์และจารึกเขียนขึ้นได้อย่างชัดเจนตามแบบพระธรรมแม่บทฉบับทิพย์ เป็นผู้ลงทัณฑ์สงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททั้งหลายโดยฐานะกรรมบันดาล เป็นผู้รู้ทิพย์ภาษาเป็นผู้ประกาศธรรมเหนือโลก เหนือลัทธิความเชื่อมายาคติต่างๆจะพีงพินาศ๑ กำเนิดพระธรรมทูต ๒ (ผู้ยังตนให้เจ้าลัทธิเดียร์ถีย์อื่นศรัทธาเลื่อมใส มีศรัทธาปรารถนาจะศึกษาเล่าเรียนหวังความเจริญในพระสัทธรรม) เป็นผู้รวบรวมจักรวรรดิธรรม จากแตกแยกนิกายเป็นหนึ่งเดียว เป็นผู้ช่วยบอกทางและสรรเสริญในพระธรรมอย่างที่สุด แม้มีใครชื่นชมท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้สรรเสริญแด่พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณเพียงเท่านั้น! ตราบใดที่ยังไม่ปรากฎปาติหาริ์ย3 ตราบนั้น พระยาธรรมิกราชก็จะยังไม่ปรากฎ ผู้ใดที่แสดงปาติหาริ์ย3ในพระธรรมได้ พึงสำเหนียกไว้ว่าเป็นผู้เข้าใกล้ชิดพระยาธรรม กิจต่างๆย่อมเกิดขึ้นตามการ ภาระเป็นไปตามกรรม เมื่อพระธรรมิกราชปรากฎ. อวิชาและอาสวะกิเลสทั้งมวลจะสิ้นไปในผู้ที่สั่งสมบุญบารมีมาดีแล้ว. พึงเข้าใจเถิดว่า. ในยุคนี้ ผู้ที่แสดงพุทธภาษิต แค่เพียงภาษิตเดียว ก็ยังไม่สามารถแสดงได้เทียบเทียมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสพและพระอรหันต์ผู้ที่อยู่ในสารคุณ ให้ผู้รับฟังได้เข้าใจแจ่มแจ้งเข้าถึงวิมุติได้เลยแม้สักผู้เดียว (เมื่อผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุติ). ผู้ไม่รู้จริงไม่ควรแก้อรรถที่เราแสดง เหล่าสหชาติของพระยาธรรมเป็นผู้มีบุญรู้ธรรมตามกาลเป็นอย่างยิ่ง. สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญ ขอจงเจริญในภาวะธรรมตามกาล


    เราบอกไปแล้ว ตั้งแต่อรูปพรหมลงมา พญามารระรานไปหมดแม้พระอินทร์พระพรหม พระปัจเจกพุทธเจ้ายังไม่เหลือ ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามย่อมรู้เรื่องนี้ แน่นอนพระธรณีเช่นเดียวกัน แต่คงปวดร้าวมากที่สุด เหลือแต่มนุษย์ที่เป็นดั่งแท่งทองชมภูนุชผู้มีพระไตรปิฏกธรรมแม่แม่บทเท่านั้นจึงจะมีอานุภาพ สู้ คัมภีร์มารได้ ถ้าไม่มี ปาฎิหาริย์ ๓ และปฎิสัมภิทา ๔ ต้องยอมรับชะตากรรม อะไรจะเกิดคงต้องให้มันเกิด
    ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมแล้ว

    ตราบใดที่ยังไม่รู้จักศัตรู คำพูดดีเพียงไรก็ไร้ความหมาย ต้องมีหลักฐาน อย่าลืมว่าพยามารเคยรบกวนก่อนการตรัสรู้ ด้วยเหตุนั้นถ้าไร้ฤทธานุภาพ แม้จะปกครอง ชำระสงฆ์ รวบรวมแผ่นดินธรณีสงฆ์ คืนฐานะให้พุทธบริษัท ๔ ให้เป็นหนึ่งเดียวไม่มีทางทำได้

    ตราบใดที่ไม่มีปาฎิหาริย์ ๓ เราก็เป็นได้แค่พยานรู้เห็น เป็นผู้ได้พบพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท และคัมภีร์มาร และอื่นๆที่เราได้หยิบยกน้อมนำมาแสดง มาแทงด้วยปัญญาเพียงเท่านั้น ! ถ้าเราไม่มีฤทธิ์ในการแสดงปาฎิหาริย์ ๓ เราเป็นใครไม่ได้ทั้งนั้น นอกจาก พยานรู้เห็น



    เรื่องนั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างที่ท่านเข้าใจ

    ตราบใดตนเองก็ยังไม่เคยได้เห็น[พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท] อย่าคิดว่าตนเองรู้หรือไปคิดว่าผู้อื่นไม่รู้เลย ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด

    ส่วนเรื่องใครจะฆ่าใครเราไม่เกี่ยวหรอก หน้าที่ก็เป็นไปตามหน้าที่ สิ่งที่ควรฆ่าคือ กิเลส ในจิตใจของเหล่าสรรพสัตว์เพียงเท่านั้น

