เสียงธรรม อภินิหารย์คาถา / อ.เสถียร โพธินันทะ(ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่)

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 6 พฤศจิกายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ชีวประวัติอันน่าอัศจรรย์ของ อ.เสถียร โพธินันทะ


    โดย อ. สุชีพ ปุญญานุภาพ

    โพสท์ในลานธรรมเสวนากระทู้ที่ 003399 โดยคุณ : pug [ 11 ก.ย. 2544 ]
    ท่านสาธุชนทั้งหลาย


    ผมมาทราบอย่างกระทันหัน มาถึงเมื่อกี้นี้ว่า ท่านกิตติวุฑโฒ ปรารถนาจะพบ เมื่อมนัสการท่าน ท่านก็บอกโดยปัจจุบันทันด่วนว่าท่านปรารถนาจะให้ผมมาเล่าถึงชีวประวัติของท่านเสถียร โพธินันทะ เรื่องชีวประวัติของเสถียร โพธินันทะ นี้นับว่าน่าอัศจรรย์ ที่ว่าน่าอัศจรรย์นั้นก็เพราะว่าคล้ายกับเป็นผู้ที่ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ในอดีตที่จะมาทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าตลอดชีวิตของบุคคลผู้นี้ แม้จำเดิมแต่เมื่อเยาว์วัย ความโน้มเอียงต่างๆ ก็เป็นไปในทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เสถียร โพธินันทะเป็นบุตรชายคนเดียวของ คุณมาลัย โพธินันทะ แต่ว่ามีพี่หญิง 2 คน ซึ่งได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปแล้ว และโดยเหตุที่เป็นบุตรชายคนสุดท้อง จึงได้รับการตามใจทะนุถนอมจากมารดาเป็นพิเศษ


    เมื่อเยาว์วัยนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนราษฎรเจริญ ข้าง ๆ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ต่อมามารดาก็ส่งไปเรียนโรงเรียนมัธยมวัดบพิธพิมุข ได้ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมวัดบพิธภิมุขจนกระทั่งสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 5 ก็ลาออก


    การลาออกนี้เพราะ ไม่ชอบสอบไล่ แล้วก็ต้องการจะเป็นอิสระในการค้นคว้าวิชาความรู้ ในระหว่างที่เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดบพิธพิมุข เงินค่าขนมที่มารดาให้ก็ได้เก็บเอาไว้เป็นส่วนหนึ่ง คือกินส่วนหนึ่ง


    อีกส่วนหนึ่งไปซื้อหนังสือทางพระพุทธศาสนาบรรดาที่มีพิมพ์ขายในท้องตลาด ซึ่งก็มีหนังสือพระไตรปิฎกแปล


    satien-01-01.jpg
    ในสมัยนั้นโรงพิมพ์ไทยได้จัดพิมพ์ขึ้น ประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่เป็นพระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติมี 4 ฉบับ ก็ทุ่มเงินไปซื้อหมด ประวัติศาสตร์ของญวน ของพม่า ของจีน อะไรเท่าที่จะมีหาอ่านก็ได้ใช้เงินค่าขนมนี่ไปซื้อ


    โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของชาติไทย ก็พยายามสืบสาวราวเรื่องมาโดยการซื้อหนังสือซึ่งชื่อเดอะไทยลุคของหมอบ๊อชซึ่งมีชื่อแปลเป็นภาษาไทย เสถียร โพธินันทะ ก็ไปซื้อเอามา เพราะฉะนั้นแม้จะอายุยังน้อยและเรียนเพียงชั้นมัธยม เพื่อนฝูงชอบมานั่งล้อมฟังเล่าอะไรต่ออะไร คือแกมีความจำดีมาก อ่านนวนิยายเรื่องต่างๆ แล้วก็เอามาเล่าถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง เรื่องจีนบ้าง เรื่องไทยบ้าง เพื่อนก็มานั่งล้อมฟังเป็นกลุ่ม ๆ ไปที่บ้านใคร พวกเด็ก ๆ ก็มาตีวงให้เล่าเรื่อง เช่น ผู้ชนะสิบทิศ ได้ใช้สำนวนเหมือนผู้แต่ง ให้เห็นภาพเห็นอะไร


    คราวนี้เมื่อจวนจะออกจากโรงเรียน เผอิญตอนนั้นผมยังบวชอยู่ บ้านของเสถียร โพธินันทะอยู่ในตรอกอิสรานุภาพ ก็นับว่าใกล้กับวัดกัญมาตุยาราม เผอิญผมมีลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งอยู่โรงเรียนเดียวกัน เสถียรก็ไปขอให้ลูกศิษย์ผมนี่พามาพบ ขอให้พามารู้จักพระครู และเมื่อวันที่มพบนั้นเป็นเรื่องน่าแปลก ก็คือว่ามาตั้งปัญหาในพระสูตร ถามอยู่สองสามสูตรคือโปษปาถสูตร ในทีฆนิกายเล่ม 9 กับอัคคัญญสูตร ในทีฆนิกายปาฎิกวรรค


    ในพระไตรปิฎกเล่ม 11 ตอนนั้นก็อายุประมาณ 16 ปี ย่าง 17 แล้วผมก็เห็นว่าเด็กคนนี้น่าอัศจรรย์มาก มีการค้นคว้ามีความสนใจ ในพระพุทธศาสนามาก ซึ่งแต่ละวันนั้น คือเช้าถึงเย็นถึง พอเช้ารับประทานอาหารที่บ้านแล้วก็มาที่วัด พอกลางวันกลับไปรับประทานอาหารที่บ้าน บ่ายมา เย็นกลับไปรับประทานอาหารที่บ้าน ค่ำมา เป็นไปอย่างนี้ หนักเข้า รับประทานอาหารที่บ้าน แล้วตอนเช้ามาที่วัดก็รับประทานอาหารกลางวันที่วัดด้วย เป็นลูกศิษย์วัดไปในตัว แล้วไปไหนซึ่งผมเป็นพระ ไปสวดมนต์ที่ไหน เสถียร โพธินันทะก็ถือพัตรตามเป็นลูกศิษย์ไป หรือไปเทศน์ที่ไหน ก็ถือคัมภีร์เทศน์ตามไป ตอนนั้นความรุ้แกดีมากอยู่แล้ว แต่ว่าภาษาจีนกลางยังพูดไม่ได้ พูดภาษาจีนแต้จิ๋วพูดได้ดีมาก


