เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. highmask

    highmask สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +8
    ดีครับสนับสนุน ยังดีที่ยังมีคนไทย รู้เรื่องเเบบนี้อยู่ เเหะๆ

    เเต่อย่าไปหมกมุนกับมันมากนะครับ

    เพราะจะว่าไปเราก็เป้นเเค่ คนจากประเทศที่ยังไม่พัฒนา จะไปทำอะไรได้

    Peace

    หนังสาระคดี น่าสนใจครับอธิบายตื่นเต้นๆ ครายเครียดได้ เหอะๆ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=x-CrNlilZho"]EndGame HQ full length version - YouTube[/ame]

    การ์ตูนด้วยอ่ะ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=tGk5ioEXlIM"]The American Dream Film-Full Length - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อ่านเพื่อรู้เฉยๆ แหะ แหะ

    เวลาลูกระเบิดลง จะได้ทำให้ตัวเราอยู่ถูกที่ถูกทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    banksia กล่าวว่า...
    ผมเคยแสดงความคิดในเว็บผู้จัดการถึงเรื่องเฟดกำลังปล้นอเมริกาแต่ไม่มีใครตามความคิดผมทัน ผมพยายามอธิบายว่ารัฐบาลกลางสหรัฐทำไมไม่ออกQEเอง ดันให้เฟดออกแล้วรัฐบาลไปกู้เพื่อหาเรื่องเสียดอกเบี้ย เฟดพิมม์เงินออกมาแบบไม่มีต้นทุนมาปล่อยกู้แบบนี้ไม่เรียกว่าปล้นกลางแดดหรือ ที่สำคัญคือเป็นถ่ายเทมูลค่าของเงินในกระเป๋าประชาชนมาเข้ากระเป๋าตัวเองอย่างแยบยล จากเศษกระดาษเปื้อนหมึกกลายเป็นเงิน จากเงินที่มีอยู่แล้วต้องด้อยค่าลง
    ขอบคุณคุณจิมมี่มากที่จุดประกายให้กับผม เวลานี้ผมมองอะไรไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว คนรอบข้างบางคนคิดว่าผมจินตนาการเว่อร์บางคนก็ตกใจ บางคนก็เชื่อ อันนี้ก็แล้วแต่ ตัวใครตัวมัน
    วันก่อนได้ดู God and General ถึงได้รู้ว่าพวกeliteเหล่านี้เริ่มงานของมันมานานแล้ว การเลิกทาสเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรม จริงๆแล้วพวกฝ่ายใต้เป็นพวกที่เคร่งครัดในพระเจ้ามาก พวกทาสจำนวนมากไม่ได้รู้สึกถูกกดขี่ คนอเมริกันรักทาสเหล่านี้เหมือนคนในครอบครัว ฝ่ายเหนือนำโดยอับราฮัม ลินคอร์นเป็นฝ่ายที่รุกราน ก่อสงคราม ผู้สนับสนุนร่ำรวยจากสงคราม ดูแล้วรู้เลยว่าทุกวันนี้พวกเขายังใช้มุกเดิมๆอยู่
    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "สงครามทุกๆครั้งที่ผ่านมา เป้าหมายคือ กำจัดศัตรู แต่ สงครามสกุลเงิน (Currency war) เป้าหมายกลับเป็นการ ทำร้ายประชาชนในประเทศตัวเอง" Peter schiff.

    ....."The Gold War phase II" by Jimmy Siri: Financial Collapse by Jim Willie
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    9 ธ.ค. 2010 - 6 นาที - อัปโหลดโดย nuthatai
    สงครามค่าเงินคืออะไร มันเกิดขึ้นแล้วหรือยัง O/A จับกระแสแลโลก / ที่นี่เอเชีย.

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Azv5KND7Gb8]สงครามค่าเงิน currency war - YouTube[/ame]
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    OCTOBER 16, 2010
    POSTED BY KOBSAK (ADMIN)

    Global Currency War

    ตั้งแต่สภาผู้แทนของสหรัฐได้ผ่านร่างกฏหมาย Currency Bill ออกมา หลายคนได้ออกมาเตือนเรื่องสงครามการค้าและค่าเงิน ซึ่งประเด็นนี้ได้กลายเป็นหัวข้อหารือสำคัญของเวทีการเจรจาระหว่างประเทศทั้งในการประชุมของ IMF เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงสำหรับการประชุม G20 ที่เกาหลีใต้ซึ่งกำลังจะมาถึง จึงอยากขอเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ของระบบการเงินโลกในเรื่องนี้ และวิเคราะห์ถึงนัยต่ออนาคต
    เราเคยมีสงครามการค้าค่าเงินกันเมื่อไร
    ครั้งที่สำคัญคือตอนที่เกิด Great Depression เมื่อปี 1929-1939 ในครั้งนั้น ความยากลำบากของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งการทวีความรุนแรงของ
    สงครามการค้า คือ การกีดกันทางการค้าด้วยการขึ้นกำแพงภาษีนำเข้า
    สงครามค่าเงิน คือ
    การแข่งกันลดค่าเงินเพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออก และลดการนำเข้า
    ที่น่าสนใจในครั้งนั้น มีอยู่ 2 ประเด็น
    ประเด็นแรก ก็คือ ระหว่างที่วิกฤตกำลังก่อตัว ในช่วง 1920 สินค้าเกษตรกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในยุโรปและนอกยุโรป ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของโลกปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว กระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าเกษตรในสหรัฐ
    ตรงนี้จึงนำมาซึ่งเสียงเรียกร้องของภาคเกษตรในสหรัฐที่อยากให้รัฐบาลออกกฏหมายเพื่อปกป้องเกษตรกร จากการแข่งขันของสินค้าเกษตรราคาถูกดังกล่าว ซึ่งท้ายสุด ก็ได้กลายเป็นร่างกฏหมายด้านการค้า Smoot-Hawley Tariff Act ที่ออกมาเมื่อกลางปี 1930 ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฏหมายฉบับนี้ก็คือ ในกฏหมายดังกล่าวไม่เพียงแต่ขึ้นกำแพงภาษีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเท่านั้น แต่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมได้ร่วมเรียกร้องให้ปกป้องด้วย ทำให้กฏหมายฉบับนี้กลายเป็นกฏหมายที่มีการกีดกันการค้าในระดับที่สูงที่สุดของสหรัฐ ภาษีนำเข้าได้เพิ่มจาก 25.9% เป็น 50.0%
    [​IMG]
    จุดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการตอบโต้ทางการค้าจากประเทศต่างๆ ในช่วง 1930 เช่นแคนาดา และประเทศในยุโรปที่ออกมาตอบโต้การขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐ ท้ายสุดนำไปสู่การปรับลดลงของการค้าระหว่างประเทศในช่วงดังกล่าว
    [​IMG]
    แล้วสงครามค่าเงินเกิดขึ้นอย่างไร
    ตรงนี้มายัง ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นที่สอง คือ ค่าเงิน ขณะนั้นประเทศต่างๆ ใช้วิธีผูกค่าเงินกับทองคำ Gold Standard เป็นส่วนมาก โดยใช้ทองคำหนุนหลังธนบัตร เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลงได้ส่งผลให้การส่งออกปรับตัวลดลงมาก ทั้งยังถูกซ้ำเติมจากการแข่งขันกีดกันทางการค้า โดยการเพิ่มกำแพงภาษีต่างๆ ทำให้หลายประเทศเริ่มขาดดุลการค้า และทองคำที่มีเริ่มไหลออก
    ในส่วนนี้ ทางออกมีไม่มาก ท้ายสุดก็นำไปสู่การลดค่าของเงินของอังกฤษเป็นประเทศแรก ในปี 1931 ตามมาด้วย เดนมารก์ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน (ซึ่งค้าขายใกล้ชิดกับอังกฤษ) ญี่ปุ่นก็ตัดสินใจที่จะตามอังกฤษในเรื่องนี้ เรียกว่ากลายเป็น shockwave ครั้งใหญ่ในระบบการเงินโลกได้เลย
    หลังจากลดค่าเงินลง อังกฤษก็เริ่มเกินดุล ทองคำไหลกลับไปที่อังกฤษ ประเทศอื่นๆ จึงตอบโต้โดยการ
    - ออกมาตรการควบคุมการไหลออกของทอง ทั้งในยุโรป ลาตินอเมริกา
    - ฝรั่งเศสเพิ่มภาษีนำเข้า 15%
    - แคนาดา เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ก็เพิ่มกำแพงภาษี เพื่อชดเชยความเสียเปรียบจากค่าเงินปอนด์ที่ลดลง

    ท้ายสุดมีประเทศ 20 ประเทศที่ลดค่าเงินตามอังกฤษ ตามมาด้วย สหรัฐในปี 1933 และจบลงด้วยการลดค่าเงินของฝรั่งเศสในปี 1936 และการทำสัญญารวมกันระหว่างประเทศสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ว่าจะพยายามรักษาค่าเงินไว้ในระดับที่ตกลงกัน
    ระหว่างที่เกิดสงครามการค้าและค่าเงินในช่วงดังกล่าว การค้าโลกโดยรวมลดลง 66% ยอดการส่งออกของสหรัฐลดลงจาก 5.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 1929 เหลือเพียง 1.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 1933 ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศถูกซ้ำเติมรุมเร้าจากปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
    สงครามค่าเงินที่คนพูดถึงกันครั้งนี้เหมือน หรือต่างจากครั้งที่แล้วอย่างไร
    ก่อนอื่นต้องบอกว่า รอบนี้ ประเทศต่างๆ ได้บทเรียนจากเมื่อ 80 ปีที่แล้ว ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เวลามีการประชุมกันเช่น G20 G7 IMF ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะมีการย้ำเสมอมาว่า แม้จะเกิดวิกฤตรุนแรง แต่จะไม่มีการใช้นโยบายกีดกันทางการค้า ทำให้ปัญหาเรื่องของการเพิ่มกำแพงภาษีและการตอบโต้ทางการค้าจึงแทบจะไม่ได้เพิ่มขึ้น
    อีกทั้งอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศหลักๆ ก็เป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ไม่จำเป็นต้องกังวลใจเรื่องการมีทองคำไว้ให้เพียงพอเช่นในอดีต
    แต่สิ่งที่ทำให้ค่าเงินเป็นประเด็นปัญหาครั้งนี้ก็คือ
    หนึ่ง ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องของสหรัฐ ที่ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเทียบกับเงินสกุลต่างๆ
    สอง สภาพคล่องจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งจากสหรัฐ ยุโรป ที่ถูกปั้มออกมา เพื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของตน แต่เนื่องจากผู้บริโภคและบริษัทของสหรัฐและยุโรป ไม่ได้ต้องการสภาพคล่องเหล่านั้น เงินที่ถูกปั้มออกมาส่วนหนึ่งจึงกำลังหลั่งไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่เหมาะสม

    เรียกได้ว่าแม้จุดวิกฤตอาจจะผ่านไปแล้ว แต่ผลพวงของวิกฤตยังอยู่กับเรา และยังทำให้เกิดความผันผวนและการปรับตัวต่อเนื่องในส่วนของค่าเงินของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศกำลังพัฒนาในลาตินอเมริกา และในเอเชียต่างๆ นำมาซึ่ง
    การเข้าแทรกแซงค่าเงิน ซึ่งเห็นได้จากเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น และจากข่าวต่างๆ ที่ออกมาเช่นกรณีของญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์
    การออกมาตรการต่างๆ เข้าดูแลลดกระแสเงินที่จะไหลเข้ามา เช่นกรณีของบราซิลที่มีการคิดภาษีสำหรับเงินทุนที่ไหลเข้า เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เป็นต้น ก็พยายามออกมาตรการออกมา
    การพยายามดูแลไม่ให้เงินที่เข้ามาแล้วสร้างความเปราะบางกับภาคการเงินจนเกินไป เช่นกรณีของจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ที่ออกมาดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง

    ไม่น่าแปลกใจว่า เทียบกับ 80 ปีที่แล้ว รอบนี้ไม่ได้มีการแข่งกันลดค่าเงินเพื่อเอาเปรียบคู่แข่งขัน หรือออกมาตรการเพิ่มภาษีนำเข้าเพื่อตอบโต้ ในลักษณะของสงครามการค้า ค่าเงิน เช่นในอดีต แต่ความท้าทายอยู่ที่การพยายามที่จะอยู่กับโลกใหม่ที่ไม่สมดุล จากปัญหาที่ยังไม่จบในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น
    ทางออกคืออะไร
    คงมีทางเลือกไม่มาก เพราะความจริงก็คือ ปัญหาใน สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังไม่จบง่าย และ เศรษฐกิจของ Emerging Market ไปได้ดีมาก
    ตรงนี้ ก็ต้องระวังไม่ให้ปัญหาลุกลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน ไม่ให้เป็นจุดเริ่มต้นของการตอบโต้กันทางการค้า ซึ่งในเรื่องนี้ ก็คงต้องรอดูว่าการประชุม G20 ที่เกาหลีใต้จะมีความคืบหน้าในเรื่องนี้อย่างไร
    ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ก็ต้องพยายามที่จะเรียนรู้ว่าจะอยู่กับเงินทุนจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามา แต่ที่น่ากังวลใจก็คือ เงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลกมีมากกว่าที่ไหลเข้าประเทศกำลังพัฒนามากนัก (ในปีที่มีเงินทุนไหลเวียนสูงสุด เงินทุนในระบบเศรษฐกิจโลกมีขนาดประมาณ 10 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ที่มาที่ประเทศกำลังพัฒนามาแค่ 1 ล้านล้านเท่านั้น หรือแค่ 10%)
    [​IMG]

    ตรงนี้ เราคงหลีกเลี่ยงจากเงินทุนเหล่านี้ไม่ได้ เพราะสภาพคล่องจะยังล้นอยู่ในสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่นอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะกดดันต่อค่าเงินของ Emerging markets ต่อไป
    ก็ต้องขอเอาใจช่วยทุกประเทศครับ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย เป้าหมายของประเทศต่างๆ คือการดูแลตนเองให้สามารถอยู่ได้กับยุคเงินทุนจำนวนมากที่กำลังไหลเข้ามามาก โดยบรรเทาให้ผลกระทบต่อค่าเงินอยู่ในระดับที่จำกัด และเงินที่ไหลเข้ามาไม่ก่อให้เกิดปัญหาความเปราะบางด้านการเงินตามมา ซึ่งตรงนี้จะสำเร็จหรือไม่ จะอยู่ที่ว่าเราสามารถดูแลภาคการเงินโดยเฉพาะแบงก์ของเราให้แข็งแกร่ง และมีวินัยในการจัดสรรเงินที่ไหลเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน โดยไม่กลายเป็น NPL
    ก็ขอให้ประเทศต่างๆ สามารถฟันฝ่าความท้าทายในเรื่องนี้ไปได้ และไม่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหารอบใหม่ในระบบเศรษฐกิจโลกครับ
    ON Air in Money Wake Up at The Money Channel
    (Monday, October 11, 2010)

    Global Currency War | BLOG Dr. KOB
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ------CURRENCY WAR ---------

    ดอกเบี้ย 0%

    มีการประชุมธนาคารโลก กับสมาชิกทั้งหมด ขณะนี้ ไอเอมเอฟได้เสนอรายงานว่า กำลังเป็นยุคของ " CURRENCY WAR " และเอ่ยถึง การกดดอกเบี้ยลงเหลือ 0 เพราะประเทศนั้น การเจริญ ลดลงไป จนเหลือแค่ 1 % (น่าจะหมายถึง เมกา ??) จะส่งผลให้ทั้งโลก เนื่องจากค่าเงินได้ลดลงมากด้วย การยืมเงินและรัดเข็มขัดเพื่อใช้จ่ายในงบประมาณของยุโรปทั้งหลาย (PIIGS )เรื่องราวเหล่านี้ ยังจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขกันอีกนาน แล้วสรุปว่า ซีกโลกตะวันตก "ใก้ลจะเข้าภาวะทดถอยแล้ว "

    Bloggang.com :
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัจจัยสำคัญ 5 ประการ กับการเคลื่อนไหวในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

    7 มีนาคม 2554

    เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา บ่อยครั้งที่มักจะได้ยินคำว่า “สงครามค่าเงิน” หรือ “Currency war” อันเป็นสงครามที่ไร้อาวุธยุทโธปกรณ์ แต่สามารถทำลายล้างเศรษฐกิจโลกได้ จากการที่ประเทศต่างๆ พยายามควบคุมค่าเงินสกุลของตนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ หรือการทำให้ค่าเงินของตนอ่อนค่า ดังจะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ประเด็นทางด้านค่าเงินเป็นประเด็นหลักที่นักลงทุนต่างจับตามอง ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน โดยมี 5 ปัจจัยหลักที่ต้องการหยิบยกมานำเสนอตามลำดับความสำคัญ ได้แก่

    ปัจจัยแรก อัตราดอกเบี้ย โดยจะมีสองส่วนด้วยกันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายได้จากดอกเบี้ย และการเพิ่มขึ้นของเงินทุน จากปัจจัยนี้ จะเห็นว่า ทุกๆ สกุลเงินในโลก มีอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งจูงใจในการเคลื่อนไหว ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวกำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ถ้าหากให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ โดยปกตินักลงทุนจะกู้ยืมเงินจากประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อธุรกรรมว่า The Carry trade ซึ่งผลที่ได้คือ กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และได้กำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน จากการที่สกุลเงินของประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า มักมีแนวโน้มที่จะแข็งค่า

    ปัจจัยต่อมา การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยนี้จะสะท้อนได้ว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่ามีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ และจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา และอุปสงค์ของเงินที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วยนั่นเอง

    ปัจจัยที่สาม ภูมิศาสตร์การเมือง ความเสี่ยงทางเสถียรภาพทางการเมืองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต่างกังวล เนื่องจากกลัวว่าจะก่อให้เกิดอุปสรรค และความเสี่ยงต่อเงินทุน จึงมักจะโยกเงินลงทุนออกไปก่อนจนกว่าจะเห็นความชัดเจน และมีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาทางการเมืองยังเป็นปัญหาที่จะฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อมายังค่าเงินตามปัจจัยข้างต้นที่ได้กล่าวถึงอีกด้วย

    ปัจจัยที่สี่ การค้าและกระแสเงินทุน ในส่วนนี้ ควรแยกพิจารณา ว่าระหว่างรายได้จากการค้าระหว่างประเทศ กับกระแสเงินทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุน มีผลต่อมีปริมาณกระแสเงินทุนไหลเข้าออกของประเทศมากน้อยแค่ไหน และอะไรมีผลมากกว่า เพราะทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนจะการเคลื่อนไหวไปตามผลกระทบนั้นมากกว่า

    ปัจจัยสุดท้าย การควบรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยที่สุดในการตัดสินใจทิศทางค่าเงินในระยะยาว แต่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินในระยะสั้น เนื่องจากเมื่อมีบริษัทในประเทศหนึ่ง จะซื้อสินทรัพย์ของบริษัทในอีกประเทศหนึ่ง ก็จะมีความจำเป็นที่ต้องแลกเงินเป็นสกุลเงินนั้นเพื่อใช้ในการชำระสินทรัพย์ดังกล่าว จากเหตุการณ์นี้จะทำให้ตลาดคาดการณ์ความผันผวนในระยะสั้นได้ว่า ค่าเงินสกุลที่เป็นที่ต้องการจะปรับตัวแข็งค่า

    จากปัจจัยทั้ง 5 ประการที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านคงได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของการเคลื่อนไหวในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน สามารถเชื่อมโยงกับความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินต่างๆ ได้ และสนุกกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินอยู่ตลอดเวลานะคะ
    ศิรารัตน์ อรุณจิตต์
    บลจ. บัวหลวง จำกัด
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหภาพแรงงานอังกฤษอ้างคนชุมนุมเกิน 2 ล้าน-รบ.หยัน “น่าผิดหวัง” สื่อยังสับเละ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 17:23 น.

    [​IMG]
    แรงงานอังกฤษร่วมผละงานประท้วง และรวมตัวชุมนุมกลางกรุงลอนดอนวานนี้ (30 พ.ย.) โดยสหภาพแรงงานระบุว่า มีผู้ประท้วงเกินกว่า 2 ล้านคน แต่รัฐบาลอังกฤษยืนยันว่า จำนวนผู้ชุมนุมน้อยกว่า 2 ล้านคน มากมายนัก

    เอเอฟพี/บีบีซีนิวส์ - สหภาพแรงงานอังกฤษอ้าง มีแรงงานมากกว่า 2 ล้านคน ร่วมผละงานประท้วงในวันพุธ (30 พ.ย.) เพื่อคัดค้านแผนปฏิรูประบบเบี้ยบำนาญตามมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลกรุงลอนดอน

    [​IMG]

    นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน หยามการประท้วงครั้งนี้ว่า “น่าผิดหวัง”


    การผละงานประท้วงวานนี้ส่งผลให้โรงเรียนหลายพันแห่งปิดการเรียนการสอน สำนักงานราชการส่วนท้องถิ่นจำนวนมากหยุดทำการ และโรงพยาบาลหลายแห่งมีเจ้าหน้าที่เหลืออยู่ไม่กี่คน ทั้งนี้ เป็นผลจากการผละงานประท้วงที่สหภาพแรงงานอังกฤษกล่าวอ้างว่า ใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี

    ทว่า รัฐบาลเมืองผู้ดีตั้งคำถามถึงจำนวนผู้ร่วมประท้วงที่แท้จริง ขณะนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน แสดงความเห็นต่อการชุมนุมครั้งนี้ว่า “น่าผิดหวัง”

    อีกมุมหนึ่ง ตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนเปิดเผยว่า หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินได้ขอกำลังเสริมจากตำรวจให้ช่วยรับมือการขอความช่วยเหลือทั่วกรุงลอนดอน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ไม่พอ ส่วนท่าอากาศยานฮีทโธรว์กลับไม่เกิดเหตุโกลาหลตามการประเมินสถานการณ์ก่อนหน้านี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองส่วนใหญ่ยังคงไปทำงานตามเดิม

    ขณะเดียวกัน เรือและรถไฟข้ามช่องแคบอังกฤษก็ยังคงเปิดบริการเป็นปกติ

    สำหรับสถานการณ์การผละงาน 24 ชั่วโมง ในกรุงลอนดอนและเมืองแมนเชสเตอร์มีแรงงานจำนวนมากเดินขบวนกลางเมือง ส่วนเบอร์มิงแฮม เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการประท้วงของสหภาพแรงงานเช่นกัน

    ตำรวจลอนดอนยืนยันว่า มีผู้ถูกจับกุม 75 คน ด้วยข้อหาหลากหลายแตกต่างกันไประหว่างการชุมนุม

