เตือนพระหาเงิน ผิดทั้งวินัย ผิดทั้งกฏหมาย!

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย THODSAPOL SETTAKASIKIT, 28 พฤศจิกายน 2010.

  1. นักธรรมเอก

    นักธรรมเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +761
    ถ้าจะมาบอกว่าพระรับเงิน จับต้องเงินแล้วผิด มีที่ไหนบ้างไม่ใช้ปัจจัยหรือเงิน ในการสร้างศาสนสถาน โบสถ์ วิหาร เจดีย์ กุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม หรือแม้แต่การจะเผยแผ่พระศาสนาก็ต้องใช้เงินทำหนังสือสิ่งพิมพ์ บันทึกภาพเสียง หรือเครื่องขยายเสียง หรือแม้แต่บางวัดสร้างศาลาใหญ่โตมโหฬาร วิหารหลังหลังใหญ่ สิ่งเหล่านี้มันปลูกได้เหมือนต้นไม้เหรอครับ หรือขุดเอาตามรูได้เหรอครับ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนต้องใช้เงินทั้งนั้น งั้นก็ไปอยู่ในถ้ำในรูหลุดโลกไปเลยไม่ดีเหรอ จะมาแสดงตัวให้คนอื่นเค้าเห็นทำไม ผมเองก็ไม่แตกฉานในพระวินัยอะไรกับเค้าหรอกนะครับ แต่ครั้งหนึ่งก็เคยบวชเรียนมาเหมือนกัน ก็ต้องใช้เงินซื้อปากกาดินสอ สมุดหนังสือ หรือแม้แต่ดอกไม้ธุปเทียนบูชาพระก็ต้องเอาเงินไปซื้อมา ไม่ได้นั่งรอให้คนมาถวายหรอกครับ ค่าน้ำค่าไฟค่ากระดาษพิมพ์เอกสาร เหล่านี้ก็ใช้เงิน กระผมไม่มีเจตนาจะปรามาสท่านใดเลยเพียงขอโอกาสแสดงความคิดเห็น ตามกระทู้ที่ได้อ่านเจอเท่านั้น สาธุ
     
  2. สนังกุมารพรหม

    สนังกุมารพรหม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +992
    อะไรๆที่ดำหริว่าจะทำ แล้วทำลงไปทุกๆเรื่องที่ต้องจ่ายค่าแรงในการทำ จิตของผู้สั่งให้ทำก็ต้องนึกถึงเงินอยู่ดีนั่นหละ แล้วเวลาจะทำมันก็ต้องคิดสินะ เอจะมีจ่ายเค้าหรือเปล่าหนอหว่า จะมีเงินพอหรือเปล่าหนอว่า เอมันราคาเท่าไหร่หนอหว่า

    จะให้มันไม่คิดเรื่องเงินหนะคงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ นอกจากว่าจะไม่เอาอะไรเลย อยู่ป่าอยู่เขาอยู่กระต๋อบ อยู่กระต๊อบแล้วใครจะทำให้หละ แค่สั่งเขาให้ทำให้มันก็ผิดแล้ว ถ้าจะพูดเรื่องผิดหนะ โหว คนเราบ้าได้ใจจริงๆ แบบนี้ต้องถล่มสักหน่อยแล้วหละ เดี๋ยวไปตามพวกก่อน รอนะ เดี๋ยวมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  3. นักธรรมเอก

    นักธรรมเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +761
    อีกอย่างเวลาจะเดินทางไปไหนมาไหน ต้องใช้รถในการเดินทางมั้ยถึงแม้พระท่านไม่ได้ขับเองก็เถอะก็ต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันหรือเหาะได้แล้ว พระเณรเดินทางขึ้นรถไปเรียนหนังสือไปสอบตามสำนักเรียนต่างๆ อย่างเรื่องที่สอนไม่ให้กราบไหว้พระพุทธรูปก็อีกเรื่อง ถ้าท่านไม่อยากเก็บไว้ที่บ้านหรือที่ไหนๆ บอกผมนะครับยินดีจะรับมาสักการะบูชา ยิ่งถ้าเป็นพระพุทธรูปทองคำยิ่งดีใหญ่ จะเอาไปถวายวัดประดิษฐานให้คนทั้งหลายได้บูชาร่วมกัน
     
  4. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    อาจจะเข้ามาช้า หรือบางวันไม่ได้เข้ามาก็ขอแจ้งไว้ก่อนนะครับ เพราะต้องแบ่งเวลาไปทำงานเลี้ยงชีพด้วยครับ และการตอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน เพราะต้องอ้างอิงไล่เรียงที่มาที่ไปเพื่อประโยชน์ของผู้ติดตามศึกษา จึงทำให้ช้าอยู่

    ของพี่คมน์ขอตัดรวมมาที่เดียวกันนะครับจะได้ไม่ต้องตอบหลายที่ครับ
    ...ขนาดเชื้อโรค คุณยังเคารพ
    แล้วทองเหลืองที่เป็นรูปพระพุทธเจ้า ทำไมถึงไม่เคารพครับ...
    ..ขนาดเทวดาซึ่งเป็น "ทิพย์" คุณยังเคารพเลย...


    อันนี้ไม่ได้เรียกว่าเคารพครับ เรียกว่า อนุเคราะห์ สงเคราะห์
    ขอทำความเข้าใจเรื่อง เคารพ ก่อนนะครับ
    เคารพมีลักษณะอาการ คือ ทำตาม ปฏิบัติตาม เชื่อฟัง ไม่ดื้อดึง
    คนที่เคารพพ่อแม่ คือ ไม่ดื้อกับพ่อแม่ พ่อแม่บอกเตือนอะไรก็รับมาพิจารณาแก้ไข กระทำตาม
    คนที่เคารพครูอาจารย์ คือ ไม่ดื้อ เชื่อฟังทำตามที่ท่านบอกสอน
    พระพุทธเจ้าเคารพธรรม เพราะ ใครก็ตามที่ทำตามพระองค์บอกสอนอยู่ ไม่เลี่ยงคำสอน
    เลือกธรรมอันเหมาะแก่สถานะตน เคารพประพฤติตาม ปฏิบัติตาม ทำตามธรรมอันสมควรแก่ตน กุลบุตรผู้ทำได้เช่นนี้ ชื่อว่าเคารพในพุทธด้วย เคารพในสงฆ์ด้วย เพราะธรรมอันกุลบุตรนั้นสมาทานทำตามนั้นแหล่ะ จะพากุลบุตรนั้นถึงความสวัสดีโดยชอบธรรม
    แม้พระองค์จะอยู่หรือไม่ก็ตาม.


    เคารพธรรมข้อไหน?จึงให้ชาวทิพย์
    เล่ม ๔๙ หน้า ๓๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book49/001_050.htm
    ให้เข้าใจนะครับ เคารพคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เคารพเทวดา เพราะเทวดาไม่ใช่พระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปเชื่อฟังเหมือนพระพุทธเจ้า


    ...รูป คือ สิ่งบ่งชี้บุคคล
    รูปตัวเราเอง ก็บ่งบอกว่า นี่คือตัวเรา
    รูปหล่อพระพุทธเจ้าก็เช่นกัน แม้จะเป็นแค่ทองเหลือง
    แต่ก็เป็นทองเหลืองที่แสดงให้เราเห็นภาพพระพุทธเจ้า...


    อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร
    ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม
    เล่ม ๒๗ หน้า ๒๗๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book27/251_300.htm
    เพราะฉะนั้นจึงไม่เคารพทองเหลืองครับ
    ทองเหลืองไม่ได้บอกว่าถ้าต้องการอายุยืนให้ทำอย่างไร?
    มีเงินแล้วควรทำอย่างไร? เห็นแต่พระที่ต้องการเงินบอกไหว้แล้วมีมงคลศรีแก่ตัวเชิญบริจาคเพื่อศาสนา แต่ไม่มีถามว่าโยมมีปัญหาอะไร ถ้ามีปัญหาอย่างนี้เอาวิธีการในสูตรนี้ไปลองทำนะเพราะฟังแล้วก็คล้ายๆสูตน นี้แหล่ะไปทำดูก่อนนะเพราะในนี้ท่านว่าทำแล้วเจริญไม่มีเสื่อม ปัจจัยไม่ต้องหล่ะมีผู้ดูแลการกินอยู่เรียบร้อยอาตมาเหลือแล้ว โยมเก็บไว้ไปแก้ปัญหาก่อนนะ (ขอให้เข้าใจนะที่ว่าพระต้องการเงิน ผมไม่ได้ว่าพระทุกรูป แต่เจาะจงไปที่พระมีความต้องโดยไม่รู้ตัวว่า การทำอย่างนั้นแหล่ะที่จะทำให้ธรรมวินัยนี้สูญหายโดยไว
    เพราะไม่มีใครรู้จักธรรมวินัย จึงไม่รู้จะรักษาอย่างไร เหมือนหมอทำฟันจะมาทำการผ่าตัดสมองคนไข้เจ็บหนัก)

    ...ดังนั้น ภาพพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงเศษกระดาษ
    ก็มิควรที่จะย่ำยี โดยการเผาทำลาย หรือ เหยียบย่ำ...


    อันนี้ขอให้เข้าใจนะครับว่า ที่เผาทำลายกันนั้น คือ ของผู้ที่เขาไม่เอาแล้ว เขาเข้าใจแล้ว ว่าอะไรคือ เคารพรูป อะไรคือเคารพธรรม ไม่ได้ไปเอามาเผาทั่วไป ขอชี้แจงตามนี้แหล่ะครับ.

    ...อีกอย่าง คือ ผมไม่แตกฉานในการอ่านพระวินัย
    ดังนั้น อยากให้อธิบายเพิ่มเติมนิดนึงใน link ที่คุณยกตัวอย่างมา...

    อ๋อ..
    ....แต่ปัจจุบันบางข้อก็มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งมิได้ทำให้เสียหายเลยครับ
    พระพุทธเจ้าสอนว่า เราต้องสำรวจ กาย วาจา และที่สำคัญที่สุด คือ "ใจ"
    การรับเงินนั้น ผมมองว่าเป็นเพียง "กาย"
    ส่วนการขอเงินนั้น ผมมองว่าเป็นเพียง "วาจา"
    แต่สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ "ใจ"
    ถ้าพระบอกบุญ (วาจา) และรับเงิน (กาย) แต่ "ใจ" ท่านมิได้ยินดีในเงินนั้น
    ก็ถือว่า ท่านบริสุทธิ์อยู่ เพราะใจท่านมิได้ติดอยู่กับเงิน....

    อันที่ลิ้งไปนั้นจะขี้ไปให้พี่คมน์เห็นว่า ใจสำคัญที่สุดก็จริง แต่พระพุทธเจ้าสอนให้คุมกายวาจาดักมันไว้ก่อน ลองคิดนะ พระบัญญัติว่าห้ามเสพเมถุนธรรม ภิกษุใดเสพต้องปราชิก
    แล้วพระบอกว่าอยู่ที่ใจนะโยม แล้วก็ไปหาเสพของต่ำทรามอย่างนั้น พี่คมณ์จะเข้าใจอย่างไร? มันสำคัญที่ใจอย่างเดียวอยู่หรือเปล่าหล่ะทีนี้

    ...จริงอยู่ ในพระวินัยนี้ มีนัยต่าง ๆ คือ มีปาฏิโมกขุทเทศ ๕ ประการ

    กองอาบัติ ๗ มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและนัยมีวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท
    และนัยคืออนุบัญญัติเป็นพิเศษ คือมีนัยอันกระทำให้มั่นและกระทำให้หย่อนเป็นประโยชน์. อนึ่ง พระวินัยนี้ย่อมฝึกกายและวาจา เพราะห้ามซึ่งอัชฌาจาร ทางกายและทางวาจา. เพราะฉะนั้น พระวินัยนี้
    ท่านจึงกล่าวว่า วินัย เพราะ
    มีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา. ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์
    นี้ไว้ว่า
    พระวินัยนี้ อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
    พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย
    ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย
    และวาจา ดังนี้.


    วิธีการจัดการเงินเกี่ยวกับภิกษุ
    http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=214.0

    และสำหรับผู้สนใจในการแก้ไขก็หาศึกษาได้จากเหล่ากระทู้นี้ครับ
    http://www.samyaek.com/board2/index.php?board=14.0


    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษากิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนาและผู้ต้องการตลอดไป

    ***อุทิศบุญให้เชื้อโรคนี้ คราวๆคือเป็นการทำให้เชื้อโรคไม่กลับมาเกิดที่เป็นโรค ทำให้หมอคนหมอทิพย์รักษาง่ายขึ้น หาเอานะครับ เรื่องเชื้อโรคกินหมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  5. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ความหมายของ อัชฌาจาร
    http://guru.sanook.com/dictionary/dict_tt/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

    ***แก้ไขเพิ่มเติม.... อรรถ แปลว่า ความหมาย,เนื้อความที่ปรากฏ

    วันนี้ขอตอบแค่ของพี่คมณ์ก่อนนะครับ
    ของพี่โจนี่(ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือเปล่า) มีคำตอบอยู่ครับ แต่วันนี้ไม่ไหวแล้วครับเมื่อคืนก็เกือบตี ๔ ส่วนของผู้ที่ไม่เปิดเผยตัวก็คงไม่ได้ตอบ เพราะคุยกับคนที่เปิดเผยตัวนี้ง่ายกว่ามากๆ ส่วนกลัวว่าจะไปทำอะไรหรือเปล่ากับผู้เปิดเผยตัว
    พระพุทธเจ้าสอนให้ขัดถู ขัดเกลากันที่ ทิฏฐิ ไม่ได้สอนให้ทำลาย ทำร้ายกัน เพราะคนจะเจริญหรือเสื่อมก็อยู่ที่ ทิฏฐิ แม้ต่างคนต่างดุเดือดเลือดพล่านมากมายแค่ไหน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปทำกันอย่างเสียหาย เพราะต่างคนต่างก็เข้าใจว่าคิดอย่างนี้จะเสียหายจะได้บาป พระพุทธเจ้าจึงสอนให้งัดธรรมวินัยมาสำรวจตรวจสอบเพื่อให้เข้าใจกัน เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ของชาวพุทธ. นี่แหล่ะที่มาของนิสัยคนไทย

    *ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น มีอาการไหลเข้าไปในใจ หรือเข้าใจ
    พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เลือกปล่อยสิ่งที่ถูกต้องเว้นจากสิ่งที่ผิด

