เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เป็นปี่เป็นขลุ่ย! “ชาเบซ-อาห์มาดิเนจัด” รวมหัวจวก “นักล่าอาณานิคม”
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>10 มกราคม 2555 10:44 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเบซ ทักทายประธานาธิบดี มะห์มูด อาห์มาดิเนจัด แห่งอิหร่าน อย่างสนิทแนบแน่นราวกับพี่น้อง ณ ทำเนียบมิราฟลอเรส กรุงการากัส วานนี้(9)

    เอเอฟพี - เวเนซุเอลาและอิหร่านร่วมรณรงค์ต่อต้านการล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ระหว่างที่ประธานาธิบดี มะห์มูด อาห์มาดิเนจัด เดินสายทัวร์ละตินอเมริกา ในขณะที่ความเคลื่อนไหวด้านนิวเคลียร์ของเตหะรานก็สร้างความกังวลต่อโลกตะวันตกมากขึ้นทุกขณะ

    ขณะที่ผู้นำอิหร่านเดินทางไปพบกับประธานาธิบดี ฮูโก ชาเบซ แห่งเวเนซุเอลา ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ(ไอเออีเอ) ก็ออกรายงานยืนยันว่า อิหร่านกำลังเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่โรงงานใต้ดินแห่งใหม่ในภูเขาลึก ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้ก็ยิ่งทำให้ชาติตะวันตกหวั่นเกรงว่าเตหะรานอาจกำลังซุ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

    อิหร่านยังสุมไฟขัดแย้งกับสหรัฐฯให้แรงขึ้นโดยการสั่งประหารพลเมืองอเมริกันเชื้อสายอิหร่าน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับให้ซีไอเอ

    ชาเบซ และอาห์มาดิเนจัด ซึ่งพยายามกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นขึ้น และใช้นโยบายก้าวร้าวกับสหรัฐฯมากยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทักทายกันเสมือน “พี่น้อง” ก่อนจะเริ่มหารือข้อตกลงทวิภาคี

    “รัฐบาลของเราทั้งสองปรารถนาจะทำงานร่วมกัน เพื่อบรรเทาความบ้าคลั่งของพวกล่าอาณานิคมที่แผลงฤทธิ์หนักขึ้นกว่าทุกครั้ง” ชาเบซ แถลงที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีมิลาฟลอเรส ขณะที่ อาห์มาดิเนจัด กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “ชาวเวเนซุเอลาและชาวอิหร่านจะร่วมต่อสู้กับความโลภและความก้าวร้าวของลัทธิล่าอาณานิคม”

    สหรัฐฯและสหภาพยุโรปพยายามกดดันให้ผู้นำอิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งเตหะรานยืนยันว่ามีจุดประสงค์ในทางสันติเท่านั้น ขณะที่วอชิงตันก็แถลงเมื่อวันจันทร์(9)ว่า โครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่านในโรงงานแห่งใหม่ถือเป็นการ “ยกระดับ” การเผชิญหน้า

    รัฐบาลและกองทัพอิหร่านขู่จะปิดช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญ หากถูกสหรัฐฯใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง หรือการส่งออกน้ำมันของเตหะรานหยุดชะงักลงเพราะมาตรการคว่ำบาตรของยุโรป

    ความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซุเอลาและอิหร่านก่อให้เกิดความกังวลด้านยุทธศาสตร์ต่อโลกตะวันตก ขณะที่ผู้สังเกตการณ์ยังไม่มั่นใจว่า ชาเบซ จะสามารถขัดขวางการคว่ำบาตรของนานาชาติโดยจัดส่งเงินและเชื้อเพลิงให้แก่อิหร่านได้มากน้อยเพียงใด

    “เป็นไปได้ว่า ชาเบซ อาจแนะการตัดสินใจแบบสุดโต่งและเน้นการเชผิญหน้าต่อ อาห์มาดิเนจัด หรือไม่ก็ช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความปรองดอง ซึ่งน่าจะเหมาะกับบทบาทผู้นำในละตินอเมริกาที่เขาต้องการเป็นมากกว่า” เอลซา คาร์โดโซ นักวิเคราะห์จากมหาวิทยาลัย มิทระพอลลิเทิน แห่งกรุงการากัส เผย

    อาห์มาดิเนจัด มีกำหนดเดินทางเยือนนิการากัวในวันนี้(10) เพื่อร่วมพิธีแต่งตั้งประธานาธิบดี แดเนียล ออร์เตกา ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังคิวบาและเอกวาดอร์

    วิกตอเรีย นูแลนด์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า สหรัฐฯขอ “เรียกร้องให้ประเทศเหล่านี้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้รัฐบาลอิหร่านตระหนักว่า แนวทางเจรจาว่าด้วยกิจกรรมนิวเคลียร์ที่อิหร่านยึดถืออยู่นั้น เป็นทางที่ผิด”


    [​IMG]

    [​IMG]

    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000003574
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    The Imperial Powers: มหาอำนาจจักรรรดินิยม
    [​IMG] เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีอาณานิคมมาก เช่น อังกฤษ ซึ่งถึง ค.ศ.1914 ได้ปกครองดินแดนโพ้นทะเลมีเนื้อที่รวมกันถึง 11 ล้านตารางไมล์ ในเกือบทุกทวีป และมีประชากรในปกครอง 400 ล้านคน ส่วนดินแดนที่ได้มีโอกาสปกครองตนเองในประมาณ ค.ศ.1907 คือ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่ยังคงมีสภาพรวมกันกับเมืองแม่โดยมีวัฒนธรรมร่วมกัน มีความผูกพันทางเศรษฐกิจ และการทหารกับลักษณะที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ การที่บริเทนยังทำหน้าที่ปกครอง "จักรวรรดิไม่เป็นทางการ" ในลักษณะการเป็นพันธมิตรป้องกัน และอารักขาซูดาน อียิปต์(รวมบริเวณคลองสุเอซ) เปอร์เซียตอนใต้ และอ่าวเปอร์เซีย มีการลงทุน และทำการค้ากับจีน และแม้ในอเมริกาใต้ อังกฤษก็ยังขยายอิทธิพลไปถึง
    [​IMG] ฝรั่งเศสพยายามครอบครองดินแดนโพ้นทะเลมากเป็นอันดับสองในแอฟริกา อินโดจีน ย่านทะเลแคริบเบียน และแปซิฟิก ถึงแม้ดินแดนเหล่านี้จะเป็นแหล่งกำลังคน และวัตถุดิบสำคัญ แต่ฝรั่งเศสก็ได้แสวงหาอาณานิคมอย่างจริงจังภายหลัง ค.ศ.1870 อันมีผลให้ฝรั่งเศสได้เพิ่มฐานะเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปด้วย ภายหลัง ค.ศ.1900 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสยึดโมร็อคโคซึ่งยังคงเป็นรัฐเดียวที่เป็นเอกราชในขณะนั้นในแอฟริกา ทำให้ความต้องการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสประสบความสำเร็จใน ค.ศ.1911
    [​IMG] ประเทศที่เริ่มแสวงหาดินแดน ค่อนข้างช้าคือ เยอรมนีใน ค.ศ.1884 ได้เข้ายึดครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ต่อมาได้ครอบครองแอฟริกาตะวันออก โตโกแลนด์กับคาเมรูนในแอฟริกาตะวันตก หลายเกาะในมหาสมุทรปาซิฟิก และยึดเจียวฉูจากจีน ซึ่งเยอรมนียังไม่พอใจการได้มาเหล่านี้นักเนื่องจากเห็นว่าชาติของตนเป็นชาติพัฒนาอุตสาหกรรมระดับนำ จึงสมควรได้ดินแดน และทรัพยากรของโลกมาเป็นของตนมากขึ้น ในตอนปลายทศวรรษที่ 1890 เยอรมนีจึงเริ่มนโยบายการสร้างกองทัพเรือที่เข้มแข็งเพื่อสามารถเผชิญหน้าอังกฤษได้ ทั้งนี้เพื่อเยอรมนีจะได้มีส่วนแบ่งการครอบครองดินแดนกับอังกฤษด้วย ผลของความทะเยอทะยานดังนี้คือ การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีแตกหักนำไปสู่สงครามใหญ่คือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ.1914
    [​IMG] ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ได้ยึดครองดินแดนอย่างบังเอิญในทศวรรษที่ 1890 เช่นชัยชนะในสงครามสเปน ค.ศ. 1898 เพื่อแย่งชิงคิวบา มีผลให้ได้ผนวกเปอร์โต ริโก กวม และฟิลิปปินส์เข้ามาด้วย ต่อมาได้หมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาซามัวตะวันออกใน ค.ศ.1898 และได้หมู่เกาะหลายแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิก


    http://www.bkkonline.com/library/words/i.html
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Iran-Contra scandal: กรณีอื้อฉาวอิหร่าน-คอนทรา
    [​IMG] เป็นเรื่องอื้อฉาวในอเมริกา (ค.ศ.1986-91) ที่มีผลกระทบการบริหารงานของประธานาธิบดีสองสมัยคือ นายโรนัลด์ เรแกน เป็นเรื่องใน ค.ศ.1985 ที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐคือ Robert Mac Farlane จัดการขายขีปนาวุธต่อสู้รถถัง และเครื่องบินแก่อิหร่านตามคำยินยอมของประธานาธิบดีเรแกน ด้วยหวังให้เป็นการฟื้นฟูสัมพันธภาพกับอิหร่านฝ่ายประนีประนอม กับการปลดปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกจับโดยพวกสนับสนุนอิหร่านในเลบานอน การขายอาวุธดำเนินไประหว่าง ค.ศ.1985-86 เป็นการละเมิดนโยบายการต่อรองเรื่องดินแดน และความช่วยเหลืออิหร่านในสงครามกับอิรัคที่เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1986 ส่วนหนึ่งของเงิน 48 ล้านเหรียญสหรัฐ จากอิหร่านถูกนำไปโดยที่ปรึกษา NSC คือ นาย John Poindexter และพันโท Oliver North ไปช่วยเหลือฝ่ายกบฎคอนทราในนิคารากัว ทั้งที่ได้มีการออกกฎหมายก่อนหน้านี้ห้ามให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่กลุ่มคอนทราซึ่งเป็นกลุ่มกองโจรต่อต้านคอมมิวนิสต์ในนิคารากัว ซึ่ง Pointdexter และ North ถูกตั้งกรรมการสอบสวนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1987 ปรากฎว่าเรแกนมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การสอบสวนสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 1992