    ทั้งนี้ ในแผนปฏิรูประบบเงินบำนาญเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ แรงงานอังกฤษจะเกษียณต่อเมื่ออายุ 66 ปี และมีการเพิ่มเบี้ยประกันสังคม ทว่า เมื่อถึงวัยเกษียณ ชาวอังกฤษจะได้รับเงินบำนาญน้อยลงกว่าเดิม โดยพิจารณาจากฐานเงินเดือนเฉลี่ยตลอดการทำงาน ต่างจากระบบเดิมที่คิดจากฐานเงินเดือนช่วงสุดท้ายก่อนเกษียณอายุ

    [​IMG]

    สื่ออังกฤษทุกฉบับร่วมสับการผละงานครั้งนี้ “เละ”


    หนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับวันนี้ (1 ธ.ค.) หลายๆ สำนักวิพากษ์วิจารณ์การผละงานประท้วงไปในแง่ลบ

    “เดลีเทเลกราฟ” เรียกร้องให้แก้กฎหมาย “ป้องกันการผละงานประท้วงที่ไม่อาจสั่งห้ามได้เกิดขึ้นซ้ำซาก”

    หนังสือพิมพ์ยอดนิยมอย่าง “เดลิเมล์” ก็ตำหนิบรรดาครูใหญ่ที่ทิ้งงานการศึกษาและสร้าง “ความโกลาหล ความผิดหวังแก่ครอบครัวเป็นล้านๆ” ส่วนหน้าหนึ่งของ “เดอะซัน” ก็พาดหัวว่า การผละงานประท้วงที่มีคนเพียง “หยิบมือ”

    แม้กระทั่ง “ดิอินดีเพนเดนต์” สื่อที่หนุนการประท้วง ก็ส่งเสียงบ่นว่า การประท้วงครั้งนี้ “ไม่ถูกเวลา” แต่ก็สำทับทิ้งท้ายว่า ประชาชนมีสิทธิในการชุมนุม

    ด้านนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน วิจารณ์การประท้วงกลางที่ประชุมรัฐสภาอังกฤษว่า “น่าผิดหวัง” พร้อมทั้งโจมตีสหภาพแรงงานที่เลือกผละงานประท้วง ขณะกำลังเจรจาปฏิรูประบบเงินบำนาญ ยิ่งไปกว่านั้น คาเมรอนยังกล่าวหาเอ็ด มิลิแบนด์ หัวหน้าพรรคเลเบอร์ ปาร์ตี แกนนำฝ่ายค้าน เป็น “ปีกซ้ายที่อ่อนแอไร้ความรับผิดชอบ” เนื่องจากไม่ยอมออกมาวิพากษ์วิจารณ์การผละงานประท้วง

    อนึ่ง ยูนิซัน สหภาพแรงงานที่มีสมาชิก 1.3 ล้านคน เปิดเผยหลังการชุมนุมว่า มีผู้คนร่วมผละงานราว 2 ล้านคน และมีพลังสนับสนุนจากภาคส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมาก ขัดแย้งกับข้อมูลของสำนักคณะรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งแถลงโต้ว่า “จำนวนผู้ประท้วงน้อยกว่าที่สหภาพแรงงานกล่าวอ้างและคาดการณ์มาก”

    [​IMG]

    บรรยากาศการประท้วงในเมืองแมนเชสเตอร์ วานนี้ (30 พ.ย.) อีกหนึ่งเมืองใหญ่นอกเหนือจากกรุงลอนดอน และเมืองเบอร์มิงแฮม ที่มีการชุมนุมคัดแผนปฏิรูประบบเงินบำนาญ

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000153380
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เพราะโกหก จึงเป็นเช่นนี้

    โดย : ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม

    วันที่ 2 ธันวาคม 2554 05:05



    เชื่อไหมครับ วิกฤตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปวันนี้ เริ่มมาจาก “การโกหก”


    เมื่อปี ค.ศ. 1999 หลายประเทศในยุโรป ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศยูโรโซน เพื่อใช้เงินตราสกุลเดียวกัน คือ เงินยูโร โดยประเทศที่เข้าร่วมกลุ่ม จะต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ใน “ข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและความเติบโต” (Stability and Growth Pact) หรือเรียกย่อๆ ว่า SGP ซึ่งหนึ่งในข้อตกลงนั้น กำหนดไว้ว่า ประเทศสมาชิก จะต้องมีงบประมาณขาดดุล ไม่เกิน 3% ของ GDP
    ประเทศกรีซ สมัครเข้าเป็นสมาชิก ในปี ค.ศ. 2001 และได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกยูโรโซนได้ เพราะข้อมูลทางเศรษฐกิจของกรีซ เป็นไปตามเงื่อนไขทุกประการ และในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิก แต่ละประเทศก็จะต้องให้ความช่วยเหลือ หรือได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ซึ่งกันและกัน ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
    เป็นสมาชิกได้ 3 ปี ก็ปรากฏเป็นข่าว และ รัฐบาลกรีซ ประกาศยอมรับความจริง ในปี ค.ศ. 2004 ว่า กรีซมีงบประมาณขาดดุลที่ มากกว่า 3% นับตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน แล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ โกหก มาตั้งแต่แรกนั่นแหละ จนทำให้ได้เป็นสมาชิกยูโรโซน
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศสมาชิกอีกสิบกว่าประเทศควรทำเช่นใด ธนาคารเจ้าหนี้ ควรทำเช่นใด หรือบริษัทจัดอันดับเครดิต ควรทำเช่นใด.......คำตอบใน วันนี้ อาจจะไม่ยากนัก เพราะเป็นการมองย้อนหลัง แต่ความจริงก็คือ วันนั้น เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ไม่มีใครทำอะไรมากมายนัก
    ประเทศสมาชิกอื่นๆ จะทำอย่างไรได้เล่า ในเมื่อ กติกาของยูโรโซน ก็คือไม่สามารถไล่สมาชิกออกได้ กรีซ ก็เลยกลายเป็นประเทศภาระ ที่ประเทศอื่นๆ ต้องช่วยเหลือประคับประคองมาตลอด ส่วน ธนาคารต่างๆ รวมทั้ง นักลงทุน และบริษัทจัดอันดับเครดิต ก็ยังไม่ค่อยจะให้ความสนใจในเรื่องการโกหกของกรีซ เท่าใดนัก เพราะทุกฝ่ายต่างเชื่อว่า กรีซ จะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน ซึ่งมีมากกว่าสิบประเทศ
    เหตุการณ์ก็เลยพัฒนามาจนกลายเป็นวิกฤติในวันนี้ และอันดับเครดิตของกรีซ ก็ถูกลดลงมาอย่างรวดเร็ว จนอยู่ในกลุ่มที่อันดับเครดิต ต่ำที่สุดในโลกไปแล้ว
    แต่เรื่องไม่จบเพียงนั้น เพราะวิกฤติครั้งนี้ ได้กระจายไปยังประเทศอื่นในยูโรโซน อีกหลายประเทศ เช่นอิตาลี และ โปรตุเกส เป็นต้น และก็เป็นธรรมดา เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงอย่างนี้เกิดขึ้น อย่าว่าแต่คนไทยเราเลย ฝรั่งต่างชาติ ก็อดไม่ได้ที่จะวิเคราะห์ว่า ใครมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้
    แน่นอนว่า กรีซ น่ะ หมดคุณค่าไปแล้ว นับตั้งแต่วันที่ยอมรับต่อชาวโลกว่า ได้ให้ตัวเลขที่โกหกหลอกลวง เพื่อจะได้เข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน ซึ่งหลังจากนั้น ประเทศสมาชิกก็เลยต้องให้ความช่วยเหลือต่างๆ มาโดยตลอด แต่ที่นักวิจารณ์ทั้งหลาย ต่างทยอยกันออกมาตั้งคำถามบ่อยครั้งว่า แล้วทำไมบริษัทจัดอันดับยักษ์ของโลก ไม่ลดอันดับเครดิตของกรีซ ให้เร็วกว่านี้เล่า
    เมื่อสองวันก่อน Julie Creswell และ Graham Bowley ออกมาเขียนบทความ ระบุว่า ในวันที่กรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน เมื่อปี ค.ศ. 2001 นั้น กรีซ กลับได้รับการปรับอันดับเครดิตขึ้นไปจากเดิม ด้วยซ้ำไป ทั้งๆ ที่กรีซ ก็ไม่ได้เข้มแข็งอะไรมากไปกว่าเดิมเลย ซึ่งประเด็นนี้ นักวิเคราะห์จากค่าย มูดี้ส์ ก็ออกมาอธิบายว่า เป็นเพราะมูดี้ส์ เชื่อว่าการได้เข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน นั้น ทำให้สถานะของกรีซ แตกต่างไปจากเดิม เพราะจะได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มยูโรโซน ถือว่าเข้มแข็งขึ้น จึงมีการปรับอันดับเครดิตให้สูงขึ้น
    ส่วนประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่า แล้วทำไมในระยะหลัง เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กรีซ มีปัญหา ทำไมไม่ลดอันดับเครดิตลงให้เร็วกว่านี้ เพราะอันดับเครดิตที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ธนาคารต่างๆ และนักลงทุนเข้าใจผิด และยังให้เงินกู้ยืมแก่กรีซ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนนำไปสู่หนี้สินมากมาย กลายเป็นปัญหาในวันนี้
    ค่ายผู้จัดอันดับเครดิต ก็อธิบายว่า ความจริง ก็ได้ลดอันดับเครดิตลงมาบ้างแล้ว ตามลำดับ แต่ขอให้สังเกตด้วยว่า ธนาคารและนักลงทุนเอง เสียอีก กลับยังเต็มใจให้กรีซกู้ยืม โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำไป (สำหรับอันดับเครดิตในระดับนั้น) แสดงว่าธนาคารและนักลงทุน ก็เต็มใจให้กรีซกู้ยืม โดยไม่คำนึงถึงอันดับเครดิต เท่าที่ควร เช่นกัน
    ฟังแล้ว ก็ได้บรรยากาศ คล้ายๆ การประชุมสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเลยครับ ที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างชี้นิ้วให้กันและกัน ว่าใครกันแน่ เป็นผู้ทำให้เกิดมหาอุทกภัยครั้งนี้ ฟังฝ่ายรัฐบาล ก็มีเหตุผล ฟังฝ่ายค้าน ก็มีเหตุผล ประชาชนไปตัดสินกันเอง ก็แล้วกัน แต่ที่แน่ๆ มหาอุทกภัยได้เกิดขึ้นแล้ว เช่นเดียวกับวิกฤตการณ์ ยูโรโซน ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว เช่นกัน
    วิกฤติยูโรโซน จึงเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน แต่ถ้าหาก เมื่อปี ค.ศ. 2001 กรีซ ไม่ได้โกหกประเทศอื่นๆ ด้วยตัวเลขงบประมาณขาดดุลที่น้อยกว่าความเป็นจริง กรีซ ก็อาจจะไม่มีสิทธิ ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน จนทำให้กรีซดูน่าเชื่อถือขึ้นกว่าเดิม ได้รับอันดับเครดิตดีขึ้น รวมทั้งธนาคารและนักลงทุน ก็หลั่งไหลให้กู้ยืมเงิน เป็นจำนวนมากกว่าที่ควรจะเป็น แถมยังยอมรับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่ควรจะเป็นเสียอีกด้วย จนที่สุด หลายปีผ่านไป กรีซ จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว จุดชนวนวิกฤติยูโรโซน ลามปามไปประเทศอื่น อย่างที่เห็นกันในวันนี้

