เตือนพระหาเงิน ผิดทั้งวินัย ผิดทั้งกฏหมาย!

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย THODSAPOL SETTAKASIKIT, 28 พฤศจิกายน 2010.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    พระที่เป็นเจ้าของรถยนต์นำรถไปชนต้นไม้ บอกว่าที่จำเป็นต้องใช้รถเพราะต้องเดินทางบ่อย ๆ บอกว่าต้องเสียค่าซ่อม 3 หมื่นบาท ผมช่วยไป 1 หมื่นบาท ทันทีที่พระได้รับเงิน 1 หมื่น เรียกให้ผมไปหาเงินมาเพิ่มอีก 2 หมื่นด้วยวิธีการอันหนึ่ง ซึ่งผมปฏิเสธเพราะผมไม่ได้ติดหนี้ท่านตรงนั้น จากนั้นพระรูปนั้นแสดงอาการอกัตตญูออกมาทันที ไม่รับสาย ไม่โทรมา ไม่ขอบคุณ และแถมแทงข้างหลังตลอด ต่อมาพระรูปนั้นบอกบุญในกระทู้ให้วัดอื่น ๆ แล้วทำท่าว่าต้องการค่าแรงเขียนบอกบุญกระทู้นั้น 2 หมื่นบาท ทางวัดนั้นให้เงิน 2 หมื่นไป พระที่แบ่งเงินทำบุญของวัดนั้นไปเป็นค่าเหนื่อยผิดหรือไม่ ? เพราะพระวัดที่แบ่งเงินให้ยังบอกผมว่า ไม่รู้ชนจริงหรือไม่ ทั้งที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน อู่ซ่อมรถก็อยู่หมู่บ้านเดียวกัน หากรู้ว่าซ่อมรถจริง พระวัดเจ้าของเงินน่าจะบอกว่าชนจริง ถูกต้องไหมครับ ? แล้วก็พระที่รับเงินไปด้วยการกดดันทางวัดนั้นผิดหรือไม่ ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2011
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ที่ถามท่าน จขกท. เพราะผมเห็นว่า กว่าจะถึงคิวเรื่องใกล้เคียงกับกรณีนี้ คงรอนาน เอาเป็นว่าถามเลยจะดีกว่า การถามนี้ไม่ได้เป็นการเอาเรื่องใคร เป็นการเผื่อว่าหากพระท่านยังไม่ได้ผิดอะไรมากกว่านี้ ท่านจะได้กลับตัวทัน เพราะห่วงว่า หากผิดเกินนี้ไปมาก ๆ จะกลายเป็นปาราชิกไป คนรู้จักกันควรเตือนสติกันใช่ไหมครับ ? ควรส่องกระจกให้เห็น ดีกว่าจะพูดว่า " ตอนนั้นทำไมไม่บอก "
     
  3. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    น่าเศร้ามาก ถ้าเรื่องที่คุณโยมเล่ามาเป็นเรื่องจริง
    อยากเเนะนำให้เอาผิด(หักหัวคิว)ผิดมากกว่าปาราชิกอีก
    อาตมาภาพอยากเเนะนำดังนี้ 1รวบรวมหลักฐานที่มีอยู่เช่นใบโอนเงิน
    2อัดเทปหรือคลิบไว้เป็นหลักฐาน3นำเรื่องไปที่พระผุ้ใหญ่ในเขตนั้นๆ
    ถ้าไม่ได้ผลให้ไปร้องเรียนที่เจ้าคณะอำเภอ เเละจังหวัดเเละเจ้าคณะภาคต่อไป
    สุดท้ายถ้าไม่ได้ผลก็ปล่อยไปตามกรรม ให้บาปบุญลงโทษ เพราะไม่ว่าพระหรือโยม
    ถ้าหลอกลวงชาวบ้านไปวันๆไม่นานกรรมมันจะตามทันในชาตินี้ อย่างเเน่นอน
    รับคำเเนะนำเพิ่มเติมได้ที่ พระจิรวัฒน์ ญาณวโร
    โทร 0860152130
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2011
  4. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ก็พระคุณเจ้าตัดสินตัวพระคุณเจ้าเองไปแล้วไปไม่ใช่หรือครับ
    ก็พระคุณเจ้าบอกไม่ให้เชื่อตำรา และ ให้ดูยุคสมัยบ้าง
    เพราะในพระไตรปิฎกนั้น มีคำว่าภิกษุอยู่ และคำว่าอกาลิโกหรือแปลว่าไม่จำกัดกาลอยู่ ถ้าไม่เชื่อตำรา ก็ไม่ต้องมีภิกษุแล้วสิครับ ในพระไตรปิฎกมีคำว่าภิกษุ เมื่อไม่เชื่อตำรา ก็ต้องไม่มีภิกษุแล้ว ท่านก็ไม่ใช่ภิกษุแล้วสิครับ ถูกไหมครับ แล้วโยมไปตัดสินตรงไหน ก็พระคุณเจ้าตัดสินตัวพระคุณเจ้าเองไปแล้วนี่ครับ ยุคมันเปลี่ยนไปแล้ว ต้องดูยุคสมัย อย่าไปเชื่อตำรา เช่นนั้นภิกษุก็สูญหายไปแล้ว เพราะธรรมวินัยนี้ไม่เข้ากับยุคนี้ ภิกษุในยุคนี้จึงไม่มี เพราะภิกษุมีแดนเกิดคือธรรมวินัย อันเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เมื่อธรรมวินัยไม่เข้ากับยุคนี้ ยุคนี้ก็ไม่เข้ากันกับคำว่าภิกษุ แล้วพระคุณเจ้าจะมาลวงคนอื่นอยู่ทำไม ว่าเป็นภิกษุ จริงไหมครับ จึงว่าควรสึกได้แล้วครับ