    Iraq-Iran War: ดูThe Persian Gulf War
    http://www.bkkonline.com/library/words/i.html
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัญหาตะวันออกกลาง

    ดินแดนตะวันออกกลาง ได้แก่แถบประเทศ อิรัก ตุรกี อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ไซปรัส จอร์แดน เลบานอน อิสราเอล สาธารณรัฐอาหรับ อียิปส์ ซูดาน เยเมนเหนือ เยเมนใต้ โอมาน รัฐต่าง ๆ รอบอ่าวเปอร์เซีย (อาณาจักรออตโตมันเติร์ก) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันของโลก เป็นเส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซ และเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาสำคัญ (ยิวหรือยูดาย คริสต์ และอิสลาม) ทำให้เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าของยิว มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้ชาวยิว เรียกว่า ดินแดนแห่งสัญญา (Palestine or The Land)
    ในคัมภีร์ไบเบิล อับราฮัม ได้พาชาวยิวอพยพไปอยู่อียิปต์ เนื่องจากความแห้งแล้ง จนกระทั่งถึงถึงปี 2000 ก่อนคริสตกาล ได้อพยพกลับมา และตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ 1025 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรมันผู้ครอบครองดินแดน กวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาส ทั่วยุโรป
    ตอนต้นของคริสศตวรรษที่ 7 เกิดศาสนาอิสลามขึ้นและแพร่กระจายทั่วคาบสมุทรอาหรับ มีการสร้างโบสถ์ Dome of the Roch ที่นครเยรูซาเลม พวกเติร์กเข้าครองดินแดนปาเลสไตน์และยอมรับศาสนาอิสลาม ปี ค.ศ. 1095-1291 เกิดสงครามครูเสด ระหว่างชาวคริสต์และมุสลิม เพื่อแย่งกรรมสิทธิ์ในนครเยรูซาเล็ม หลังจากนั้น ก็ถูกชาวตาด และมองโกล ยึดครอง ตามด้วยอียิปต์ เติร์ก และอังกฤษ
    ปลายคริสตวรรษที่ 19 ชาวยิวเริ่มอพยพเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น นายธีโอดอร์ เฮิร์ซส์ เศรษฐีชาวยิวออสเตรีย ได้ก่อตั้งองค์การไซออนนิสต์ (Zionism) จุดประสงค์เพื่อก่อตั้งประเทศยิว
    ช่วงสงครามโลกที่ 1 อังกฤษได้ขอร้องให้ยิวช่วยรบด้วย โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิการดูแลดินแดน ปาเลสไตน์ ทำให้ชาวยิวอพยพเข้าไปมากขึ้น จนเกิดข้อพิพาทบาดหมางกับชาวอาหรับ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ขอร้องอังกฤษให้ยิวมีประเทศของตน ส่งผลให้ฝ่ายอาหรับก่อตั้งองค์การสันนิบาต อาหรับขึ้นในปี ค.ศ. 1945 เพื่อต่อต้านยิว และปี ค.ศ. 1947 องค์การสหประชาชาติเสนอให้แบ่งดินแดนกัน ต่อมา นายเดวิด แบนกูเรียน ประกาศตั้งประเทศอิสราเอล กองทัพอาหรับจึงโจมตียิวทันที เกิดสงคราม 4 ครั้งดังนี้
    1.1 ค.ศ. 1948 สาเหตุเนื่องจากยิวได้ก่อตั้งประเทศขึ้น อาหรับบุกก่อนแต่พ่ายแพ้ ไป
    1.2 ค.ศ. 1956 สงครามวิกฤต์การณ์คลองสุเอซ ยิวเป็นฝ่ายโจมตีก่อน อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเหตุการณ์นี้ก่อน แต่อเมริกาแสดงความไม่พอใจที่สองประเทศเข้าแทรกแซง ทำให้ทั้งสองต้องถอนตัวออกมา และทำให้ยิวยึดฉนวนกาซา และทะเลทรายไซนายได้ สงครามยุติลงเมื่อ สหประชาชาติเข้ารักษาความปลอดภัยในฉนวนกาซา และยิวได้ใช้สิทธิในอ่าวอกาบา
    1.3 ค.ศ. 1967 สงคราม 6 วัน อียิปต์ ปิดอ่าวอกาบา เพื่อไม่ให้ยิวใช้ และเรียกร้องให้ สหประชาชาติถอนกำลังออก แต่อิสราเอลก็เป็นฝ่ายชนะอีก
    1.4 ค.ศ. 1973 อาหรับโจมตีก่อน และอเมริกาได้เข้ามาช่วยอิสราเอลรบ ส่วนรัสเซียเข้าช่วยฝ่ายอาหรับ แต่มีการเจรจา "การเจรจาที่แคมป์เดวิด" เพื่อยุติสงคราม
    ปี 1964 มีการก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์(พี แอล โอ) เพื่อต่อต้านยิว และจัดตั้งรัฐอิสระสำหรับชาวอาหรับ โดยนายยัสเซอร์ อาราฟัด ตอนแรกมีการใช้ความรุนแรง เช่น จี้เครื่องบิน ลักพาตัวนักการฑูต ต่อมา มีการแตกแยกเป็นกลุ่มย่อยมากมาย เช่นกลุ่มฟาตาร์ ที่มีการสังหารหมู่นักกีฬาโอลิมปิคชาวยิวที่ กรุงมิวนิค เยอรมัน ปัจจุบัน อิสราเอลและพี แอล โอได้เจรจายอมรับรัฐปาเลสไตน์อิสระของนาย อาราฟัด ในเขตยึดครองของอิสราเอล
    นอกจากนี้ ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์หลายจุด เช่น สงครามเลบานอน เลบานอนเป็นรัฐที่อยู่ระหว่าง ซีเรียและอิสราเอล ซึ่งเป็นศัตรูกัน ทำให้ได้รับผลกระทบกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเชื้อชาติและศาสนา และการเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการขององค์การ พี แอล โอ และการแทรกแซงของต่างชาติ
    เลบานอนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1943 มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งเป็น คริสต์ 40% และ มุสลิม 12 นิกาย 60% แต่ได้รับสิทธิทางการเมืองน้อยกว่าคริสต์ มีประธานาธิบดีเป็นคริสตื แต่นายกรัฐมนตรีเป็นมุสลิม จึงเกิดความขัดแย้งกัน ปีค.ศ. 1975 เกิดสงครามกลางเมือง องค์การ พี แอล โอ ได้เข้าแทรกแซงการเมืองของเลบานอน ส่วนซีเรียได้กลียดชังอิสราเอลที่ยึดที่ราบสูงโกลานไป จึงสนับสนุนให้ พี แอล โอ ต่อสู้กับยิว
    ในเลบานอน กลุ่มมุสลิมซีอะห์ (มีประมาณ 1 ล้านคน) รวมตัวกันเรียกว่า ซีอะห์อามาล มีนายเบรี รัฐมนตรีกระทวงยุติธรรม เป็นผู้นำ ขณะที่อิสราเอลบุกเลบานอน มุสลิมซีอะห์ได้ลักพาตัวชาวอเมริกาและยุโปร ระหว่างปี ค.ศ. 1982-1987 เมื่อพี แอล โอ ถูกขับออกไปแล้ว ชีอะห์ เข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ ปี ค.ศ. 1987 และต่อสู้มุสลิมดรุซ ซึ่งมีนายวิลิด จุมบลัดเป็นผู้นำ ซีเรียเข้าปราบปรามตามคำขอของฝ่ายบริหารเลบานอนซี่งมีนายกรัฐมนตรีเปนมุสลิมซุนนี
    ยังมีมุสลิมฮิซบาลา (อิซบาเลาะห์ -- พวกของพระเจ้า) ทำการจับกุมอเมริกาชุดล่าสุด 4 นาย จุดประสงค์ของกลุ่มฮิซบาลาคือต้องการเปลี่ยนเลบานอนให้เป็นรัฐอิสลามเช่นเดียวกับอิหร่าน แต่กลุ่มอื่นไม่ต้องการ
    พี แอล โอ พยายามสนับสนุนให้กลุ่มมุสลิมดรุซ ให้ก่อตั้งรัฐอิสระบนที่ราบสูงโกลาน
    สงครามอิรัก-อิหร่าน ปีค.ศ. 1980 ชาวอิหร่านหรือ ชาห์ โดยผู้นำศาสนานิกายซีอะห์ อยาดุลเลาะห์ โคไมนีเป็นผู้นำ ส่งผลให้พระเจ้าชาห์และพระราชวงศ์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ชาวอิหร่าน 90% เป็นมุสลิมชีอะห์ ซึ่งนับถืออัลเลาะห์และอาลี (สาวกองค์ที่ 4 และบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด)
    พระเจ้าชาห์ซึ่งลี้ภัยไปเม็กซิโก ได้เดินทางไปรักษาโรคมะเร็งที่สหรัฐอเมริกา ขณะนั้น โคไมนี่ด้กวาดล้าง ต่อต้านอเมริกาและรัสเซีย กลุ่มคอมมิวนิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์และอิสราเอล สนับสนุนกองโจรปาเลสไตน์
    การลี้ภัยนี้ ทำให้อิหร่านโกรธมาก และจับเจ้าหน้าที่สถานฑูตอเมริกาในกรุงเตหรานเป็นตัวประกันถึง 52 คน สหประชาชาติจึงลงโทษทางเศรษฐกิจ แต่ไร้ผล อเมริกาพยายามลดความตึงเครียดโดยส่งพระเจ้าชาห์ไปปานามา
    ขณะนั้นใกล้หมดวาระการเป็นประธานาธิบดีของนาย จิมมี่ คาร์เตอร์ เขาจึงต้องการเร่งรัดให้ปัญหาอิหร่านหมดไป เขาจึงตัดสินใจ อพยพชาวอเมริกันออกจากอิหร่าน ส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย รัสเซียจึงส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเช่นกัน
    อิหร่านเผชิญปัญหาภายในจน ประธานาธิบดีบานีซาดร์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ปี 1980 พระเจ้าชาห์สิ้นพระชนม์ อิหร่านจึงเปลี่ยนเงื่อนไขเป็น เงินสด และทองคำ 24 พันล้านดอลลาร์ และมีการต่อรองเหลือ 5.5 พันล้านดอลลาร์ และชะลอการส่งคืนตัวประกัน จนถึงการสาบานตนของนายเรแกนประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา โดยมีการส่งคืนเมื่อ 20 มกราคม 1980 ระหว่างนี้ อิรักได้บุกยึดร่องน้ำซัทเอล อาหรับและแคว้นคูเชสถานของอิหร่าน ทำให้เกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน
    สงครามนี้ยุติลงในปี ค.ศ. 1988 และทำให้ราคาน้ำมันโลกลดลง เนื่องจากทั้งสองชาติต้องขายน้ำมันเพื่อนำเงินมาใช้ทำสงคราม
    ปัญหาสหรัฐอเมริกากับอิหร่านและกบฎคอนทรา มีข่าวลือว่า อเมริกาลักลอบขายอาวุธให้อิหร่าน เพื่อใช้ทำสงครามกับอิรัก และนำกำไรไปสู่กบฎคอนทรา ในประเทศนิการากัว จึงมีการสอบสวนขึ้น
    อเมริกากลาง พยายามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ปีค.ศ. 1959 นาย ฟีเดล คาสโตแห่งคิวบาโค่นล้มรัฐบาล และประกาศเป็นคอมมิวนิสต์ และรัสเซีย(ซึ่งเป็นคอมมิวนิสตื) ตั้งฐานทัพจรวดในคิวบา รัฐบาล (ฝ่ายขวา) แพ้ฝ่ายกบฎ จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลแซนดินิสต้า จึงมีกลุ่มกบฎคอนทรา ซึ่งต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์
    มีการส่งเงินช่วยกบฎคอนทราหลายครั้ง นาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ เจ้าหน้าที่ C.I.A ได้ส่งเงินโอนเข้าบัญชีกบฎคอนทราอย่างลับ ๆ และพยายามกันประธานาธิบดีเรแกนออกจากความผิดนี้ ทำให้ชาวอเมริกาไม่คิดเอาผิดต่อ นายเรแกน
    สถานการณ์อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก อิหร่าน คูเวต โอมาน บาร์เรน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สาธารณรัฐเอมิเรตส์ มีการส่งออกน้ำมันถึง 1 ใน 5 ของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1980 เกิดสงครามอิรัก-อิหร่านขึ้น ทั้งอเมริกาและรัสเซียได้เข้าแทรกแซงสงครามนี้