    สรุปได้ว่า......
    การโกหก นั้น วันหนึ่งความจริง ก็ต้องปรากฏต่อสังคม อย่างที่กรีซ ถูกค้นพบ และต้องออกมายอมรับ เมื่อปี ค.ศ. 2004 น่าอับอายไม่น้อยเลย
    การคบกับคนโกหก ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเขาโกหก แต่ก็ยังเชื่อถือเขามากกว่าที่ควรเป็น วันหนึ่ง ก็ได้รับผลอย่างนี้แล
    อาชีพบางอาชีพ วันนี้กำลังตกเป็นเป้าหมาย และถูกจับตาอย่างมาก นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เอ็นรอน เป็นต้นมา เช่น อาชีพนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ อาชีพผู้สอบบัญชี และอาชีพจัดอันดับเครดิต เป็นต้น
    แต่ไม่ว่าอาชีพอะไรก็ตาม ถ้าหากเราทำหน้าที่ ด้วยจิตโปร่งใส ด้วยความรู้ และด้วยสติ เสียอย่าง
    เชื่อได้ว่าพ้นภัย แน่นอนครับ
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...20111202/422496/เพราะโกหก-จึงเป็นเช่นนี้.html
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เครดิต คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Falkman<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5406269", true); </SCRIPT>

    Thailand floods a 'wake-up' call for Asia: ADB

    by Martin Abbugao, Agence France-Presse
    Posted at 12/01/2011 1:16 PM | Updated as of 12/01/2011 1:16 PM

    SINGAPORE - Devastating floods in Thailand and other parts of Asia are a wake-up call to governments to do more to cope with the effects of climate change, a top Asian Development Bank official has warned.

    สิงคโปร์: - การที่มีมหาอุทกภัยที่ประเทศไทยและหลายๆ ที่ในเอเชีย มันหมายถึง wake-up call ให้รัฐบาลในเอเชียได้ตื่นกันแล้ว และจะได้สามารถควบคุมผลที่จะเกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักได้


    Asia is dotted with large coastal cities from Shanghai to Calcutta that are vulnerable to flooding, and governments need to put in place long-term solutions to deal with the problem, said David McCauley, the ADB's lead climate change specialist.

    Research suggested that more floods of the scale that hit Thailand in recent months, leaving more than 600 dead affecting millions of livelihoods, are likely as climate change progresses, he said.

    "I think that these events are wake-up calls for governments around the region to pay more attention to these long term trends," McCauley told AFP in Singapore on Tuesday during a stopover on his way to climate change talks in Durban.

    "It's the wave of the future so they need to better cope with climate change impacts."

    McCauley said a study last year carried out jointly by the Manila-based ADB, the World Bank and the Japan International Cooperation Agency forecast the flooding in Thailand
    -- but did not predict how soon it would come.
    McCauley บอกว่า ได้มีการศึกษาปีที่แล้วเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทยด้วย แต่ว่าไม่ได้พยากรณ์ว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วแค่ไหน

    "The floods that we saw in Thailand are consistent with what's predicted to occur as a result of climate change," he said.

    "The study looked at Bangkok, Ho Chi Minh City and Manila and what can be expected over the next 40-50 years. It predicted exactly the kind of things that occurred in Bangkok."

    ในการศึกษานี้ได้มองไปถึงกรุงเทพ โฮชินมินช์ มะนิลาและอะไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 40-50 ปี และในการศึกษาครั้งนี้มีการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพแบบนี้เดี๊ ยะๆ

    McCauley said the region should not just brace for floods but also droughts and heatwaves.

    After the floods, "we can have a drought next year and a heatwave the following year and all of that would be consistent with what's been predicted as a result of climate change," he said.

    หลังจากน้ำท่วม พวกเราอาจมีภัยแล้งปีต่อไปและฮีทเวฟในปีถัดๆ ไปอีก พวกนี้ทั้งหลายได้ถูกพยากรณ์ไว้แล้วเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ อากาศ

    "So it's not any one set of measures that need to be taken. All of these new risks need to be considered and fed into the way cities are being developed and the way social protection measures are designed," he added.

    "All across Asia you have these big coastal cities with enormous populations at risk," he cautioned.

    This should prompt governments to put more emphasis on urban planning and implementing stricter systems in issuing building permits for residential and industrial sites.
    "ประเทศในเอเชียทั้งหมด มีเมืองใหญ่อยู่ใกล้ทะเลกับความเสี่ยงมหาศาลกับประชากรตรงนั้น" เค้าเตือน
    และนี่ก็น่าจะเป็นการเตือนรัฐบาลของทุกประเทศให้มาให้ความสำคัญกับเมืองใหญ่ เหล่านี้ และต้องทำระบบที่มีความเข้มงวดมากกว่านี้ในการขออยุญาตจะสร้างตึกสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยและโรงงานอุสาหรกรรม


    Environmental consciousness is "definitely finding its way into the fabric of economic development policy and practice" in Asia but strong policy frameworks must be implemented soon, he said.

    Asia has now become the largest source of new greenhouse gas emissions as a result of the rapid economic growth in China and India and continued deforestation in Indonesia, McCauley said.

    The majority of new infrastructure to be build worldwide in the next 20 years will be in Asia, he noted.

    "Unless we get this right, unless those transport systems and those power plants are energy efficient and low carbon, then we're going to lock in for another 40-50 years the old patterns of high carbon intensive development," he warned.

    If current patterns do not change, Asia will account for 40-45 percent of greenhouse gas emissions in the energy sector alone by 2030, he said.

    This will rise to more than 50 percent if greenhouse gas emissions from land use and deforestation are added.

    "Asia has more people at risk from the adverse impact of climate change than any other region of the world, which also gives it a stake in trying to find solutions to the problem," he said.

    ประเทศในเอเชีย ประชากรอยู่ในอันตรายและจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจาก climate change มากกว่าทวีปอื่นๆ ในโลกทำให้ต้องมีการเดิมพันในการจะหาวิธีป้องกันแก้ไขจากปัญหาเหล่านี้

    http://www.abs-cbnnews.com/global-fi...-call-asia-adb
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัญหาจะยุติได้เมื่อ ผู้นำที่มีศีลธรรมมีคุณธรรม ได้เป็นผู้นำของโลก ใช้ธรรมปกครองผู้คน
    หรือ ผู้นำโลก มีทัศนคติทำงานเพื่อ บรรเทาทุกข์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับผู้คนในโลกอย่างเท่าเทียมกัน

    นอกนั้นมีแต่ผู้ปกครองกับทาส มีแต่การเอาเปรียบ ให้คนอื่นทำงานรับใช้แลกกับ
    การได้รับความคุ้มครองและผลประโยชน์เล็กๆน้อยให้คนบางกลุ่มไม่เสมอภาคกัน
    การที่ยังมีคนถูกเอาเปรียบอยู่ แล้วจะมีความสงบ หรือเป็นสุขได้ยังไง
    เมื่อไม่สงบไม่เป็นสุข เรื่องราวมันก็จะสะสมความรุนแรงจนระเบิด เกิดขึ้นแล้วก็เกิดขึ้นอีก

    อำนาจการปกครอง ต้องอยู่ในมือของคนที่มีความชอบธรรม เป็นธรรม โลกก็จะไม่วุ่นวาย
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์