    ถ้าต้องการอายุยืนให้ทำอย่างไร?
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=5734

    มีเงินแล้วควรทำอย่างไร?
    เล่ม ๓๖ หน้า ๙๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/051_100.htm

    บุญจาการเปิดเผยธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และให้ผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  6. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    ตามนั้น ฮิฮิฮิ
    ผมว่าจบไม่ลงเพราะมัน นานาจิตตัง
     
  7. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ผมนั่งอ่านตั้งนานก็ยังไม่เข้าใจ สงสัยความรู้ผมจะน้อย

    ยังไงผมทำทานแบบที่ผมทำละกันครับ ถ้าต้องลงนรกก็คงไม่เป็นไรครับ

    อย่างน้อย ผมก็ทำตามครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบครับ

    พูดถึงความ "เคารพ" ผมขอยกตัวอย่างสั้น ๆ ว่า

    *************************************

    มงคล 38 ประการ (หมวดที่ 7 มีความเคารพ)

    "เมื่อจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใด เราจำเป็นต้องรู้จักคุณสมบัติของสิ่งนั้นก่อนฉันใดผู้ที่จะรับประโยชน์จากบุคคลอื่นได้ ก็จำเป็นต้องมีความเคารพต่อบุคคลทั้งหลายก่อนฉันนั้น"
    ความเคารพคืออะไร ?
    ความเคารพ หมายถึง ความตระหนักซาบซึ้งรู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้
    แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้นทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ ของผู้มีปัญญาเท่านั้น
    เช่นกัน คนทั้งหลายในโลก ต่างก็มีคุณความดีในตัวต่างๆ กันไปมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน ผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การจะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่นก็ทำได้ยาก ยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้าง ความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คนๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคน ถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว...ใคร? ตัวเอง
    คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือ ตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออกก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอดเอาความดีของเขา เข้ามาสู่ตัวเอง
    ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่นจึงจัดเป็นคนพิเศษจริงๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากมานะต่างๆ เปิดกว้าง พร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน คนชนิดนี้คือ คนที่มีความเคารพ
    สิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง
    ในโลกนี้มีคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน และอะไรๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้เรามีความเคารพ ไม่ดูเบา ตระหนักในสิ่งมีคุณค่าที่สำคัญ ๗ ประการ ได้แก่
    ๑.ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๒.ให้มีความเคารพในพระธรรม
    ๓.ให้มีความเคารพในพระสงฆ์
    ๔.ให้มีความเคารพในการศึกษา
    ๕.ให้มีความเคารพในสมาธิ
    ๖.ให้มีความเคารพในความไม่ประมาท
    ๗.ให้มีความเคารพในการต้อนรับแขก
    ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ตระหนักถึงพระคุณความดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งกล่าวโดยย่อได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ
    และพระบริสุทธิคุณ และแสดงออกซึ่งความเคารพนี้

    สมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็แสดงความเคารพโดย

    ๑.เข้าเฝ้าทั้ง ๓ กาล คือ เช้า กลางวัน เย็น
    ๒.เมื่อพระองค์ไม่สวมรองเท้าจงกรม เราจะไม่สวมรองเท้าจงกรม
    ๓.เมื่อพระองค์จงกรมในที่ต่ำ เราจะไม่จงกรมในที่สูงกว่า
    ๔.เมื่อพระองค์ประทับในที่ต่ำ เราจะไม่อยู่ในที่สูงกว่า
    ๕.ไม่ห่มผ้าคลุมบ่าทั้งสอง ในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
    ๖.ไม่สวมรองเท้าในที่ทอดพระเนตรเห็น
    ๗.ไม่กั้นร่มในที่ทอดพระเนตรเห็น
    ๘.ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่ทอดพระเนตรเห็น

    สมัยเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วก็แสดงความเคารพโดย

    ๑.ไปไหว้พระเจดีย์ตามโอกาส
    ๒.ไปไหว้สังเวชนียสถาน คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา
    ปรินิพพาน ตามโอกาส
    ๓.เคารพพระพุทธรูป
    ๔.เคารพเขตพุทธาวาส คือ เขตโบสถ์
    ๕.ไม่สวมรองเท้าในลานพระเจดีย์
    ๖.ไม่กั้นร่มในลานพระเจดีย์
    ๗.เมื่อเดินใกล้พระเจดีย์ ไม่เดินไปพูดไป
    ๘.เมื่อเข้าในเขตวัด ก็ถอดรองเท้า หุบร่ม ถ้าเป็นพระภิกษุต้องลดไหล่ ไม่ทำ อาการต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความกระด้าง หยาบคาย
    ๙.ปฏิบัติตนตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

    ความเคารพในพระธรรม คือ ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

    ๑.เมื่อมีประกาศแสดงธรรมก็ไปฟัง
    ๒.ฟังธรรมด้วยความสงบ สำรวม ตั้งใจ
    ๓.ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งคุยกัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน ขณะฟังธรรม
    ๔.ไม่ดูหมิ่นพระธรรม
    ๖.บอกธรรม สอนธรรม โดยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด
    ความเคารพในพระสงฆ์ คือ ตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้สืบอายุพระศาสนา แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้
    ๑.กราบไหว้ โดยกิริยาอาการเรียบร้อย
    ๒.นั่งเรียบร้อย ไม่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก
    ๓.ไม่สวมรองเท้า กั้นร่ม ในที่ประชุมสงฆ์
    ๔.ไม่คะนองมือ คะนองเท้าต่อหน้าท่าน
    ๕.เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่แสดงธรรม
    ๖.เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม
    ๗.ไม่เดิน ยืน นั่ง เบียดพระเถระ
    ๘.แลดูท่านด้วยจิตเลื่อมใส
    ๙.ต้อนรับท่านโดยไทยธรรม
    ความเคารพในการศึกษา คือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม จะศึกษาเรื่องใดก็ศึกษาให้ถึงแก่น ให้เข้าใจจริงๆ ไม่ทำเหยาะแหยะ บำรุงการศึกษา สนับสนุนการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม
    ความเคารพในสมาธิ คือ ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของการทำสมาธิแล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดย ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างความดีทั้งหลาย เป็นการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด ทำให้รู้และเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากในไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่าศีลจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย แล้วสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาซึ่งเป็นเครื่องพาเราให้บรรลุนิพพาน จะเห็นว่าเรารักษาศีลก็เพื่อไม่ให้ไปทำความชั่ว ทำให้ใจไม่เศร้าหมองเป็นสมาธิได้ง่าย และปัญญาก็เกิดจากสมาธิ สมาธิจึงเป็นหัวใจหลักในการทำความดีทุกชนิด แม้การกำจัดกิเลสเข้าพระนิพพาน
    มีบางคน พยายามจะเข้าถึงธรรม โดยการอ่านและฟังธรรมโดยไม่ยอมทำสมาธิ แม้เขาจะอ่านจะท่องธรรมะได้มากเพียงใด ก็ย่อมไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรมได้เลย เพราะความรู้ธรรมจากการอ่านการท่องนั้นเป็นเพียงพื้นฐานความรู้เท่านั้น จะบังเกิดผลเป็นดวงปัญญารู้แจ้ง สว่างไสว ต่อเมื่อได้นำไปปฏิบัติด้วยการทำสมาธิอย่างยิ่งยวดแล้วเท่านั้น
    ยังมีบางคนกล่าวว่า การทำสมาธิเป็นส่วนเกินบ้าง เป็นการเสียเวลาเปล่าบ้าง ถ้าพบใครที่กล่าวเช่นนี้ ก็พึงทราบทันทีว่า เขากล่าวตู่พุทธพจน์เสียแล้ว เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ไม่ควรคบ เพราะเขายกตัวของเขาเองเข้าข้างตัวเองว่าเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ใช้ไม่ได้
    ความเคารพในความไม่ประมาท คือ ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีสติกำกับตัวในการทำงานต่างๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึกสติเพื่อให้ไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอยู่เนืองๆ มิได้ขาด
    ความเคารพในการต้อนรับแขก คือ ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับแขก ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู ปกติคนเราจะให้ดีพร้อม ทำอะไรถูกใจคนทุกอย่าง ย่อมเป็นไปไม่ได้ อาจมีช่องว่าง รอยโหว่ ข้อบกพร่องบ้าง การต้อนรับแขกนี้จะเป็นการปิดช่องว่างรอยโหว่ในตัว ทำให้ได้มิตรเพิ่ม เราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ ๒ ประการ ดังนี้
    ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำดื่ม เลี้ยงดูอย่างดี ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ฯลฯ
    ๒.ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม เช่น สนทนาธรรมกัน แนะนำธรรมะให้แก่กัน ฯลฯ

    นอกจากตัวเราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการต้อนรับแขกแล้ว แม้คนในบ้านก็ต้องฝึกให้ต้อนรับแขกเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นจะพลาดไปเช่น ข้าราชการผู้ใหญ่บางคนตัวเองต้อนรับแขกได้ดีเยี่ยมเลย แต่ไม่ได้ฝึกคนในบ้านไว้ เวลาตนไม่อยู่มีแขกมาหาที่บ้าน เด็กและคนรับใช้พูดจากับเขาไม่ดี ทำให้เขาผูกใจเจ็บ คิดหาทางแก้แค้น หาทางโจมตีเอา จนต้องเสียผู้เสียคนก็มากต่อมาก โดยที่ตนก็ไม่รู้สาเหตุว่าเขาเป็นศัตรูเพราะอะไร
    เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคน สิ่งของ เหตุการณ์ การงานในโลกนี้ มีหลายแสนหลายล้านอย่าง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราสนใจอย่างจริงจัง ๗ อย่าง ดังนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง ๗ ประการนี้มีความสำคัญเพียงใดโปรดคิดดู
    สิ่งที่ควรเคารพทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง เมื่อเราสามารถตรองจนตระหนักถึงคุณของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่งทั้ง ๗ ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรองถึงความดีของสิ่งอื่นๆ ได้ ชัดเจนและละเอียดลึกซึ้งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริงและทำได้จริงผู้หนึ่ง
    เมื่อฝึกตนเองให้มากด้วยความเคารพแล้ว ในไม่ช้านิสัยชอบจับผิดผู้อื่น ก็จะค่อยๆ หายไป เจอใครก็จะคอยมองแต่คุณความดีของเขา ต่อไปความชั่วทั้งหลายเราก็จะนึกไม่ออก นึกออกแต่ความดีและวิธีทำความดีเท่านั้น ตัวเราก็จะกลายเป็นที่รวมแห่งความดีเหมือนทะเลเป็นที่รวมของน้ำฉะนั้น
    การแสดงความเคารพ
    การแสดงความเคารพ คือ การแสดงความตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เราเคารพด้วยใจจริงให้ปรากฏชัดแก่บุคคลทั่วไป ด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา มีอยู่หลายวิธี เช่นหลีกทางให้ ลุกขึ้นยืนต้อนรับการให้ที่นั่งแก่ท่าน การประนมมือเวลาพูดกับท่าน การกราบ การไหว้ การขออนุญาตก่อนทำกิจต่างๆ การวันทยาวุธ การวันทยาหัตถ์ การยิงสลุด การลดธง ฯลฯ
    การแสดงความเคารพที่ถูกต้องตามหลักธรรม หมายถึง การแสดงออกเพราะตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เคารพด้วยใจจริง นักเรียนที่คำนับครูเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกตัดคะแนนความประพฤติ ทหารที่ทำวันทยาหัตถ์ผู้บังคับบัญชาเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นความเคารพ เป็นแต่เพียงวินัยอย่างหนึ่งเท่านั้น
    ข้อเตือนใจ
    ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเคารพคือ การตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น ซึ่งผู้ที่จะตระหนักในความดีของคนอื่นสิ่งอื่นได้ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อน คือ มีปัญญา ความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร
    และเมื่อเราแสดงความเคารพออกไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรู้ทันทีว่า “อ้อ คนนี้เขามีคุณธรรมสูง มีความเคารพและมีแววปัญญา” เขาก็เกิดความตระหนักในความดีของเราและแสดงกิริยาเคารพต่อเราที่เรียกว่ารับเคารพ
    แต่ถ้าผู้ใด เมื่อมีคนมาแสดงความเคารพแล้ว เฉยเสียไม่แสดงความเคารพตอบ ผู้นั้นจัดเป็นคนน่าตำหนิอย่างยิ่ง เพราะการเฉยเสียนั้นเท่ากับบอกให้ชาวโลกรู้ว่า “ตัวข้านี้ แสนจะโง่เง่าหามีปัญญาพอที่จะเห็นคุณความดีในตัวท่านไม่” เท่านั้นเอง
    คนที่ไม่อยากแสดงความเคารพคนอื่น หรือเมินเฉยต่อการเคารพตอบ มักเป็นเพราะเข้าใจว่าการแสดงกิริยาเคารพออกมานั้นนเป็นการลดสง่าราศีของตน แล้วเอาไปเพิ่มให้แก่คนอื่น เลยเกิดเสียดายเกรงว่าตัวเองจะไม่โต หรือเกรงว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่าตัวโต ซึ่งเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง
    อานิสงส์การมีความเคารพ
    ๑.ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ
    ๒.ทำให้ได้รับความสุขกาย สบายใจ
    ๓.ทำให้ผิวพรรณผ่องใส
    ๔.ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย
    ๕.ทำให้สามารถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย
    ๖.ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้
    ๗.ทำให้สติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท
    ๘.ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง
    ๙.ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ
    ๑๐.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย


    <HR color=black SIZE=1>

    ที่มา : www.96rangjai.com/mongkol
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  8. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พี่คมน์ไม่เข้าใจข้อไหนหล่ะ?
     