    เพราะอยู่ในที่แวดล้อมที่เป็นชาวจีน ตลอดจนบิดาก็มีเชื้อจีน แต่ข้อที่น่าจะกล่าวถึงก็คือ มารดาของเสถียร โพธินันทะเป็นผู้ที่มีความสามารถเลี้ยงดูบุตรธิดา คือเมื่อตั้งท้องเสถียร ฯ บิดาก็เดินทางไปต่างประเทศ และก็ไปถึงแก่กรรมในประเทศจีน อาศัยที่มารดาเป็นผู้มีความสามารถปกครองดูแลร้านค้า ทำให้เป็นที่สงบเย็นใจของลูกจ้าง เป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย จึงสามารถตั้งเนื้อตั้งตัว ดูแลบุตรธิดาและให้การศึกษาเป็นอย่างดี แต่ว่าเสถียร โพธินันทะปรารถนาจะศึกษาภาษาไทยเพียงเท่านี้ และในระหว่างที่อายุ 15 – 16 ปีนั้นก็ได้มีการติดต่อกับชาวจีนที่ตั้งสมาคมพระพุทธศาสนา คือสมาคมที่มีนามว่า พุทธบริษัทสยามจีนประชา ชื่อในภาษาจีนนั้นใช้คำว่าตงก๊กกุฮะเกรียงซู่เสีย สมาคมที่ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา จากการคบค้าสมาคมกับผู้ใหญ่ ทำให้เสถียร มีความรู้ในฝ่ายมหายานเป็นอย่างดียิ่ง


    ได้ไปอภิปรายในภาษาจีนกับผู้ที่มีความรู้พระพุทธศาสนามหายาน ที่เป็นชาวจีนโดยเฉพาะท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้คือ นายแพทย์ต้นม่อเซ้ง ซึ่งท่านก็ได้รู้ประวัติของเสถียร โพธินันทะดีเพราะว่าในตอนนั้นเสถียร โพธินันทะมีความเข้าใจพระพุทธศาสนาด้านเดียว คือด้านมหายาน สวดมนต์ในภาษาจีน มีกี่สูตรสวดได้หมด และก็รู้คำแปลด้วย ซึ่งปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรที่ภาษาจีนเรียกสั้น ๆ ว่าซุนเซ็งหรืออนุตายุสูตร หรือ วัชระโสตาสูตรก็รู้หมด ซึ่งรู้ตั้งแต่ก่อนที่จะมาติดต่อกับผม


    ทีนี้เมื่อมาติดต่อแล้ว ผมก็เห็นว่าเด็กผู้นี้เป็นอัจฉริยะ และในขณะนั้นผมมีหน้าที่ที่จะจัดเรื่องลงพิมพ์ในหนังสือวารสารธรรมจักษุ ก็เลยให้หัดเขียนบทความลงในธรรมจักษุ และเมื่อเขียนตั้งแต่เล่มแรกแล้วก็ได้เขียนติดต่อมาเป็นเวลาหลายปีทีเดียว ไม่เคยได้หยุดเลย ได้เขียนลงบางเล่ม เป็นการแสดงความสามารถให้ปรากฏ ถ้าจะกล่าวถึงว่าได้สามารถทำงานในทางพระพุทธศาสนาก็เมื่ออายุ 17 ปี เขียนบทความลงในหนังสือตั้งแต่อายุ 18 ปี


    ได้รับเชิญจากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ไปแสดงปาฐกถา ยังนุ่งกางเกงขาสั้น แต่งตัวเป็นยุวชน แสดงปาฐกถา คนแก่คนเฒ่าแปลกใจกันใหญ่ว่าเด็กนุ่งกางเกงขาสั้นคนนี้ทำไมพูดเก่งนัก เป็นคนมีความจำดี จริงๆ แล้วมีอะไรตรงกันข้ามกับผมบางประการ คือว่า เสถียร โพธินันทะ เกลียดวิชาคำนวณ ไม่ชอบเลย เรื่องตัวเลข สมมุติว่าไปซื้อของ เอาเงินให้เขา 20 บาท ราคา 6 บาทแล้วทางร้านค้าควรจะทอนสักเท่าไร ไม่อยากคิด เสียสมอง ทอนให้เท่าไรก็ใส่กระเป๋าเลย เกลียดคำนวณมาก เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ชอบจะไปสอบไล่กับใคร อยากจะมาทางพุทธให้มาก ๆ ทีนี้ผมเกลียดประวัติศาสตร์ ไม่ค่อยชอบที่จะจำ รู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่อยากจะจำ ไม่อยากจะอ่าน ไม่อยากจะสะสมตำราประวัติศาสตร์ เสถียร ไม่อยากจะสะสมตำราประวัติศาสตร์ เสถียร โพธินันทะทุ่มเงินสะสมตำราประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นเราก็ตรงกันข้าม เมื่อตรงกันข้าม เขามีวิธีบังคับผมให้สนใจประวัติศาสตร์ บอกขอให้อยู่เฉย ๆ เท่านั้น เอาหนังสือมาอ่านให้ฟัง ขอให้อยู่เฉย ๆ อ่านประวัติศาสตร์ซึ่งหลวงจีน…….เขียนบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋งไปสืบอายุพุทธศาสนาในประเทศจีนซึ่งนายคงเหรียญ สีบุญเรืองแปล


    ซึ่งผมไม่ได้อ่านเลยตลอดเล่มจนจบ เสถียรอ่านให้ฟังจนจบ บังคับให้ฟัง แล้วทีนี้ยังมีประวัติศาสตร์พม่า ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ของพม่า มีชื่ออะไร เรียงลำดับครองราชย์ได้กี่ปีแล้วมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งเสียกรุง อุตส่าห์มานั่งเล่าให้ฟัง หรือประวัติศาสตร์ของประเทศญวน ซึ่งชื่อนั้นจำยากแสนยากอย่าแสนสาหัส เช่นชื่อของพระสาวก คำที่เปรียบเทียบกัน อย่างว่าโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้ในภาษาสันสกฤต ตรงกับสำเนียงจีนว่า………ตรงกับสำเนียงญวณว่า……..