    แต่ผมยังยึดมั่นอยู่ว่ายุคนี้มีภิกษุผู้ทรงศีลอยู่
    และยังยึดมั่นตามพระไตรปิฎกอยู่ ว่าทำบุญกับผู้ทรงศีลได้ผลไพบูลย์แน่นอน ยังไม่ละทิ้ง และยังยึดมั่นว่าถ้าภิกษุทุศีลแก้ไขกลับมารักษาศีลแล้ว หากทำบุญด้วยย่อมมีผลไพบูลย์เพราะแก้ไขมารักษาศีลแล้ว จึงยังยึดมั่น ถือมั่นอยู่ครับ
    เพราะคำว่าไม่ถือมั่นแล้ว ธรรมข้อนี้สมควรแก่ผู้เป็นอรหันต์
    ผู้ละแล้วในเครื่องความเศร้าหมองแห่งจิตใจ
    ไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่ครับ

    แล้วถ้าพระคุณเจ้าไม่ศึกษาตำรา แล้วพระคุณเจ้าจะเอาความรู้ที่ถูกต้องว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลครับ จะมีที่เทียบที่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าอย่าเชื่อตำรา
    แล้วพระคุณเจ้าเชื่ออะไร?
    -------------------------------------------------------
    ทศพล ๑ ถาม ทศพล ๒
    แล้วจะไม่ตอบผู้ที่ถามด้วยต้องการความรู้ไปแก้ไขบางหรือ?
    ทศพล ๒ ตอบ
    ก็รู้ไม่ใช่หรือ? ว่าการตอบผู้ไม่เปิดชื่อนั้นมันมีอันตรายอยู่
    ทศพล ๑ ตอบ ทศพล ๒
    ใช่ก็รู้อยู่ไม่กล่าวว่าไม่รู้

    ทศพล ๒ ถามทศพล ๑
    และอีกอย่างเราก็ไม่ใช่ผู้สมควรแก่ปัญหานี้ไม่ใช่หรือ?

    ทศพล ๑ ตอบทศพล ๒
    ใช่แล้ว เพราะเหตุที่ยังไม่เฉียบขาดในธรรมวินัย เพราะเหตุแห่งความที่ยังเป็นศิษย์ผู้อยู่ปลายๆแถว จึงไม่สมควรในปัญหานี้ เพราะยังมีผู้ตอบได้ชัดเจนเด็ดขาดแน่นอน กว่านี้อยู่ จึงควรที่จะเข้าไปถามไถ่ถึงทางแก้ไขกับภิกษุคณะนั้น เพราะประโยชน์แก่ผู้ต้องการจะแก้ไขนั้นเอง
     
  5. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ...มุนี (นักบวช) ไม่ละกาม ย่อมเข้าไม่ถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น
    เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งโปรยโทษดุจธุลี ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง

    ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า
    หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด

    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติ ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น...
    เล่ม ๒๔ หน้า ๓๓๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book24/301_350.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  6. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    มิใช่ว่าเราไม่ได้เคารพในพระธรรมวินัย
    แต่สิ่งใดเราพอจะรักษาได้ เราก็รักษา รักษาได้ยาก ก็ผ่อนผัน
    ตึงไปปรับให้พอดี ไม่อย่างนั้นพิณสามสายจะมีไปทำไม?
    มิใช่ว่าจะเอาแต่สบายโดยเพิกเฉยต่อธรรมวินัย
    แต่เพราะสภาพไม่เอื้ออำนวย เราพึงรักษาเฉพาะที่เรารักษาได้
    และปลงอาบิติตามพระวินัยไปตามนั้น

    มิใช่ว่าเรามิได้ศึกษาจากตำรา และไม่เคารพในตำรา
    ตำราเป็นแบบแผน แต่เรามองปัจจุบัน+ความเป็นไปได้
    มากกว่าการที่จะยึดถือจน "ตายตัวเกินไป"
    ยืดหยุ่นบ้าง แต่ไม่ใช่ให้มันสบายจนเกินไป

    บิดามารดาแห่งเรามีการมีงานทำ ย่อมไม่ว่างเป็นไวยาวัจจกรแห่งเรา
    น้องชายอีก ๒ คนเองก็เรียนและทำงาน ย่อมไม่ว่างเป็นไวยาวัจจรแห่งเรา
    โยมเพื่อนฆราวาสที่รู้จักทำงานกันทั้งสิ้น ย่อมไม่ว่างเป็นไวยาวัจจกรแห่งเรา
    บุคคลอันเราไม่รู้จัก เราจักไว้ใจเธอได้เช่นไร?
    เธอลองบอกให้คนแปลกหน้ามาบริหารจัดการรายได้ของเธอบ้างสิ?
    เธอพอใจหรือไม่?

    เรายังต้องเรียน มาก็มาตัวคนเดียว มิได้มีพรรคพวกมาด้วย
    เราพิจารณาดูแล้วใช้เพียงเพื่อจำเป็น
    เพื่อค่าเล่าเรียน ค่าตำราเรียน ค่าการศึกษา ค่าอุปกรณ์การเรียน
    ค่าไฟ ฯลฯ

    เรารู้ว่ามันเป็นสิ่งสมมุติไว้ใช้แลกเปลี่ยนเท่านั้น
    มิได้มีความมั่นหมายใด ๆ ที่สำคัญเลย
    เพราะมันก็แค่ "กระดาษสมมุติ" เท่านั้น

    อีกอย่างหนึ่ง มันน่าแปลก รู้สึกแปลกใจเอามาก ๆ

    การสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในพระทองเหลือง
    แต่กลับไปยึดมั่นถือมั่นในกระดาษสมมุติ?
    อย่าขัดแย้งกันเองสิ

    ถ้าบอกว่าพระทองเหลืองก็แค่ก้อนดิน กระดาษสมมุติจะต่างอะไรจากก้อนดินเล่า?
    เธอเองก็ควรเข้าใจด้วยว่า อย่าขัดแย้งในตัวเอง
    อย่าสอนขัดแย้งกัน

    ตัวอย่างที่อัคคิเวสสนะ (ทีฆนขปริพาชก)กราบทูลทิฏฐิของท่านว่า
    "ท่านพระโคดม ความ จริงข้าพเจ้ามีปรกติกล่าวอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา."
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
    "อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน."

    ท่านอัคคิเวสสนะ ไม่พอใจสิ่งทั้งปวง แต่กลับลืมไปว่าความเห็นของตนเองก็ไม่ควรพอใจด้วย เพราะนั่นก็นับเข้าในคำว่า "สิ่งทั้งปวงด้วยเช่นกัน"

    แน่นอน ที่เธอกล่าวย่อมขัดแย้งกันเอง

    และที่เธอกล่าวว่า ยังยึดมั่นว่ายังมียุคนี้มีภิกษุผู้ทรงศีลอยู
    แม้จะไม่ยึดมั่น ยุคนี้ก็ยังมีมีภิกษุผู้ทรงศีลอยู
    ผู้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดบ้างก็มี
    ผู้ปฏิบัติตามความเหมาะสมต่อกาลบ้างก็มี
    ผู้ไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัยบ้างก็มี

    เราเองก็มิได้คาดหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากใคร ๆ ทั้งหลายหรอกนะ
    คาดหวังไปก็เท่านั้น เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นได้อย่างใจเรา

    เราประพฤติเพียงพอต่อกาลโดยไม่ได้ทำให้ชาวบ้านหรือคณะสงฆ์เดือดร้อนก็พอแล้ว


    เราคงกล่าวไว้เพียงเท่านี้.........