  9. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    มงคลที่ ๒๒ "การเคารพในบุคคลที่เคารพ"

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 300x250, created 21/07/09 */google_ad_slot = "6922411748";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101122/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 300px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 250px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"></INS>
    คารโว จ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ ท่านกล่าวว่าการเคารพในบุคคลที่เคารพจัดว่าเป็นอุดมมงคล แต่บาลีจริง ๆ ท่านเขียนว่าเคารพเฉย ๆ อันนี้ ก็เห็นจะไม่ยากหรอก ถ้าเรามีผู้บังคับบัญชา เราเจอะหน้าผู้บังคับบัญชาแทนที่จะเคารพด่าส่งเดชเลย ประเดี๋ยวก็ได้ลดเงินเดือน ดีไม่ดีก็ได้ลดยศจากนายร้อยกลับมาเป็นพลเรือนเต็มขั้น แล้วก่อนที่จะมาเป็นพลเรือนก็เข้าตะรางไปก่อนใช่ไหม เจอะพ่อเจอะแม่ เตะส่ง ด่าส่ง เดี๋ยวก็ได้ผล เจอะพระเจ้าแผ่นดินมา เอ้า เอ๊ะ พระเจ้าแผ่นดินนี่คนแค่เรานี่หว่า มีหู มีตา มีขา มีแขนเหมือนเรา เอาด่าส่งเดช อายุเท่า ๆ กัน ประเดี๋ยวก็เข้าตะรงตะรางไป ดีไม่ดีก็ถูกยิงเป้า นี่แสดงถึงความไม่เคารพให้ปรากฏ

    ตานี้ ถ้าเรารู้จักการเคารพ มือ ๑๐ นิ้ว ยกมือไหว้แสดงน้ำใจนอบน้อมแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เป็นเด็กก็ตามเป็นผู้ใหญ่ก็ตาม ช่างมันเราเคารพให้เกียรติแก่คนทุกคน แล้วถามจริง ๆ เถอะ มันจะมีใครเขาเกลียดไหม การเคารพเขาน่ะ การเคารพทำให้เราอดข้าวอดปลา หาที่นอนพักผ่อนไม่ได้รึ มันไม่ใช่ยังงั้นหรอก มันจะกลายเป็นความสุขขึ้นมาน่ะซี คนที่เราเคารพเขา เขาก็ดีใจว่า เอ้อ คนนี้เขาดีนะ ดีไม่ดีเรามียศฐาบรรดาศักดิ์สูงกว่าเขา แต่เห็นว่าเขามีอายุอาวุโสหน่อยก็ให้เกียรติเคารพเขา คนที่ถูกเคารพแหมจะปลื้มใจไปมาก ดีไม่ดียอมตายแทน

    มงคลข้อนี้ขอพูดไม่มาก ให้ไปนึกกันเอาเองก็แล้วกัน ว่าการรู้จักเคารพซึ่งกันและกันน่ะ มีพ่อมีแม่ก็เคารพพ่อเคารพแม่ มีพี่ป้าน้าอาก็เคารพพี่ป้าน้าอาตาลุง มีผู้บังคับบัญชาเราก็เคารพผู้บังคับบัญชา หรือแม้แต่คนที่เขาเด็กกว่า เขาให้คำแนะนำให้การสงเคราะห์เรา ถ้าเราพลั้งเผลอหรือเราขาดอะไรขึ้นมา เราก็ทำความเคารพเขาเพราะว่าเขามีคุณกับเรา อย่างนี้มันจะเป็นคุณหรือเป็นโทษ โลกนี้ทั้งหมด ถ้าทุกคนรู้จักเคารพซึ่งกันและกัน โลกนี้จะมีความสุขหรือความทุกข์ จะเป็นโลกที่ทรงไว้ซึ่งความเจริญหรือโลกที่ทรงไว้ซึ่งความเสื่อม นี่พิจารณาดูนะ ไม่ได้โฆษณาพระพุทธศาสนา แต่ทว่าพระพุทธเจ้าตรัสกับเทวดาไว้อย่างนั้น เมื่อท่านตรัสไว้ ก็เอามาพูดกันให้เข้าใจ แล้วก็ให้ท่านทั้งหลายวินิจฉัยเอาเองด้วยปัญญาชน แต่จงอย่าใช้ปัญญาสั่งกายไปชนกันนะ ตามข่าวที่เขายกทัพตีกัน เดี๋ยวที่โน่นยกทัพตีกับที่นี่ ที่นี่ยกทัพตีกับที่โน่น ไอ้นี่เขาไม่ได้เรียกใช้ปัญญาชนนะ เรียกว่าปัญญาสั่งกายให้เข้าไปชนกัน ไม่เป็นเรื่อง ทีนี้ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลตามกฎของความเป็นจริง

    ได้ยินข่าวอีกนิดหนึ่ง ที่มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งเขาเรียกกันว่าปัญญาชน เขาบอกว่ามีคัมภีร์ ๆ หนึ่งที่เขาถือเป็นสรณะ ว่าพ่อแม่ไม่สำคัญ ครูบาอาจารย์ไม่สำคัญ กษัตริย์ไม่สำคัญ แล้วเขาเห็นว่าใครสำคัญ ? บุคคลประเภทนี้ ท่านเห็นว่าเขาดีหรือเขาเลว อันนี้ไม่วินิจฉัยนะ ถ้าคนทุกคนในโลกแสดงตนเป็นอย่างนี้ โลกนี้จะมีความสุขหรือความทุกข์ ตานี้ ตรงกันข้าม เราเห็นว่าคนทุกคนสำคัญ คนทุกคนที่ทรงไว้ซึ่งความดี เรามีหน้าที่ในการคารวะ เราให้คารวะต่อเขา แล้วเราจะมีความสุขหรือความทุกข์ แล้วถ้าทุกคนต่างทำอย่างนั้น จะมีใครบ้างที่มีความทุกข์ ข้อนี้ ก็ยกประโยชน์ให้แก่บรรดาท่านทั้งหลายผู้อ่านพิจารณาเอา ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสมงคลกับเทวดานี้มันถูกหรือมันผิด

    บุคคลเรา ถ้าจะมีความผิดใจโกรธกัน หรือเป็นศัตรูกันก็เพราะอาศัยการไม่เคารพ ถ้าหากว่าบุคคลแต่ละบุคคล หมายความว่าทั้งโลกต่างคนต่างมีความเคารพซึ่งกันและกัน คำว่าเคารพแปลว่าการยอมรับนับถือ เด็กทรงตัวในความเป็นเด็ก รู้ตัวว่าเด็ก ผู้ใหญ่ทรงตัวในความเป็นผู้ใหญ่ รู้ตัวว่าเป็นผู้ใหญ่ เด็กมีความเคารพผู้ใหญ่ในฐานะที่มีวัยวุฑโฒ คือความเจริญด้วยวัย มีวัยสูงกว่า ผู้ใหญ่ก็เคารพสิทธิของเด็กในฐานะที่เป็นลูกเป็นหลาน หรือว่าเป็นน้อง มีความเคารพมีความรักกันอยู่อย่างนี้เราจะหาความทุกข์ได้ที่ไหน เพราะเป็นปัจจัยสร้างความสามัคคีความรักความกลมเกลียวซึ่งกันและกัน นี่ว่ากันในส่วนของบุคคล ตานี้ว่ากันเฉพาะสถานที่และทรัพย์สิน ถ้าเรามีความเคารพในสิทธิของบุคคลอื่น ว่าทรัพย์สินส่วนนี้เป็นทรัพย์สินของเขา เราไม่ควรที่จะเข้าไปยุ่ง เราก็ไม่เข้าไปแย่ง ไม่เข้าไปคดไปโกง ไม่ทำลายทรัพย์สินเขาให้พินาศไป ด้วยเจตนาร้าย คือระมัดระวังไว้ว่า นี่เป็นทรัพย์สินของเขา เรามีความรักในทรัพย์สินของเราเพียงใด ท่านผู้เป็นเจ้าของก็มีความรักในทรัพย์สินของเขาเพียงนั้นเช่นเดียวกับเรา ถ้าต่างคนต่างมีความเคารพกันอย่างนี้ บรรดาท่านสาธุชนทั้งหลายคงจะใช้ปัญญาพิจารณาได้ว่า ความอื่นใด หมายถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนจากการที่เป็นศัตรูกันมันก็ไม่มี ถ้าเราไม่มีความเป็นศัตรูกันมีแต่ความเป็นมิตร หรือมีแต่จิตรักใคร่ซึ่งกันและกัน ตานี้ การที่องค์สมเด็จพระภควันต์กล่าวว่าการเคารพซึ่งกันและกันเป็นมงคล หวังว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนคงจะใช้ปัญญาพิจารณาเห็นแล้ว นี่ว่าถึงการเคารพในสิทธิและการเคารพในบุคคลซึ่งกันและกัน