    นี่จึงเป็นผู้รู้จริง

    การรวมรวบทุกนิกายเป็นหนึ่ง,ชำระธรณีสงฆ์,คืนฐานะพุทธบริษัท๔ ,ดำรงสกุล,ต่อต้านป้องกันภัยที่ ๕ นี่คือเรื่องด่วนที่สุด

    ส่วนเรื่องอื่นเป็นผลจากอิทัปปัจจยตา


    เรื่องการบำเพ็ญบารมี ไม่ใช่เหตุผลของหน้าที่ ไม่ใช่เหตุแห่งการมาจุติธรรม ไม่ใช่วาระ



    ปัญหา?
    เรื่องอะไรต่างๆ นั่นล่ะดีแล้ว แล้วมั่นใจได้ไหมล่ะ ต่อมาจากนั้น รู้ไหม?ว่าจะต้องไปเกิดเป็นอะไร? แล้วจะมาจุติเป็นอะไร? แล้วจะต้องมาแก้ไขอะไร? ใครก็ตามในที่นี้ มั่นใจไหม? ว่าเราไม่ใช่ ท่านไม่ใช่ โดยสัญญาเก่า แล้วถ้ารู้จะบอกใครได้ไหม? ว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่มาในชาติที่แล้ว โดยที่ถ้าบอกไปมันมีผลกระทบมาก โดยตรง แล้วใครจะมั่นใจได้ว่า เราไม่รู้ดูไม่เป็น หรือ เรารู้เราดูเป็น เห็นและดูออกว่าใครเป็นอะไรมาก่อน

    จะไปเหมาว่าใครไม่เคยเป็นอะไรมาก่อน หรือไปว่าไม่เป็นนั่นนี่มานั้นไม่ได้ เพราะเราก็ไม่รู้เขา โดยเฉพาะที่สำคัญไม่รู้ตนเอง ไม่รู้จักตนเอง ต่อให้รู้แล้วไม่มีผู้รู้ตาม จะบอกใครเขาได้ เพราะคาดกาลไปหมดแล้ว ยังสติปัญญาของตน ความทรงจำที่ได้มาก็ไม่บริบูรณ์ ถ้าบริบูรณ์แต่ไม่มีสัพพัญญุตญาณ ของพระพุทธเจ้ารองรับ นี่หมายถึงกรณีที่ทรงจำได้มาก ย่อมมีความทรงจำสัญญาเก่าเร่งมามาก ไม่อาจวางอุเบกขาได้ ซึ่งก็มีตัวอย่างอยู่มากมายในพระสูตร ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ การระลึกชาติจึงเป็นเหมือนทุกขลาภ อันมาพร้อมกันในหมู่ผู้ยังไม่สมบูรณ์สมควรพอ

    และถ้าไปจดจำและรู้เห็นอะไรมา มันจะเป็นความทรงจำที่เหมือนกับพึ่งได้ผ่านการกระทำไป ไม่กี่วินาที เหมือนพึ่งเกิดขึ้นมา แล้วถ้าสามารถจดจำได้อย่างนี้กันหมดทั้งโลก แล้วไม่สามารถควบคุม แล้วไปยึดถือตามสัญญาเก่า นี่ก็ยิ่งกว่าโกลาหล เพราะดันไปเกิดในที่ไม่ควรเกิดควรเป็น ชักแม่น้ำห้าสายตามกันยุ่ง และนี่จึงจำเป็นจำเพาะในพระพุทธศาสนาเพียงเท่านั้นที่มีหลักการ ปฎิบัติรองรับไว้อย่างนี้ ส่วนเลือกการเวียนว่ายตายเกิดเกิน ๓ ชาติ ศาสนาใหญ่ๆนั้นไม่มีในคำสอน เพราะถือว่ามีเพียงชีวิตเดียว

    แน่นอนในพระวินัยมีพระพุทธดำรัสตรัสไว้แล้วซึ่ง สิ่งที่พระองค์ทรงมองเห็นแต่ผู้อื่นมองไม่เห็น พระองค์จึงไม่ตรัสบอก จนกว่าจะมีผู้เห็นตามพระองค์พระองค์จึงทรงตรัสบอกว่ามีจริง เป็นประกันเป็นหลัก ให้ผู้ที่ฉงนสงสัยอยู่ ดังเรื่อง พระมหาโมคคัลลานะเห็นเปรตต่างๆเป็นต้น เพราะเหตุใดที่พระองค์ไม่ทรงตรัสบอก เพราะว่าผู้ที่ทราบวาจานั้น ไม่เห็นตาม เพราะไม่มีปัญญาจะเห็น แต่กลับสงสัยและเกิดความขุ่นเคืองปรามาสขึ้นมา บาปจะส่งเสริมเขาไปในทางอกุศลชั่วกาลนาน ซึ่งพระองค์ก็ไม่ทรงปรารถนาให้เกิดเรื่องเช่นนั้น จึงไม่ทรงตรัสบอก