    เมื่อไม่กี่วันก่อนผมไปแอบเป็นนินจาไปแวบแอบอ่านแบบไร้ร่องรอยในบล็อกของอาจารย์วิบูล เรื่อง สิบปีวิกฤติเศรษฐกิจไทย - เราลืมอะไร ? (ผมลืมไปแล้วครับว่าสิบปี)
    แล้วจะว่าไปก็บังเอิญอีกเหมือนกันที่ผมไปเจอหนังสือของ Dr. Thomas Friedman (คนที่เขียนเรื่อง The World is Flat นั่นแหละครับ) แต่จริงๆแล้วตัว Dr. Friedman นั้นเป็นนักหนังสือพิมพ์ชั้นเซียนอยู่แล้ว เพราะ Dr. Friedman นั้นเขียนใน The New York Times อยู่เป็นประจำ หนังสือเล่มนี้ชื่อเรื่องว่า The Lexus and The Olive Tree ครับ
    ตัวหนังสือเล่มนี้นั้นว่าด้วยเรื่องของโลกาภิวัฒน์ล้วนๆครับ แต่ก็จะไม่มีเรื่อง 9/11 อยู่ในนี้เพราะว่าเล่มนี้นั้นปรับปรุงพิมพ์ใหม่ตอนปี 2000 ซึ่ง 9/11 ยังไม่เกิดครับ
    แต่วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์กันดีกว่านะครับ เพื่อที่จะได้ระลึกถึงวิกฤติเศรษฐกิจในเมืองไทย (เจ้าพ่อทฤษฏีโดมิโน เรื่องเศรษฐกิจ กับ การแพร่กระจายของโรคต้มยำกุ้งอันเลื่องชื่อ)
    วิกฤติเศรษฐกิจในเมืองไทย
    เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในเมืองไทยเริ่มมาจากไหน ผมว่ามันเริ่มมาตั้งนานก่อนปี 1997 แล้วครับ เพียงแต่ฝีมันมาแตกตอนปี 1997 เท่านั้นเอง (เพราะการลดค่าเงินบาทของรัฐบาล) เอาล่ะแล้วจริงๆมันเกิดอะไรขึ้น
    เรารู้ว่านายจอร์จ โซรอส เจ้าของ Hedge Fund อันหนึ่งได้ลงทุนโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งรัฐบาลนั้นก็ได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถแต่ก็ไม่สามารถที่จะต้านทานอาวุธหนักของนายโซรอสได้ ก็เลยจำใจที่จะต้องลอยตัวค่าเงินบาท
    แต่แล้วจริงๆอยู่ๆ นายโซรอสจะบ้าเอาเงินมาทุ่มโจมตีค่าเงินบาทหรือเปล่า ก็ในเมื่อการทุบค่าเงินประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นมันไม่ได้ใช้เงินแค่บาทสองบาทนะครับ เขาใช้เงินตั้งหลายตังค์ แต่จะว่ากันไปแล้วโซรอสเองก็มีประสบการณ์ด้านนี้อยู่แล้ว เพราะพี่แกก็เคยโจมตีค่าเงินปอนด์ของอังกฤษสมัยปี 1992 จนพังพาบมาแล้ว โดยที่คนอังกฤษนั้นเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Black Wednesday
    แล้วเพราะอะไรที่ทำให้โซรอสเข้ามา ก็เพราะว่าเศรษฐกิจไทยไม่แข็งอย่างที่โม้ว่าจะเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชียไงครับ สมัยนั้นแหล่งเงินทุนที่เข้ามานั้น เป็นแหล่งเงินที่กู้มาจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งนั้นเอามาลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ (โดยที่ไม่ได้ดูถึงตลาดความต้องการ) อีกส่วนหนึ่งเอามากินส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศไทย แต่พื้นฐานการลงทุนนั้นนักลงทุนไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเราใช้ระบบ fixed exchange rate พูดกันง่ายๆสมัยนั้นก็ 25 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ล่ะครับ
    แล้วอยู่ๆรัฐบาลไทยไม่สามารถที่จะปกป้องค่าเงินบาทได้ ลอยตัวค่าเงินบาทซะงั้นอ่ะ หนี้ที่ไปกู้ต่างประเทศเขามา แทนที่จะหามาจ่ายแค่ 25 บาทต่อหนึ่งเหรียญ ก็เพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงไหนผมก็จำไม่ได้แล้วครับ ห้าสิบบาทประมาณนั้น ซึ่งทำให้คนนั้นเกิดความไม่มั่นใจในเสถียรภาพของสถาบันการเงิน ทำให้เกิดการปิดสถาบันการเงินไปถึง 56 แห่ง แล้วรัฐบาลต้องออกมาค้ำประกันเงินฝาก ถึงได้สามารถผ่อนคลายความวิตกกังวลของประชาชนลงไปได้
    นี่ว่ากันในแง่ของคนไทยนะครับ แต่สำหรับคนต่างชาตินั้น เขาถอนหุ้นออกกันไปตั้งนานแล้วครับ อีกทั้งการปล่อยกู้ให้กับโครงการต่างๆในประเทศไทยก็ยากขึ้น ดอกเบี้ยก็สูงขึ้น แถมถอนหุ้นไม่ได้ถอนหุ้นแค่ประเทศไทยประเทศเดียวนะครับ ล่อถอนกันไปทั้งแถบเอเชียเรียกว่าโดนหางเลขกันหมด
    วิกฤติการเงินในรัสเซีย
    ถ้าเป็นสมัยก่อน เรื่องที่เกิดในเมืองไทยก็คงจะไม่กระทบกับชาติอื่นมากนัก เพราะว่าเทคโนโลยีด้านข่าวสารนั้นมันไม่รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นมันก็ไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้นมากใช่ไหมครับ
    แล้วมันเกี่ยวอะไรกับรัสเซีย รัสเซียช่วงปี 1997 นั้นก็เป็นช่วงที่ข้าวใหม่ปลามันหลังจากคอมมิวนิสต์ล่มสลาย เศรษฐกิจก็เรียกว่ายังลุ่มๆดอนๆ Dr. Friedman บอกว่าการผลิตของรัสเซียนี่ห่วยมาก ขนาดที่เรียกว่า Negative value added ครับ นั่นหมายความว่า ถ้าโรงงานรัสเซียผลิตรถยนตร์มาสักคัน เอารถคันนั้นไปขาย ยังขายได้ราคาน้อยกว่าเอารถคันนั้นมาขายเป็นเศษเหล็กซะอีก
    ว่าแล้วรัสเซียจะเอาเงินมาจากไหน Dr. Friedman บอกว่าเอาเงินมาจากภาษีขายน้ำมันดิบและวัตถุดิบเช่นเหล็ก ทองแดงกับการขายบอนด์
    แล้วมันเกี่ยวอะไรกับวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย ที่มันเกี่ยวก็เพราะว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียซึ่งขณะนั้นก็เป็นเอเชียนี่แหละที่บริโภควัตถุดิบพวกเหล็ก พวกน้ำมัน พวกทองแดงอย่างมาก เพื่อที่จะเอามาสร้างๆๆๆๆๆๆ
    แล้วก็ตามหลักเศรษฐศาสตร์ 101 เมื่อ demand ลดลง supply เองก็เท่าเดิม ราคาก็ตกสิครับ
    แต่ตอนนั้นรัสเซียนั้นอยู่ในความควบคุมของ IMF นักลงทุนก็เชื่อว่าการขายบอนด์ชนิดที่เรียกว่าให้ yield ขนาด 20% ภายในหนึ่งปี เรียกว่า deal แบบนี้ไม่มีในโลก รัฐบาลรัสเซียไม่เบี้ยวหรอก เพราะว่ายังไง IMF ก็คงจะเอามาเงินมาให้กู้เพื่อไม่ให้รัสเซียเบี้ยวหนี้ และไม่ให้นักลงทุนนั้นตกใจ พาให้เศรษฐกิจรัสเซียลงเหวไปอีก เมื่อคิดแบบนี้นักลงทุนก็ไม่หนีอยู่แล้วครับ ไม่หนีไม่ว่า ไปกู้แบงค์ดอกเบี้ยต่ำมาลงทุนอีก
    แต่แล้วสิงหาคม ปี 1998 รัสเซียก็เบี้ยวหนี้ ชักดาบหมดเลย!
    ผลกระทบทั่วโลก
    เมื่อรัสเซียเบี้ยวหนี้ แบบไม่บอกไม่กล่าวกันล่วงหน้า นักลงทุนก็กลัวสิครับ แล้วจะทำยังไง ก็ไปลงทุนไว้กลับอะไรก็ได้ที่มันปลอดภัยมากที่สุด หรือความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งก็คือลงทุนกับบอนด์(หรือว่าพันธบัตรรัฐบาล)ของสหรัฐ
    เรื่องมันน่าจะจบที่ตรงนี้ แต่มันไม่จบนี่สิครับ มันกระทบต่อไปยังประเทศอื่นๆที่เป็นเด็กดี ทำทุกอย่างถูกต้องตามหลักการการเงินทั้งหมด เช่นบราซิลเป็นต้น
    ทำให้บราซิลหรือรัฐบาลอื่นๆนั้นจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อที่จะหยุดการไหลออกของเงินทุนที่จะกลับไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐ
    กรรมใดใครก่อ
    เมื่อการลงทุนนั้นไหลกลับมาที่บอนด์ของสหรัฐ อีกครั้งครับตามหลักดีมานด์และซัพพลาย เมื่อดีมานด์มาก ค่าของบอนด์ก็สูงขึ้น แต่เนื่องจากบอนด์นั้นสัมพันธ์แบบผกผันกับดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยสูง ราคาบอนด์ก็ต่ำ ถ้าราคาบอนด์สูง ดอกเบี้ยก็ต่ำ)
    ย้อนกลับมาที่ตัวละครตัวเอก นายจอร์จ โซรอสของเรา จอร์จ โซรอสนั้นเป็นเจ้าพ่อ Hedge fund ครับ หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า Long-Term Capital Management (LTCM) ตัว LTCM นั้น เริ่มเป็นที่ติดตาต้องใจของนักลงทุนตั้งแต่สมัยปี 1980s และเมื่อการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ LTCM ก็เริ่มออกวิธีการลงทุนใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ แล้วก็ใช้เงินเยอะๆ (เช่นทุบค่าเงินบาทเมืองไทย ลงทุนไปซื้อบอนด์รัสเซีย)
    หนึ่งในวิธีการลงทุนนั้น LTCM นั้นใช้งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสองท่าน ที่บอกว่า การขึ้นๆลงๆของราคาหุ้น (basic volatility of stocks) และบอนด์นั้นสามารถที่จะประมาณได้จากเหตุการณ์ในอดีต (ภาษาการเงินเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ex post) ดังนั้น LTCM เลยไปกู้เงินมาลงทุนถึง 120 พันล้านเหรียญ และโดยการคาดการณ์ของโมเดลทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว LTCM ก็ลงทุนไปที่ junk bond เพราะคิดว่า ราคา junk bond นั้นจะสูงขึ้น แต่ไม่ลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาล เพราะคิดว่าตกแหงๆ
    แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าครับว่า เพราะว่าเศรษฐกิจที่ปั่นป่วนทั่วโลก ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ของ junk bond ก็ขยะดีๆนี่เองครับไม่มีคนซื้อ ทำให้ LTCM หรือ hedge fund หรือ จอร์จ โซรอส เจ๊งกะบ๊งไม่เป็นท่า ขาดทุนไป 4.6 พันล้านเหรียญ [1] (ถ้าเขาลิงค์ที่แปะไม่ได้ ลองเข้าไปโดยตรงที่นี่ครับ Long-Term Capital Management - Wikipedia, the free encyclopedia ในนี้นั้นบอกหมดว่าเจ๊งเพราะอะไรบ้างครับ)
    แต่เราเคยได้ยินคำว่าล้มบนฟูกใช่ไหมครับ คำนี้ในอเมริกาก็มีเหมือนกันครับ เมื่อรัฐบาลนั้นได้ช่วย LTCM เพื่อไม่ให้เจ๊งกะบ๊ง ขนาดทำให้ประชาชนคนทั่วไปตกใจ และเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไปทั่วโลก เป็น great depression ภาคสอง
    อ้อเรื่องนี้จบลงในปี 1998 หรือก็คือประมาณหนึ่งปีหลังจากการลอยตัวค่าเงินบาทครับ
    กลับมายืนที่เดิม
    ใครจะไปเชื่อหล่ะครับว่าด้วยโลกโลกาภิวัฒน์ยุคปัจจุบัน นั้นรวดเร็วรุนแรงได้ถึงขนาดนี้ ผมคิดว่าจอร์จ โซรอสเองก็คงคิดไม่ถึงเหมือนกันว่าตัวเองจะโดนหางเลขจากสิ่งที่ตัวเองก่อขึ้น
    หลังจากที่ LTCM นั้นเจ๊งกะบ๊งนั้น งานวิจัยด้านการเงินเกี่ยวกับความเสี่ยงนั้นมีเยอะมากเหลือเกินครับ รวมไปถึงการออกกำหนด Basel II ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาอีก
    ในโลกแห่งข่าวสาร เราคงจะต้องยอมรับว่ากระดิกพลิกตัวนิดเดียวนั้นมีผลกันหมด ดังนั้นเราเลยเห็นว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น ก็คงจะเป็นอย่างที่หลายคนเชื่อ โดยเฉพาะคนที่เชื่อเรื่องตลาดเสรี ว่ามีคนมีเงินเยอะๆดีกว่า เพราะอย่างน้อยเราก็สามารถกระจายสินค้าของเราได้ดีกว่า เรามีโอกาสได้เงินมากกว่า เพราะเมื่อคนมีเงินแล้ว โอกาสที่คนจะใช้เงินเพื่อซื้อความสะดวกสบายก็มากขึ้น
    ผมคิดว่าโอกาสที่จะมีใครคนใดคนหนึ่ง หรือกองทุนใดกองทุนหนึ่งจะโจมตีเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นคงจะน้อยแล้ว เพราะว่าตัวอย่างของ LTCM คงจะเห็นได้เด่นชัดแล้ว ว่าแค่ 1 ปี ก็ทำให้คนที่เริ่มก่อเรื่องนั้น เจ๊งกะบ๊งไม่เป็นท่าได้เลย แล้วจะมีใครกล้าเสี่ยงอีกล่ะเนี่ย (นอกเสียจากว่าคุณจะสร้างสุดยอดโมเดลที่คาดการณ์ด้านการเงินได้อย่างถูกต้อง)
    ที่มา Friedman, Thomas, L. The Lexus and The Olive Tree: Understanding globalization, Anchor Books, 2000, 2nd. ISBN 0-385-49934-5
    ปล ผมอ่าน The Cash Nexus อยู่นะครับ หลังจากที่บอกไว้ว่าจะเป็นเรื่องต่อไป แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหนซะทีครับ :( ต้องขอโทษด้วยครับ

    สร้าง: 22 มิถุนายน 2550 04:10
    วิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ - ไปอ่านหนังสือกันเถอะ
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปฎิทินฉบับวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย
    แน่นอนว่าในช่วงที่ผ่านมา วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาในโลกตอนนี้ ส่งผลกระทบ เลยมีการออกปฎิทินประชดชีวิตชุดนี้ออกมา เนื้อหาในปฎิทินนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการล้อเลียนชีวิตที่เปลี่ยนไปของเหล่าพ่อค้า คนมั่งมีที่อยู่ในภาวะล้มละลายหรือถังแตก เพราะปัญหาเศรษฐกิจในประเทศค่ะ

    [​IMG]

    หน้าปกค่ะ^^;

    [​IMG]
    "ไง~ ไปลองดีในตลาดการเงินพอแล้วใช่มั้ย?
    ถ้างั้นก็ไปทำความสะอาดรองเท้าชั้นที่คอนวีเนียนฯซะไป๋!"