    นี่เสถียรเป็นคนไปเที่ยวจำ ติดต่อกับพระญวนก็ไปสังเกตพระญวนองค์ไหนสวดมนต์เก่ง ทำพิธีกงเต็กเก่ง ของเล่นเมื่อเป็นเด็ก ๆ ชอบวาดการ์ตูน – พระพุทธรูป ชอบเล่นแต่งตัวเป็นพระจีน พระญวนอะไรก็แล้วแต่ ที่ทำพิธีกงเต็ก ไปอ้อนวอนขอใส่หมวกมาลา 5 แฉก จะทำพิธีบ้าง


    ถ้าพระจีนๆ องค์ไหนสวดมนต์เก่งแล้วก็ทำพิธีมุตระคือท่ามืออย่างในมหายานเขา ทำอย่างนั้น ๆ นี่จำเอามาหมด เพราะฉะนั้นแนวโน้มที่เป็นมาแต่เด็ก ๆ นั้นก็เป็นไปในทางพระพุทธศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะเห็นได้ว่าบุคคลผู้นี้ได้มีพื้นความรู้ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน


    ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็เป็นพื้นฐานของการอ่านหนังสือและก็เที่ยวซักถาม อย่างวัดจักรวรรดิ์นี่เมื่อยังเป็นเด็ก ๆ ก็มาเที่ยวถามเรื่องนั้นเรื่องนี้ รู้จักกับพระองค์นั้นองค์นี้ และเมื่อไปรู้จักกับผมที่วัดดัญมาตุยารามแล้วก็เรียกว่าติดต่อโดยใกล้ชิด อายุ 20 ปีก็ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาของยุวพุทธิกะสมาคม คือ เสถียร โพธินันทะนี้ พอไปติดต่อที่วัดแล้วก็วิ่งเต้นไปติดต่อชวนคนโน้นชวนคนนี้เข้าวัด ตั้งยุวพุทธิกะสมาคมขึ้น ยุวพุทธิกะสมาคมก็เชิญเป็นกรรมการที่ปรึกษา จากการที่เขียนหนังสือ พ.ศ. 2491 อายุ 22 ก็พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ อาณาจักรมคธในครั้งพุทธกาล และต่อมาก็ออกพิมพ์หนังสือเรื่องอื่นๆ อีก


    ต่อมาก็ได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา คือมหามกุฎราชวิทยาลัย ทีนี้จะย้อนกลับไปถึงในสมัยที่ติดต่อใหม่ ๆ อีกสักครั้งหนึ่ง คือจะให้มองเห็นทั้งสภาพความเป็นเด็กและสภาพความเป็นผู้ใหญ่ที่มาอยู่ในบุคคลเช่นนี้ สภาพความเป็นเด็ก ๆ คือ ยังกลัวผี เช่นว่าตามผมไปวัดเทพกลับค่ำหน่อยก็เดินผ่านทางหน้าวัด ตอนนั้นอายุ 17 พอถึงโบสถ์ เข้ามากอด มันมืด พอพ้นที่มืดแล้วถามว่าทำไม บอกว่ากลัวผี แต่ความรู้ความสามารถตอนนั้นดี แล้วทีนี้เราคงจะเห็นว่า มีทั้งสภาพความเป็นเด็กและสภาพความเป็นผู้ใหญ่อยู่ในตัวพร้อมกันซึ่งไม่น่าจะถืออะไร


    และก็ไม่ใช่เป็นข้อบกพร่องอะไรด้วย เป็นเรื่องที่พวกเราแม้เป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนก็ยังกลัว เพราะในสมัยนั้นเมื่อได้มีการติดต่อกับเสถียรนี่ ก็เป็นคนไปเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพระไทยกับพุทธสมาคมจีน ผมไปแสดงปาฐกถาที่พุทธสมาคมจีน เสถียรก็แปลเป็นภาษาจีน ผมพูดเป็นภาษาไทย แปลจนผมฟังภาษาจีนออกมาทีเดียว และคุณหมอตันม่อจึ๊งมาพูดที่ยุวพุทธิกะสมาคม


    พูดเป็นภาษาจีน เสถียรก็แปลเป็นภาษาไทย ผู้ที่มีความรู้ในประเทศจีน เดินทางมา เสถียรก็เป็นล่ามแปล และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถ้าความรู้ไม่ค่อยดีนัก ล่ามคนสำคัญของเรานี่ก็ช่วยแปลตะล่อมเสียจนดี ฟังแล้วแสดงว่าผู้พูดนี่เก่งมาเหมือนกัน แต่ว่าล่ามของเราตะล่อมคือ อันไหนไม่ชอบ ไม่แปล โดยวิธีการเช่นนี้ ในที่สุดก็ออกโรงแสดงปาฐกถาเอง แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ภาษาจีนกลางดีนัก