    เรื่องที่เรานำมากล่าวเป็นเรื่องของภัยที่ ๕ ที่ทรงตรัสเป็น เนยยัตถะ คือต้องสั่งสมรวบรวมไขความ ถ้าไม่มีการปรากฎของพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท และคัมภีร์มาร ปรากฎตามมาด้วย ใครจะวิสัชนาในข้อนี้ไม่ได้ นี่เรียกว่ามีหลักฐานพร้อมมูล แต่ขาด ผู้ยืนยันตาม มันจึงเป็นเรื่องที่ต้องยอมเป็นบ้า น้อมนำศรัทธาสู่ศรัทธาที่ยิ่งขึ้นไปอีก จากปฎิบัติแค่ประโยชน์ส่วนตนและส่วนอื่น เป็นปฎิบัติบูชา จึงจะเข้าใจ

    เพื่ออุทิศตน สละตน เพื่อพระพุทธศาสนา ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัวในชาติ แต่มุ่งเอาความสงบสุขสวัสดิ์ของเหล่าเวไนยสัตว์เป็นที่ตั้ง เรื่องมรรคผลเป็นเรื่องรองเรื่องอื่นไปแล้วในที่นี้ โปรดพิจารณา

    โปรดจงพิจารณาทำความเข้าใจ ขออนุโมทนาบุญฯที่แบ่งปันเนื้อที่ตรงนี้

    ภาคผนวก

    "เพราะว่าเหตุอันใด ก็เพราะชนรุ่นหลังโดยส่วนมากล้วนแต่เป็นผู้ไร้เจโตปริยญาน ไม่มีทางจะเข้าใจและรู้ได้ว่าความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคต ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่ทรงแสดงตนให้ปรากฏ "
    จึงไม่มีทางได้รู้และทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายที่ทรงบำเพ็ญมหาวัฎรมาก่อนกาลตรัสรู้ จวบจนวัตรปฎิบัติในกาลปัจจุบัน
    ดูกรสารีบุตร ก็เธอไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบันเหล่านั้น เหตุไฉน เธอจึงหาญกล่าวอาสภิวาจาอันประเสริฐนี้ บันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า เพราะเหตุนั้นแลสารีบุตร เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ดูกรสารีบุตรความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคตซึ่งจักยังมีอยู่บ้างแก่โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเขาจักละเสียได้ เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ฯ
    ท่านพระสารีบุตร ได้ประกาศความเลื่อมใสของตนนี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น คำไวยากรณ์นี้ จึงมีชื่อว่า"สัมปสาทนียะ" ดังนี้แล ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงว่าข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบันก็จริง แต่ข้าพระองค์ก็ทราบอาการที่เป็นแนวของธรรมได้ เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมแน่นหนา มีกำแพงและเชิงเทินมั่นคง มีประตูๆ เดียว คนยามเฝ้าประตูที่เมืองนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก ยอมให้แต่คนที่รู้จักเข้าไป เขาเที่ยวตรวจดูทางแนวกำแพงรอบๆ เมืองนั้น ไม่เห็นที่ต่อหรือช่องกำแพง โดยที่สุดแม้พอแมวลอดออกมาได้ จึงคิดว่า สัตว์ที่มีร่างใหญ่จะเข้ามาสู่เมืองนี้หรือจะออกไป สัตว์ทั้งหมดสิ้น จะต้องเข้าออกทางประตูนี้เท่านั้น ฉันใด
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ทราบอาการที่เป็นแนวของธรรมได้ ฉันนั้น
    ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    เพื่อฟังธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาแก่ข้าพระองค์ พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยมประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาด้วยประการใดๆ ข้าพระองค์ก็รู้ยิ่งในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรมบางส่วนในธรรมทั้งหลายแล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...&A=2130&Z=2536

    ผู้ใดใครมีกระแสแห่ง เจโตปริยญาณ แห่งตน และด้วยนิรุตติญานทัสสนะ อันสั่งสมบำเพ็ญญานบารมีมา จะดึงดูดกระแสธรรมย่อมวิสัชนาได้อย่างต่อเนื่องไปอีก เราเดินมรรคให้แล้วยังกาลนี้ ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างล้วนเป็นเรื่องที่สามารถมีและเป็นได้ ขอจงรู้จุดมุ่งหมายและฐานะหน้าที่ของตนเอง เมื่อมีจุดยืนที่มั่นคง เป้าหมายที่ชัดเจน คำว่าหลงทางย่อมไม่มี
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขันเปล่าอย่างคึกฤทธิ์สักวันจะไม่มีอะไรเหลืออยู่!!!!
    สามเณรราหุล ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางยโสธรา เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนะ เมืองกบิลพัสดุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ ๗ ขวบ ได้ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยออกบวชหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ได้ ๗ วัน