    [​IMG]


    "สำหรับพวกตำรวจน่ะ ไม่ต้องมาเศร้าใจหรอก
    เพราะยังไงก็เป็น(อาชีพ)ที่เป็นที่ต้องการตลอดอยู่แล้ว แม้แต่กับคนแบบนายด้วย"



    [​IMG]

    "เฮ้ย ปิดเสียงไปได้แล้ว
    ไม่มีใครมีเงินจ้างแกแล้ว! "

    [​IMG]


    "ไม่ต้องกังวลนะ นักลงทุนทั้งหลาย!
    ไปหาซื้อเกลือที่ร้านใกล้ๆมาซะ!"




    [​IMG]

    "เฮียอย่าเพิ่งโดดนะ ไอ้พ่อค้าตรงนั้น!
    ลงมาหัดใช้ตะไบดีกว่าน้า!"



    [​IMG]

    "ไง พ่อผู้จัดการ ไม่ต้องเศร้าหรอกนะ
    มาJobless Fairกับเราดีกว่า"




    [​IMG]

    "ถังแตกเหรอ เจ้าเศรษฐีงั๊ง?
    แต่ไม่มีปัญหา!
    มาคุ้ยหาอาหารกับพวกเราสิ!"




    [​IMG]

    "น้ำมันราคาตกเหรอ? พวกพ่อค้าทั้งหลาย
    งั้นก็ไปนั่งในลิมูซีนของตัวเอง และกลายเป็นคนขับแท๊กซี่ไปซะ"




    [​IMG]

    "ไม่รู้จะลงกับยูโรหรือดอลลาร์ดี?
    ก็ดื่มๆไปแม่งซะ เพื่อจะดูแลสติสตังตัวเองดีกว่า"


    [​IMG]

    "ถูกไล่ออกเหรอ เหล่าทหาร?
    ไม่ลองไปเป็นโจรป่า หรือโจรสลัดดูล่ะ"



    [​IMG]


    "ไหงดูหมองๆไปล่ะ? ได้เชิญไปงานเลี้ยงเหรอ?
    ก็แค่ไปจิ๊กอาหารในนั้นมา ก็แฮปปี้ได้แล้ว"





    เราว่ามันฮาที่จิ๊กกัดเรื่องราวเฉพาะตัวหลายๆอย่างของรัสเซียได้น่ารักและเจ็บแสบดีค่ะ^^;

    ตลกดี ... ปฎิทินฉบับวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย | My (disclosed) space.
    credit : Russian Economic Crisis Calendar | English Russia
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤติยุโรปและตลาดพันธบัตรเอเชีย

    โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร bandid.econ@gmail.com

    วันที่ 5 ธันวาคม 2554 01:00

    ล่าสุดสถานการณ์หนี้ยุโรปไม่น่าวางใจมากขึ้น เพราะนักลงทุนยังขายทิ้งพันธบัตรประเทศยุโรปที่มีหนี้สูง กดดันให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของประเทศเหล่านี้ปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระในการชำระหนี้ และทำให้การกู้หนี้ใหม่ เพื่อชำระหนี้เก่า (Rollover) ทำได้ยากขึ้น ซึ่งในกรณีเลวร้ายอาจนำมาสู่ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ และปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงตามมา

    ขณะนี้ภาคทางการยุโรปดูเหมือนจะตระหนักเรื่องนี้ดี จึงได้มีการเตรียมการเป็นระยะๆ เพื่อบริหารจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายลง ล่าสุดวันพุธที่แล้ว ธนาคารกลางประเทศอุตสาหกรรมหลักหกธนาคาร คือ สหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อังกฤษ แคนาดา และ สวิตเซอร์แลนด์ ก็พร้อมกันลดอัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้สภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐในรูปของสวอป เพื่อเตรียมช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ยุโรปที่อาจมีปัญหาสภาพคล่องในกรณีที่สถานการณ์หนี้ยุโรปเลวร้ายลง นอกจากนี้รัฐบาลกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปก็กระตุ้นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ให้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรปมากขึ้น และพร้อมจะให้เงินกู้ เพื่อให้ไอเอ็มเอฟมีทรัพยากรการเงินเพียงพอที่จะช่วยประเทศยุโรปที่อาจมีปัญหา แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา แต่เป็นการเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเลวร้ายลง

    ดังนั้น สถานการณ์ยุโรปขณะนี้อ่อนไหวมาก ถ้าจะเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดว่าประเด็นที่ผู้ทำนโยบายยุโรปมีความห่วงใยมากที่สุดขณะนี้คงมีสามเรื่อง

    หนึ่ง จะหาทางออกทางนโยบายอย่างถาวรให้กับปัญหาหนี้ยุโรปอย่างไร ที่จะเรียกความเชื่อมั่นของตลาดต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศยุโรปที่มีหนี้สูง และต่อการคงอยู่ของระบบอัตราแลกเปลี่ยนยูโรให้กลับคืนมา

    สอง ในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายลง จะระดมเงินจากที่ไหน ที่จะเพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพ และแก้ไขปัญหาให้กับประเทศอื่นๆ ที่อาจมีปัญหาตามมา

    สาม ในกรณีที่สถานการณ์เลวร้าย จะป้องกันไม่ให้สิ่งที่เกิดขึ้นกระทบเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ยุโรป และระบบการเงินโลกอย่างไร

    คำตอบทั้งสามเรื่องนี้ไม่ง่าย และคำตอบจะต้องมาจากการตัดสินใจร่วมกันของนักการเมือง 17 ประเทศในฐานะผู้นำประเทศ แต่คำตอบคงต้องมี เพราะตลาดการเงินโลกขณะนี้กำลังกดดันทางการให้มีคำตอบ โดยเฉพาะในประเด็นแรกว่าทางออกในการแก้ไขปัญหาจะเป็นอย่างไร จะเป็นการรักษาระบบยูโรไว้ โดยเพิ่มข้อตกลงความร่วมมือด้านการคลังที่เข้มงวดขึ้น เพื่อสร้างวินัยในการใช้จ่ายของรัฐบาล 17 ประเทศร่วมกัน หรือจะออกมาแบบสหรัฐที่จะใช้ธนาคารกลางสหภาพยุโรปปล่อยสภาพคล่อง โดยการซื้อหนี้ของประเทศที่มีปัญหา เพื่อซื้อเวลา วันศุกร์ที่ 9 นี้ เราอาจเริ่มรู้ว่าคำตอบจะออกมาแนวไหน จากที่ผู้นำประเทศของกลุ่มสหภาพยุโรปจะประชุมกัน แต่ไม่ว่าวันศุกร์นี้คำตอบจะออกมาอย่างไร ปัญหายุโรปจะยังคงอ่อนไหว เพราะเป็นการขับเคี่ยวกันในแง่ของเวลาระหว่างตลาดและผู้ทำนโยบาย

     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมสหรัฐ “ดูดี” กว่ายุโรป

    โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
    วันที่ 5 ธันวาคม 2554 05:00

    ครั้งที่แล้วผมสรุปเรื่องหนี้สาธารณะของสหรัฐว่าสหรัฐยังไม่ได้เริ่มแก้ปัญหาดังกล่าวเลยโดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้

    1. สหรัฐยังขาดดุลงบประมาณ 8% ของจีดีพีต่อปีเพื่อขับเคลื่อนให้จีดีพีโต 2% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยก็อยู่ที่ 0% แล้ว ดังนั้นจึงต้องถามว่าในอนาคตสหรัฐจะมีปัจจัยอะไรมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    2. ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐนั้นปัจจัยหลักมาจากรายจ่ายรัฐสวัสดิการ กล่าวคือรัฐบาลมีสัญญาประชาคมว่าจะจ่ายเงินเพื่อประกันสุขภาพและประกันสังคมอย่างถ้วนหน้า โดยคำนวณได้ว่าภาระใช้จ่ายดังกล่าวใน 30 ปีข้างหน้าจะสูงถึง 40-50 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐเก็บภาษีได้เพียงปีละ 2 ล้านล้านดอลลาร์ การที่รายจ่ายรัฐสวัสดิการสูงกว่ารายรับมากก็เพราะสหรัฐจะมีผู้สูงอายุที่อายุยืนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ให้ข้อสรุปที่กระชับดังนี้คือระบบสวัสดิการของสหรัฐนั้นก่อตั้งขึ้นโดยตั้งสมมติฐานว่าประชาชนจะเกษียณอายุเมื่ออายุ 62 ปีและแก่ตายตอนอายุ 65 ปี แต่ปัจจุบันเกษียณอายุ 65 ปี แต่แก่ตายตอนอายุ 78 ปี

    3. พรรครีพับลิกันไม่ยอม (และไม่กล้า) ปรับขึ้นภาษีเพราะจะกระทบกับฐานเสียง ส่วนพรรครเดโมแครตก็ไม่ยอม (และไม่กล้า) ปรับลดสวัสดิการโดยเฉพาะการประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นงานชิ้นโบแดงของประธานาธิบดีโอบามา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ารัฐบาลสหรัฐยังสร้างหนี้สาธารณะประมาณ 137 ล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมงไปเรื่อยๆ แม้จะมีมาตรการปรับลดรายจ่ายอัตโนมัติ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ใน 10 ปีข้างหน้า จึงไม่แปลกในที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ กล่าวตักเตือนและมองแนวโน้มของสหรัฐในเชิงลบอย่างชัดเจน

    แต่ทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึง ดูดี ในขณะที่ยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิงและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในไตรมาสปัจจุบันและในครึ่งแรกของปีหน้า? คำตอบของผมคือพฤติกรรมของเจ้าหนี้น่าจะเป็นตัวกำหนดหลักและนโยบายการเงินเป็นตัวกำหนดรอง

    ในกรณีของยุโรปนั้นประเทศลูกหนี้ (มีหนี้สินมากและขาดดุลงบประมาณ) ได้แก่ PIIGS คือ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซและสเปนเป็นหลัก ส่วนประเทศเจ้าหนี้ใหญ่คือเยอรมนีและฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าในกรณีของกลุ่มประเทศยูโรนั้นประเทศที่กำหนดทิศทางและนโยบายของประเทศลูกหนี้ก็คือประเทศเจ้าหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีนั้นถือว่าใช้ไม้แข็งคือสั่งการให้ประเทศลูกหนี้ต้องรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจอ่อนตัวลงรัฐบาลก็ยิ่งเก็บภาษีได้น้อยและขาดดุลมากขึ้น เยอรมนีก็ยืนยันนโยบายรัดเข็มขัด และสั่งให้ทำอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น จนกระทั่งระบบการเงินของยุโรปสั่นคลอนอย่างเห็นได้ชัดและลามออกไป ทำให้แม้แต่เยอรมนีและฝรั่งเศสเองก็ยังได้รับผลกระทบจากธนาคารพาณิชย์ที่นับวันจะพิการมากขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศยูโรปรับเพิ่มขึ้นอย่างถ้วนหน้า ในกรณีของอิตาลี (ซึ่งใหญ่เกินกว่าจะ อุ้ม เอาไว้ได้) ดอกเบี้ยปรับขึ้นจาก 4-5% เป็น 7% แม้แต่เยอรมนีดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นจาก 1.8% เป็น 2.2% (ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี)