    "และตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ตราบนั้นโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์"

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  7. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พระคุณเจ้ายังเชื่อพระไตรปิฎกไหมครับ?
     
  8. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    เรายังมิเชื่อ ตามหลักกาลามสูตร
    จักเชื่อก็ต่อเมื่อ ปฏิบัติตาม แล้วเห็นผล
    หรือเมื่อตรึกตรองตาม ส่งใจไปตามกระแส
    แล้วเห็นตามจริง จักเชื่อ

    สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเคยตรัสสอนท่านพระสารีบุตร
    แล้วถามท่านว่า เชื่อมั้ยที่พระองค์ตรัส
    ท่านพระสารีบุตรบอกว่า ยังไม่เชื่อพระเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า ดีละ
    (จำไม่ได้ว่าพระสูตรไหน แต่เคยอ่านผ่าน ๆ ตา)

    ตามหลักของกาลามสูตรนะ
    อย่าเพิ่งเชื่อ ดูก่อน ดูกร
    พิจารณาตามก่อน

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  9. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    สูตรนี้ เพราะพระสารีบุตรชัดๆแล้วครับ จึงไม่เชื่อ
    แต่พระคุณเจ้าชัดๆหรือยังครับ จึงไม่เชื่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2011
  10. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    เหตุว่ายังไม่เชื่อ เพราะต้องปฏิบัติ หรือพิจารณาก่อน
    ปฏิบัติแล้ว พิจารณาแล้ว เห็นตามจริงแล้ว จึงเชื่อได้

    ด้วยเหตุที่เธอถาม เราจักไม่ตอบ
    ด้วยธรรมวินัยที่เรายังพอรักษา
    จักไม่เป็นการดีหากเราล่วงสิกขาบทเพิ่ม
    ด้วยการบอกสิ่งที่ไม่ควรแก่อนุสัมปัน

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  11. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    แต่โยมชัดๆโดยไม่ต้องเชื่อเลยครับ ว่าพระคุณเจ้าเชื่อพระไตรปิฎก
    ถ้าพระคุณเจ้าไม่เชื่อพระไตรปิฎก พระคุณเจ้าจะไม่ยกออกมาครับ
    จะงัดด้วยคำตนเองอย่างเดียวเท่านั้น
    เพราะฉะนั้นหากพระคุณเจ้ายังเชื่อในธรรมวินัย
    ควรที่จะหลีกเลี่ยงไปหรือไม่ คิดดูนะครับ

    เล่ม ๒๓ หน้า ๒๕ บรรทัด ๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book23/001_050.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  12. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ถ้าพระคุณเจ้าประพฤติได้ตามธรรมวินัย
    ธรรมวินัยที่พระคุณเจ้ารักษานั้นแหล่ะจะรักษาพระคุณเจ้าไว้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
    แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ
    รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
    ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ
    อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
    ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    เล่ม ๓หน้า ๙๓๙
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/901_950.htm

    เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ
    อยู่เถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ(ที่พึ่งอาศัย,ที่ประพฤติตาม) อย่ามี
    สิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
    เล่ม ๑๓ หน้า ๒๗๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book13/251_300.htm

    เพราะบุคคลอาศัยคนอื่น ไม่สามารถเพื่อจะมีสวรรค์หรือมรรคเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้, ฉะนั้นตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน, คนอื่นจะทำอะไรได้
    http://www.dhammahome.com/front/webb...w.php?id=11646
    เล่ม ๔๒ หน้า ๒๐๘
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/

    ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรม
    บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
    นี้เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้
    ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
    [๑๔๒๑] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละ-
    บุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่
    ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของ
    เรายังมีความสุข.
    เล่ม ๕๙ หน้า ๘๘๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book59/851_900.htm