    วันนั้นท่านเข้าไปขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าตามคำชี้แนะของพระมารดา ขณะที่พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จำนวนมากเสด็จออกบินฆบาตอยู่ในเมือง ราหุลกุมารติดตามไปจนถึงนิโครธารามสถานที่ประทับชั่วคราวอยู่นอกเมือง พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าท่านขอทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกิยะจะต้องประสบกับความคับแค้นไม่มีสิ้นสุด จึงจะให้ท่านได้ทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกุตตระที่เที่ยงแท้ยั่งยืนทำให้ประสบกับความสุข จึงมอบให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ท่านด้วยวิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา
    นับตั้งแต่วันที่บวช สามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างมาก จะลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ลงมากองทรายเต็มกำมือ แล้วตั้งจิตอธิฐานว่า "วันนี้ขอให้เราได้ฟังคำแนะนำสั่งสอนจากพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์มากเท่าเมล็ดทรายในกำมือของเรานี้"
    เมื่อท่านมีอายุได้ ๒๐ ปี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพลางพิจารณาตามพลาง เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
    ท่านเป็นผู้ว่าง่ายอยู่ง่าย ไม่ถือตนเองเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระสงฆ์ ครั้งหนึ่งพระจากชนบทจำนวนหนึ่งมาพักที่วัดเชตวัน เนื่องจากพระวินัยห้ามภิกษุนอนในที่เดียวกันกับอนุปสัมบัน ท่านไม่มีที่นอนถึงกับไปหลบนอนในวัจกุฎี (ส้วม) ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ไปพบเข้ากลางดึกจึงนำท่านกลับมาพักที่พระคันธกุฎีของพระองค์ และทรงลดหย่อนผ่อนปรนสิกขาบทข้อที่ว่า ห้ามภิกษุอยู่ในที่มุงบังเดียวกันกับอุนุปสัมบันเกินหนึ่งคืน ขยายเวลาออกไปเป็นสามคืน


    {O} ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ให้โอวาทแก่สามเณรราหุลเกี่ยวกับโทษของการพูดเท็จ ทรงสอนโดยใช้สื่อเป็นขั้นเป็นตอน เหมาะแก่อุปนิสัยของเด็กเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงจับน้ำล้างพระบาทขึ้นแล้วเทน้ำลงหน่อยหนึ่งแล้วตรัสถามว่า
    "ราหุลเห็นไหม น้ำที่เราเทลงหน่อยหนึ่งนี้"
    "เห็นพระเจ้าข้า" สามเณรราหุลกราบทูล
    พระพุทธเจ้า "ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ เทคุณความดีออกจากตนทีละนิด เหมือนเทน้ำออกจากขันนี้"
    "ราหุล เห็นไหม น้ำเราเทออกหมดนี้" ตรัสถามอีก หลังจากทรงเทน้ำหมดขัน
    "เห็นพระเจ้าข้า"
    "ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ย่อมเทคุณความดีออกหมด เหมือนน้ำที่เราเทออกหมดนี้"
    เสร็จแล้วทรงคว่ำขันลง ตรัสว่า "ราหุล เห็นไหมขันที่เราคว่ำลงนี้"
    "เห็นพระเจ้าข้า"
    "ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมคว่ำคุณธรรมออกหมด เหมือนขันคว่ำนี้" เสร็จแล้วทรงหงายขันเปล่าขึ้น แล้วตรัสถามว่า
    "ราหุล เห็นไหม ขันเปล่าที่เราหงายขึ้นนี้ ไม่มีน้ำเหลือเลย"
    "เห็นพระเจ้าข้า"
    "ราหุล เห็นไหม ขันเปล่าที่เราหงายขึ้นนี้ไม่มีน้ำเหลือเลย"
    "เห็นพระเจ้าข้า"
    "ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ย่อมไม่มีคุณความดีเหลืออยู่เลย ดุจขันเปล่านี้ {O}


    สามเณรราหุลเป็นผู้กตัญญูรู้คุณยิ่ง ครั้งหนึ่งสามเณรทราบว่า พระมารดาที่ออกบวชเป็นนางภิกษุณีประชวรโรคลม จะสงบระงับได้ด้วยการเสวยน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด จึงรับอาสาหามาถวาย เข้าไปแจ้งพระสารีบุตร รุ่งเช้าพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล โดยให้สามเณรรอที่โรงฉันแห่งหนึ่ง ก็ได้ตามความประสงค์โดยที่ไม่ต้องเอ่ยปากขอ วัตรปฏิบัติของท่านจึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน
    พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะในทางด้านผู้คงแก่เรียนใฝ่ศึกษา



    เป็นที่แน่นอนในกรณีที่

    มารไม่มีบารมีไม่เกิด


    แต่ที่เห็นๆส่วนใหญ่ ที่หลุดๆไปมีข้อตำหนิ ล้วนแต่เป็นแต่ได้ บารมีจากมาร หรือ บารมีมาร

    เลยกลายเป็นมาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • rahun.jpg
      rahun.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.8 KB
      เปิดดู:
      145
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จักกวัตติสูตร (๒๖)