    อ้างอิงจาก
    at Singhthong007.com
    ปัญหาตะวันออกกลาง
     
  5. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    อเมริกาหวนมาให้ความสำคัญกับเอเชีย
    อ่านแล้วหนาวๆ ร้อนๆ นะคุณขวัญ

    ไม่รู้จะเป็นเหตุให้แสตมป์ปีนี้ของจีนเป็นรูปมังกรหน้าดุรึเปล่านะ
    ชาวเน็ตจีนบ่นกันว่าดูแล้วป่าเถื่อนและน่ากลัวเกินไป ไม่เหมาะทำเป็นแสตมป์
    แต่กรมไปรษณียากรจีนบอก เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างศิลปะมังกร แบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ ซึ่งผู้ออกแบบแสตมป์ยืนยันว่า ภาพมังกรผู้แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญแทนสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่

    สงสัยตัดไม้ข่มนามกันตั้งแต่ต้นปีเลย ...ว่าไปโน่น :d
    แสตมป์มังกรต้อนรับปีใหม่จีน ภาพดุร้ายมาก เชื่อไล่ความโชคร้าย ปั่นราคาพุ่งพรวด


    วันที่ 09 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 11:59:42 น.

    Share

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="650"><tbody><tr><td align="left" valign="top" width="90"> [​IMG]


    </td> <td align="left" valign="top" width="560">
    โดย Nittaya Maphungphong | Washington / voa thai

    [​IMG]

    ในวันที่ 5 มกราคมของทุกปี การไปรษณีย์ของจีนจะเผยแพร่แสตมป์ต้อนรับปีใหม่ออกมา รูปภาพในแสตมป์จะเป็นรูปสัตว์ตามปีจักรราศี เพราะฉะนั้น รูปภาพในแสตมป์ของปีนี้จึงเป็นรูปมังกร หรืองูใหญ่



    เจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ผู้คนจะเริ่มเข้าคิวคอยซื้อแสตมป์กันตั้งแต่ตีสี่ แม้อากาศจะหนาวเย็น ในปีนี้ก็ไม่ต่างไปจากปีก่อน ที่ทำการไปรษณีย์ขายแสตมป์หมดไม่นานหลังจากที่เปิดประตูรับคน

    แต่ที่แตกต่างไปจากปีก่อนๆก็คือ หลังจากที่ผู้คนซื้อแสตมป์ไปแล้ว เริ่มมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปภาพในแสตมป์

    นักเขียน Zhang Yihe เขียนไว้ใน Sina Weibo หรือ twitter ของจีนว่า รูป มังกรในแสตมป์ปีใหม่นี้ น่ากลัวจริงๆ มังกรในแสตมป์ปีใหม่นี้ แยกเขี้ยวและขยายกรงเล็บ พร้อมจะตะครุบ ในขณะที่ตาดำสนิทเขม็งจับจ้อง ใครก็ตามที่มองดูแสตมป์

    ในขณะที่จีนมองว่ามังกรเป็นสัตว์แสดงถึงความมีบุญและสวยงาม ตะวันตกมองว่า มังกรเป็นสัตว์ที่ดุร้าย

    ผู้ออกแบบแสตมป์ Chen Shaohua บอกว่า ภาพมังกรที่เขาวาดขึ้นมา แสดงถึงจีนที่มีความมั่นใจ และเลียนแบบมังกรที่ปักไว้หน้าฉลองพระองค์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ของจีน เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ว่า เขาไม่ได้คิดถึงมุมมองของคนต่างชาติ ที่มองว่ามังกรเป็นสัตว์ดุร้าย และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีนที่กำลังเพิ่มอิทธิพลทั้งในทางเศรษฐกิจและการ เมืองในเวทีโลก

    นักออกแบบแสตมป์ผู้นี้เสนอแนะว่า ให้ถือว่ามังกรหน้าดุตัวนี้ จะช่วยสะกัดกั้นโชคร้ายมิให้มาถึงในปีใหม่ก็แล้วกัน
    ในชั้นนี้ กล่าวได้ว่า มุมมองนี้ได้ผลกับคนที่ยอมเข้าคิวคอยซื้อแสตมป์ชุดนี้ และต้องการจะขายต่อ หลังจากที่มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปมังกรออกมา ผู้คนพยายามติดต่อหาซื้อแสตมป์ชุดนี้จากผู้ที่เต็มใจจะขายต่อ

    รายงานข่าวกล่าวว่า ราคาซื้อทั้งชุดจากที่ทำการไปรษณ๊ย์ ซึ่งมีแสตมป์ 20 ดวง ตกราวๆ 120 บาท แต่ราคาซื้อต่อเวลานี้สูงถึง 840 บาทแล้ว

    แสตมป์ปีนี้เป็นครั้งที่สามที่เป็นรูปมังกร สองครั้งก่อนหน้านั้น ออกมาในปีค.ศ. 1988 และ 2000 และรายงานข่าวกล่าวว่า แสตมป์มังกรของปี 1988 นั้น ดวงเดียวก็มีราคาสูงกว่า 45,000 บาทแล้วในขณะนี้

