หลวงปู่ฝากไว้ ( Gifts He Left Behind )

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย paang, 12 เมษายน 2008.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อุทานธรรมข้อต่อมา

    เมื่อบุคคลปลงผม หนวด เคราออกหมดแล้ว และได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อยแล้ว ก็นับว่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นภิกษุได้ แต่ยังเป็นได้แต่เพียงภายนอกเท่านั้น ต่อเมื่อเขาสามารถปลงสิ่งที่รกรุงรังทางใจ อันได้แก่อารมณ์ตกตํ่าทางใจได้แล้ว ก็ชื่อว่าเป็นภิกษุในภายในได้ฯ

    ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่นเหา ย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดจากการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น ผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้ควรเรียกได้ว่า "เป็นภิกษุแท้"


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Still more inspired words

    "When a person has shaved his hair and beard and put on the ochre robe, that's the symbol of his state as a monk. But it counts only on the external level. Only when he has shaved off the mental tangle — all lower preoccupations — from his heart can you call him a monk on the internal level.


    "When a head has been shaved, little creeping insects like lice can't take up residence there. In the same way, when a mind has gained release from its preoccupations and is freed from fabrication, suffering can't take up residence at all. When this becomes your normal state, you can be called a genuine monk."
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    พุทโธเป็นอย่างไร

    หลวงปู่รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่าพุทโธ เป็นอย่างไร หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า

    เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆเข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆให้มันออกมาจากจิตของเรา

    ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ

    ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธ เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย.


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->

    What buddho is like

    Luang Pu was invited to teach in Bangkok on March 31, 1978. During a Dhamma conversation, some lay people expressed their doubts about what "buddho" was like. Luang Pu was kind enough to answer:

    "When you meditate, don't send your mind outside. Don't fasten onto any knowledge at all. Whatever knowledge you've gained from books or teachers, don't bring it in to complicate things. Cut away all preoccupations, and then as you meditate let all your knowledge come from what's going on in the mind. When the mind is quiet, you'll know it for yourself. But you have to keep meditating a lot. When the time comes for things to develop, they'll develop on their own. Whatever you know, have it come from your own mind.

    "The knowledge that comes from a mind that's quiet is extremely subtle and profound. So let your knowledge come out of a mind quiet and still.


    "Have the mind give rise to a single preoccupation. Don't send it outside. Let the mind stay right in the mind. Let the mind meditate on its own. Let it be the one that keeps repeating buddho, buddho. And then genuine buddho will appear in the mind. You'll know for yourself what buddho is like. That's all there is to it. There's not a whole lot..."
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อยากได้ของดี

    เมื่อต้นเดือนกันยายน ๒๕๒๖ คณะแม่บ้านมหาดไทย โดยมีคุณหญิงจวบ จิรโรจน์ เป็นหัวหน้าคณะ ได้นำคระแม่บ้านมหาดไทยไปบำเพ็ญสังคมสงเคราะห์ทางภาคอีสาน ได้ถือโอกาสแวะมนัสการหลวงปู่ เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น.ฯ

    หลังจากกราบมนัสการและถามถึงอาการสุขสบายของหลวงปู่และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกจากหลวงปู่แล้ว เห็นว่าหลวงปู่ไม่ค่อยสบาย ก็รีบออกมา แต่ยังมีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ถือโอกาสพิเศษกราบหลวงปู่ว่า ดิฉันขอของดีจากหลวงปู่ด้วยเถอะเจ้าค่ะ ฯ

    หลวงปู่จึงเจริญพรว่า ของดีก็ต้องภาวนาเอาจึงจะได้ เมื่อภาวนาแล้ว ใจก็สงบ กายวาจาก็สงบ แล้วกายก็ดี วาจาใจก็ดี เราก็อยู่ดีมีสุขเท่านั้นเอง

    ดิฉันมีภาระมาก ไม่มีเวลาจะนั่งภาวนา งานราชการเดี๋ยวนี้รัดตัวมากเหลือเกิน มีเวลาที่ไหนมาภาวนาได้คะ ฯ

    หลวงปู่จึงต้องอธิบายให้ฟังว่า

    "ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา"



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->

    For those who want something good

    In early September, 1983, the Housewives Association of the Interior Ministry, led by Mrs. Juap Jirarote, came to the Northeast to do some charity work. One evening they took the opportunity to stop by and pay their respects to Luang Pu at 6:20 p.m.