    ด้วยความรักพระพุทธศาสนา อยากจะค้นทั้งฝ่ายไทย ฝ่ายจีนและฝ่ายไทยนี่อยากจะรู้อะไร ก็ขอให้ผมอ่านภาษาบาลีเพื่อจะจำภาษาบาลีคือไม่ยอมจำภาษาไทยอย่างเดียว ท่องภาษาบาลีกำกับด้วย เพราะจะให้มั่นคง เพราะฉะนั้นจะสังเกตเวลาไปแสดงปาฐกถาที่ไหน ถ้าเป็นที่สลักสำคัญก็ร่ายภาษาบาลีให้ผู้ฟังได้ฟังเลยทีเดียว เพราะว่าต้องการให้เป็นหลักฐาน เพราะฉะนั้นในการที่อยากจะรู้ภาษาจีนกลางนั้น ผมได้ทราบจากคุณหมอต้นม่อจึ๊งว่าไปเรียนที่โรงเรียนเผออินอยู่ 2 ปี ซึ่งตอนนั้น ผมก็ไม่ทราบว่าไปเรียนที่ไหน

    แต่มาบอกว่าตอนค่ำไปเรียนภาษาจีน เรียนอยู่ไม่นานเลย มีความรู้ภาษาจีนกลาง อ่านวรรณคดีจีน ซึ่งความจริงวรรณคดีจีนเป็นหนังสือที่ยากแสนยาก แต่บุคคลผู้นี้อ่านวรรณคดีได้เข้าใจ และก็ตีความได้ด้วย การไปไต่ถามท่านผู้นั้นผู้นี้ โดยเฉพาะคุณหมอตันม่อจึ๊งนี่มาก ลือไปถึงเมืองจีนคือในไต้หวัน ไต้หวันใช้ภาษาจีนกลางกัน ลือกันว่า เสถียร โพธินันทะ ในภาษาจีนชื่อเม่งเต็กนะครับ เม่งแปลว่า สว่าง แปลว่าแจ่มใส เต็กแปลว่าปัญญา ชื่อก็เหมือนกับสภาพความเป็นจริงว่าปัญญาแจ่มใส ปัญญากระจ่างแจ้ง ลือไปถึงเมืองจีนว่าบุคคลคนหนึ่งเป็นอุบาสก ชื่อว่าเม่งเต็ก พูดภาษาจีนกลางได้เหมือนคนจากปักกิ่ง พูดได้ชัดเจนมาก เพราะว่าได้สนใจจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2022
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (ต่อ)
    ในระยะหลังที่สมณะจากประเทศจีนมาหรือจากฮ่องกงมา เสถียร โพธินันทะก็เป็นสื่อกลางที่นำเข้าไปพบพระเถระผู้ใหญ่ของไทย ชีวิตจิตใจของบุคคลผู้นี้คือความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา เคยกล่าวว่าตัวเขานั้นเสียชีวิตไม่เป็นไรหรอก ขอให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองก็พอ แล้วสมมุติว่าใครจะมาทำลายพระพุทธศาสนา ถ้าเขาเสียสละชีวิตแล้วพระพุทธศาสนาไม่ถูกทำลาย เขายินดีที่จะสละ ผมก็เคยเรียนท่านกิตติวุฑโฒ ทางโทรศัพท์บอกว่าบุคคลผู้นี้ชาติพระพุทธศาสนา คือพระพุทธศาสนาเป็นชาติของเขา ถือชาติพระพุทธศาสนา มีความจงรักภักดีอย่างบริสุทธิ์ใจต่อพระพุทธศาสนาและบทความที่เขียนนี้หนักไปในทางประวัติศาสตร์ มาภายหลังก็เนื่องจากความจำเป็นบังคับ


    เมื่อเขียนตำราเกี่ยวกับตัวเลขของ พ.ศ. ของ ค.ศ. อะไรที่จะต้องใช้การคำนวณ ก็ถูกความจำเป็นบังคับ มาสนใจวิชาคำนวณเพิ่มขึ้น และเมื่อได้เป็นอาจารย์สอนที่มหามกุฎราชวิทยาลัยแล้ว ก็ได้สร้างตำราขึ้น คำบรรยายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานั้นได้เคยพิมพ์แจกเป็นเล่มขนาดใหญ่และยังมีหนังสือที่แต่งไว้ในธรรมจักษุอีกมากมาย


    ถ้าจะเรียงเป็นเล่มก็คงจะเป็นเล่มขนาดใหญ่มากและเป็นผู้ที่มีความตั้งใจที่จะทำความดีอย่างเดียว เช่นว่าเมื่อเงินเดือนออกมา เดือนละ 50 บาท จะต้องสละไปเพื่อปล่อยปลา ต่อมาเงินเดือนเพิ่มเป็นเดือนละ 100 บาท ไปซื้อปลาปล่อยทุกเดือน จนกระทั่ง คนเรือจ้างนี้ได้ทราบจากคนใกล้ชิดมาเล่าให้ฟัง คนเรือจ้างที่เคยแจวพาไปปล่อยกลางน้ำเอา 2 บาท ไม่เอาสตางค์ บอกว่าขอให้ผมออกแรงแจวเรือให้ก็แล้วกัน ก็ได้ปล่อยมาเรื่อยๆ และที่วัดพระเชตุพนซึ่งก็ปรากฏว่ามีโจรผู้ร้ายไปลักตัดพระเศียรพระพุทธรูปในวิหารคต


    เสถียร โพธินันทะ ก็เดือดร้อน เป็นผู้ที่พยายามวิ่งเต้น ตัวเองมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่ายเท่าไรก็สละ ไปจ้างช่างซ่อมให้ดีขึ้น แล้วไปชักชวนเพื่อนฝูงให้ช่วยกันซ่อมคือว่าไม่เพิกเฉย ถ้าไปวัดพระเชตุพนก็มีคนตามเป็นกลุ่มใหญ่ทีเดียว บางทีตั้ง 150 คน ไปฟังบรรยาย เพราะว่าบรรยายได้ชัดเจนเหมือนอย่างไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์มาด้วยตนเอง ไปที่อยุธยา ไปบรรยายเรื่องอยุธยา เจ้าหน้าที่ที่นั่นยอมแพ้ เล่าเหมือนกับเคยเห็นเหตุการณ์หรือเกิดทันสมัยอยุธยา