    </td></tr></tbody></table>
    เครดิต มติชนออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แสตมป์มังกรจีน สวยมากนะเนี่ย
    แต่ว่า เก็งกำไรกันน่าดูเลยเนอะ

    จีนก็ส่งสัญญาณ
    มะกันก็ยิงพลุเป็นว่าเล่น
    อิหร่านก็ไม่หมู รู้ทันเกมมะกันเป็นเสือซ่อนเล็บทีเดียว
    รัสเซียก็ซุ่มเงียบ
    ยุโรปก็เป็นเสือบาดเจ็บเลือดไหลไม่หยุด
    อังกฤษก็เป็นสิงห์พิการนั่งทับลูกระเบิด
    ยิวก็ครองสินทรัพย์และทุนไปแล้วกว่า 40% ของโลก
    อาหรับสปริงก็ระบาดกันหนักจะจบแบบไหนก็ยังไม่รู้วุ่นวายกันทุกวัน ตายกันเป็นใบไม้ร่วง
    อาเซียนจะติดโรคกับเขาหรือเปล่าก็ยังไม่รู้

    เนื่องจากหลายประเทศก็ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านสงครามผ่านการถูกล่าเป็นอาณานิคม
    ผ่านเล่ห์ของสงครามเศรษฐกิจโจรใส่สูท ผ่านสงครามน้ำลาย ก็คงฉลาดทันเกมกันอยู่นะ
    ช่วงนี้อ่านข่าวต่างประเทศแล้วเหมือนดูการ์ตูนเรื่องสามก๊ก แหะ แหะ
    ขยับตัวกันที เหมือนส่งสัญญาณตัดไม้ข่มนาม หมูไม่กลัวเสือ ลูกน้ำไม่กลัวปลากัด อิอิ
    จะสงบสุขไปจนถึงปลายปี รึป่าวก็ไม่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มาตรการลงโทษคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของ‘อิหร่าน’บังเกิดผล
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=left><TD class=body vAlign=center align=left>โดย โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>11 มกราคม 2555 09:18 น.</TD><TD vAlign=center align=left>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia)

    Iran sanctions bite
    By Robert M Cutler
    10/01/2012

    มาตรการลงโทษคว่ำบาตรระลอกล่าสุดที่สหรัฐฯใช้เล่นงานอิหร่าน กำลังก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทันทีขึ้นมาประการหนึ่ง นั่นคือเร่งรัดให้ชาวอิหร่านรีบนำเอาเงินตราของประเทศตนเองออกมาเทขายแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์อเมริกัน นอกจากนั้นแล้วในขณะที่การลงโทษคว่ำบาตรเหล่านี้กำลังแสดงฤทธิ์เดชกว้างไกลออกไปเรื่อยๆ ความเชื่อของเตหะรานที่ว่า ถึงแม้ที่อื่นๆ อาจเบือนหน้าหนี แต่จีนกำลังจะเข้ามาซื้อน้ำมันของตนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันนั้น ก็ดูจะเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป

    มอนทรีออล, แคนาดา – กฎหมายมาตรการลงโทษคว่ำบาตรทางการเงินต่ออิหร่าน ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯลงนามประกาศบังคับใช้เมื่อ 10 วันก่อน กำลังบังเกิดผลลัพธ์ทางการเงินอย่างลึกซึ้งยิ่งกว่ามาตรการอื่นๆ ที่เคยใช้มาในอดีต นอกจากนั้น จากสภาพการณ์ที่บังเกิดขึ้น ยังเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นว่าระบอบปกครองอิหร่านมีความอ่อนแอทางการเมืองภายในประเทศอย่างล้ำลึกอีกด้วย

    พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯกำลังพยายามหาทางบังคับใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรดัวกล่าวโดยไม่ไปสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ถ้าหากมันส่งผลกระทบทำให้เกิดการเก็งกำไรดันราคาน้ำมันให้พุ่งลิ่วแล้ว ก็ไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายให้แก่การฟื้นตัวที่ยังเป็นไปอย่างอืดๆ ของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังจะเอื้อประโยชน์เพิ่มพูนรายรับของกรุงเตหะรานในระยะสั้นอีกด้วย

    ชุดมาตรการลงโทษคว่ำบาตรล่าสุดนี้ มีผลในทางปฏิบัติเป็นการทำให้พวกบริษัทหรือกิจการที่มิใช่ของสหรัฐฯ จำเป็นต้องเลือกเอาว่า จะทำธุรกิจกับภาคการเงินของอิหร่าน หรือจะทำกับภาคการเงินของสหรัฐฯ ทั้งนี้ถ้าหากมีการปฏิบัติตามบทมาตราต่างๆ ของมาตรการอย่างครบถ้วนแล้ว สถาบันการเงินต่างชาติไม่ว่าแห่งใดก็ตามที (แม้กระทั่งพวกธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ด้วย) ซึ่งทำธุรกรรมหรือมีส่วนอำนวยความสะดวกให้แก่การขายน้ำมันของอิหร่าน ก็ล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกอเมริกาลงโทษ

    ทางฝ่ายอิหร่านได้ตอบโต้ด้วยการประกาศยอมรับสิ่งที่ฝ่ายนี้บอกว่าเป็นข้อเสนอของทางรัสเซีย นั่นคือจะใช้สกุลเงินรูเบิลหมีขาวแทนที่ดอลลาร์อเมริกัน ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวฟาร์ส (Fars news agency) ของทางการอิหร่านเมื่อวันจันทร์(9) โดยที่ระบุว่าเป็นคำกล่าวของเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำกรุงมอสโก เซย์เอด อี เรซา ซัจจาดี (Seyed e Reza Sajjadi) ท่านเอกอัครราชทูตผู้นี้บอกว่า ประธานาธิบดีดมิตริ เมดเวเดฟ (Dmitry Medvedev) แห่งรัสเซีย ได้เสนอแนะเรื่องนี้ต่อประธานาธิบดีมะห์มูด อาห์มาดิเนจัด (Mahmud Ahmadinejad) ของอิหร่าน ระหว่างเข้าร่วมการประชุมหารือขององค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization) ที่กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน

    สำนักข่าวฟาร์ส รายงานว่า ในการซื้อขายน้ำมันกับจีน, อินเดีย, และญี่ปุ่นนั้น อิหร่านได้หันไปใช้สกุลเงินตราอื่นแทนดอลลาร์ไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่รายงานของสื่อบางแห่งระบุด้วยซ้ำว่า นี่คือ “การตอบโต้” ต่อมาตรการลงโทษคว่ำบาตรใหม่ล่าสุดของสหรัฐฯนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติดังกล่าวในทางเป็นจริงแล้วน่าจะมีไม่ค่อยมากนัก ถึงแม้อิหร่านจะได้ทำความตกลงในเรื่องการชำระหนี้แบบทวิภาคีกับจีน, อินเดีย, และรัสเซีย มาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะทำการค้าขายโดยอาศัยสกุลเงินตราท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียนั้นยังมักพยายามชักนำให้อารมณ์ความรู้สึกต่อต้านฝ่ายตะวันตกของอิหร่าน ได้ระเบิดตูมตามออกมาอย่างเต็มเหนี่ยว ขณะเดียวกันตนเองก็จะแสดงบทบาทเป็นตัวกลางคอยไกล่เกลี่ยและเป็นผู้คอยบรรเทาผ่อนปรนปัญหา จากแนวทางของยุทธศาสตร์เช่นนี้ รัสเซียจึงได้เสนอตนเองมานานแล้ว ที่จะเป็นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนานาชาติให้เป็นผู้เพิ่มความเข้มข้นของเชื้อเพลิงปรมาณูแก่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของอิหร่าน แทนการปล่อยให้เตหะรานพัฒนาศักยภาพทางด้านนี้ด้วยตนเอง อันที่จริงแดนหมีขาวถึงกับแสดงตนพรักพร้อมที่จะทำหน้าที่เช่นนี้ให้แก่ทุกๆ ประเทศซึ่งมีความจำเป็นต้องการได้คนกลางผู้ยุติธรรมและอยู่ใต้การกำกับตรวจสอบของนานาชาติ อย่างไรก็ดี กรุงเตหะรานปฏิเสธไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องนี้เสมอมา และมาถึงขณะนี้ก็ได้ดำเนินการไปไกลแล้วในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง

    การที่มอสโกเวลานี้ยังกำลังมุ่งแสวงหาความได้เปรียบทางการเงินจากสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย ย่อมไม่ใช่เรื่องชวนเซอร์ไพรซ์อะไรเลย ถ้าหากพิจารณาถึงการตกลงอย่างฮวบฮาบของค่าเงินเรียลอิหร่าน (Iranian rial) กล่าวคือ หลังจากที่ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ราคาซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการยังอยู่ในระดับราวๆ 10,700 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ พอย่างเข้าเดือนมกราคมนี้ สกุลเงินตราอิหร่านกลับเปิดขึ้นมาโดยอยู่ในอาการไหลรูดอย่างแรงในเวลา 2 วันของการซื้อขายที่ตลาดเปิด จนกระทั่งอยู่ที่ 17,000 เรียลต่อดอลลาร์