    ตานี้ ความเคารพจะมีความสูงขึ้นไปกว่านั้นอีกนิดหนึ่ง คือเคารพในความดีซึ่งกันและกัน ตอนนี้องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงแนะนำไว้ พอเห็นว่าบุคคลใดที่เขามีความดี มีความสุข มีฐานะรุ่งเรือง เราก็ย่อง ๆ ไปดูเขาสักหน่อย พิจารณาไว้สักคน คนนี้ที่เขามีความดีอย่างนี้ ทั้งกายวาจาและจิตของเขาเรียบร้อย น่ารักน่าบูชา นี่เขาทำยังไง และอีกประการหนึ่งความดีส่วนให้คือการทรงอยู่ในความเป็นสุข ที่ครอบครัวนี้เขามีความสุข บุคคลนี้เขามีความสุข นี่เขาทำกันแบบไหน แล้วบ้านนี้เดิมทีเขาก็ไม่มีตระกูลใหญ่โตอะไรเป็นคนมีฐานะพอมีพอใช้ แต่เวลานี้ความเป็นอยู่ของเขารุ่งเรืองเกินกว่าที่เราจะคิด เพราะเขาประกอบกิจการงานด้วยความดี จนฐานะรุ่งเรืองมั่งคั่งสมบูรณ์อย่างคาดไม่ถึง นี่เขาทำความดีอะไรไว้ เขาทำยังไงมันถึงได้ดีแบบนี้ แล้วเราก็เลยไปดูความดีของเขา การประกอบกิจการงานของเขา ว่าที่เขาทำ เขาทำแบบไหน วางโครงการแบบไหนจึงได้รุ่งเรือง เขาทำกันแบบไหน เขาประพฤติแบบไหน กลุ่มนี้เขาจึงมีความสุข แล้วเขาทำแบบไหนปฏิบัติอย่างไร จึงมีจิตใจดี มีวาจาดี มีกายดี เมื่อเราเห็นความดีของเขาใน ๓ สถานแล้ว เราก็เคารพในความดีของเขา ลอกแบบเอามาใช้ อย่างนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญว่าอยู่ในเกณฑ์ของความไม่ประมาทในความดี ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์เอง ท่านทรงเป็นพระอรหันต์พระองค์แรก แล้วต่อมาบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายที่เป็นพระอรหันต์ตาม ก็เพราะมีความเคารพในความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นี่ตัวอย่างที่เราจะพึงมองเห็น ฉะนั้นถ้าหากว่าบรรดาท่านสาธุชนทั้งหลายอ่านไป พิจารณาไป แล้วปฏิบัติไปตามกระแสพระสัทธรรมที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสกับเทวดาในมงคลข้อที่ ๒๒ นี้ว่า คารโวจ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ ซึ่งแปลว่า ความเคารพซึ่งกันและกันเป็นความสุขอย่างสูงสุด ลองเอาของท่านไปคิด ลองเอาของท่านไปปฏิบัติดู ถ้าเห็นว่ากระแสพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระบรมครูใช้ไม่ได้ ก็ถือว่าพระพุทธเจ้าใช้ไม่ได้เหมือนกัน แต่หากว่าทุกท่านทั้งโลกต่างคนต่างปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาข้อนี้แล้วทุกคนก็มีความสุขดี ตามที่พระพุทธเจ้าตรัส ก็ถือว่ากระแสพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ใช้ได้ เอาไปปฏิบัติ นี่สำหรับมงคลข้อนี้ก็ว่าไว้แต่เพียงย่อ ๆ เพียงเท่านี้ เพราะไม่มีอะไรมาก

    ที่มา : http://palungjit.org/threads/มงคล-38-ประการ-หลวงพ่อพระราชพรหมยาน.245848/page-2

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  10. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    มงคลที่ ๓๘ "จิตที่มีความเกษมอยู่"<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->เขมํ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ จิตที่มีความเกษมอยู่ จัดว่าเป็นอุดมมงคล คำว่าเกษมนี่ หมายความว่ามีความสุขตลอดกาล จริง เมื่อจิตมันวางเฉยเป็นสังขารุเปกขาญาณเสียแล้วนี่ หนาวมากก็ไม่รู้ ไม่เอา ร้อนมาก็ไม่เอา ชมก็ไม่เอา ถูกด่าก็ไม่เอา มียศก็ไม่เอา มีลาภก็ไม่เอา เสื่อมยศ เสื่อมลาภก็ช่างมัน คำว่าไม่เอาในที่นี้ก็หมายความว่าจิตไม่ยินดีด้วย

    เขาเอาลาภมาให้ ก็ดีใจ ไม่ใช่ว่าทำเป็นหัวหลักหัวตอ เมื่อเขาเอาเงินเอาทองมาให้ดีใจ ดีใจตรงไหน ดีใจว่าเราจะนำเงินจำนวนนี้ไปสร้างความสุขให้เกิดแก่สาธารณชนทำเงินที่เป็นโลกีย์ให้เป็นโลกุตระ ทำโลกียทรัพย์ให้เป็นอริยทรัพย์ แล้วก็ดีใจที่คนทั้งหลายเขานำเงินมาให้นี่ จิตเขาเป็นกุศล เขาจะพ้นจากความทุกข์ เราก็เอาเงินจำนวนนั้นน่ะแหละ ไปสร้างความสุขให้สูงขึ้น มันสุขตรงไหน ? เอาเงินมาให้แล้วก็มาสร้างโบสถ์ วิหารการเปรียญ แล้วก็บอกนี่เงินของคุณนะ ที่ชาวบ้านเขาเอามาให้นี่น่ะ ชาวบ้านมานั่งอาศัยศาลาบ้าง กินน้ำในบ่อที่ขุดไว้บ้าง สร้างโรงเรียน สร้างศาลา สร้างโบสถ์ สร้างกุฏิ สร้างส่วนสาธารณะอะไรก็ตาม มันเป็นส่วนสาธารณประโยชน์ แล้วก็แจ้งให้เขาทราบว่านี่เป็นเงินของคุณนา เท่านี้แหละใจของเราก็สบาย ใจของเขาก็สบาย ไม่เห็นจะมีอะไรจิตเป็นเกษม ถ้าคนไม่มีโลกธรรมติดแล้ว ก็เหลือแต่โลกุตรธรรมติด