    ลำดับได้หมด จำได้หมด คุณงามความดีที่ประกอบไว้นี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของความบริสุทธิ์ใจและความตั้งใจที่จะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง ไม่เคยอุปสมบท


    เคยอุปสมบทนอกพรรษาที่วัดกัญ เมื่อ พ.ศ. 2492 – 2494 แต่ว่าเจตนานั้นไม่ใช่อุปสมบทอยู่ตลอดไป เจตนาอุปสมบทเพียงเพื่อให้สมบูรณ์ในฐานะที่เป็นกุลบุตรไทย เพราะฉะนั้นสักสองสามเดือนก็ลาสิกขาออกมา แล้วได้ไปติดต่อกับศูนย์ค้นคว้าพระพุทธศาสนาวัดสระเกศ พยายามติดต่อกับผู้นั้นผู้นี้ที่มีทุนทรัพย์ให้ไปช่วยสร้างคัมภีร์ที่แปลอะไรต่างๆ ก็ได้แปลคัมภีร์อรรถกถาบ้าง อะไรบ้าง ในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศ ยังมีพระชนม์อยู่และก็ในภายหลังนอกจากบรรยายที่สภาการศึกษามหามกุฎวิทยาลัย ในวันอาทิตย์สอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แล้วก็ยังได้ไปติดต่อกับท่านกิตติวุฑโฒ คือใครก็ตาม ถ้าทำความดีเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาแล้ว เสถียร โพธินันทะ จะตามถึงเลย


    มีใครหรืออะไรที่ไหนที่มีข่าวเกี่ยวกับการทำความดีเพื่อพระพุทธศาสนาแล้ว บุคคลผู้นี้จะให้ความร่วมมือและก็เป็นที่น่ายินดี เคยมาเล่าให้ผมฟัง ก็ขอขอบพระคุณท่านกิตติวุฑโฒไว้ในที่นี้ด้วย ที่ท่านได้มีเมตตากรุณาแก่เสถียร โพธินันทะ เป็นพิเศษ มีอะไรต้องมาเล่าให้ฟังว่าท่านได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เสถียร โพธินันทะก็ไปร่วมมืออย่างนั้นอย่างนี้ ในความเป็นส่วนตัว เป็นคนสะอาดมาก และก็ตอนแรกไม่ค่อยเท่าไหร่ ตอนที่อายุน้อยๆ อยู่ พออายุมาก ๆ เข้าคือไม่อยากจะไปรับประทานอาหารที่ไหน ตกลงต้องกลับมารับประทานอาหารที่บ้าน มีความเป็นอยู่ง่ายๆ ที่สุด ไม่ยอมใส่เสื้อนอก


    ตอนหลัง ตอนแรกที่มีรูปถ่ายนี่ยังมีการใส่เสื้อนอก ต่อมาไม่ได้ใส่เสื้อนอก ใครจะเชิญหรือไม่เชิญไปในงานที่ไหน บอกถ้าไปไม่ใส่เสื้อนอก ใครจะเชิญหรือไม่เชิญไปในงานที่ไหน บอกถ้าไปไม่ใส่เสื้อนอกนะ ก็มีคนรับอาสาไปตัดเสื้อทั้งชุดเลย ตัดก็ไม่ใส่ คือเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เพราะฉะนั้นถือหลักอันนี้มาก็ไปแสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยหรือ ในสังคมใหญ่ๆ ที่ไหนก็แล้วแต่ ไปอย่างคนธรรมดาสามัญ ใส่เสื้อเชิ๊ตตัวหนึ่ง เสื้อฮาวาย ใครจะฟัง หรือไม่ฟังก็ตามใจ แต่ก็ปรากฏว่ามีคนฟังมากมายก่ายกอง ถ้าวันไหนเสถียร โพธินันทะจะพูด คนก็ไปรอคอยฟังกัน


    เพราะว่าพูดเหมือนอย่างรถไฟด่วน คือว่าไม่หยุดตามสถานีต่างๆ เลยเข้าใจว่า ปฏิภาณปรีชาจะแล่นเร็วมาก และก็บางทีพอจบปาฐกถาแล้ว คนถามถามไปได้สองสามคำ รู้แล้วว่าจะถามอะไร ตอบแล้ว ยังถามไม่จบ ตอบแล้ว เป็นผู้ที่มีความสามารถถึงขนาดนี้

    satien-01-02.jpg

    ทีนี้ผู้มาติดต่อกับทางพระในฝ่ายเถรวาทกับมหายาน คือเดิมนั้นเข้าใจมหายานด้านเดียว เมื่อมาเข้าใจทั้งสองด้านและก็ด้วยการอ่านของเขาอย่างจริงจัง


    การอ่านนี้เป็นที่น่าแปลกครับ คือตามธรรมดา หนังสือบางเล่มคนอ่านตั้งสองสามเดือน เสถียร โพธินันทะ อ่านสองสามชั่วโมงแล้วเล่าให้ฟังได้ คืออ่านแล้วเก็บหมด ถ้าชอบแล้ว อ่านหลายๆ จบแล้วทีหลังไม่ต้องอ่านอีก เล่าได้หมด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีความพอใจหรือสนใจในเรื่องไหนแล้วต้องให้แตกหักเลย


    เรียนโหราศาตร์อยู่พักหนึ่ง คือเรื่องโหราศาสตร์ก็มาถึงชีวิตเกี่ยวกับพวกนี้ด้วย รู้ตัวเหมือนกันว่าอายุไม่ยืน เสร็จแล้วก็ทิ้ง ไปเรียนไสยศาสตร์ ไปหาอาจารย์ เรียนรู้หมด เสร็จแล้วไปขอคืนวิชา เรียนไสยศาสตร์มาแล้วไปขอคืนวิชา เอาแต่พุทธศาสตร์ คือเรียนเพื่อจะเอามาประดับความรู้ อยากจะเรียนรู้อะไรต้องรู้แตกหัก ใครถามที่โน่น ถามที่นี่ มีอาจารย์ที่ไหน เข้าหาหมด ไม่มีความท้อแท้หรือขาดความเพียรในการศึกษา พยายาม เพราะฉะนั้นจึงปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้รอบตัวหลาย ๆ ด้าน