    แต่เยอรมนีก็ยังยืนยันไม่ให้ธนาคารกลางของยุโรป (อีซีบี) เข้าไปแทรกแซงซื้อพันธบัตรรัฐบาล ของประเทศ PIIGS มากนัก ทั้งๆ ที่นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญเกือบทุกคนกดดันให้อีซีบีพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรอย่างไม่อั้นเพื่อกดดอกเบี้ยลงและช่วยบรรเทาภาระให้กับรัฐบาลของ PIIGS และบรรเทาภาระให้กับระบบธนาคารของยุโรป อย่างไรก็ดีเยอรมนีจะยืนยันตลอดว่าอีซีบีไม่มีหน้าที่ อุ้ม รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่มีภารกิจหลัก 2 เรื่องคือรักษาเสถียรภาพของราคา (เงินเฟ้อต่ำ) และรักษาเสถียรภาพของระบบธนาคารและระบบการเงิน ซึ่งหลายฝ่ายก็กำลังกดดันให้อีซีบี เลี่ยงบาลี โดยอ้างว่าระบบธนาคารกำลังพิการจึงสมควรที่อีซีบีจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าสัปดาห์ละ 8,000-10,000 ล้านยูโร ดังที่เป็นอยู่โดยยกตัวอย่างธนาคารกลางสหรัฐที่ใช้เงินเกือบ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์เข้าไปซื้อทุกพันธบัตรที่ขวางหน้า ทำให้ดอกเบี้ยในสหรัฐต่ำเตี้ยมาโดยตลอดซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐมีเวลาฟื้นตัว

    นิตยสารอีโคโนมิสต์ได้เขียนบทวิเคราะห์ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปเอาไว้อย่างละเอียดในวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมาโดยสรุปว่าหากไม่แก้ปัญหาโดยเร็ว มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มประเทศยูโรจะแตกสลายได้ภายในเร็ววัน ทั้งนี้โดยมีข้อเสนอแนะหลัก 2 ประการคือ 1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยให้อีซีบีพิมพ์เงินอย่างไม่จำกัดในการซื้อพันธบัตรเพื่อทำให้ตลาดเงินตลาดทุนสงบนิ่งและประการที่ 2. คือการยอมออกพันธบัตรรัฐบาลยูโร (eurobond) ซึ่งค้ำประกันโดยรัฐบาลในกลุ่มประเทศยูโร แปลว่าต้องพึ่งพาสถานะทางการคลังของประเทศเยอรมนีเป็นหลักประกันพื้นฐานนั่นเอง ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้เยอรมนียังปฏิเสธมาโดยตลอด แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นทางออกสุดท้ายของกลุ่มยูโรแล้วและเชื่อว่าเยอรมนีจะต้องตัดสินใจในทิศทางนี้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า มิฉะนั้นปัญหาจะเติบใหญ่และรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไขได้

    เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วก็อาจทำให้หลายคนมองว่ายุโรปเดินผิดทาง ในขณะที่สหรัฐเดินถูกทาง แต่ผมมองตรงกันข้าม ในกรณีของยุโรปนั้นเดินถูกทางแล้วเพราะปัญหาคือรัฐบาลมีหนี้สินมากเกินไป ดังนั้นรัฐบาลจึงควรตั้งหน้าตั้งตาลดหนี้ซึ่งรัฐบาลของ PIIGS นั้นต่างก็กำลังเร่งลดหนี้เป็นภารกิจหลักของนโยบายไปแล้ว ที่สำคัญคือรัฐบาลของประเทศดังกล่าวที่เป็นต้นเหตุในการใช้เงินเกินตัวนั้นต่างก็หลุดจากอำนาจทุกรัฐบาลแล้ว จึงสรุปได้ว่าประเทศเจ้าหนี้คือเยอรมนีนั้นเข้มงวดกับลูกหนี้จนเดินมาถูกทาง แต่หลายฝ่ายมองว่าการ ลงแส้ ของเยอรมันนั้นอาจจะรุนแรงเกินไปทำให้เศรษฐกิจล่มสลายลงต่อหน้าต่อตาและทำให้กลุ่มสกุลเงินยูโรล้มลงทั้งระบบก็เป็นได้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากลไกหลักที่กดดันให้รัฐบาล PIIGS หันมารัดเข็มขัดอย่างจริงจัง คือดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับเพิ่มขึ้น

    ในกรณีของสหรัฐนั้นนักการเมืองสามารถทะเลาะกันได้อย่างไม่จบไม่สิ้น ส่วนหนึ่งผมเห็นว่าเป็นเพราะดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐสหรัฐ 2 ปีนั้นเพียง 0.25% ในขณะที่ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีนั้นอยู่ที่ 2% จึงไม่น่าจะแปลกใจว่าหากรัฐบาลสหรัฐสามารถกู้เงินได้ที่ดอกเบี้ยต่ำระดับนี้ ก็ยากที่นักการเมืองจะรู้สึกถูกกดดันว่าการมีวินัยทางการคลังนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบจัดการโดยทันที บางคนอาจมองว่าที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะสหรัฐสามารถพิมพ์เงินที่เป็นเงินสกุลหลักของโลกได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่มีเงินจ่ายหนี้ เพราะนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐนั้นพร้อมเสมอที่จะพิมพ์เงินออกมาอุ้มรัฐบาลสหรัฐ โดยไม่ขัดข้อง (รัฐบาลหลายประเทศคงอยากให้ธนาคารกลางของตนมีนิสัยเหมือนนายเบอร์นันเก้)

    แต่ผมจะต้องโทษเจ้าหนี้ของสหรัฐเป็นหลักที่ยังรุมซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกันอย่างไม่ลดละ ทำให้สหรัฐไม่จำเป็นต้องรักษาวินัยทางการคลัง ซึ่งเจ้าหนี้หลักๆ ของสหรัฐก็คือธนาคารกลางของประเทศเอเชีย (รวมทั้งไทย) ที่ยังมองว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นที่หลบภัย (safe haven) แต่ยิ่งมองก็ยิ่งมองไม่เห็นว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเป็นที่หลบภัยได้อย่างไร เพราะอีก 5 ปีข้างหน้าหากรัฐบาลสหรัฐยังมีพฤติกรรมอย่างนี้สถานะทางการคลังของสหรัฐจะไม่แตกต่างจากอิตาลีเลยครับ ที่แตกต่างคือเจ้าหนี้จะไม่ใช่เยอรมนีแต่จะเป็นพวกเราในเอเชียครับ

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อิหร่านขู่โลกเจอน้ำมันบาร์เรลละ 250ดอลล์แน่ถ้าคว่ำบาตร

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 4 ธันวาคม 2554 16:34

    [​IMG]

    อิหร่านขู่น้ำมันพุ่งบาร์เรลละ 250 ดอลล์แน่ถ้ามาตรการคว่ำบาตรมีผล-ชี้ส่งผลกระทบชาติอุตสาหกรรมโดยตรง
    <!--<script type="text/javascript"> google_ad_channel = '3694366847'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </script> <script type="text/javascript" src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js"></script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></script>--><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adx.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript> if (!document.phpAds_used) document.phpAds_used = ','; phpAds_random = new String (Math.random()); phpAds_random = phpAds_random.substring(2,11); document.write ("<" + "script language='JavaScript' type='text/javascript' src='"); document.write ("http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adjs.php?n=" + phpAds_random); document.write ("&what=zone:119"); document.write ("&exclude=" + document.phpAds_used); if (document.referrer) document.write ("&referer=" + escape(document.referrer)); document.write ("'><" + "/script>"); </SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adjs.php?n=943457999&what=zone:119&exclude=,"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript><!--/* openads=http://ads.nationchannel.com/adserverkt bannerid=695 zoneid=119 source= */if (typeof phpAds_adg == 'undefined') { document.write('<scr'+'ipt language="JavaScript" type="text/javascript" src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adg.js"></scr'+'ipt>');}//--></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adg.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '3694366847';google_ad_type = 'text'; google_max_num_ads = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail';var displayBorderTop = false;var position_ad_detail ='in'; </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT>[​IMG]
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20111110/r20110914/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript1.1 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-4916987203850790&output=js&lmt=1323057105&num_ads=3&channel=3694366847&ad_type=text&adtest=off&ea=0&feedback_link=on&flash=11.0.1.152&url=http%3A%2F%2Fwww.bangkokbiznews.com%2Fhome%2Fdetail%2Ffinance%2Fforeign%2F20111204%2F422894%2F%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B0-250%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3.html&dt=1323057105021&shv=r20111110&jsv=r20110914&saldr=1&correlator=1323057105044&frm=20&adk=2393667399&ga_vid=767021111.1323055060&ga_sid=1323055060&ga_hid=1715597257&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=25&u_java=1&u_h=800&u_w=1280&u_ah=760&u_aw=1280&u_cd=24&u_nplug=0&u_nmime=0&dff=tahoma&dfs=13&biw=1263&bih=655&fu=0&ifi=1&dtd=36"></SCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT><!-- <iframe src="http://www.bangkokbiznews.com/home/banner/all-ad-300-indetail.php" frameborder="0" scrolling="no" width="300" height="250"></iframe> -->นายอาร์ซาลัน ฟาทิปัวร์ หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของรัฐสภาอิหร่าน คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะทะยานขึ้นไปถึง 250 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแน่ ถ้ามาตรการคว่ำบาตรใหม่ของสหภาพยุโรป (อียู)และสหรัฐเริ่มมีผลบังคับใช้
    "อเมริกันและประเทศในยุโรปบางประเทศควรใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของเราหรือ เพราะถ้าคว่ำบาตรจริง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 250 ดอลลาร์แน่นอน"นายฟาทิปัวร์ กล่าว
    เมื่อวันพฤหัสบดี(1 ธ.ค.)ที่ผ่านมา อียูได้ขยายมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านด้วยการขึ้นบัญชีดำบริษัทสัญชาติอิหร่านหลายแห่งและบุคคลทั่วไปกลุ่มหนึ่ง พร้อมทั้งเตือนว่า ยุโรป กำลังพิจารณามาตรการอื่นๆเพิ่มเพื่อคว่ำบาตรภาคการเงินและน้ำมันของอิหร่าน
    ขณะเดียวกัน สภาคองเกรสของสหรัฐ กำลังพิจารณาร่างกฏหมายที่พุ่งเป้าไปที่ธนาคารกลางของอิหร่าน ซึ่งเป็นจุดรับเงินที่เป็นรายได้จากการขายน้ำมันของทางการอิหร่าน แม้ว่าทำเนียบขาวจะวิตกกังวลว่า หากตัดสินใจคว่ำบาตรแล้ว อิหร่านจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ เมื่อราคาน้ำมันทะยานขึ้นก็ตาม
    ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (2 ธ.ค.)ที่ผ่านมา อยู่ที่ 100.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ตลาดลอนดอน ปิดตลาดที่ราคา 109.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
    อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันกำลังถูกครอบงำจากปัญหาตึงเครียดทางการเมืองในอิหร่าน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดอันดับ2 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปค) รองจากซาอุดิอาระเบีย ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐและวิกฤติหนี้ในยุโรป
    นอกจากนี้ จีน อียู อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตุรกี ล้วนเป็นลูกค้าหลักที่นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านทั้งสิ้น