    After they had paid their respects and asked after his health, they received some amulets from him. Seeing that he wasn't feeling well, though, they quickly left. But there was one lady who stayed behind and took this special opportunity to ask Luang Pu, "I'd like something good [a euphemism for an amulet] from Luang Pu, too."

    Luang Pu replied, "You have to meditate to get something good. When you meditate, your mind will be at peace. Your words and deeds will be at peace. Your words and deeds will be good. When you live in a good way like this, you'll be happy."

    The lady replied, "I have lots of duties, and no time to meditate. My government work has me all tied up, so where am I going to find any time to meditate?"

    Luang Pu explained,

    "If you have time to breathe, you have time to meditate."
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    มี แต่ไม่เอา

    ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ไปพักผ่อน และเยี่ยมอาจารย์สมชายที่วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ขณะเดียวกันก็มีพระเถระอาวุโสรูปหนึ่งจากกรุงเทพฯ คือพระธรรมวราลังการ วัดบุปผารามเจ้าคณะภาคทางภาคใต้ไปอยู่ฝึกกัมมัฏฐานเมื่อวัยชราแล้ว เพราะมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่เพียงปีเดียว ฯ

    เมื่อท่านทราบว่าหลวงปู่เป็นพระฝ่ายกัมมัฏฐานอยู่แล้ว ท่านจึงสนใจและศึกษาถามถึงผลของการปฏิบัติ ทำนองสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน และกล่าวถึงภาระของท่านว่า มัวแต่ศึกษาและบริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวงปู่อยู่เป็นเวลานาน ลงท้ายถามหลวงปู่สั้นๆว่า ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม ฯ

    หลวงปู่ตอบเร็วว่า

    "มี แต่ไม่เอา"





    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    He does, but he doesn't

    In 1979, Luang Pu went to Chantaburi to rest and to visit with Ajaan Somchai. On that occasion, a senior monk from Bangkok — Phra Dhammavaralankan of Wat Buppharam, the ecclesiastical head of the southern region of the country — was also there, practicing meditation in his old age, being only one year younger than Luang Pu. When he learned that Luang Pu was a meditation monk, he became interested and engaged Luang Pu in a long conversation on the results of meditation. He mentioned his responsibilities, saying that he had wasted a lot of his life engaged in study and administration work well into his old age. He discussed different points of meditation practice with Luang Pu, finally asking him, "Do you still have any anger?"

    Luang Pu immediately answered,

    "I do, but I don't pick it up."
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    รู้ให้พร้อม

    ระหว่างที่หลวงปู่อยู่รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้น มีผู้ไปกราบนมัสการและฟังธรรมเป็นจำนวนมาก คุณบำรุงศักดิ์ กองสุข เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนา นัยว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ แห่งวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดปฏิบัติที่เคร่งครัดฝ่ายธุดงค์กัมมัฏฐานในยุคปัจจุบัน ได้ปรารภการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ถึงเรื่องการละกิเลสว่า

    “หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้”
    หลวงปู่ตอบว่า

    “ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->

    Aware in time

    When Luang Pu was undergoing treatment at Chulalongkorn Hospital in Bangkok, large numbers of people came to pay their respects and listen to his Dhamma. Mr. Bamrungsak Kongsuk was among those who were interested in the practice of meditation. He was a student of Ajaan Sanawng of Wat Sanghadana in Nonthaburi province, one of the strict meditation centers of our day and time. He broached the topic of the practice of the Dhamma by asking,

    "Luang Pu, how does one cut off anger?"