    เมื่อมานึกถึงว่าบุคคลเช่นนี้ได้เกิดมาเพื่อทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา คือมารดานั้นไม่ค่อยทราบหรอก ว่าไปทำอะไรบ้าง เช้าก็หายไปค่ำก็กลับมา และก็แต่งตัวไม่ดีอะไรนัก ไม่ไปยุ่งอะไรกับใคร มารดาเข้าใจไม่ออกว่าจะเป็นผู้ได้รับความนิยมยกย่องจากพุทธบริษัทถึงขนาดนี้ ในวันสุดท้ายก่อนที่จะถึงแก่กรรมนั้น ก็ยังไปที่สภาการศึกษา เพื่อจะไปบรรยายวิชาเป็นประจำวันกับพระ ก็บังเอิญวันนั้นไม่ได้สอน ก็ยังไปยืนคุยกับพระ กลับมาก็ไปคุยกับพระที่วัดกัญแล้วก็ไปไหนต่อไหนอีก พอกลับเข้ามานอนที่บ้าน


    ตอนเช้าเด็กไปเรียกก็ไม่ตื่น เด็กก็มาบอกกับมารดา มารดาก็เข้าไป ก็เห็นนอนหลับดีอยู่ แต่ว่าตัวแข็งไป มารดาก็ตกใจ ไปตามแพทย์มา แพทย์ก็ว่าสิ้นใจไปเสียแล้ว โรคหัวใจวาย แต่ว่าหน้าตาอิ่มเอิบเหลือเกิน ผมเองมาทราบเมื่อวันเสาร์คือถึงแก่กรรมคืนวันศุกร์ ก็ต้องถือว่าตามแบบราชการถึงแก่กรรมในคืนวันเสาร์ เพราะว่าตั้งแต่ 24 นาฬิกาล่วงมาแล้วก็ถือว่าเป็นวันเสาร์ ก็คงจะถึงแก่กรรมประมาณ 1 นาฬิกา วันเสาร์ คือ ตี 1 ความจริงวันนั้นผมไม่มีธุระจะไปวัดบวรนิเวศ แต่พอเที่ยงกว่าๆ มีธุระต้องไปวัดบวรนิเวศ พระก็บอก คือ มารดาด้วยความตกใจก็หยิบอะไรไม่ถูก ก็ไม่ได้บอกไปทางโทรศัพท์ ผมมารู้ที่วัดบวรนิเวศ ผมก็โทรศัพท์มาที่บ้านมารดา มารดาจะรีบเผาให้เร็วที่สุด เพราะว่าท่านเป็นผู้เดียว และก็มีญาติพี่น้องมากก็จริง แต่ว่าการที่จะมาดูแลศพตลอดไปเป็นเวลานานนั้นก็เป็นภาระของท่าน


    พอโทรศัพท์เสร็จก็ไปที่บ้าน ตอนนั้นเอาศพมาที่นี่แล้ว ก็ไปบอกกับมารดาว่าถ้าอย่างนั้นอยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ไม่ต้องเป็นภาระอะไรทั้งหมด เพราะว่าในฐานะที่เป็นอาจารย์ในสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัยก็เป็นเจ้าภาพดูแลให้ แล้วก็เนื่องจากเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยศาสนา ก็มีลูกศิษย์หลายวัด ผมก็เลยขอให้พระที่ท่านสำเร็จการศึกษาอย่างที่วัดนี้ ท่านมหาสอน ขันติโพธิ ศาสนศาสตร์บัณฑิต ท่านก็ได้รับภาระเป็นอย่างดียิ่ง ดูแลในการศพนี้ ท่านมหาสุชิน สำเร็จศาสนศาสตร์บัณฑิตและก็ไปเรียนต่อได้มหาบัณฑิตจากประเทศอินเดีย จากวัดกัญก็มาช่วยอีกองค์หนึ่ง ก็นับว่าท่านทั้งสององค์นี้เป็นผู้มาช่วยและก็ท่านพระครูที่ท่านดูแลฌาปนกิจสถานแห่งนี้ก็มีเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่เดิมนั้นว่าจะนำศพมาสวดทีนี่สัก 3 คืน แล้วก็นำไปสวดต่อที่วัดเทพศิรินทร์ ได้เห็นความเมตตากรุณาของทางวัดนี้ จึงในที่สุดตกลงกันว่าจะสวดตลอดไปที่วัดนี้ มีคนมาจองการสวด


    ท่านจะเห็นว่าต่อเนื่องกันไปเกือบไม่ขาดสาย ตกลงว่าเราจะปิดศพในวันที่ 10 ม.ค. เลี้ยงพระตอนกลางวันแล้วก็เชิญศพไปบรรจุที่ วัดเทพวันที่ 1 เมษายนตั้งศพที่เมรุวัดเทพ วันที่ 2 เมษายน พระราชทานเพลิงศพ การที่มีการพระราชทานเพลิงก็เพราะว่า เสถียร โพธินันทะ ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการสำนักวัฒนธรรม ทางจิตใจในสมัยที่มีสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการพระราชทานเพลิงศพและเมื่อข่าวการถึงแก่กรรมของเสถียร โพธินันทะ แพร่ไปในที่ต่างๆ ก็มีทั้ง โทรเลข มีทั้งจดหมาย มีทั้งผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด มาร่วมบำเพ็ญกุศล แม้สมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จมาทรงเป็นเจ้าภาพการสวดในคืนวันที่ 13 ธันวาคม และก็ทรงรับศพของ เสถียร โพธินันทะ ไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เพราะได้เห็นคุณงามความดีของบุคคลเช่นนี้ โดยเฉพาะท่านกิตติวุฑโฒ ท่านอยู่ในต่างจังหวัด พอท่านทราบข่าว ท่านก็รีบเดินทางกลับและมาเยี่ยมศพ เป็นการแสดงเมตตากรุณาอย่างสูงต่อผู้ล่วงลับไป ในฐานะที่เสถียร โพธินันทะ เป็นผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิด เป็นลูกศิษย์รับใช้ ที่ว่าเป็นลูกศิษย์รับใช้คือขอให้ทำงานอะไรก็มาเถิด ไม่ต้องเขียนเอง เสถียร โพธินันทะ รับเป็นเลขานุการให้ถึงขนาดนั้น ด้วยความปรารถนาดีอย่างเดียวว่าให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาแล้วบุคคลผู้นี้ยินดีที่จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ผมจึงรู้สึกว่าเมื่อได้เห็นความเมตตา กรุณา และความปรารถนาดีของท่านทั้งหลายแล้วก็มีการปลื้มปิติ