    ในอิหร่านนั้น อัตราแลกเปลี่ยนมีอยู่หลายอัตราทีเดียว ถ้าหากดูเฉพาะที่ในตลาดเปิด มูลค่าของเงินเรียลได้ลดต่ำลงมาจากช่วงเดือนธันวาคม 27% แล้ว โดยมีการดิ่งแรงมากถึง 10% ในช่วงเวลาแค่ 2 วันดังกล่าว ครั้นมาถึงตอนนี้สกุลเงินตราอิหร่านอ่อนตัวลงอีกจนยืนอยู่แถวๆ มากกว่า 18,000 เรียลแลกได้ 1 ดอลลาร์ ขณะที่อัตราแลกปลี่ยนของทางการในเวลานี้ก็ยืดหยุ่นขึ้นลงในแถบช่วง 11,000 – 12,000 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์ การที่มูลค่าของสกุลเงินตราอิหร่านไหลรูดลงอย่างน่ากลัวในตลาดเปิดนั้น เนื่องมาจากสาธารณชนอันกว้างขวางพากันเร่งรีบเทเงินเรียลออกมาแลกดอลลาร์นั่นเอง

    สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ต้องถือเป็นพัฒนการที่มีความสำคัญทีเดียว เพราะหนึ่งในข้อโต้แย้งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างเพื่อคัดค้านการใช้กำลังเข้าเล่นงานโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ก็คือถ้าเปิดการโจมตีใดๆ ขึ้นมาแล้วก็มีแต่จะทำให้ความสนับสนุนของประชาชนต่อระบอบปกครองซึ่งไม่เป็นที่นิยมนี้ กลับพุ่งสูงขึ้นมาอีกโดยอัตโนมัติ แต่จากการที่ผู้คนพากันเร่งรีบไปหาแลกเงินดอลลาร์เพื่อเป็นการรับมือกับมาตรการลงโทษคว่ำบาตรระลอกใหม่ของสหรัฐฯเช่นนี้ ได้บีบบังคับให้ระบอบเตหะรานต้องระงับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้แก่สาธารณชนชาวอิหร่านเป็นเวลา 2 วันในช่วงย่างเข้าปีใหม่ โดยที่ไม่ได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าเลย

    เมื่อนำเอาเรื่องนี้มารวมเข้ากับเรื่องที่ไม่ได้มีการชุมนุมประท้วงของมวลชนในเตหะรานเพื่อต่อต้านคัดค้านความเคลื่อนไหวของฝ่ายอเมริกันด้วยแล้ว การที่สาธารณชนชาวอิหร่านเอาแต่เร่งรีบหันไปถือครองเงินดอลลาร์ ย่อมสามารถพิจารณาตีความได้ว่าคือการออกเสียงลงมติไม่ให้ความไว้วางใจในทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลปัจจุบันนั่นเอง สภาพการณ์เช่นนี้ยังทำให้ข้อโต้แย้งที่ว่าการทำการโจมตีทางการทหารต่อสิ่งปลูกสร้างทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านรังแต่จะทำให้สาธารณชนนิยมเชิดชูระบอบปกครองนี้มากขึ้นไปอีกนั้น กลายเป็นเหตุผลที่อ่อนปวกเปียก เพราะจากหลักฐานที่ปรากฏออกมาแล้วกลับบ่งบอกไปในทางตรงกันข้าม

    มาตรการลงโทษคว่ำบาตรระลอกล่าสุดของสหรัฐฯ หมายความว่าการหาต่างชาติมาซื้อน้ำมันอิหร่าน กำลังจะเป็นสิ่งที่กระทำได้อย่างลำบากยากเย็นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สหภาพยุโรปซึ่งเวลานี้เป็นผู้ซื้อน้ำมันประมาณ 18% ที่อิหร่านส่งออกนั้น ไม่เพียงแต่ได้ตกลงเห็นพ้องกันในหลักการแล้วที่จะกระทำตามมาตรการลงโทษคว่ำบาตรเหล่านี้ของสหรัฐฯเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วจากการที่เตหะรานไม่แยแสที่จะกระทำตามมติฉบับแล้วฉบับเล่าของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของตนเอง ก็ได้มีความเคลื่อนไหวเรียกร้องกันในยุโรปให้ทำการลงโทษคว่ำบาตรในลักษณะนี้อยู่ก่อนแล้วด้วยซ้ำ

    ในอีกด้านหนึ่ง จีนซึ่งเป็นผู้ซื้อหาน้ำมันราว 22% ของที่เตหะรานส่งออก (เท่ากับประมาณ 9% ของน้ำมันทั้งหมดที่แดนมังกรนำเข้า) ก็ไม่น่าที่จะช่วยเหลืออิหร่านให้หลุดออกจากมุมอับ โดยเข้าซื้อน้ำมันจากเตหะรานเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่า เอส เอ็ม กอมซอรี (S M Qamsari) ผู้อำนวยการฝ่ายระหว่างประเทศของบริษัทน้ำมันอิหร่านแห่งชาติ (National Iranian Oil Company) ได้ไปพูดกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า อิหร่านสามารถที่จะหาลูกค้ามาแทนที่ลูกค้าชาวยุโรปและลูกค้าในที่อื่นๆ ได้ย่างง่ายดายมาก ทั้งนี้ด้วยการเพิ่มปริมาณการขายให้แก่จีนและประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา ตลอดจนในเอเชีย

    ในทางเป็นจริง จีนได้ตัดลดปริมาณการซื้อน้ำมันอิหร่านในเดือนมกราคมลงแล้ว เพื่อสร้างแรงกดดันต่อเตหะรานสืบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ โดยที่แดนมังกรนั้นกำลังพยายามที่จะให้อิหร่านยอมเปิดเจรจากันใหม่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายประจำปี 2012 นี้ ฝ่ายเตหะรานยังคงยืนกรานที่จะคิดราคาที่สูงขึ้นพร้อมกับเรียกร้องให้ชำระเงินเร็วขึ้น ตรงกันข้าม ปักกิ่งกำลังกดราคาเสนอซื้อของตนให้ต่ำลง เนื่องจากเล็งเห็นแล้วว่าอิหร่านกำลังประสบความยากลำบากในการหาผู้ซื้อ

    สำหรับการที่อิหร่านจะขายน้ำมันให้แก่ประเทศเอเชียอื่นๆได้เพิ่มมากขึ้นนั้น เวลานี้ยังมองไม่เห็นจริงๆ ว่าจะเป็นเช่นนั้นไปได้ มาตรการลงโทษคว่ำบาตรของสหรัฐฯคราวนี้ ได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีโอบามาที่จะพิจารณาว่า ในกรณีที่เป็นผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯแล้ว สามารถยืดเวลาในการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ออกไปก่อนแต่ไม่เกิน 120 วัน มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะขอยืดเวลาออกไปในลักษณะนี้ แต่พร้อมกันนั้นประเทศทั้งสองก็กำลังพยายามแสวงหาหนทางเพื่อจะได้ลดการพึ่งพาน้ำมันนำเข้าจากอิหร่าน

    นอกจากนั้น ธนาคารตุรกีหลายๆ แห่ง ซึ่งถูกใช้เป็นช่องทางในการชำระเงินค่าน้ำมันให้แก่อิหร่านนั้น เวลานี้ได้แจ้งให้ลูกค้าที่เป็นพวกบริษัทอินเดียทราบแล้วว่า ในอนาคตข้างหน้า พวกเขาคงจะไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้อีกแล้ว

    มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งยวด อีกทั้งสมเหตุสมผลเป็นที่สุดว่า พวกชาติผู้ผลิตน้ำมันชาวอาหรับนั่นแหละ จะพากันเพิ่มการส่งออกไปยังเอเชียตลอดจนไปยังโลกตะวันตก เพื่อเป็นการชดเชยการขาดหายไปใดๆ ที่เป็นผลลัพธ์จากการบังคับใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรระลอกใหม่ล่าสุดนี้ต่ออิหร่าน

    ดร.โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (Robert M. Cutler, Consultant/Researcher/Educator in Post-Cold War International Affairs) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้ทำงานวิจัยตลอดจนสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ สถาบันเพื่อยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังรับเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในกิจการต่างๆ หลายหลาก

    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000004114
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มะกันปรับยุทธศาสตร์ทหาร ครั้งใหญ่มุ่งมาแถวบ้านเรา!