    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป
    --------------------------
    ชาวพุทธควรเตือนกันหรือควรปล่อยให้เป็นไป ตัวใครตัวมัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  13. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    ไอ้เดรัจฉานที่เวปสามแยกไม่มีคนฟังหรืออย่างไรถึงได้โผล่มาอีกบอกแล้วไงลัทธิระยำแบบนี้ไม่มีใครเขาเอาด้วยจะมีก็แต่พวกเดรัจฉานเท่านั้น ถามจริงๆเถอะว่าผู้ให้กำเนิดไม่ได้สอนภาษาคนหรืออย่างไร เวปนี้เขาการาบไหว้พระพุทธรูปกัน แสดงว่าไม่มีใครเขาเข้าลัทธิระยำนี่ถึงได้ต้องมาเผยแพร่ที่นี่ แค่นี้มมันก็บอกแล้วว่าลัทธิที่พวกเดรัจฉานไม่เกรงกลัวต่อบาปอย่างพวกมรึงไม่มีใครสนใจ ต้องให้ว่าให้ด่าด้วยคำพูดที่หยาบกว่านี้หรือถึงจะเข้าใจว่าเขาไม่ต้องการและต้อนรับ อย่าคิดเอาพระไตรปิฏกมาบิดเบือนแอบอ้าง พูดดีๆก็ไม่ฟัง อาศัยพระไตรปิฏกบิดเบือนแล้วยังไม่พอยังมา อาศัยเวปนี้เป็นเครื่องมือเผยแพร่ฝากบอกเจ้าลัทธิพวกมรึงด้วยนะว่า อย่าทำตัวเป็นพวกหน้าตัวเมียมากนัก เวปมรึงก็มีก็ไปเผยแพร่ใครสนใจเขาก็เข้าไปเอง สงสัยพรวกมรึงนี่เกิดจากน้ำอสุจิหมาแน่ๆ ถึงได้ฟังอะไรไม่รู้เรื่อง
     
  14. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    เธอเข้าใจกาลามสูตร ก็จักเข้าใจคำว่า "อย่าเชื่อตามตำรา" เองได้
    ถ้างัดด้วยคำตนอย่างเดียว นั่นหมายว่า อัตตาและทิฏฐิสูง
    จักเกิดประโยชน์อันใด?

    รู้จัก สีลัพพตปรามาส มั้ย?

    จักเอาสังโยชน์ไปทำประโยชน์อันใด?

    สุดท้ายเรามีคำถามด้วยภาพ
    เธอเห็นสิ่งใดในภาพดังต่อไปนี้บ้าง?

    [​IMG]

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ยังรอคำตอบจาก จขกท. อยู่ครับ พระที่หลอกลวงชาวโลกนั้นก็ยังอยู่ในเวปพลังจิต ยังบอกบุญหน้าด้าน ๆ อยู่
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  17. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    ถูกต้องแล้วครับบบบบบบบบบบบบบ
     
  18. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    เขาเพียงอยากจะสั่งสมบรามีทานจากท่านผู้ใจบุญเท่านั้น อย่าคิดมาก อย่าคิดมาก
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอะอะก็ไปเพ่งโทษพระ

    เราไปมีความเชื่อว่า ถวายทรัพย์ แล้วจะได้ทรัพย์กลับมาอะไรทำนองนั้นรึเปล่าล่ะ

    ถ้าไม่สบายใจก็ไม่ต้องไปถวายท่าน

    ถวายเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ก็ได้

    ถ้าอยากทำบุญ มีอีกตั้งหลายวิธีให้ทำ

    ทำบุญอย่าไปมักง่าย บุญไม่ได้ไปนับกันที่จำนวน หรือปริมาณทรัพย์

    เสาะหาเนื้อนาบุญมามากแล้ว ให้ทำตัวเป็นเนื้อนาบุญเองบ้างสิ

    ไม่ใช่ถวายไปเรื่อย ไม่รู้ถวายเพื่ออะไร เขาว่าดีก็ดี
     
  20. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พระองค์ทรงตรัสบอกให้กับสงฆ์จริงครับ และลองฟังมติสงฆ์ดูครับ

    เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
    [๖๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ชี้แจงต่อพระเถระทั้งหลายว่า
    ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า
    ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่จะพึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้


    พระเถระทั้งหลายถามว่า ท่านพระอานนท์ ก็ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
    หรือเปล่าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ท่าน
    พระอานนท์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ก็สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.


    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็น
    สิกขาบทเล็กน้อย.

    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓
    นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓
    เว้นอนิยต ๒ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓
    เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓
    เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็น
    สิกขาบทเล็กน้อย.

    พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓
    เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย์ปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฎิเทสนียะ ๔
    นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

    เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ

    ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

    ญัตติทุติยกรรมวาจา

    ท่านทั้งหลายขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควร
    แก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร

    ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบท เล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณะโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว
    พระ ศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะ เหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ ถ้าความพร้อมพรั่ง
    ของสงฆถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอน พระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
    พึงสมาทานประพฤติ ในสิกขาบท ทั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ.

    ท่าน ทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้
    ยังศึกษาใน สิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามทั้งทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด. สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้...