    โลกุตระ แปลว่าหมดอำนาจของโลกที่จะเกาะ อารมณ์ใดที่มีความยุ่ง คือ ตัณหา ความอยาก ไม่มีสำหรับท่านที่มีจิตเป็นเกษม

    ความจริง พระพุทธเจ้าท่านไล่ย่อ ๆ มาทีละน้อย ๆ ในที่อื่นท่านไล่ไว้เพียงแค่แคบ ๆ เพราะเกรงว่าการปฏิบัติจะลำบาก ตอนนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคก็ทรงร่ายยาว ๆ ไว้ ให้ขยับมาทีละหน่อย ๆ จนถึง ๓๘ ประการ องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวไว้ในที่สุดว่า มงคลแต่ละประการนี้ จัดว่าเป็นความดีสูงสุด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าพากันปฏิบัติมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง คำว่าไม่พ่ายแพ้ในที่นี้ ก็หมายความว่า ไม่พ่ายแพ้ต่อกำลังของความชั่ว ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน และข้อนั้นจัดว่าเป็นอุดมมงคล คือมงคลสูงสุดของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นดังนี้แล

    อันนี้ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ตอนท้ายของมงคล ท่านว่ายังงั้นน่ะ ว่าแต่ละประการนี่เป็นมงคลอันสูงสุด คือความดีสูงสุดจริง ๆ เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา สพฺพตฺถโสตฺถี คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมํ ตามบาลีเขาลงติไว้ ไอ้ตินี่แปลว่า ดังนี้นี่ พระองค์ทรงรับรองว่า แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    ถ้าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายพากันปฏิบัติมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน ข้อนั้นจัดเป็นมงคลสูงสุดของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ดังนี้แล

    นี่ เป็นอันว่าจบมงคล บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้อ่าน อาตมาภาพผู้กล่าวหรือว่าเรียงมงคลนี้ บางทีก็เป็นไปตามภาษาที่เรียบร้อยบ้าง ไม่เรียบร้อยบ้าง ก็เป็นจริยาของคนจะเอาความดีหรือเรียบร้อยเหมือนสมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ แต่ว่าเห็นด้วยกับสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ หากว่าท่านทั้งหลายนำไปประพฤติปฏิบัติได้ครบถ้วนทั้ง ๓๘ ประการ เป็นอันว่าพวกท่านหยุดทุกข์จริง ๆ แต่ทว่าหากว่าบรรดาพุทธบริษัทชายและหญิงทั้งหลาย ยังมีกำลังจิตใจอ่อนอยู่ก็นำมงคลของสมเด็จพระบรมครูในข้อต้น ๆ มาปฏิบัติตามลำดับเป็นขั้น ๆ อย่ารีบอย่าลัดนัก จะลำบากใจ ทำได้ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ก็ตามใจ ความสุขจะมีขึ้นมาโดยลำดับ

    เอาละ สำหรับการพูดถึงมงคล ๓๘ ประการ ตามความต้องการของบรรดาท่านพุทธบริษัทบางท่านที่ส่งเรื่องมา ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่ท่านพุทธศาสนิกชน ผู้อ่านมงคลนี้ทุกท่าน สวัสดี

    ที่มา : http://palungjit.org/threads/มงคล-38-ประการ-หลวงพ่อพระราชพรหมยาน.245848/page-2
     
  11. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    อ๋อ...ไม่เข้าใจตรงที่ฟังหลวงพ่อนี่เอง
    ก็น่าจะเข้าใจเรื่องเคารพนี่นา (เอามารวมกันจะได้ไม่เปลื้องพื้นที่ครับ)
    ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับว่า หลวงพ่อยังบอกให้เคารพพระพุทธรูปเลย ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ?
    ถามเหมือนกวน แต่ถามเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
    เรื่องการเคารพ ก็ไม่เห็นมีอะไรพิเศษเลยนี่น๊า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  12. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ...เอาเงินมาให้แล้วก็มาสร้างโบสถ์ วิหารการเปรียญ แล้วก็บอกนี่เงินของคุณนะ ที่ชาวบ้านเขาเอามาให้นี่น่ะ ชาวบ้านมานั่งอาศัยศาลาบ้าง กินน้ำในบ่อที่ขุดไว้บ้าง สร้างโรงเรียน สร้างศาลา สร้างโบสถ์ สร้างกุฏิ สร้างส่วนสาธารณะอะไรก็ตาม มันเป็นส่วนสาธารณประโยชน์ แล้วก็แจ้งให้เขาทราบว่านี่เป็นเงินของคุณนา.....

    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรี และกุมารี.
    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสี และทาส.
    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.
    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่ เละสุกร.
    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา และที่ดิน.
    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และ การรับใช้.
    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.
    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม
    และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบ-
    ตะแลง.
    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การ
    ปล้น และกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    จบจุลศีล
    เล่ม ๑๑ หน้า ๓๑๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book11/301_350.htm

    ทูตกรรม คือ ทำตัวเป็นทูต
    พระไม่ใช่ผู้รับใช้ใคร
    เพิ่มให้ชัดเจน พระไม่ใช่ผู้ที่จะรับใช้สร้างศาลาบ่อน้ำ ที่อยู่อาศัยให้โยม มีแต่โยมต้องสร้างให้พระ รับใช้พระ
    เพิ่มอีกครั้ง ให้รู้จักนะ ถ้าพระรักษาศีลดีโยมที่รับใช้ย่อมได้บุญมากกกกกกกกกกกกกกกก แต่ถ้าพระมารับใช้โยมพระเป็นอาบัติ โยมก็ได้บาปมากกกกกกกกกกกกกกก เหมือนกัน

    วันนี้เลยไม่ได้ตอบขอคุณพี่โจนี่เลย


    ...เท่านี้แหละใจของเราก็สบาย ใจของเขาก็สบาย ไม่เห็นจะมีอะไรจิตเป็นเกษม ถ้าคนไม่มีโลกธรรมติดแล้ว ก็เหลือแต่โลกุตรธรรมติด...

    ไปดูที่กระทู้ของคุณสันต์ หน้า ๖ ที่หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา
    (เพราะคุณสันต์ยกมาให้อ่านแล้ว)
    ที่เรื่อง พระอรหันต์ที่ศึกษาน้อย...ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบาปมาก


    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และ ผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  13. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ...ถ้าต้องลงนรกก็คงไม่เป็นไรครับ..
    อาจารย์ดับผ่านไปแล้วแต่ลูกศิษย์ตกนรกมันดีตรงไหน
    ถ้าเคยปราถนาว่าจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา แล้วตอนนี้อาจารย์ไปโดยดี ไม่ทุกข์อีกต่อไป แล้วลูกศิษย์ยังจะมัวย่ำนรกเล่นอยู่ทำไม?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  14. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำ มีน้ำเต็ม ไม่แสวงหาหนองน้ำ ฉันใด.
    เมื่อหนองน้ำคืออมตะ สำหรับชำระล้างมลทิน
    คือกิเลส มีอยู่
    แต่คนไม่แสวงหนองน้ำ ก็ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำ
    คืออมตะก็ฉันนั้น.
    บุรุษถูกศัตรูทั้งหลายล้อมรอบ เมื่อทางไปมีอยู่
    บุรุษนั้นไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
    บุรุษถูกกิเลสรุมล้อม เมื่อทางอันรุ่งเรืองมีอยู่ เขาไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันรุ่งเรื่อง ก็ฉันนั้น.