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    กาแฟดำ


    วันที่ 11 มกราคม 2555 01:00


    พอบารัก โอบามา แห่งสหรัฐ ประกาศปรับยุทธศาสตร์ทางทหาร ย้ายจุดเน้นมาเอเชีย-แปซิฟิก


    (รวมทั้งไทย) จีน ก็โต้ฉับพลันว่า “นี่จะมาเผชิญหน้ากับฉันหรืออย่างไร”

    แน่นอนว่า สหรัฐจะไม่ยอมรับว่าการเปลี่ยน “เกม” ทางด้านความมั่นคงครั้งใหญ่ครั้งนี้ เป็นเพราะต้องการมา “สกัดจุด” จีนที่กำลังทำท่าว่าจะสยายปีกมังกรเพื่อแข่งรัศมีกับสหรัฐในภูมิภาคของตน

    แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารุกครั้งใหม่ของมะกัน คือ การสยบจีนไม่ให้มีอิทธิพลเหนือประเทศอื่นๆ ในแถบนี้
    ซึ่งย่อมเป็นไม่ได้เพราะจีนจะชี้นิ้วทันทีว่าสหรัฐเข้ามายุ่มย่ามในเอเชีย ทั้งๆ ที่บ้านตัวเองอยู่คนละซีกโลก

    มะกันอ้างบทบาทความเป็น “มหาอำนาจระดับโลก” เพื่อขยับการวางกำลังทหารและอาวุธครั้งใหม่ และจีนก็ไม่อาจจะยอมให้วอชิงตัน “แทรกแซงกิจการภายใน” ของเอเชีย-แปซิฟิก อย่างออกหน้าเช่นนี้

    ปีนี้จึงเป็นปีแห่งความท้าทายที่ประเทศเล็กๆ อย่างไทยจะต้องจับตาบทบาทของทั้งสองมหาอำนาจอย่างใกล้ชิด และต้องปรับตัวและทิศทางให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในภาวะที่กลายเป็น “เหยื่อ” แทนที่จะเป็น “ตัวละครเล็กแต่คึกคัก” และมีอำนาจต่อรองในรูปแบบต่างๆ ให้ได้

    ข่าวที่ผมได้มาบอกว่าส่วนหนึ่งของแผนใหม่ของสหรัฐนั้น คือ การส่งเรือรบมาประจำการในเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะที่สิงคโปร์

    และอย่าได้แปลกใจหากมีการเจรจาจะส่งกำลังทางทหารบางส่วนมาอยู่ในไทยและฟิลิปปินส์ โดยอ้างว่าเพื่อที่จะ “ปกป้อง” สิทธิของประเทศเล็กๆ ที่มีเรื่องระหองระแหงกับจีนในทะเลจีนใต้

    หัวใจของการปรับยุทธศาสตร์ทางทหารสหรัฐครั้งนี้ คือ การมองมาที่จีน และเกาหลีเหนือเป็นเป้าหลัก

    หลังจากลดบทบาททำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลจนกลายเป็นภาระทางการเงินที่หนักอึ้ง

    มาคราวนี้ มะกันต้องการจะเป็น “มหาอำนาจ” แต่ใช้เงินน้อยลง

    นักวิเคราะห์ทางทหารของอเมริกาบอกว่านี่เป็น “turning point” หรือ “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ไม่เฉพาะสำหรับกองทัพสหรัฐเท่านั้น หากแต่ยังสำหรับโอบามาด้วย เพราะแกอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีปีสุดท้ายของเทอมแรก และกำลังจะต้องหาเสียงเพื่อให้คนอเมริกันเลือกเป็นผู้นำอีกสมัยหนึ่ง

    แนวทางการหาเสียงของโอบามา คือ การประกาศ “ชัยชนะ” ในการทำศึกสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานด้วยการถอนทหารกลับบ้าน

    ขณะเดียวกัน ก็อ้างว่านโยบายทางทหารระดับโลกใหม่ คือ การขยายอิทธิพลทางความมั่นคงไปเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่จะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและทางทหารมากกว่ายุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาในทศวรรษหน้านี้

    อีกทั้งโอบามา ยังอ้างได้ว่าแนวทางใหม่นี้จะทำให้สามารถลดงบประมาณทางด้านทหาร ที่จำเป็นอย่างยิ่งในภาวะที่รัฐบาลสหรัฐ ต้องแก้ปัญหางบประมาณขาดดุลอย่างหนักหน่วง และวิกฤติหนี้สินของยุโรปที่ทำท่าว่าจะ “เอาไม่อยู่” ในขณะนี้

    หัวใจหลักของการปรับทัพในเอเชียสำหรับอเมริกาอยู่ที่คำว่า

    “…improving capabilities that maintain our military’s technological edge and freedom of action.”

    ความหมายในทางปฏิบัติ ก็คือ จะใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อยกระดับสมรรถภาพทางด้านการทหาร (เพิ่มประสิทธิภาพโดยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ) และ “ความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของทหารสหรัฐ”

    วิธีทำ ก็คือ การขยับให้เรือบรรทุกเครื่องบินและหน่วยเคลื่อนที่เร็วมาตั้งอยู่แถวนี้...โดยมีออสเตรเลีย เป็นปราการหลักใหม่และใช้ทหารกับเรือรบที่มีอยู่แล้วในญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นฐานของตนในเอเชีย

    ภายใต้แผนใหม่นี้ สหรัฐจะเพิ่มความสำคัญให้กับความสัมพันธ์กับอินเดีย ในฐานะ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระยะยาว” ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง

    สหรัฐหมายตาไว้แล้วว่ามหาสมุทรอินเดียจะเป็นอีกจุดหนึ่ง ที่จะเป็นเป้าหมายสำคัญของการสร้างให้เป็นฐานปฏิบัติการของตนในอนาคต

    ผมเห็นเอกสาร 8 หน้าของแผนยุทธศาสตร์ใหม่ที่รัฐมนตรีกลาโหม ลีออน พาเน็ทต้า แจกเพื่อชี้แจงการปรับแผนความมั่นคงของสหรัฐครั้งใหม่นี้แล้วก็จับความได้ว่าโอบามา ต้องการจะมาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอเชียให้แน่นแฟ้น ทั้งด้านการเมือง การทูต การค้า และความมั่นคง

    มิน่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน จึงย้ำกับผมในการให้สัมภาษณ์ที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า “America is back. And we’re here to stay.”

    ที่มีความสำคัญสำหรับจีนมากก็เพราะปลายปีนี้จะมีการปรับเปลี่ยนผู้นำจีนครั้งใหญ่ หูจิ่นเทา จะก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีโดยมี สีจิ้นผิง (ที่เพิ่งมาเยือนไทย) ขึ้นมาแทน และ เวินเจียเป่า ก็จะสละตำแหน่งนายกฯ โดยมี หลี่เค่อเฉียง มาทำหน้าที่นี้

    ผู้นำจีน ยังไม่ได้แสดงความเห็นต่อการประกาศปรับยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐครั้งนี้ แต่สื่อมวลชน ที่สะท้อนวิธีคิดของผู้นำจีนเช่นสำนักข่าวซินหัว ออกมาเตือนแล้วว่าหากสหรัฐหันมาสร้างความก้าวร้าวทางทหารในภูมิภาคนี้ ก็จะทำให้สันติภาพตกอยู่ในห้วงอันตราย

    แต่ขณะเดียวกัน ซินหัวก็บอกว่าบทบาทของสหรัฐอาจจะดีต่อจีน หากมาช่วยสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพจริง เพราะจะเป็นการทำให้จีนสามารถสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง

    ที่น่าเป็นห่วง ก็คือว่า เมื่อสหรัฐรุกมาทางนี้มากขึ้น จีน ก็อาจจะถูกกดดันให้ต้องทุ่มงบประมาณด้านการทหารหนักหน่วงขึ้นกว่าเดิมอีก ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างความตึงเครียดรอบใหม่ในย่านนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ที่ผมห่วงกว่านั้น ก็คือว่า ประเทศไทยรู้เท่าทันและมีสมาธิพอที่จะติดตาม และปรับตัวให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ความมั่นคง ของยักษ์ใหญ่สองประเทศนี้หรือเปล่า

    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20120111/428924/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2!.html
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์” ยัวะถูกเหน็บ-ท้า “รีพับลิกัน” แข่งบริจาคเงินเข้าคลังสหรัฐฯลดขาดดุล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 มกราคม 2555 10:54 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์ มหาเศรษฐีผู้ได้ฉายาพ่อมดการลงทุน (ซ้าย) ท้าให้สมาชิกพรรครีพับลิกัน รวมถึง ส.ว.มิตช์ แม็คคอนเนลล์ (ขวา) ที่เคยเย้ยหยันข้อเรียกร้องขึ้นภาษีคนรวยของเขาเมื่อปีที่แล้ว แข่งกันบริจาคเงินเข้าคลังเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ

    เอเอฟพี - มหาเศรษฐีผู้ได้ฉายา “พ่อมดการลงทุน” วอร์เรน อี. บัฟเฟ็ตต์ ออกปากท้าสมาชิกพรรครีพับลิกันให้ลงขันบริจาคเงินเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ โดยตัวเขาเองก็จะควักกระเป๋าจ่ายในจำนวนเท่ากัน

    บัฟเฟ็ตต์ ซึ่งถูกวุฒิสมาชิก มิตซ์ แม็คคอนเนลล์ จากพรรครีพับลิกันเหน็บแนมว่า หากต้องการช่วยลดการขาดดุลของประเทศจริงก็บริจาคเงินเข้าคลังสหรัฐฯเสีย ให้สัมภาษณ์ตอบโต้ผ่านนิตยสารไทม์ส ว่า หากจะมีการบริจาค ทุกฝ่ายก็ต้องมีส่วนร่วม

    “ถ้าจะใช้ระบบบริจาคกันละก็ ผมจะบริจาคเงินเท่าๆกับที่สมาชิกพรรครีพับลิกันจ่ายรวมกันทั้งหมด และจะให้เป็น 3 เท่าของที่ แม็คคอนเนลล์ บริจาคด้วย” บัฟเฟ็ตต์ เผย

    ปีที่แล้ว แม็คคอนเนลล์ ออกมาคัดค้านความเห็นของ บัฟเฟ็ตต์ ซึ่งชี้ว่า กลุ่มคนร่ำรวยที่สุดสมควรจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ

    เจ้าของบริษัทลงทุน เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ ซึ่งมีมูลค่าราว 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระบุว่า เขาจ่ายภาษีให้รัฐบาลเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเทียบแล้วยังน้อยกว่าอัตราที่เลขานุการของเขาต้องจ่ายเสียอีก