    ...สงฆ์ ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามทั้งทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด. สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

    เล่ม ๙ หน้า ๕๑๖ บรรทัด 4
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book09/501_550.htm
    อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของ
    ตน พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ
    และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติใน
    สิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้
    บัญญัติ หรือว่าไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติ ควรสมาทาน
    ประพฤติในสิกขาบทตามที่เราได้บัญญัติไว้
    เล่ม ๓ หน้า ๙๐๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/901_950.htm

    มีความว่า เราทั้งหลายชื่อว่าเป็นสาวก จักไม่บัญญัติข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง
    บัญญัติไว้. จริงอยู่ วิสัย คือการบัญญัติสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติ หรือ
    การถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว โดยนัยว่า ปาจิตตีย์ ทุกกฏ เป็นต้น
    นี้เป็นพุทธวิสัย.

    เล่ม ๓ หน้า ๙๑๕ บรรทัด ๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/901_950.htm
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
    เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่ง
    การเรียนพระวินัย ทรงยกย่องโดยเฉพาะท่านอุบาลีเนือง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย
    โดยอเนกปริยาย ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา
    ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่อง
    โดยเฉพาะท่านพระอุบาลีเนือง ๆ โดยอเนกปริยาย อาวุโสทั้งหลาย ดั่งนั้น
    พวกเราพากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลีเถิด ก็ภิกษุเหล่านั้นมาก
    เหล่า เป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระ-
    วินัยในสำนักท่านพระอุบาลี.
    ส่วนพระฉัพพัคคีย์ได้หารือกันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุเป็น
    อันมากทั้งเถระ นวกะ และมัชฌิมะ พากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระ-
    อุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้จักเป็นผู้รู้พระบัญญัติในพระวินัย ท่านจักฉุดกระชาก
    ผลักไสพวกเราได้ตามใจชอบ อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงช่วยกันก่นพระวินัย
    เถิด เมื่อตกลงดั่งนั้น พระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า
    จะประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่าง
    เป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร.

    -----------------------------------------------------------------------------------

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
    ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๑๒๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าว
    อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ที่สวดขึ้นแล้ว
    ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิง
    นี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.
    เล่ม ๔ หน้า ๗๔๔,๗๔๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book04/701_750.htm
    ที่ประกาศกันออกไปนี้เป็นการเปิดข้อหนึ่งในปาติโมกข์อยู่ เพราะฉะนั้นหากพระติเตียนย่อมต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

    สบายจริงแต่บาปยาวนาน กับ ลำบากขัดเกลาตน แต่จะสบายต่อไปยาวนาน แม้ปัจจุบันก็จะมีผู้อุปฐากเพราะเลื่อมใสในจริยาวัตร
    คิดว่าข้อไหนดีกว่ากันครับ ถ้าว่าลำบากนัก......ไม่ยากเอ่ยครับ
    เพราะไม่ว่าฆราวาสจะเชี่ยวชาญธรรมวินัยแค่ไหน ก็ยังไม่เท่ากับเณรองค์น้อยๆครับ เณรองค์น้อยๆได้เรียนรู้และประพฤติตามธรรมวินัยจะรักษาพุทธศาสนาได้ ยอดเยี่ยมกว่าฆราวาสเรียนไว้ครับ เพราะเมื่อเณรเป็นพระจะแบบอย่าง ผู้ประพฤติตามหรือบำรุงในผู้ที่ถูกต้องตามธรรมวินัยย่อมประสบสุขเป็นผลครับ

    เช้านั้นผมก็ได้ดูอยู่เหมือนกันครับ
    ท่านหันหลังไปถามผู้อยู่ในโรงจังหัน แต่ท่านไม่พูดว่ารู้หรือไม่รู้
    แต่ทุกคนที่ได้ยินได้ฟังท่านมาก่อนๆก็จะรู้กันโดยอัตโนมัติครับ
    ว่าความหมายของท่าน คือไม่มีอะไรที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบ

    การใคร่ครวญตรวจสอบแล้วจึงทำย่อมมีผลมากครับ

    ก็ในเมื่อเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้ทุกอย่าง
    แล้วจะไม่เชื่อพระองค์หรือว่าพระรับเงินแล้วมีนรกรองรับ
    ถ้าจะว่าปลงอาบัติได้ ศึกษาดีๆนะครับจะรู้ว่าที่พระปลงอาบัติกันอยู่นี่จะพ้นหรือไม่พ้น?