    Luang Pu answered,

    "There's nobody who cuts it off. There's only being aware of it in time. When you're aware of it in time, it disappears on its own."
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ไม่ตามใจผู้ถาม

    ผู้ที่อยู่เฝ้ารักษาพยาบาลหลวงปู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ในรอบดึกมีจำนวนหลายท่านด้วยกัน

    เขาเหล่านั้นมีความสงสัยและอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง โดยที่สังเกตเห็นว่า บางวันพอเวลาดึกสงัดตีหนึ่งผ่านไปแล้ว ได้ยินหลวงปู่อธิบายธรรมะนานประมาณสิบกว่านาที แล้วสวดยถาให้พร ทำเหมือนหนึ่งมีผู้มารับฟังอยู่เฉพาะหน้าเป็นจำนวนมาก ครั้นจะถามประพฤติการที่หลวงปู่ทำเช่นนั้นก็ไม่กล้าถาม ต่อเมื่อเห็นหลวงปู่ทำเช่นนั้นหลายครั้งก็ทนสงสัยไม่ได้ จึงพากันถามหลวงปู่ตามลักษณาการนั้น

    หลวงปู่จึงบอกว่า

    “ความสงสัยและคำถามเหล่านี้ มันไม่ใช่เป็นแนวทางปฏิบัติธรรม”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Cutting no slack

    Many monks and novices attending to Luang Pu late at night in Chulalongkorn Hospital were perplexed and amazed when they noticed that on some nights, well after 1:00 a.m., they could hear Luang Pu explaining the Dhamma for about ten minutes and then chanting a blessing, as if there were large numbers of listeners right in front of him. At first, no one dared ask him about this, but after it had happened many times they couldn't contain their doubts, and so they asked.

    Luang Pu told them,

    "These doubts and questions are not the path for practicing the Dhamma."
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ประหยัดคำพูด

    คณะปฏิบัติธรรมจากจังหวัดบุรีรัมย์หลายท่าน มีร้อยตำรวจเอกบุลชัย สุคนธมัต อัยการจังหวัดเป็นหัวหน้า มากราบหลวงปู่เพื่อฟังข้อปฏิบัติธรรมและเรียนถามถึงวิธีปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งส่วนมากก็เคยปฏิบัติกับครูบาอาจารย์แต่ละองค์มาแล้ว และแสดงแนวทางปฏิบัติไม่ค่อยจะตรงกัน เป็นเหตุให้เกิดความสงสัยยิ่งขึ้น

    จึงขอกราบเรียนหลวงปู่โปรดช่วยแนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง และทำได้ง่ายที่สุด เพราะหาเวลาปฏิบัติธรรมได้ยาก หากได้วิธีที่ง่ายๆ แล้วก็จะเป็นการถูกต้องอย่างยิ่ง

    หลวงปู่บอกว่า

    “ให้ดูจิต ที่จิต”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->

    Frugal with his words

    A large group of Dhamma practitioners from Buriram province — headed by Police Lieutenant Bunchai Sukhontamat, the provincial prosecutor — came to pay their respects to Luang Pu, to listen to the Dhamma, and to ask questions about how to progress further in their practice. Most of them had practiced with all the famous ajaans, who had explained the practice in a variety of ways that weren't always in line with one another, and this had caused them more and more doubts. So they asked Luang Pu's advice as to the way of practice that was correct and easiest, as they had difficulties in finding time to practice. If they could learn of a way that was really easy, it would be especially right for them.

    Luang Pu answered,

    "Watch the mind right at the mind."
     