    [๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
    สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดา
    ของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้
    เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ
    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิ์
    พระนามว่า ทัลหเนมิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
    มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์
    ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
    คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน
    กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์
    ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาคร
    เป็นขอบเขต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
    พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็น
    ทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอย-
    *เคลื่อนจากที่แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มา
    รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว
    ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอย
    เคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้
    ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากาม
    ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทร
    เป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่
    ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อม-
    *น้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ฯ
    [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย ท้าวเธอเสด็จเข้าไป
    หาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์พึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูกรพ่อ พ่อ
    อย่าเสียใจ และอย่าเสวยแต่ความเสียใจไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์
    อันตรธานไปแล้ว ดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจาก
    บิดาของพ่อไม่ ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้
    เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมี
    แก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ใน
    วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
    ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ
    ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม
    ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย
    มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม
    ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และ
    คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ
    และนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง
    บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้น
    ด้วย ดูกรพ่อ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจาก
    ความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ
    ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร ท่านขอรับ
    อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ
    กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใด
    เป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ
    นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราชฤาษีแล้ว ทรง
    ประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอัน
    ประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
    อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ
    ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้ว
    มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
    บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้
    มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
    ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิ์หรือหนอ ฯ
    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว
    ทรงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรง
    ประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงเป็น
    ไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้า
    จักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราช-
    *เจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอ
    พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด มหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทร
    ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม
    ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว
    ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น
    พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า
    พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น
    มหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง
    แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตู
    พระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว
    สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯ
    [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี
    องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไป
    หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษ
    ผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พ่อพึงบอก
    แก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ
    ท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
    บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่
    ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
    นั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักร-
    *แก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระ-
    *เจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
    อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลาย
    อันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็น
    ขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวช
    เป็นบรรพชิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์
    ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า
    ย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงพระผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธาน
    ไปแล้ว ฯ
    [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ได้ทรงเสียพระทัย และได้ทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไป
    เฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามจึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ นัยว่าท้าวเธอทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์
    ตามพระมติของพระองค์อยู่ ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือน
    เมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์
    นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา
    ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน
    เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
    อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์
    และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคน
    เลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย จำทรงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่
    ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธ-
    *เจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์ฯ
    [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราช-
    *บริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษา
    ประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เขา
    เหล่านั้นอันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวาย
    ท้าวเธอ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน
    และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
    เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น
    ไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์
    มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขา
    ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูล
    อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ
    บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่
    สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์
    นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทาน
    ทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เรา
    ทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯ
    [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา
    จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวี
    ขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำ
    การตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
    ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเชือก
    เหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น
    แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตู
    ด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอก
    พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือก
    เหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพา
    ตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ
    คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนคร
    ทิศทักษิณแล้ว ฯ
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
    ทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่น
    อย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขา
    จึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา
    อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ครั้นแล้ว
    จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนน
    หนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯ
    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุ
    ถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี
    บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดง
    แก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง
    นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี
    อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้
    มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์
    ของคนอื่นไป ฯ
    [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
    ดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี
    ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ฯ
    [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    กาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ
    ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
    แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวก
    เขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
    ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท
    ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
    สัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุ
    บ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง
    เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย
    แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ
    อธรรมราคะ ๑- วิสมโลภ ๒- มิจฉาธรรม ๓- ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม
    ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็
    เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ
    ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
    ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
    พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
    เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
    แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
    อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ
    แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    @(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความ
    @กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา
    เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน
    มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
    ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
    ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
    ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
    สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
    ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
    ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
    ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ในบัดนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
    ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
    ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
    แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
    คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
    บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
    อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพราน
    เนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
    อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
    สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
    หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
    นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
    เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
    และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
    ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
    ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
    ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
    ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
    นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
    กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
    ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
    จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    เจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า
    กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก
    อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น
    จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
    ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
    อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
    ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
    ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
    อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
    เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
    วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
    ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
    เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
    ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
    ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
    ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
    อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
    มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
    เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
    คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
    *พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
    ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
    ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
    ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
    พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
    โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
    เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
    โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
    แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
    *พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
    ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
    พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
    ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
    ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
    ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
    อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
    ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
    ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ
    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
    อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มี
    ธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
    พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
    อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
    ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
    จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
    สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
    สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
    ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
    ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
    ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
    จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
    เรื่องสุขของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
    ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
    เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
    สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต
    ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
    ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
    ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
    กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา
    อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
    ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง
    เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
    เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
    ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ
    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...&A=1189&Z=1702
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
    ว่าด้วยพระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้าสมัยต่อมาพระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์เป็นพระธรรมราชา มีพระรัศมีสว่างไสวทรงพระนามว่า กัสสปะทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชา พระองค์ทรงละทิ้งเสียแล้วทรงเป็นทายกผู้องอาจให้ทาน ยังฉันทะให้เต็ม ทรงทำลายกิเลสดังสัตว์ร้ายแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อพระกัสสปะผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ต่างๆ ทรงประกาศพระญาณธาตุ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าพันโกฏิ ในคราวที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ณ สุธรรมเทพนครอันรื่นรมย์ พระชินเจ้าทรงทำให้เทวดาสามพันโกฏิได้ตรัสรู้และในคราวทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์ เทวดา และยักษ์อีกครั้งหนึ่งมนุษย์เป็นต้นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมนั้นจะคณนานับมิได้


    แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทินมีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียว ครั้งนั้นพระภิกษุขีณาสพผู้ล่วงสุดภพแล้ว ผู้คงที่ด้วยหิริและศีลมาประชุมกันสองหมื่น ในกาลนั้นเราเป็นมาณพ มีชื่อปรากฏ ว่าโชติปาละ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพทถึงที่สุดในคำภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ เป็นผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์ ฆฏิการอุบาสกผู้อุปัฏฐากแห่งพระผู้มีพระภาคกัสสปะ เป็นผู้มีความเคารพยำเกรง เป็นพระอนาคามี ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าไปเฝ้าพระกัสสปชินเจ้า เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วบวชในสำนักของพระองค์ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรและมิใช่วัตรไม่เสื่อมในที่ไหนๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้าบริบูรณ์เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง ยังพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น

    เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญเพียรบารมี ๑๐ ประการ การให้ยิ่งขึ้นไปเรานึกถึงพระพุทธพยากรณ์อย่างนี้แล้ว งดเว้นอนาจาร กระทำกรรมที่ทำได้ยาก เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น พระนครชื่อว่าพาราณสี พระบรมกษัตริย์ พระนามว่ากิกี ตระกูลใหญ่ของพระสัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น พรหมทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดานางธนวดีพราหมณีเป็นพุทธมารดา พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่สองพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อหังษะ ยสะ และสิริจันทะ มีนางสาวนารีสี่หมื่นแปดพันนางล้วนประดับประดาสวยงาม นางสุนันทาพราหมณีเป็นภรรยา บุตรชายนามว่า
    วิชิตเสน พระองค์ผู้เป็นบุรุษอุดม ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระกัสสปมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระติสสเถระและพระภารทวาชเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสรรพมิตตะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระอนุลาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่านิโครธ สุมังคลอุบาสกและฆฏิการอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก วิชิตเสนาอุบาสก และภัททาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระองค์สูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าในอากาศดุจพระจันทร์เต็มดวง พระองค์มีพระชนมายุสองหมื่นปี เมื่อทรงดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมายทรงสร้างสระน้ำคือธรรมไว้ ทรงประทานเครื่องลูบไล้ คือ ศีลทรงจัดผ้าคือธรรมไว้นุ่งห่ม ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม ทรงตั้งกระจกเงาอันไร้มลทินคือธรรมไว้ให้มหาชน ด้วยทรงหวังว่า ชนบางพวกปรารถนานิพพาน จงเห็นเครื่องประดับของเรา ทรงจัดเสื้อคือศีล เกราะหนังคือญาณ ทรงจัดหนังคือธรรมไว้ให้คลุม และเครื่องรบอย่างดีเลิศให้ ทรงจัดโล่ห์คือสติ หอกคือญาณอันคมกล้าดาบอย่างดีคือธรรม และศาตราวุธเครื่องย่ำยีศัตรูคือศีลไว้ให้ ทรงจัดภูษา คือไตรวิชา พวงมาลัยสวมศีรษะคือผล ๔ เครื่องอาภรณ์ คืออภิญญา ๖ และดอกไม้เครื่องประดับคือธรรม ร่มขาวคือพระสัทธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันบาป ทรงนิรมิตดอกไม้ คือ ความไม่มีเวรภัยไว้ให้เสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่จะรู้ได้พระธรรมรัตนะที่ตรัสไว้ดีแล้วควรเรียกให้มาดู พระสังฆรัตนะผู้ปฏิบัติดี ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ทั้ง ๓ รัตนะนี้ หายไปหมดทุกอย่างแล้ว


    สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระมหากัสสปชินศาสดา เสด็จนิพพานที่เสตัพยาราม ทระสถูปของพระองค์ สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ เสตัพยารามนั้น ฉะนี้แล.
    จบกัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔


    หากทรงต้องบุพกรรมตามกันมาดั้งนี้
    ฉนั้น วาระที่มิใช่วาระ หรือเป็นวาระที่ใช่วาระ การแก้ไขและการทำความเข้าใจใหม่ครั้งใหญ่ ก็ควรจะต้องพึ่งพาผู้ทำให้แจ้งแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าลืมว่า มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ใครก็ปลงพระชนม์ ไม่ได้

    พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท
    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏบรรพต
    ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยหมายใจว่า
    จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้ ยอดบรรพตทั้งสองน้อมมารับศิลานั้น
    ไว้ สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้นต้องพระบาทของพระผู้มีพระภาค ทำพระโลหิตให้
    ห้อขึ้นแล้ว ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนขึ้นไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า ดูกร
    โมฆบุรุษ เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญไว้มากนัก เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า
    ยังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว เพราะเธอ
    มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้
    สดับข่าวว่า พระเทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุ
    เหล่านั้นจงกรมอยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค ทำการสาธยายมีเสียงสูง
    เสียงดัง เพื่อรักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียง
    สาธยาย มีเสียงเซงแซ่ แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ นั่นเสียง
    สาธยาย มีเสียงเซงแซ่ อะไรกัน
    ท่านอานนท์ทูลตอบว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระ
    เทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุเหล่านั้นจงกรมอยู่รอบ
    รอบวิหารของพระผู้มีพระภาคทำการสาธยายมีเสียงเซงแซ่ เพื่อรักษาคุ้มครอง
    ป้องกันพระผู้มีพระภาค เสียงนั้นนั่น เป็นเสียงสาธยาย มีเสียงเซงแซ่พระพุทธ
    เจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกภิกษุทั้งหลาย
    เหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย
    ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์ แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น
    แจ้งให้ทราบว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระ
    ผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความ
    พยายามของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่
    ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น
    ตรัสเรื่องศาสดา ๕ จำพวก

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/...&A=3616&Z=3644
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปล่อยช้างนาฬาคิรี
    สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีช้างชื่อนาฬาคิรี เป็นสัตว์ดุร้าย
    ฆ่ามนุษย์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้วไปยังโรงช้างได้กล่าวกะ
    พวกควาญช้างว่า พนาย เราเป็นพระราชญาติ สามารถจะแต่งตั้งผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง
    ต่ำไว้ในตำแหน่งสูงได้ สามารถจะเพิ่มได้ทั้งเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน พนาย ถ้า
    กระนั้นเวลาใดพระสมณโคดมทรงพระดำเนินมาตรอกนี้ เวลานั้น พวกท่านจง
    ปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไปยังตรอกนี้ ควาญช้างเหล่านั้นรับคำพระเทวทัตแล้ว ครั้น
    เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตร จีวร เสด็จเข้า
    ไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมกับภิกษุมากรูป ทรงพระดำเนินถึงตรอกนั้น ควาญช้าง
    เหล่านั้นได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคทรงพระดำเนินถึงตรอกนั้น จึงปล่อยช้างนาฬาคิรีให้ไปยังตรอกนั้น ช้างนาฬาคิรีได้แลเห็นพระผู้มีพระภาค ทรงพระดำเนินมา
    แต่ไกลเทียว แล้วได้ชูงวง หูชัน หางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาค ภิกษุ
    เหล่านั้นได้แลเห็นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาแต่ไกลเทียว แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ว่า พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอก
    นี้แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธ
    เจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวเลย ข้อที่
    บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่นนั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
    เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น
    แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้น ...
    แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ช้างนาฬาคิรีนี้ ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย อย่ากลัวเลย ข้อที่บุคคล
    จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
    เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ฯ
    [๓๗๘] คราวนั้น คนทั้งหลาย หนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทบ้าง บนเรือน
    โล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง บรรดาคนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
    ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราผู้เจริญ พระมหาสมณโคดม พระรูปงาม จัก
    ถูกช้างเบียดเบียน
    ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส ฉลาด มีปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา
    ผู้เจริญ ไม่นานเท่าไรนัก พระพุทธนาคจักทรงทำสงครามกับช้าง
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี
    ลำดับนั้น ช้างนาฬาคิรีได้สัมผัสพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
    ลดงวงลงแล้วเข้าไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระผู้มี-
    *พระภาค
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคิรี
    พลางตรัสกะช้างนาฬาคิรี ด้วยพระคาถา ว่าดังนี้:-
    [๓๗๙] ดูกรกุญชร เจ้าอย่าเข้าไปหาพระพุทธนาค เพราะการเข้าไปหา
    พระพุทธนาคด้วยวธกะจิตเป็นเหตุแห่งทุกข์ ผู้ฆ่าพระพุทธนาค
    จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าไม่มีสุคติเลย เจ้าอย่าเมา และอย่า
    ประมาท เพราะคนเหล่านั้น เป็นผู้ประมาทแล้ว จะไปสู่สุคติ
    ไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดยประการที่จักไปสู่สุคติได้ ฯ
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...&A=3697&Z=3769
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    การเปิดเผยการมีอยู่ และสถานะตัวตนของว่าที่ พระศรีอาริยเมตไตรย ย่อมเป็นฐานะที่อันตรายมาก แม้ไม่อันตรายต่อตัวของท่านเอง ก็ย่อมสร้างภัยให้กับบุคคลรอบข้างใกล้ชิดได้

    อย่าลืมว่า แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดจนพระอรหันตสาวกทั้งหลายฯ สามารถถูกมารประทุษร้ายจนถึงแก่ชีวิตได้ นี่ยังไม่นับรวมถึง พระพรหม เทพดา ต่างๆที่ถูกมารคุกคามโดยเป็นนิจ