    อันนี้ด้านบนครับ


    ...ถ้าท่านอ้างมาได้ เราก็ขออ้าง กาลามสูตร
    "อย่าเชื่อตามตำรา"...

    เข้าข้อติเตียนสิขาบท


    พระคุณเจ้าเชื่อพระพุทธเจ้า หรือ เป็นเพียงแค่ผู้สงสัยในพระพุทธเจ้าครับ
    โยม ไม่ได้เห็นเองไม่ได้รู้เอง แต่ศรัทธาในพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือแปลว่าเชื่อในพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือคิดว่าพระพุทธเจ้าโกหก หลอกลวง กล่าวเหลาะแหละ
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้อยู่กับความจริงมาก่อน ที่ข้อสัจจะบารมีนั่น
    ชาติ นกคุ้มนั่นเป็นตัวอย่างว่า อยู่กับความจริงมาอย่างนี้แบบนับไม่ได้มาแล้ว เพราะฉะนั้นคำของพระพุทธเจ้าจึงแน่นอนครับ มีนรก นรกต้องมีแน่นนอน
    มี สวรรค์ต้องมีแน่นอน แม้จะไม่เห็นด้วยตนเองแม้ไม่ได้ไปด้วยตัวเองก็ตาม ใครไม่เชื่อก็ไม่เกี่ยวครับ เพราะเชื่อสัพพัญญู ไม่ได้เชื่อที่คำคนทั่วไป รอให้ไปถูกเผาก่อนก็ได้ครับ ถูกเผาข้ามพระพุทธเจ้าไปองค์สององค์คงไม่เป็นไรหรอกมั้งครับ สำหรับผู้สงสัยในพระพุทธเจ้า แล้วทำไป แต่โยมไม่สงสัยนะครับว่าพระพุทธเจ้ากล่าวจริงหรือไม่ มันชัดเจนอยู่หลายเรื่องครับ เลยไม่ได้เชื่อผู้อื่น ว่าพระพุทธเจ้าทรงกล่าวจริงๆ ไม่ได้เชื่อผู้อื่น ว่าพระพุทธเจ้ากล่าวเท็จ มันชัดเจนครับ แม้จะไม่ชัดเจนไปถึงการเป็นพระอรหันต์ หรืออริยะสาวกใดๆ แต่ก็ชัดเจนในการเป็นอยู่ ชัดเจนในเรื่องไตรสรณคมน์ ว่าผู้ถึงอย่างแท้แน่นอนไม่ถือแบบหลอกๆ มีความเจริญแน่นอนครับ มันมีความเบาใจมาก แม้จะเจอเรื่องหนักๆก็เป็นคนละเรื่องกับตอนที่ถือไตรสรณคมน์หลอกๆ แต่ใครจะไปให้ถูกเผาก็ตามแต่ผู้นั้นครับ แต่ไม่ยินดีด้วยทั้งที่ผู้ทำผิดวินัยและผู้ร่วมทำผิดที่ไปถูกเผา
    ได้ยิน มาว่า คนตกนรกกับคนที่ไปสวรค์ก็เหมือนๆกัน แต่ต่างกันที่ผู้หนึ่งไปสบาย ผู้หนึ่งไปถูกเผา ผู้ถูกเตือนแล้วไม่พินิจพิจารณาแล้วยังพอใจทำผิด เมื่อไปถูกเผาอยู่ก็จะว่า โอ้โห้ มันอย่างนี้นี่เองที่มันบอก โอ๊ย ที่มันเตือนตอนนั้น โอ๊ยยยยยย โอ้โห้ จริงโว้ย มันเป็นอย่างนี้นี่เอง โอ๊ยยยยยยยยยยยยย คือถูกเผาไปด้วยร้องไปด้วย ก็เลยว่าไม่เป็นไรหรอกครับ แต่ไม่ยินดีด้วย เพราะถ้าไปยินดีด้วยก็มีส่วนแบ่งไปด้วยนะครับ ที่ได้ยินมา ๑๐๐ แบ่งมา สัก๑ หรือ ๒ เปอร์เซนต์เป็นอย่างน้อยครับ จึงไม่ยินดีด้วยครับ แม้ไปถูกเผา ก็ไม่ดีใจด้วยที่ผู้ไม่ใคร่ควรญคำเตือนแล้วไปถูกเผา เพราะการยินดีในผู้อื่นได้รับอันตราย ก็ได้ส่วนแบ่งไปครับ มีส่วนแบ่งเหมือนกันครับ ยินดีในผู้อื่นได้รับอันตราย ตัวเองเลยได้รับอันตรายไปด้วยเลย ถ้าเข้าใจว่าเล่นฌาณแล้วหนีได้ ก็ควรใคร่ควรญดีๆนะครับ พระเทวทัตก็มีฌาณเหมือนกันครับ ฌาณเป็นของเสื่อมแค่ร่างกายเจ็บป่วย หรือเข้าใจว่าปลงอาบัติได้ ควรตรวจสอบสอบสวนใคร่ควรญวินัยด้วยความละเอียดดีๆครับ