    ผมจึงรู้สึกว่าเมื่อได้เห็นความเมตตา กรุณา และความปรารถนาดีของท่านทั้งหลายแล้วก็มีการปลื้มปิติ ท่านมารดาของเสถียร โพธินันทะ ก็ไม่นึกว่าบุตรของตนจะเป็นผู้ได้รับเกียรติ ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านทั้งหลายถึงเพียงนี้ และได้มีบางท่านอุตส่าห์เอาเทปมาเปิดทุก ๆ วัน ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม เรื่อยมา คือว่าไปพูดที่ไหน ติดใจก็ไปอัดเทปไว้เรื่อย มีโอกาสก็เก็บเสียงเอาไว้แล้วก็พยายามนำมาเปิด เปิดทุก ๆ วัน


    นี่เป็นการแสดงน้ำใจที่มีต่อผู้ล่วงลับไป อย่างนี้ผมจึงขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณแทนเสถียร โพธินันทะ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอบพระคุณแทนมารดาของเสถียร โพธินันทะ ผู้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และมีความปลื้มปีติสำนึกในพระคุณของท่านทั้งหลาย และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าความดีที่ทุกคนทำไว้นั้นไม่ตาย ความดีนั้นส่งผลดีจริง แม้ในขณะที่ยีงมีชีวิตอยู่


    จะไม่มีใครมาชุมนุมมากมายเพื่อให้เกียรติแก่เสถียร โพธินันทะ เหมือนอย่างในสมัยที่ถึงแก่กรรมไปแล้วนี้ แต่ว่าตามที่ประชาชนไปฟังปาฐกถา แต่ละครั้งนับจำนวนหลาย ๆ ร้อยอย่างเนืองแน่นก็เป็นการแสดงว่าเสถียร โพธินันทะ ซึ่งได้เกิดมาดีแล้ว ได้ดำรงชีวิตอยู่อย่างดีที่สุด เป็นคนกลัวบาปนัก พยายามที่จะทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ให้เต็มที่นั้น ได้ทำหน้าที่ของเขาสมบูรณ์แล้ว แม้ชีวิตอันสั้นคือเพียงอายุ 38 ปีเท่านั้น เสถียร โพธินันทะ เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม 2472 ถึงแก่กรรมวันที่ 10 ธันวาคมที่แล้วมานี้ ก็นับปีได้ 38 ปี 38 ปีนี้แม้ชีวิตจะต้องจากไปในท่ามกลางความเสียหาย แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นพยานให้ปรากฎก็คือน้ำใจของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย


    น้ำใจของพระเถรานุเถระที่สำแดงออกแก่เสถียรผู้ล่วงลับไปนี้คงจะเป็นเครื่องให้กำลังใจแก่บุคคลที่อยุ่ข้างหลังว่าผู้ที่ทำความดีนั้นจะไม่ไปเปล่าเลย จะได้รับความนิยมยกย่อง จะได้รับเกียรติอย่างดีที่สุด ผมขอกล่าวประวัติสั้นๆ เพียงเท่านี้ เพราะกำลังจะรวบรวมเรื่องราวบุคคลผู้นี้ที่ได้ทำคุณงามความดีไว้และก็พิมพ์เป็นเล่มแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ และหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้อ่านรายละเอียดในเล่มนั้น ขอขอบคุณ


    คัดจากหนังสือ เวียนว่ายตายเกิด ….บรรยายโดย อาจารย์ เสถียร โพธินันทะ


    bar-4-head-right-s.gif


    สำหรับท่านที่สนใจหนังสือ และเทป ของท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะมีที่วัดมหาธาตุ และร้านขายเทปธรรมะ ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่านเป็นผู้แตกฉาน รู้ลึก ศึกษาจริงจังมาก เป็นครูของพระ และฆราวาส


    เทปของท่านน่าฟังมาก ( แต่เสียงอาจไม่ชัดนัก เพราะระบบการอัดสมัยนั้นยังไม่ดีนัก.. แต่มีประโยชน์มาก หากต้องการความรู้ทางพุทธศาสนาในแง่มุมต่างๆ อย่างลึกซึ้ง )


    โดยเฉพาะ ชุด สารพันปัญหา มี 3 ชุดใหญ่ ( ถ้าจำไม่ผิด ) ท่านตอบปัญหาธรรมะได้เฉียบขาดมาก ทั้งบรรพชิต และฆราวาส จะถามในแง่มุมไหนท่านไม่มีจนเลยสติปัญญา ปฏิภาณท่านเฉียบแหลมมากครับ

    ปล. ผมฟังมาหมดแล้ว…จึงขอบอก..