    และถ้าหากมิได้มี {O}ธรรมสมบัติ{O} บารมีธรรม อันเป็นข่ายพระญานอันถ่ายทอดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงประดิษฐานไว้แก่หน่อเนื้อแห่งพุทธะและ พระบารมีที่ทรงสั่งสมไว้ให้ควรแก่ปัจจัยในการบรรลุเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านก็ย่อมมีอันตรายเกิดกับพระองค์ท่านได้

    เช่นเดียวกับ พระมหาอัครสาวกในเรื่องเดียวกันนี้ ที่ได้ มอบ {O}ธรรมสมบัติ{O} ถ่ายทอดไว้ให้พระอริยะเจ้าตลอดพุทธบริษัทรุ่นถัดมา ต่อเนื่องตามลำดับไป

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
    ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?
    ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...&A=4280&Z=4326
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หากจักมีการที่จะเป็นการล่วงเกินพุทธบารมี อันจะพึงมีพึงเกิดขึ้นโดย อรรถพยัญชนะหรือ ล่วง ด้วย กาย วาจา และใจ ของข้าพระพุทธเจ้า และสหายธรรมกัลยาณมิตรผู้ร่วมเสวนาธรรมสากัจฉาในที่แห่งนี้ตลอดจนที่อื่น ขอจงทรงอดโทษและทรงอภัยโทษนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ในกาลบัดนี้ด้วยเถิด ก็เนื่องเพราะอวิชชาคือความไม่รู้ครอบงำ และความเพียรที่ยังไม่สำเร็จลุล่วงในการเจริญในพระสัทธรรมทั้งหลายฯ ขอพระองค์ทรงพระราชทานอภัยโทษด้วยเทอญฯ


    ขอให้ท่านผู้เจริญ ผู้เป็นหน่อเนื้อแห่งเหล่าพุทธะ ขอท่านจงอยู่รอดปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง ในทุกทิวาราตรีกาลและทุกสถาน ไม่ว่าจะเสด็จเป็นไปใน ณ ที่ภพภูมิเหล่าใดตลอดสหโลกธาตุในอนันตริยะจักรวาล ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญในกาลอันสมควรมีควรได้ อยู่ทุกเมื่อเทอญฯ
    รูปขนาดเล็ก
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    โย ทณฺเฑน อทณฺเฑนสุ อปฺปทุฏฺเสุ ทุสฺสติ
    ทสนฺนมญฺตร าน ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ
    เวทน ผรุส ชานึ สรีรสฺส จ เภทน
    ครุก วาปิ อาพาธ จิตฺตกฺเขป ว ปาปุเณ
    ราชฺโต วา อุปสคฺค อพฺภกฺขาน ว ทารุณ
    ปริกฺขย ว ญาตีน โภคาน ว ปภงฺคุณ
    อถ วาสฺส อคารานิ อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
    กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโ นิรย โส อุปปชฺชติ.


    " ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้ง
    หลาย ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ ๑๐
    อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ถึงเวทนา
    กล้า ๑ ความเสื่อมทรัพย์ ๑ ความสลายแห่งสรีระ ๑
    อาพาธหนัก ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ความขัดข้อง
    แต่พระราชา ๑ การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑ ความ
    ย่อยยับแห่งเครือญาติ ๑ ความเสียหายแห่งโภคะ
    ทั้งหลาย ๑ อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของ
    เขา, ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก ย่อมเข้า
    ถึงนรก."



    แม้จะมีเกราะสูญญะวินาศ(ธาตุทัณฑ์)คุ้มครองปกป้องอยู่ แต่มารตนใหม่มีอายุขัยยาวนานและต้องบุพกรรมมาควบคู่กัน ย่อมไม่สนใจไยดี จนกว่าจะถึงกาลวิสัยที่จักต้องได้รับบทเรียน

    การจะให้มารคิดหวนระลึกถึง ในกาลสมัยเหมือนตอนที่มารผู้ล่วงไปแล้วตนเก่า คิดถึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคณอันเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนตอนที่ถูกท่านพระมหาเถระพระอุปคุตเถระเจ้าทรมานนั้น

    จักเป็นการดีอันแน่แท้ ที่จักเป็นตัวอย่างอันจักระลึกถึงพระมหากรุณาที่ทรงเมตตาได้ว่า" องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เคยที่จะทรงปรารถนาทำภยันอันตรายใดๆ หรือมีพุทธประสงค์ทำร้ายพญามารเลย ทั้งๆที่พญามารประสงค์ร้ายต่อพระองค์ กระทำการมิบังควรต่อพระองค์ พระองค์ก็มิได้ทรงแม้จะโต้ตอบมีแต่เมตตาธรรมให้แก่พระญามาร แม้จะมาทูลขอให้ทรงเข้าสู่พระปรินิพพาน ก็ทรงรับอาราธนา

    แต่มาบัดนี้เล่า กลับจะต้องถูกลงโทษจากพระอุปคุตเถระเจ้า จนต้องเสื่อมเสียความเป็นอยู่อีกทั้งยังต้องอับอายไปทั่วแทบทุกภพภมิยังสากลโลก และจักเป็นเรื่องที่เป็นตำนานเล่าขานสืบไป
    รูปขนาดเล็ก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...