    บุรุษเจ็บป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอ เยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ

    เล่ม ๗๓ หน้า ๒๕๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book73/251_300.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  15. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ผู้เคารพย่อมไม่เหยียบย่ำ ทำลาย
    พระพุทธรูปทำมาจากทองเหลือง
    เรื่องเปลืองพื้นที่นั้น ถ้ามองในมุมเปลืองพื้นที่ นายไม่น่ามาตั้งกระทู้ใหม่นะ
    แต่น่าจะตั้งในกระทู้อีกอันที่เคยมีคนโพสต์ไว้แล้ว

    ผมไม่ได้กวน เพราะไม่มีเหตุต้องกวน แต่โพสต์เพื่อให้นายอ่านแล้วเข้าใจ
    เพราะสิ่งที่นายโพสต์เป็น link นั้น คนทั่วไปอ่านแล้ว ไม่เข้าใจครับ

    โมทนา
     
  16. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    นายยังไม่เข้าใจที่ผมบอกว่า พระรับเงิน แต่ใจไม่ติดกับเงิน

    ในเมื่อนายไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะต่างคนต่างความคิด

    ถ้านายบอกว่า อาจารย์ไปดีนั้น หมายถึงอาจารย์ที่ผมนับถือละก็

    การทำในสิ่งที่อาจารย์สอน ก็ไม่ลงนรกหรอกครับ

    เพราะอาจารย์ก็ทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน

    โมทนา
     
  17. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>มิจฉาทิฏฐิสูตร</CENTER><CENTER></CENTER>[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ฯ
    </PRE>

    ที่มา : www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3842&Z=3899&pagebreak=1
    </PRE>
     
  18. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    การเสพเมถุนนั้น การจะละเมิดนั้น ต้องครบทั้ง กาย วาจา และใจ ครับ
    ดังนั้น พระที่ถูกปรับปาราชิกนั้น "ใจ" ต้องใหญ่กว่ากาย เพราะบังคับกายและวาจาให้ทำ
    ส่วนการเสพเมถุน "ในฝัน" พระพุทธเจ้าไม่ปรับปาราชิกนะครับ


    เรื่องรับเงินนั้น ผมบอกไปแล้วว่า ถ้าพระมาเรี่ยไรเงิน ผมไม่เห็นด้วย
    แต่ถ้าญาติโยมตั้งใจถวาย พระรับเงิน เพื่อเจริญศรัทธา ผมเห็นว่าไม่ผิดหรอกครับ

    ถ้าญาติโยมถวายเป็นของ ของนั้นก็เป็นทรัพย์ ย่อมมีมูลค่า
    ถ้าเอาไปแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ก็สามารถทำได้
    ดังนั้น ก็เท่ากับพระรับเงินนั่นแหละครับ เพียงแต่เปลี่ยนเป็นของ

    ดังนั้น ผมจึงบอกว่า พระที่ดี แม้จะรับเงิน แต่ใจมิได้ติดหรือยินดีกับเงิน

    ส่วนพระที่ไม่ดี ไปรับเงินและยินดีกับเงิน หรือ ไปเรี่ยไรเงินเอง
    แบบนี้ ผมเห็นด้วยกับคุณว่า ไม่ควรสนับสนุนครับ

    คุณต้องแยกให้ออก ไม่ใช่ว่า เหมารวมทั้งหมดนะครับ

    ผมจะไม่ตอบกระทู้นี้สัก เพราะต้องเคลียร์งาน และเตรียมตัวบวช

    แต่อยากให้คุณพิจารณาสักนิดว่า

    ธรรมะ คือ ธรรมชาติ หรือ สัจธรรม

    ทุก ๆ สิ่ง ย่อมมีมูลค่าหรือคุณค่าในตัวเอง

    ดังนั้น ธรรมที่น้องต้องการเผยแพร่ ต้องเอาไปคิดพิจารณาให้ลึกซึ้งด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่ครับ

    โมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  19. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ..ถ้ามองในมุมเปลืองพื้นที่ นายไม่น่ามาตั้งกระทู้ใหม่นะ
    แต่น่าจะตั้งในกระทู้อีกอันที่เคยมีคนโพสต์ไว้แล้ว...

    ใช่ไม่ควรเลยเพราะพระไม่ชอบเยอะ มันขวางพระที่หาเงินเลยไม่ควร
    ในเวลานี้ พระทำขวางธรรมวินัยเยอะ เมื่อเปิดธรรมวินัยออกมาส่วนใหญ่เลยไม่ชอบครับ
    ไม่ว่ากัน เพราะจะด่าจะชม พระพุทธเจ้าก็สอนไว้แล้ว
    ผมเป็นคนงานของพุทธะเลยมีหน้าที่ดันทาง ซ่อมแซมทาง ก็ต้องทำไปเพราะ มันเป็นหน้าที่ของชาวพุทธครับ แม้ชาวพุทธอื่นๆก็ต้องทำหน้าที่นี่เช่นกัน หากปราถนาจะค้ำชูศาสนาไว้

    ดูก่อนกัสสป ข้อนั้นเป็น
    อย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบท
    จึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูป(การเปลี่ยนคำสอน เช่น รับเงินไม่ได้ว่ารับเงินได้)
    ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และ
    สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป
    ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่
    หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด
    พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบ
    นั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด
    เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.
    [๕๓๓] ดูก่อนกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่
    ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
    ที่แท้โมฆบุรุษ (บุคลไร้แก่นสาร เป็นที่พึ่งไม่ได้)ในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
    เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหน(ผู้บังคับเรือ)เท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่
    เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.
    [๕๓๔] ดูก่อนกัสสป เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็น
    ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ
    ฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ใน
    พระสงฆ์ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้แล
    ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือนเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
    [๕๓๕] ดูก่อนกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไป
    พร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัย
    นี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑
    ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม
    เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
    เล่ม ๒๖ หน้า ๖๓๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book26/601_650.htm


    ..อาจารย์ที่ผมนับถือละก็
    การทำในสิ่งที่อาจารย์สอน ก็ไม่ลงนรกหรอกครับ...

    ทำความเข้าใจให้ดีนะครับ
    พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีจิตใจไปเกิดในที่ไหนๆอีกแล้ว
    แต่...ผู้ไปยินต่อการกระทำผิดของพระอรหันต์โดยรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ผู้ยังไม่ใฃ่พระอรหันต์ยังจะต้องเกิดอีก ไปยินดีที่พระอรหันต์ทำผิดแม้ไม่รู้ ก็ได้รับบาปด้วยเหมือนกัน
    อรหันต์ แปลว่าหยุดหมุนไปตามโลภ โกรธ หลง แต่คนที่โลภ โกรธ หลง จะเข้าใจว่าทำแบบพระอรหันต์แล้วไม่ตกนรก คิดตนไม่มีนรกรองรับไม่ได้ เพราะยังละไม่ได้ จึงยังต้องหมุนไปตามมันแม้จะปราถนาหรอไม่ก็ตาม


    ไปทำงานก่อนข้ออื่นๆจะมาตอบให้ครับ สวัสดีครับ

    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  20. THEFOOL23

    THEFOOL23 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +136

แชร์หน้านี้

Loading...