  8. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ง่าย แต่ทำได้ยาก

    คณะของคุณดวงพร ธารีฉัตร จากสถานีวิทยุทหารอากาศ ๐๑ บางซื่อ นำโดยคุณอาคม ทันนิเทศ เดินทางไปถวายผ้าป่า และกราบนมัสการครูบาอาจารย์ตามสำนักต่างๆทางอีสาน ได้แวะกราบมนัสการหลวงปู่ หลังจากถวายผ้าป่า ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่หลวงปู่ และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกจากท่านแล้ว ต่างคนต่างก็ออกไปตลาดบ้าง พักผ่อนตามอัธยาศัยบ้าง

    มีอยุ่กลุ่มหนึ่งประมาณสีห้าคน เข้าไปกราบหลวงปู่แนะนำวิธีปฏิบัติง่ายๆ เพื่อแก้ไขความทุกข์ความกลุ้มใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงได้ผลเร็วที่สุด ฯ

    หลวงปู่บอกว่า
    "อย่าส่งจิตออกนอก."



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Simple, but hard to do

    The group of Duangporn Tharichat from the Air Force Radio Station 01 in Bang Syy, headed by Akhom Thannithate, came to the northeast to present group donations and to pay their respects to the ajaans in the various monasteries. When they stopped off to pay respect to Luang Pu, they presented their donations and received small mementos. After that, some of them went shopping in the market, while some of them found a place to rest. However, there was one group of about four or five people who stayed behind and asked Luang Pu to advise them on a simple method to get rid of mental distress and depression, which was a constant problem for them. What method, they asked, would give the quickest results?

    Luang Pu answered,

    "Don't send your mind outside."
     
  9. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ทิ้งเสีย

    สุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์ เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่จบแล้ว ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม เขาจึงพูดปรารภต่อไปอีกว่า คนสมัยนี้ไว้ทุกข์กันไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน ทั้งๆที่สมัย ร.๖ ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่แล้ว เช่น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง ก็ให้ไว้ทุกข์ ๗ วันบ้าง ๕๐ วันบ้าง ๑๐๐ วันบ้าง แต่ปรากฎว่าคนทุกวันนี้ทำอะไรรู้สึกว่าลักลั่นกันไม่เป็นระเบียบ ดิฉันจึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า การไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ ฯ

    หลวงปู่บอกว่า

    "ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทำไม."



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Throw it away

    A lady professor, after hearing Luang Pu give a talk on Dhamma practice, asked him the proper way to "wear suffering" [the Thai idiom for observing a period of mourning]. She continued, "These days, people don't wear suffering in the correct way or in line with a common pattern, even though King Rama VI established a good standard in the time of his reign. When a member of your immediate family or a senior member of your extended family died, the pattern was to wear suffering for seven days, 50 days, or 100 days. But nowadays people don't follow any pattern. So I'd like to ask you: What is the correct way to wear suffering?"

    Luang Pu answered,

    "Suffering is something to be comprehended. When you comprehend it, you let it go. Why would you want to wear it?"
     
  10. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    จริง ตามความเป็นจริง

    สุภาพสตรีชาวจีนผู้หนึ่ง ถวายสักการะแด่หลวงปู่แล้ว เขากราบเรียนถามว่า ดิฉันจะต้องไปอยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรมย์เพื่อทำมาค้าขายอยู่ใกล้ญาติทางโน้น ทีนี้ทางญาติๆก็เสนอแนะว่า ควรจะขายของชนิดนั้นบ้าง ชนิดนี้บ้าง ตามแต่เขาจะเห็นดีว่าอะไรขายได้ดี ดิฉันยังมีความกังวลใจตัดสินใจเอาเองไม่ได้ว่าจะเลือกขายของอะไร จึงให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยว่า จะให้ดิฉันขายอะไรจึงจะดีเจ้าคะ ฯ

    "ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ ถ้ามีคนซื้อ."



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    A truth in line with the truth

    A Chinese lady, after paying her respects to Luang Pu, asked him, "I have to move to Prakhonchai District in Buriram Province to set up a store near my relatives there. The problem is, my relatives have been recommending that I sell this, that, and the other thing in the store, in line with their opinion as to what would sell well, but I can't make up my mind as to what would be good to sell. So I've come to ask your advice as to what would be good for me to sell."

    Luang Pu answered,

    "Anything is good to sell, as long as there are people to buy it."
     