    แม็คคอนเนลล์ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีซี เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วว่า “ถ้า วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์ อยากจะเสียสละรายได้บางส่วน เราก็ยินดีคุยเรื่องนี้”

    “ส่วนเรื่องอัตราภาษีของเขานั้น ถ้าเขารู้สึกผิด ผมว่าเขาจ่ายเช็คเพิ่มมาก็ได้”

    บัฟเฟ็ตต์ ตอบโต้คำท้าของ แม็คคอนเนลล์ โดยบอกกับ ไทม์ส ว่า รู้สึกยินดีที่พรรครีพับลิกันมองว่า การเก็บภาษีสามารถทำในรูปเงินบริจาคได้

    “มันช่วยฟื้นคืนความศรัทธาของผมที่ว่า น่าจะยังมีบางคนในรัฐบาลนี้ที่จิตใจไม่คับแคบเกินไปจนมองว่า (ปัญหาขาดดุลงบประมาณ) ไม่สามารถแก้ด้วยการบริจาคตามความสมัครใจ”

    เมื่อนักข่าวถามว่า ทรัพย์สินของ แม็คคอนเนลล์ ซึ่งมีอยู่ราว 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้คำท้าบริจาค 3 ต่อ 1 แพงเกินไปหรือไม่ มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลกตอบว่า “ผมไม่กังวล”

    ล่าสุด สำนักงานของ แม็คคอนเนลล์ ออกมาตอบโต้ว่า สมาชิกพรรคเดโมแครตและประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็ควรจะรับคำท้าของ บัฟเฟ็ตต์ ด้วยเช่นกัน

    “วุฒิสมาชิก แม็คคอนเนลล์ มีความเห็นว่า วอชิงตันควรจะมีขนาดเล็กลง มิใช่เก็บภาษีให้มากขึ้น” โฆษก ดอน สจ๊วต กล่าวในถ้อยแถลง

    “และในเมื่อบางคน เช่น ประธานาธิบดี โอบามา หรือคุณบัฟเฟ็ตต์ อยากจะจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น สภาคองเกรสก็เปิดโอกาสให้พวกเขาทำตามที่พูด โดยส่งเช็คเข้ามาได้”

    “เพราะฉะนั้น ผมรอคอยที่จะเห็นคุณบัฟเฟ็ตต์จ่ายเงินเทียบเท่ากับมูลค่าเช็คทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากผู้ที่ต้องการจ่ายภาษีเพิ่มจริงๆ เช่น ส.ส.เดโมแครต, ประธานาธิบดี รวมถึงคณะกรรมการพรรคเดโมแครตแห่งชาติด้วย”

    Around the World - Manager Online -
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สลด!พิษเศรษฐกิจ เด็กๆในกรีซถูกพ่อแม่ทอดทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 มกราคม 2555 03:36 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เดลิเมล์ - พบเด็กในประเทศกรีซ ถูกครอบครัวที่กำลังลำบากยากเข็ญจากพิษเศรษฐกิจทิ้งขว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถดูแลพวกเขาได้อีกต่อไป

    รายงานดังกล่าวมีออกมาขณะที่เหล่าเภสัชกรเปิดเผยว่าประเทศแห่งนี้ต้องประสบปัญหาขาดแคลนแอสไพรินขณะที่มาตรการรัดเข็มขัดหลายหมื่นล้านยูโรส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคม และการที่เด็กถูกครอบครัวทิ้งขว้างก็กำลังกลายเป็นเรื่องน่าเศร้าสลดที่สุดของมนุษย์ที่มีต้นตอมาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน

    ศูนย์เยาวชนอาร์คออฟเดอะเวิลด์ของเอเธนส์เปิดเผยว่าแค่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีคนนำเด็กมาทิ้งไว้ข้างประตูศูนย์ถึง 4 ราย ในจำนวนนั้นรวมไปถึงทารกแรกเกิดรายหนึ่ง

    ทั้งนี้ทางศูนย์เล่าว่ามีคุณแม่รายหนึ่งนำลูกสาววัย 2 ขวบมาที่ศูนย์แล้วก็วิ่งหนีไปเฉยๆ ขณะที่หนูน้อยแอนนา วัย 4 ขวบ ถูกพบโดยครูรายหนึ่งพร้อมกับจดหมายที่มีใจความว่า "ฉันคงไม่ได้มารับตัว แอนนา ในวันนี้ เพราะฉันไม่สามารถดูแลเธอได้ กรุณาดูแลเธอด้วยนะ ฉันเสียใจค่ะ"

    ส่วนนางมาเรีย คุณแม่อีกคนที่ต้องนำลูกสาววัย 8 ขวบมาขอให้ทางศูนย์ช่วยดูแลหลังจากต้องตกงาน ทั้งนี้เธอเล่าว่าพยายามหางานใหม่มามากกว่า 1 ปีแล้วและทุกครั้งที่ออกมาหางานก็ต้องทิ้งลูกให้อยู่ที่บ้านเพียงลำพัง และช่วงนั้นก็ประทังชีวิตด้วยอาหารที่รับแจกมาจากโบสถ์ท้องถิ่น

    เธอบอกว่า "ทุกๆคืนฉันต้องนอนร้องไห้เพียงลำพัง แต่ฉันจะทำอะไรได้ มันทำให้ฉันเจ็บปวด แต่ฉันไม่มีทางเลือก" โดยเวลานี้เธอเพิ่งได้งาน ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งแต่ได้ค่าจ้างเพียง 16 ปอนด์ต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอที่จะนำลูกสาวกลับไปเลี้ยงดูด้วยตนเอง

    อันโตนิออส ปาปานิโคลาอู ผู้ก่อตั้งศูนย์บอกว่า "ในปีที่แล้ว มีผู้ปกครองหลายร้อยคนบอกกับเราว่าอยากให้ลูกๆมาอยู่ที่นี่ พวกเขารู้จักเราและไว้ใจเรา พวกเขาบอกว่าไม่เหลือเงินแล้ว ไม่มีที่พักและไม่มีอาหารสำหนับเลี้ยงดูลูกๆ ดังนั้นจึงหวังว่าเราจะสามารถจัดหาสิ่งนั้นให้เด็กๆได้"

    อีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่าชาวกรีซกำลังเจ็บปวดจากมาตรการรัดเข็มขัดคือปัญหาขาดแคลนแอสไพรินและเวชภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากมาตรการควบคุมราคาให้อยู่ในระดับต่ำของรัฐบาล ทำให้บริษัทยาเลือกกักตุนสินค้าและหันไปส่งออกขายยังต่างประเทศที่ได้ราคาสูงกว่าแทน จึงทำให้ชาวกรีซต้องเจอปัญหาขาดแคลนแอสไพรินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    Around the World - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อาหารและสงคราม-เล่าเรื่องการกินของคนในยามสงคราม
    [​IMG]
    กองทัพต้องเดินด้วยท้อง เงินทองคือมายา-ข้าวปลาคือของจริง

    ยังคงเป็นวาทะที่ยังใช้ได้ดีเสมอทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่มักเกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ข้าวยากหมากแพง บางครั้งมีเงินแต่ไม่สามารถหาอาหารมาประทังชีวิต ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงภัยธรรมชาติที่มักถาโถมมาพร้อม ๆ กับสงคราม วิกฤติและการต่อสู้ดิ้นรนของผู้คนจึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


    สำหรับประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่สองน่าจะเป็นช่วงเวลาเดือดร้อนแสนสาหัส เพราะนอกจากภัยสงครามแล้ว ผู้คนในที่ต่างๆ ยังประสบกับภัยน้ำท่วม นาล่ม อาหารไม่พอกิน และภาวะอดอยากหิวโหย อีกด้วย นายชีวสิทธิ์ บุญยเกียรติ์ นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เล่าว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้จัดนิทรรศการ “ย้อนยุค ข้าวยากหมากแพง” โดยนิทรรศการดังกล่าวได้เล่าถึงสาเหตุความอดอยากของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงการช่วยเหลือจากทางการและการปรับตัวของผู้คนให้มีชีวิตรอดอย่างมีความหวัง

    ยามสงครามชาวบ้านต้องประทังชีวิตด้วยการขุดเผือก มัน หน่อไม้ ขุยไผ่ มากินแทนข้าว หรือหุงกับรวมกับข้าว นอกจากนี้ความขาดแคลนทำให้ต้องประดิษฐ์และค้นหาสิ่งใหม่ทดแทน เช่น การใช้ใยสำปะรดแทนด้าย ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันก๊าด หรือในยามน้ำท่วมซึ่งทำให้การประกอบอาหารเป็นไปได้อย่างลำบากจึงได้คิดค้นวิธีปรุงอาหารง่าย ๆ เช่น แกงจืดนอกหม้อที่ปรุงได้ในชาม หรือทำอาหารที่เก็บไว้กินได้นาน เช่น ปลาทูต้มเค็ม เป็นต้น

    แนวคิดการจัดนิทรรศการในข้างต้นจะถูกนำมาเสนอใหม่อีกครั้งในรูปแบบของเสวนาโต๊ะกลมภายใต้ชื่อ “อาหารและสงคราม-เล่าเรื่องการกินของผู้คนในยามสงคราม” ซึ่งได้รับเกียรติร่วมสนทนาจากคุณ Wong Hong Suen ผู้เขียนหนังสือ wartime kitchen ที่อธิบายถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารในระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่สองในสิงคโปร์ และผศ.ดร.มณธิรา ราโท ซึ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสงครามและความหิวในสังคมเวียดนาม ผ่านงานวรรณกรรมของ “นามกาว” ซึ่งระบุว่าสิ่งที่เคียงคู่ไปกับภาวะสงครามก็คือ ภาพของความอดอยาก แร้นแค้น และหิวโหยของผู้คน