     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    IMF อนุมัติเงิน 2,200 ล้านยูโรช่วยกู้ ศก.กรีซ หลังนายกฯ ใหม่รับปากปฏิรูปนโยบาย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>6 ธันวาคม 2554 09:16 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ
    เอเอฟพี - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ อนุมัติเงินกู้ 2,200 ล้านยูโร เพื่อเป็นเงินทุนช่วยเหลือกรีซ หลังถูกชะลอมานานหลายเดือนจากความวุ่นวายทางการเมือง เป็นการยอมรับคำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ลูคัส ปาปาเดมอส ที่จะดำเนินการตามแผนการปฏิรูปอันลำบากยากเย็น

    ความเคลื่อนไหวของไอเอ็มเอฟครั้งนี้เป็นการเปิดทางให้แก่สหภาพยุโรปอนุมัติเงินช่วยเหลืองวดล่าสุด 5,800 ล้านยูโร เพื่อช่วยให้เอเธนส์หลุดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าอาจสั่นคลอนยูโรโซน ที่มีสมาชิกทั้งหมด 17 ประเทศได้

    อย่างไรก็ตาม คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ยังย้ำว่า การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกรีซโดยธนาคารเอกชน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาเงิน 100,000 ล้านยูโรนั้น จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

    ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟได้อนุมัติเงินก้อนดังกล่าวในทันที เมื่อวันจันทร์ (5) ที่ผ่านมา หลังทบทวนการดำเนินงานของกรีซภายใต้โครงการช่วยเหลือ ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2010

    มาตรการให้เงินช่วยเหลือ 110,000 ล้านยูโร ซึ่งเป็นเงินจากไอเอ็มเอฟ 30,000 ล้านยูโรนั้น เรียกร้องให้กรีซยึดมั่นในการปฏิรูป และบรรลุเป้าหมายมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณก้อนมหาศาล และลดภาระหนี้

    ทว่า กลางปีที่ผ่านมา เอเธนส์ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ เงินช่วยเหลือก้อนล่าสุดจึงถูกระงับไว้ ส่งผลให้กรีซเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างยิ่ง

    ขณะที่ลาการ์ดแสดงความยินดีกับคำมั่นสัญญาของรัฐบาลใหม่ของกรีซ แต่ก็เร่งเร้าให้ยึดมั่นในการปฏิรูปโครงสร้าง พร้อมกับเตือนว่า เศรษฐกิจกรีซยังคงอ่อนแอ และเป็นอันตรายจากปัจจัยภายนอกที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ

    สำหรับเงินจำนวน 2,200 ล้านยูโร ที่ได้รับอนุมัติในวันจันทร์ ทำให้จนถึงขณะนี้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟแล้วทั้งสิ้น 20,300 ล้านยูโร ซึ่งถือว่ามากที่สุดเท่าที่กองทุนการเงินแห่งนี้ได้มอบให้แก่ประเทศใดประเทศหนึ่ง

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000155039
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปธ.อียูเชื่อยูโรโซนรอดพ้นวิกฤตแต่บางชาติอาจต้องถอนตัว
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>7 ธันวาคม 2554 01:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เอเอฟพี - ประธานธนาคารโปแลนด์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฉบับหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร(6)ระบุประเทศยูโรโซนบางชาติอาจตัดสินใจออกจากสหภาพทางการเงินด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่เชื่อมั่นยูโรโซนจะอยู่รอดปลอดภัยจากวิกฤตหนี้ที่กำลังลุกลาม

    มาเรค เบลกา ประธานธนาคารกลางโปแลนด์ ชาติที่ดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนสหภาพยุโรปไปจนถึงสิ้นปีนี้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์การเงิน L'Echo ของเบลเยียม ว่ายูโรโซนจะอยู่รอดจากวิกฤตหนี้ "แต่เป็นไปได้ยากมากที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆเลย"

    "ผมไม่ขอพูดว่าประเทศไหนควรออกจากยูโรโซน แต่เราก็สามารถจินตนาการได้ว่าด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุผลอื่นๆ สุดท้ายแล้วชาติสมาชิกบางประเทศก็จะต้องเลือกทางเดินนั้น" เขากล่าว

    โปแลนด์ไม่ใช่สมาชิกของยูโรโซน แต่พวกเขาต้องการเข้าร่วมกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร "มันคือวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เราต้องการเข้าร่วมยูโรโซน แต่ไม่ใช่ตอนนี้"

    ความเห็นของเขามีออกมาขณะที่เหล่าผู้นำชาติยุโรปจะร่วมประชุมฉุกเฉิน 2 วันในวันพฤหัสบดี(8)และวันศุกร์(9)นี้ เพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้ที่คุกคามท่ามกลางความกังวลว่าหากการเจรจาประสบความล้มเหลวอาจนำมาซึ่งการล้มสลายของสหภาพทางการเงินซึ่งจัดตั้งขึ้นมานานกว่า 12 ปี

    Around the World - Manager Online -
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    2011 ปีแห่งการประท้วง จากไล่เผด็จการอาหรับ ถึงปัญหาเศรษฐกิจตะวันตก
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>8 ธันวาคม 2554 14:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    การชุมนุมของกลุ่ม “อินดิกนาดอส” (indignados) ในสเปน ณ จัตุรัสปูเอร์ตา เดล ซอล กรุงมาดริด เมื่อเดือนมิถุนายน เพื่อประท้วงรัฐบาล กรณีปัญหาการว่างงาน และมาตรการรัดเข็มขัด
    เอเอฟพี - การประท้วง “อินดิกนาดอส” ในสเปน ลุกลามสู่การประท้วง “อ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท” ในสหรัฐฯ ส่งผลให้ปี 2011 กลายเป็นวาระแห่งการเผชิญหน้าระหว่างผู้นำและประชาชน ขณะไฟแค้นสุมอกผู้คนจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเรื้อรังไม่จบสิ้น

    การประท้วงปะทุขึ้นในแถบแอฟริกาเหนือเป็นแห่งแรกก่อนระบาดไปทั่วโลก ประชาชนตูนิเซียรวมพลังขับไล่ซิเน เอล อาบีดีน เบน อาลี อดีตประธานาธิบดีที่คิดครองตำแหน่งตลอดชีวิต ได้สำเร็จตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นผลให้เกิดการลุกฮือต่อต้านอำนาจเผด็จการไปทั่วโลกอาหรับ เช่น อียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย และเยเมน

    ต่อมา ความไม่สงบก็อุบัติขึ้นในฟากฝั่งกลุ่มประเทศร่ำรวย หลังประชาชนชาวยุโรปส่วนหนึ่งหมดความอดทนกับปัญหาว่างงาน ความโกลาหลในโลกเศรษฐกิจ และความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของรัฐบาล

    วันที่ 15 พฤษภาคม ชาวสเปนก้าวสู่ยุคแห่งการประท้วง โดยเริ่มการชุมนุม “อินดิกนาดอส” เคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจต่อปัญหาการว่างงานของคนรุ่นใหม่และมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล มิหนำซ้ำยังมีปัญหาการคอร์รัปชันเป็นเรื่องร้อนอีกหนึ่งประเด็น

    จัตุรัสปูเอร์ตา เดล ซอล กลางกรุงมาดริด กลายเป็นศูนย์การชุมนุม มีการปักหลักตั้งเต็นต์ชุมนุมต่อเนื่อง กระทั่งมีผู้เข้าร่วมสูงสุดถึง 200,000 คน ในเดือนมิถุนายน แกนนำการชุมนุมเหล่านี้ล้วนเป็นคนรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน

    กลุ่มผู้ประท้วง “อินดิกเนนต์” ที่ถูกกระตุ้นจากอินดิกนาดอสของสเปน เริ่มชุมนุมใหญ่ในกรีซ วันที่ 25 พฤษภาคม ขณะกรุงเอเธนส์กำลังเผชิญวิกฤตหนี้สินสาธารณะ และประชาชนขาดความเชื่อมั่นในน้ำยาของ ส.ส.


    [​IMG]

    กลุ่มอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท ชุมนุมในกรุงวอชิงตัน เมื่อวันพุธ (7) ต่อต้านความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

    หลังจากนั้น กระแสการประท้วงเศรษฐกิจชาติก็แผ่ลามไปถึงสหรัฐฯ โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “อ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท” ปักหลักชุมนุมในนครนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน ครั้งนี้แกนนำการชุมนุมก็เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผสมโรงกับนักเคลื่อนไหวบนโลกไซเบอร์

    อนึ่ง แม้การประท้วงในยุโรปและสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นไปโดยสันติ ไม่มีเหตุนองเลือดเหมือนการขับไล่เผด็จการในโลกอาหรับ ทว่า การประท้วงในโลกตะวันตกก็เต็มไปด้วยความสิ้นหวังต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อความเห็นระหว่างสามัญชนกับนักการเมืองหรือผู้กุมเศรษฐกิจแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว

    อังกฤษก็เผชิญกับเหตุความไม่สงบครั้งใหญ่ด้วยรูปแบบที่แตกต่างออกไปในเดือนสิงหาคม เกิดการปลุกระดมให้เยาวชนออกมาปล้มสะดม และก่อความวุ่นวายทั่วกรุงลอนดอนและเมืองใหญ่อื่นๆ ผ่านการติดต่อทางทวิตเตอร์ จนถึงเวลานี้ ทางการอังกฤษยังไม่มีข้อสรุปว่า เหตุร้ายที่เกิดขึ้นมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเหมือนประเทศอื่นๆ เป็นแรงขับด้วยหรือไม่

    ในเดือนกันยายนนั้นเอง ชาวอิสราเอลกว่า 400,000 คน เดินขบวนครั้งใหญ่ไปตามท้องถนนกรุงเทลอาวีฟจากปัญหาค่าครองชีพ ขณะเดียวกัน กลุ่มอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท เริ่มระบาดไปทั่วรัฐต่างๆ ในสหรัฐฯ และข้ามประเทศไปถึงแคนาดา ลอนดอน ไปไกลถึงนครซิดนีย์

    กลุ่มอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท อ้างตนว่า เป็นตัวแทนของคน “99 เปอร์เซ็นต์” ต่อสู้กับอภิมหาเศรษฐีที่มีเพียง “1 เปอร์เซ็นต์” และชนะใจประชนส่วนใหญ่จากผลโพลที่ผ่านๆ มา ทั้งนี้ เมื่อวันอังคาร (6) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ปราศรัยหาเสียงในรัฐแคนซัส โดยมีเนื้อหาใกล้เคียงกับสิ่งที่อ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท พูดมาตลอดว่า “พื้นฐานของชาติอเมริกันกำลังถูกกัดกร่อน ... พวกที่ร่ำรวยจากการลงทุนยิ่งรวยไปกันใหญ่”

    ทั้งนี้ รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ระบุว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนทั่วโลกกำลังทิ้งห่างกันมากที่สุดในรอบ 30 ปี โดยอังกฤษและเม็กซิโกเป็นสองชาติที่มีปัญหานี้รุนแรงที่สุด


    [​IMG]
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นักศึกษาฟิลิปปินส์ชุมนุมประท้วงในกรุงมะนิลา เมื่อวันพุธ (7) หลังได้รับแรงกระตุ้นจากกลุ่มอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท ในสหรัฐฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    Around the World - Manager Online - 2011
     

แชร์หน้านี้

Loading...