  11. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ไม่ได้ตั้งจุดหมาย

    เมื่อจันทร์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒ คณะนายทหารประมาณ ๑๐ กว่านายเข้านมัสการหลวงปู่เมื่อเวลาคํ่าแล้ว ก็จะเดินทางต่อเข้ากรุงเทพ ฯ ในคณะนายทหารเหล่านั้น มียศพลโทสองท่าน หลังสนทนากับหลวงปู่เป็นเวลาพอสมควร ก็ถอดเอาพระเครื่องจากคอของแต่ละท่านรวมใส่ในพานถวายให้หลวงปู่ช่วยอธิษฐานแผ่เมตตาพลังจิตให้ ท่านก็อนุโลมตามประสงค์ แล้วก็มอบคืนไป นายพลท่านหนึ่งถามว่า ทราบว่ามีเหรียญหลวงปู่ออกมาหลายรุ่นแล้ว อยากถามหลวงปู่ว่ามีรุ่นไหนดังบ้าง ฯ

    หลวงปู่ตอบว่า

    "ไม่มีดัง"


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    That wasn't his aim

    On May 8, 1979, a group of ten or more army officers came to pay their respects to Luang Pu quite late in the evening before heading on to Bangkok. Two of the members of the group had the rank of Lieutenant General. After conversing with Luang Pu for a while, the members of the group took the amulets from around their necks and placed them in a tray for Luang Pu to bless with the power of his concentration. He obliged them, and then returned their amulets to them. One of the generals asked him, "I've heard that you've made many sets of amulets. Which of them are famous?"

    Luang Pu answered,

    "None of them are famous."
     
  12. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    คนละเรื่อง

    มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว สังเกตุจากการนั่งการพูด เขานั่งตามสบาย พูดตามถนัด ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเครื่องรางของขลังอย่างดี เขาพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่ คนหนึ่งมีหมูเขี้ยวตัน คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ อีกคนมีนอแรด ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ มีคนหนึ่งเอ่ยปากว่า หลวงปู่ฮะ อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันฮะ ฯ

    หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเริงเป็นพิเศษยิ้มๆ แล้วว่า

    "ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน."



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Worlds apart

    A group of three or four young men from a distant province came to see Luang Pu as he was sitting on the porch of the meeting hall. You could tell from their behavior — in the casual way they sat and spoke — that they were probably familiar with a rogue monk someplace. On top of that, they seemed to believe that Luang Pu was interested in talismans, for they told him of all the great tantric ajaans who had given them talismans of extraordinary magical power. Finally, they pulled out their talismans to display to one another right there in front of him. One of them had a tusk of a wild boar, another a tiger's fang, another a rhinoceros horn. Each of them claimed extraordinary powers for his talisman, so one of them asked Luang Pu, "Hey, Luang Pu. Which of these is more extraordinary and good than the others for sure?"

    Luang Pu seemed especially amused and said with a smile,

    "None of them are good, none of them are extraordinary at all. They all come from common animals."
     
  13. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    คราวหนึ่ง หลวงปู่กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ในพรรษาที่ ๒๔๙๕ เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน ที่สุดแห่งสัจจธรรม หรือที่สุดของทุกข์นั้น อยู่ตรงไหน พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร ครั้นอ่านไป ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเราให้ตัดสินใจได้ว่า นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งมรรคผล หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

    มีอยู่ตอนหนึ่ง คือ ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า สารีบุตร สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์" (สุญฺญตา) ฯ

    ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ ที่มาสัมผัสจิตของเรา.



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    One thing only

    Luang Pu once said, "In the Rains Retreat of 1952 I made a vow to read the entire Canon to see where the endpoint of the Buddha's teachings lay — to see where the end of the noble truths, the end of suffering, lay — to see how the Buddha had summarized it. I read the Canon to the end, contemplating along the way, but there was no passage that made contact deeply enough in the mind that I could say for sure, 'This is the end of suffering. This is the end of the paths and fruitions, or what's called nibbana.'