    ในประเทศเวียดนาม สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามมหาเอเชียบูรพาได้ส่งผลให้ประชากรต้องเสียชีวิตจากความอดอยากหิวโหยประมาณสองล้านคน ชาวบ้านที่นั่นต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด กินทุกอย่างที่ไม่เคยกิน ไม่ว่าจะเป็นรากไม้ เปลือกไม้ หญ้า วัชพืช ดิน หรือแม้แต่กินเนื้อมนุษย์ ขณะที่ความหิวโหยได้เข้ามาสั่นคลอนความคิดเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมของผู้คน ทำให้เกิดปัญหาลักขโมย บางคนต้องขายลูกหรือทิ้งลูกตามเมืองใหญ่ ตามถนนในเมืองใหญ่ๆ เช่น ฮานอย ไฮฟอง ปรากฏพบโครงกระดูกหรือภาพของผู้คนที่มีร่างกายซูบผอมยืนเปลือยกายตามกำแพงเพื่อรอความตาย ซึ่งในแต่ละวันจะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บซากศพตามถนนไปทิ้งย่านชานเมือง

    อย่างไรก็ตามหากมองอีกด้านหนึ่ง การเผชิญกับภัยสงครามไม่ว่าจะในประเทศไทย เวียดนาม หรือสิงคโปร์ เรายังคงพบว่าท่ามกลางการดิ้นรนเอาตัวรอดตามสัญชาติญาณของมนุษย์ ยังคงมีการรวมพลังต่อสู้ ฝ่าฝันกับวิกฤติที่นับเป็น “ชะตากรรมร่วม” ปรากฏอยู่

    ในกรณีประเทศเวียดนาม ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะของขบวนการคอมมิวนิสต์นั้น เป็นเพราะพรรคคอมมิวนิสต์เป็นกลุ่มการเมืองเดียวในขณะนั้นที่ตอบสนองต่อปัญหาความอดอยากของประชาชน เช่น การนำกองกำลังเวียดมินห์เข้าบุกยึดโกดังเก็บข้าวของญี่ปุ่น มีกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เพื่อต่อสู้กับความหิวโหย อาทิ การแบ่งปันข้าวและเสื้อผ้า การรณรงค์เพื่อให้ประชาชนอดข้าวบางมื้อเพื่อนำข้าวที่ได้ไปช่วยเหลือคนยากจน พร้อมกับปลุกใจให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย ดังที่โฮจิมินห์เคยกล่าวไว้ว่า “ความอดอยากไม่ได้อันตรายน้อยกว่าสงคราม... ...การต่อสู้กับความอดอยากก็เหมือนกับการต่อสู้กับศัตรูต่างชาติที่เราจะชนะได้อย่างแน่นอน...”

    แน่นอน สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้ว แต่ในปัจจุบันเรายังต้องผจญกับสงครามการค้าและการเมืองอย่างไม่หยุดยั้ง การเกิดขึ้นของวิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์ และการผันผวนของราคาน้ำมัน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เราเข้าสู่สภาวะข้าวยากหมากแพง “ล่องหน” ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงและบีบคั้นมากขึ้นทุกขณะ การเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างหนทางรับมือและแก้ไขวิกฤติการณ์ในปัจจุบันอย่างน้อย เราคงได้เรียนรู้ว่า แม้ในยามที่เลวร้ายที่สุด มนุษย์มิเคยสิ้นหวัง...

    ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวงเสวนาโต๊ะกลมเรื่องอาหารยามสงครามฯ อันเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่หลากหลายของการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ซึ่งจัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณ ศิวัช นนทะวงษ์ 0-28809429 ต่อ 3811

    เขียนโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

    ที่มา http://www.food4change.in.th
    เครดิตคุณ เกษม
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อิหร่านแค้นนักวิทย์นิวเคลียร์ถูกฆ่า



    เอเอฟพีรายงานเมื่อ 11 ม.ค. ว่า เกิดเหตุการณ์ช็อกรัฐบาลอิหร่าน เมื่อนายมอสตาฟา อาห์มาดี โรชาน นักวิทยาศาสตร์วัย 32 ปีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ถูกลอบสังหารด้วยการวางระเบิดรถยนต์ตายคาที่หน้าหอพักมหาวิทยาลัยในกรุงเตหะราน ทางรัฐบาลอิหร่านแถลงประณามว่า เป็นฝีมือของสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ซึ่งจงใจฆ่าผู้เชี่ยวชาญนิวเคลียร์เป็นรายที่ 4 แล้วในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยโรชานเป็นรองผู้อำนวยการโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมนาทานซ์ ด้านสมาชิกสภาอิหร่านพากันตะโกนสาปแช่งอิสราเอลและสหรัฐ ดังสนั่นในห้องประชุมสภา หลังทราบข่าว

    วันเดียวกัน นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมงว.คลังสหรัฐ กล่าวระหว่างพบปะหารือกับรองประธา นาธิบดี สี จิ้นผิง และหลี่ เค่อเฉียง รองนายกรัฐมนตรีจีน ที่กรุงปักกิ่ง ขอให้จีนสนับสนุนเรื่องการคว่ำบาตรต่ออิหร่านให้ล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ ขณะที่จีนแสดงความคิดเห็นในลักษณะเป็นกลาง แนะนำให้อิหร่านเพิ่มความร่วมมือกับสำนักงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอเพิ่มมากขึ้น

    วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7714 ข่าวสดรายวัน


    เครดิต คุณ apichart ww2<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5567402", true); </SCRIPT> http://palungjit.org/threads/ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่.3906/page-1356
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=dTOIeqFHFR0]Deadly Spark: What can trigger US-Iran war? - YouTube[/ame]

    Tension between the U.S. and Iran is being ratcheted up on what seems like a daily basis. The U.S. Secretary of State Hilary Clinton added fuel to the fire calling Tehran's recent threats to close a vital oil transit route in the Gulf a provocation. RT's Gayane Chichyakyan looks at whether words could soon become action.
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=YpG6E7kK39M&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&index=2&feature=plcp]Re-Occupy Wall Street: Protesters back in Zuccotti Park - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 12 ม.ค. 2012
    Protesters are back in New York's Zuccotti Park - the symbolic birthplace of the Anti-Wall street movement where it all started almost four months ago. Barricades have been in place since mid-November when the occupiers were evicted in a night raid by police. But now that the barriers are gone the protesters are determined to stay - as RT's Anastasia Churkina reports
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=09oixqxHEPM&feature=autoplay&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&lf=plcp&playnext=1]Decade of Detention: 'Most Gitmo prisoners innocent' - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 12 ม.ค. 2012
    Protests have marked 10 years since the first prisoners were sent to America's most controversial prison Guantanamo Bay, Cuba. Barack Obama's promise on his first day in office to close it remains unfulfilled.
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=bLNYXcdB3vs&feature=BFa&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&lf=plcp&shuffle=263831]Obama's new Pentagon strategy: Strip benefits & buy more weapons - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 6 ม.ค. 2012
    The world's biggest military is about to get smaller - with President Obama announcing the biggest strategy review in years, to try and make the U.S. army leaner and cheaper. It includes changing from large ground wars, to what he says will be an expanded agile force across Asia, the Pacific and the Middle East.
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1uyJvpO6sCM&feature=relmfu]Atomic Games: Nuclear hide'n'seek in Iran - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 9 ม.ค. 2012
    Iran launches a new uranium enrichment facility after threatening to shut down a vital oil supply route in the Gulf, sparking warnings of military action from the US.

    Patrick Henningsen, associate editor for Info-wars website, talks to RT suggesting that the current situation in Iran is a new wave of power politics.
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Xe6XV-MbcHc&feature=relmfu]Worst managers go to Hollywood & Wall Street - YouTube[/ame]

    Watch the full Keiser Report 234 on Tuesday. In this episode, Max Keiser and co-host, Stacy Herbert, discuss copyright and how Hollywood cons Congress by using Wall Street accounting. In the second half of the show, Max talks to Amir Taaki about hackers, piracy, technology and bitcoin.
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=nXMMNA4gyA8&feature=relmfu]Streams of blood, mounting deaths choke Syria - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 9 ม.ค. 2012
    The Arab League has renewed calls for the Syrian government to end bloodshed and allow more observers in the country. But the group, monitoring the implementation of a peace plan, stopped short of asking the UN for help. The Arab League mission itself has been heavily criticised for failing to stop the violence. And, as RT's Sara Firth reports, many in the country say they're paying too high a price for change.
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=W9GovoLuekY&feature=relmfu]'US has all the rights but no freedom, Russia has freedom but no rights' - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 9 ม.ค. 2012
    Despite the long Cold War - or perhaps because of it - Russians have always had a thing for hamburgers and milkshakes. It's a yearning Paul O'Brien sought to satisfy when he brought the very first American diner to the country. &shy;His chain of Starlight diners was an instant hit in Moscow. In an interview with Business RT, he explains how to serve up American food, Russian style.
     

แชร์หน้านี้

Loading...