    จากคุณ : pug [ 11 ก.ย. 2544 / 13:55:51 น. ]
    . ...................
    ..... EndLineMoving.gif
    :- http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-04.htm
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ความคิดเห็นที่ 5 : (0)


    สิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังมาเกี่ยวกับบุคคลผู้นี้ ยังมีเกร็ดพิสดารนอกเหนือไปจากนี้แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นเรื่องจริงแค่ไหนเพียงไร ไม่ยืนยันเล่ากันว่า ขณะที่ครอบครัวของท่านจะส่งท่านไปเรียนที่ประเทศจีนนั้นเนื่องจาก ท่านเริ่มส่อแววว่าฝักใฝ่ในศาสนามารดาได้มีโอกาสไปหาหมอดู หมอดูก็ทายว่า ท่านจะลงเอยกับศาสนาธรรมดาที่ครอบครัวคนจีนย่อมตั้งความหวังไว้แก่ลูกชายลึกๆจึงหวังว่า เมื่อส่งท่านไปเรียนที่เมืองจีน จะได้เรียนรู้เรื่องทางโลกมากขึ้น และเรียนรู้ทำการค้าขายต่อไปแต่ท่านกลับได้โอกาสศึกษาพุทธศาสนามหายาน และเชี่ยวชาญภาษาจีนโดยเฉพาะคัมภีร์มหายานทั้งหลาย มาแทนวิชาการค้า


    เล่ากันว่า ขณะที่ครอบครัวของท่านจะส่งท่านไปเรียนที่ประเทศจีนนั้นเนื่องจาก ท่านเริ่มส่อแววว่าฝักใฝ่ในศาสนามารดาได้มีโอกาสไปหาหมอดู หมอดูก็ทายว่า ท่านจะลงเอยกับศาสนาธรรมดาที่ครอบครัวคนจีนย่อมตั้งความหวังไว้แก่ลูกชายลึกๆจึงหวังว่า เมื่อส่งท่านไปเรียนที่เมืองจีน จะได้เรียนรู้เรื่องทางโลกมากขึ้น และเรียนรู้ทำการค้าขายต่อไป แต่ท่านกลับได้โอกาสศึกษาพุทธศาสนามหายาน และเชี่ยวชาญภาษาจีนโดยเฉพาะคัมภีร์มหายานทั้งหลาย มาแทนวิชาการค้า ตอนแรกที่ได้โอกาสกลับมาเมืองไทยท่านแสดงความเห็นว่า อภิธรรมไม่ใช่พระพุทธพจน์ ต่อมา ท่านรู้สึกสนใจว่า ทำไมคนไทยจึงสนใจพระอภิธรรมมาก (ขณะนั้น เป็นยุคที่เพิ่งเริ่มมีการสอนพระอภิธรรมขึ้น) ท่านจึงขอให้ลุงของท่าน คือ ท่านประธานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในสมัยนั้น (ซึ่งเป็นผู้ที่มีเกียรติคุณความดีทั้งทางด้านการเมือง กฏหมาย และการศาสนาเป็นที่เคารพและรู้จักเป็นอย่างดี) แนะนำผู้ที่จะชี้แนะเนื้อหาในพระอภิธรรมให้แก่ท่าน


    ลุงของท่าน ได้พาไปพบพระเถระผู้ใหญ่ในสมัยนั้นบางท่าน แต่ดูเหมือนท่านไม่ปรารถนา ไม่ทราบเพราะเหตุใด ในที่สุด ได้ปฏิเสธ กระทั่ง ลุงท่านได้แนะนำให้ไปลองคุยกับป้าผู้หนึ่งผู้ซึ่งได้บรรยายพระอภิธรรมอยู่ด้วยที่พุทธสมาคมฯนั้น เมื่อท่านได้พูดคุยกับป้าผู้นั้นท่านได้ตอบกับลุงของท่านว่า ตกลงจะศึกษาอภิธรรมจากป้าผู้นี้ จากนั้น ท่านได้ศึกษาพระอภิธรรมอย่างจริงจังในขณะเดียวกัน ได้แปลคัมภีร์ทางมหายานเพื่อประโยชน์แก่การค้นคว้าแก่ชาวพุทธมากมาย


    บุคคลผู้นี้ได้ชื่อว่ามีความสามารถพิเศษเหนือธรรมดาอ่านหนังสือครั้งเดียว จำได้หมดทุกถ้อยกระทงความ(ทำให้นึกถึงตัวละคร แม่ของอึ้งย้ง ในหนังสือกำลังภายในมังกรหยก ของกิมย้ง) ยังเล่ากันต่อมาว่าในการปาฐกถาครั้งหลังๆ ก่อนท่านจะมรณะท่านได้กล่าวไว้ว่า ท่านเชื่อแน่ว่าพระอภิธรรมนั้นเป็นพระพุทธพจน์แน่ หลักฐานปรากฏอยู่ในเทปปาฐกถาที่แสดงไว้ที่วัดโพธิ์


    ส่วนใหญ่ของทุกเย็นหลังจากอาบน้ำชำระกายแล้ว จะเข้าห้องพระ มาเย็นวันหนึ่ง ครอบครัวจึงพบว่า ท่านมรณะอยู่ ณ ห้องพระนั้นเองด้วยอาการสงบ ด้วยอายุไม่ถึง 40 ปี


    ผมขอย้ำว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ผมได้ฟังมาจากผู้อาวุโสท่านหนึ่งจริงเท็จอย่างไร คงต้องขอให้ญาติของท่าน หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับท่าน เป็นผู้ยืนยัน ผมได้ฟังเรื่องนี้มา ได้แต่จำไว้ ไม่อาจยืนยันข้อเท็จจริงได้เช่นกัน


    (เกือบลืมไป ลุงของท่านนั้น ก็คือ ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ส่วนป้าผู้นั้น คือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)


    จากคุณ : 0 [ 12 ก.ย. 2544 ]


    rosebar-2.gif


    อ่าน อาจารย์เสถียร โพธินันทะ บุคคลของพระพุทธศาสนา
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    E-BOOK หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ฉบับเต็ม) - อาจารย์เสถียร โพธินันทะ
    -->
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033

แชร์หน้านี้

Loading...