    "Except for one passage. Ven. Sariputta had just come out of the attainment of the cessation, and the Buddha asked him, 'Sariputta, your skin is especially bright, your complexion especially clear. What is the dwelling place of your mind?'

    "Sariputta answered, 'My mind's dwelling place is emptiness.'

    "That's the one thing that made contact with my mind."
     
  14. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    แนะนำตามวิทยฐานะ

    พระอาจารย์สุจินต์ สุจิณโณ จบนิติ ฯ จากธรรมศาสตร์ นานแล้ว มีความเลื่อมใสในทางปฏิบัติธรรม เคยไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่หลุย เป็นเวลาหลายปี ต่อมาเมื่อได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่ดูเลย์จึงลาหลวงปู่หลุยมาปฏิบัติกับหลวงปู่ ตลอดถึงขอบรรพชาอุปสมบทอยู่ตลอดมา อยู่กับหลวงปู่พอสมควรแก่ความต้องการแล้ว จึงกราบลาเพื่อเดินทางธุดงค์วิเวกต่อไป ฯ

    หลวงปู่แนะนำว่า

    “ส่วนเรื่องพระวินัยนั้น ให้ศึกษาอ่านตำรับตำราให้เข้าใจให้ถูกต้องทุกข้อมูล เพื่อปฏิบัติไม่ให้ผิด ส่วนธรรมะนั้น ถ้าอ่านมากก็จะมีวิตกวิจารณ์มาก จึงไม่ต้องอ่านก็ได้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติเอาเพียงอย่างเดียวก็พอ.”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    What to study and what not to study

    Ven. Ajaan Suchin Sucinno received his law degree from Dhammasaat University a long time ago and held the practice of the Dhamma in high regard. He was a student of Luang Pu Lui for many years and then, after hearing of Luang Pu Dune's reputation, came to practice with him. Eventually he took ordination. After staying with Luang Pu for a while, he came to take his leave so that he could wander off in search of solitude.

    Luang Pu advised him,

    "In the area of the Vinaya, you should study the texts until you correctly understand each and every rule to the point where you can put them into practice without error. As for the Dhamma, if you read a lot you'll speculate a lot, so you don't have to read that at all. Be intent solely on the practice, and that will be enough."
     
  15. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    แนะนำหลวงตาแนน

    หลวงตาแนน บวชเมื่อวัยเลยกลางคนไปแล้ว หนังสือก็อ่านไม่ออกสักตัว ภาษากลางก็พูดไม่ได้สักคำ ดีอย่างเดียว คือ เป็นคนตั้งใจดี ขยันปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง ว่าง่ายสอนง่าย เมื่อเห็น เมื่อเห็นพระรูปอื่นเขาออกไปธุดงค์ หรืออยู่กับสำนักปฏิบัติกับครูบาอาจารย์อื่น ๆ ก็อยากจะไปกับเขาด้วย จึงไปลางหลวงปู่ ฯ

    เมื่อหลวงปู่อนุญาตแล้ว หลวงตาแนนกลับวิตกว่า กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกะเขาได้อย่างไร ฯ

    หลวงปู่แนะนำว่า

    “การปฏิบัติ ไม่ได้เกี่ยวกับอักขระพยัญชนะหรือคำพูดอะไรหรอก ที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว วิธีปฏิบัตินั้น ส่วนวินัยให้พยายามดูแบบอย่างเขา แบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน ส่วนธรรมะ ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติทีจิต เมื่อเข้าใจจิตแล้วอย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง"



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    What to watch

    Luang Taa Naen ordained well after middle age. Illiterate and unable to speak a word of Central Thai, he had his strong point in that he was well-intentioned, tractable, and diligent in his duties, to the point where you couldn't fault him. When he saw other monks taking their leave to go wandering or to study with other ajaans, he decided that he wanted to go, too. So he came to ask permission to leave, which Luang Pu granted. But then he felt worried: "I can't read, I don't know their language. How will I be able to practice with them?"