    พระทำผิดโยมก็สามารถเตือนได้
    เล่ม ๓ หน้า ๖๖๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/651_700.htm

    เจอพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ผู้หนึ่งไปสวรรค์ ผู้หนึ่งไปนรก
    เล่ม ๓๙ หน้า ๒๘๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book39/251_300.htm

    จริงหรือ? ช่างมันเถอะ อาบัติเล็กน้อยหน่อยเดียว
    เล่ม ๔๒ หน้า ๓๒๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book42/301_350.htm

    เมื่อตายไปแล้วจึงรู้เรื่อง
    เล่ม ๔๑ หน้า ๑๖๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book41/151_200.htm
    อันนี้ยังไม่ถึงโทษที่บวชแล้วทำผิดเป็นอาจิณ

    อันนี้ที่มาของอายุนรก
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=4215.msg22836#new

    แต่อันนี้แค่ตัวอย่างเหล่าผู้ทุศีล อย่างละ๑
    เล่ม ๒๖ หน้า ๗๒๑ บรรทัดที่ ๑๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book26/701_750.htm

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุหนอ เป็นผู้มีญาณหนอ
    เพราะแม้สาวกก็จักรู้จักเห็นสัตว์เห็นปานนี้ หรือจักเป็นพยาน เมื่อก่อน
    สามเณรีนั้นเราก็ได้เห็นแล้วเหมือนกัน แต่ว่ามิได้พยากรณ์ หากว่าเราจะ
    พึงพยากรณ์สามเณรีนี้ไซร้ คนอื่นก็จะไม่พึงเชื่อถือเรา ข้อนั้นพึงเป็นไป
    เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อถือเรา
    เล่ม ๒๖ หน้า ๗๒๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book26/701_750.htm


    แล้วพระคุณเจ้าคิดว่าเหตุคืออะไรครับ
    ถ้าพระเป็นผู้รักษาศีล ญาติโยมมีความรู้ในวินัยพระ
    จะมีการรณรงค์แบบนี้ หรือ จะมีแต่การเคารพนอบน้อมสักการะได้โดยสะดวกครับ?

    ครับเพราะลงมันเข้าใจแล้วว่าพระพุทธเจ้ากล่าวจริง จะแก้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้ากล่าวเท็จนี่ ทำได้ยากครับ
    เหมือนกับจะแก้คนที่รู้จักวิธีกินข้าวเองแล้วจะแก้ให้เป็นผู้ไม่รู้จักวิธีกินข้าวเองนี่ มันก็แก้ยากนะครับ
    เพราะเห็นว่าถ้าญาติโยมรู้เรื่องพระวินัยกันมากๆ ก็จะอุปฐากได้ถูกต้องตามพระวินัย พระก็จะไม่ได้ไม่ต้องผิดศีล ชาวพุทธก็จะได้ ทำบุญที่ขาดจากบาป
    ผลบุญก็ไพบูลย์ทั้งสองฝ่าย ความเดือดร้อนต่างๆก็จะได้เบาลง
    จึงมีหน้าที่เปิดเผยไปครับ เพราะ
    การปิดมี ๓ คือ ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๑ ปิดอาบัติ ไม่
    ปิดวัตถุ ๑ ปิดทั้งวัตถุและอาบัติ ๑
    เครื่องปกปิดมี ๓ คือ เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด
    คือ น้ำ ๑ เครื่องปกปิด คือ ผ้า ๑
    สิ่งที่กำบังไม่เปิดเผยนำไปมี ๓ คือ มาตุคาม กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑
    มนต์ของพวกพราหมณ์กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มิจฉาทิฏฐิกำบังไม่เปิดเผย
    นำไป ๑
    สิ่งที่เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรืองมี คือ ดวงจันทร์เปิดเผย ไม่กำบัง
    จึงรุ่งเรื่อง ๑ ดวงอาทิตย์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรื่อง ๑ ธรรมวินัยอันพระ-
    ตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑
    เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book10/451_500.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...