    Luang Pu advised him,

    "The practice isn't a matter of the letters of the alphabet or of spoken words. The fact that you know you don't know is a good place to start. The way to practice is this: In the area of the Vinaya, watch their example, the example set by the ajaan. Don't deviate in any way from what he does. In the area of the Dhamma, keep watch right at your own mind. Practice right at the mind. When you understand your own mind, that, in and of itself, will make you understand everything else."
     
  16. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ภาระและปัญหาประจำ

    การปกครองและการบริหารหมู่คณะใหญ่ นอกจากจะต้องแก้ปัญหาเล็กใหญ่อย่างอื่นแล้ว ก็มีปัญหาขาดแคลนพระเจ้าอาวาส

    เราเคยได้ยินแต่การแย่งเป็นสมภารกัน แต่ลูกศิษย์หลวงปู่นั้นต้องปลอบ ต้องบังคับให้ไปเป็นสมภาร ไม่เว้นแต่ละปี ที่มีญาติโยมยกขบวนมาขอให้หลวงปู่ส่งพระไปเป็นเจ้าอาวาส

    เมื่อหลวงปูเห็นว่าองค์ไหนสมควรไปก็ขอร้องให้ไป ส่วนมากเมื่อไม่อยากไปก็มักจะอ้างว่า กระผมก่อสร้างไม่เก่ง อบรมไม่เป็น เทศน์ไม่ได้ ประชาสัมพันธ์หรือรับแขกไม่คล่อง เป็นต้น จึงยังไม่อยากจะไป

    หลวงปู่ก็สอนว่า

    “สิ่งเหล่านั้นไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอก เรามีหน้าที่ปฏิบัติกิจวัตรเท่านั้นเอง บิณฑบาต ฉัน แล้วก็นั่งภาวนา เดินจงกรม ทำความสะอาดลานวัด เคร่งครัดตามธรรมวินัย แค่นี้ก็พอแล้ว การก่อสร้างอะไรๆ มันแล้วแต่ญาติโยม เขาจะทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่เขา”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->



    Problems & responsibilities

    One of the problems in administering the Sangha, in addition to having to deal with all the other major and minor issues that come up, is the lack of monks who will be abbots. We sometimes hear news of monks competing to become abbot of a monastery, but Luang Pu's students had to be cajoled or forced into taking on the abbotship in other monasteries. Every year without exception, groups of lay people would come to Luang Pu, asking him to send one of his students to become the abbot at their monastery. If Luang Pu saw that a particular monk should go, he would plead with him to go, but for the most part the monk wouldn't want to go. The usual excuse was, "I don't know how to do construction work, I don't know how to train other monks, I don't know how to give sermons, I'm no good at public relations or receiving guests. That's why I don't want to go."

    Luang Pu would respond,

    "Those things aren't really necessary. Your only responsibility is to follow your daily duties: going for alms, eating your meal, sitting in meditation, doing walking meditation, cleaning the monastery grounds, being strict in observing the Vinaya. That's enough right there. As for construction work, that depends on the lay supporters. Whether or not they do it is up to them."
     
  17. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    หลวงปู่สรงน้ำวันละหนึ่งครั้ง เวลาบ่ายห้าโมง เฉพาะน้ำร้อนที่ผสมให้อุ่นแล้ว กระทำอยู่อย่างนี้จนตลอดอายุขัยของท่าน โดยมีพระเณรผู้อยู่รับใช้ช่วยสรงถวายท่าน

    หลังจากเช็ดตัวแห้งดี จิตใจปลอดโปร่งแล้ว ท่านมักจะปรารภธรรมะให้ฟัง แล้วแต่จะมีธรรมะข้อใดปรากฏขึ้นในขณะนั้น เช่น ครั้งหนึ่งท่านปรารภว่า

    “ภิกษุเรา ถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ภาวะอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The poorer, the happier

    To the end of his life, Luang Pu would have his daily warm-water bath at 5:00 every evening, assisted by a monk or novice. After he had dried off and was feeling refreshed, he would often speak a few words of Dhamma that occurred to him at the time. For instance, once he said,

    "We monks, if we establish in ourselves a sense of satisfaction with our status as monks, will find nothing but happiness and peace. But if we have the status of a monk and yet hanker after any other status, we'll be engulfed in suffering all the time. When you can stop thirsting, stop searching, that's the true state of being a monk. When you're truly a monk, the poorer you are, the more happiness you have."
     
  18. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากหลาย พูดเก่ง อธิบายได้อย่างซาบซึ้ง มีคนเคารพนับถือมาก ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รับรสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น

    เมื่อพูดถึงประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ภายนอก คือ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง หรือเป็นสัญลักษณ์ของศาสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้นคือความพ้นทุกข์

    “จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้จิตหนึ่ง”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The less, the better "

    Even if you've read the whole Canon and can remember lots of teachings; even if you can explain them in poignant ways, with lots of people to respect you; even if you build a lot of monastery buildings, or can explain inconstancy, stress, and not-self in the most detailed fashion — if you're still heedless, you haven't tasted the flavor of the teachings in any way at all, for those other things are all external. The purposes they serve are all external: as a benefit to society, a benefit to other people, a benefit to posterity, or a symbol of the religion. The only thing that serves your own true purpose is release from suffering.

    "And you'll be able to gain release from suffering only when you know the one mind."
     
  19. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    คิดไม่ถึง

    สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่งซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นั่นเอง อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา คือ ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกจากปากใคร ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร หรือสวดปาฏิโมกข์ เท่านั้น

    ครั้นออกพรรษาแล้ว พากันไปกราบหลวงปู่ เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้ว สามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาอีกด้วย

    หลวงปู่ฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

    “ดีเหมือนกัน เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้น เป็นไปไม่ได้หรอก นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติขั้นละเอียด ดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละ ที่ไม่พูดได้ นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าไม่พูดนั่นแหละ ยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้นเอง”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Didn't think of that

    In one of Luang Pu's branch meditation monasteries there lived a group of five or six monks who wanted to be especially strict in their practice, so they made a vow not to talk throughout the Rains Retreat. In other words, no word would come out of their mouths except for the daily chanting and the bi-weekly Patimokkha chant. After the end of the Rains they came to pay their respects to Luang Pu and told him of their strict practice: In addition to their other duties, they were also able to stop speaking for the entire Rains.

    Luang Pu smiled a bit and said,

    "That's pretty good. When there's no speaking, then no faults are committed by way of speech. But when you say that you stopped speaking, that simply can't be. Only the noble ones who enter the refined attainment of cessation, where feeling and perception stop, are able to stop speaking. Aside from them, everyone's speaking all day and all night long. And especially those who vow not to speak: They talk more than anyone else, simply that they don't make a sound that others can hear."
     
  20. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อย่าตั้งใจไว้ผิด

    นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกมาจากจิตของท่านมาสอนแล้ว โดยที่ท่านเคยอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุด ท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและสรรเสริญ มิใช่อานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิหรือแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวระความสำรวม เพื่อปหานะ ความละ เพื่อวิราคะความหายกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะความดับทุกข์ ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้ นอกจากแนวทางนี้แล้ว ผิดทั้งหมด”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Don't aim in the wrong direction

    In addition to the wisdom that came straight from his heart, Luang Pu would also quote passages from his having read the Canon. Any passage that he saw as important, as a short and direct lesson in the practice, he would repeat to us. For instance, one of the Buddha's teachings that he liked to quote was this: "Monks, this holy life is not practiced for the sake of deceiving the public, nor for the sake of gaining their respect, nor for the sake of gains, offerings, and fame; nor for the sake of defeating other sectarians. This holy life is lived for the sake of restraint, abandoning, dispassion, and the cessation of suffering."

    Luang Pu would then add,

    "Those who ordain and those who practice have to aim in this direction. Any directions other than this are all wrong."
     

แชร์หน้านี้

Loading...