เป็นพระอรหันต์ทำไมน้ำตาร่วง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 13 มีนาคม 2012.

  1. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ///////////////////


    ท่านถิ่นธรรม กล่าวได้ถูกต้องเหมาะสมแล้วครับ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕

    เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์
    ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร จึงประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้ว
    ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพวกเขาพากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้
    สนใจต่อพระผู้มีพระภาค ไม่ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขา
    ด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า ดูกรสาคต ถ้ากระนั้น เธอจงแสดง
    อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก
    ท่านพระสาคตะทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วเหาะขึ้นสู่
    เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้าง
    หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์หลายอย่าง
    ในอากาศกลางหาว แล้วลงมาซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
    พระพุทธเจ้าเป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
    พระพุทธเจ้าเป็นสาวก ดังนี้ จึงประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้นพูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญ
    อัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้
    พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากันสนใจต่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น หาสนใจต่อท่าน
    พระสาคตะไม่
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
    อันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑
    อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
    ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่
    ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
    ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
    ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มี
    ศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา
    ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์
    มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... เมื่อเป็น
    เช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่าน มี
    วิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารี
    นั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึง
    กล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็น
    โทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์.
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    เกลียด [เกฺลียด] ก. ชัง, รังเกียจมาก, ไม่ชอบจนรู้สึกไม่อยากพบ อยากเห็นเป็นต้น, บางทีใช้คู่กับคํา ชัง ว่า เกลียดชัง.
    เกลียดตัวกินไข่ (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
    เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อาเทสนาปฏิหาริย์
    [๓๔๐] ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจ
    ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของ
    ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคล
    ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความ
    ตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้
    จิตของท่านเป็นดังนี้. ครั้นแล้วเขาบอกแก่คนที่ยังไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า
    อัศจรรย์จริงหนอ ท่าน ไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก ความที่สมณะมีอานุภาพ
    มาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้ทายใจ ทายความรู้สึกนึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรอง
    ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น พึงกล่าวกะเขาว่า
    ท่าน มีวิชาอย่างหนึ่งชื่อว่า มณิกา ภิกษุรูปนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด
    ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นก็ได้ ... ด้วยวิชาชื่อว่า มาณิกานั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น พึงกล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธา
    เลื่อมใสกันบ้างไหม? พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์
    อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอาเทสนาปาฏิหาริย์
    .
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์

    [๓๔๑] ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำ
    สอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าทำในใจอย่างนั้น
    จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียกอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    [๓๔๒] ดูกรเกวัฏฏ์ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
    ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
    บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด
    ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและ
    มนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
    พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้
    เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อ
    ได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
    ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
    ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช
    เป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ
    หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ
    โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
    อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อม
    ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
    จุลศีล
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
    มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้ก็เรียกว่า
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
    เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
    เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
    เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก
    ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
    เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้
    ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
    จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เรียกอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
    อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
    โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
    ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
    ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก
    แก่กุศล.
    ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ ตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และ
    เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
    ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วย
    เครื่องตวงวัด.
    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มัชฌิมศีล
    ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
    บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็น
    ปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
    เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
    บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
    เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
    ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
    บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล
    เห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย
    การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคน
    จัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
    ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
    การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่น
    การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตา
    เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสกา
    เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ
    เล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนี
    ปาฏิหาริย์.
    ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
    เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
    เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี
    สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
    เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ
    เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
    หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน
    อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
    ประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคลอวัยวะ
    อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับ
    ข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร
    ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนี
    ปาฏิหาริย์.
    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะ
    ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องมหา
    อำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้
    เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ
    เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่อง
    ทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง
    จำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่า ท่าน
    ไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
    ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าว
    ก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชอง
    มาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะ
    เสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
    บางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้
    เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า
    ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่าน
    ล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มหาศีล

    ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็น
    ปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิตร ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า
    ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธี
    ซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ
    ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก
    เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง
    เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ
    เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาตรา
    ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี
    ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะช้าง
    ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ
    ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น
    ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชา
    ภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชา
    ภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย
    พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาว
    นักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทร
    คราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหาง
    จักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผล
    เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
    และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็น
    ปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
    จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ
    นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
    ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง
    ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก
    เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์
    พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้วยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกระเทย
    ให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์
    รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยา
    แก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัดถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา
    ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวร
    นั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้วย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะ
    ราชศัตรูนั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุก็ฉันนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ
    เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
    ดูกรเกวัฏฏ์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เห็นคนสนใจเรื่องปาฏิหาริย์ ผมก็ไม่ขัดศรัทธายกพระสูตรมาให้อ่าน ขอโทษคนที่สนใจเรื่อง "เป็นพระอรหันต์ทำไมน้ำตาร่วง" ด้วยครับ
     
  10. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ------------------------------

    ใครจะสนใจหรือไม่ ผมรู้แต่ว่าคุณนั้นอ้างอิงแต่เฉพาะด้านเดียว
    เพื่อสนับสนุนแนวคิดของคุณเรื่องพระอรหันต์ ในกระทู้เก่านั้น

    แต่ในเมื่อความจริงก็คือ แสดงได้ถ้าเพื่อความศรัทธาและลดมิจฉากับบุคคลต่างๆ ตามเหตุปัจจัย
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่าน sutanon พูดลอยๆ ใครก็พูดได้ ผมไม่ได้พูดลอยๆ ผมอ้างอิงจากพระไตรปิฏก ความจริงทั้งหมดมีอยู่ในพระสูตรที่ผมยกมา
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
    อันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑
    อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
    ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่
    ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
    ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
    ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มี
    ศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา
    ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์
    มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... เมื่อเป็น
    เช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่าน มี
    วิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารี
    นั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึง
    กล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็น
    โทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์
    .
     
  13. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    --------------------------

    พูดลอยๆ อะไร
    ผมแย้งในสิ่งที่คุณมองด้านเดียว อย่างเช่นเรื่องพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์
    ผมอ่านมาแล้วและรู้ว่ามีหรือไม่ แต่คุณนั่นแหละไม่รู้แล้วยังกล่าวพล่อยๆ
    ซึ่งมันขัดแย้งในพระใตรฯ ถ้าคุณรู้มีหรือจะกล้ากล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ การแสดงปาฎิหาริย์ เช่นนั้นพระองค์คงไม่แสดงและก็ไม่รับสั่งให้สาวก
    แสดง

    แต่คุณมันพวกที่ตีความเข้าข้างตน เพื่อสนองความยึดติดที่ได้ถูกสั่งสอนมาผิดๆ
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
    อันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑
    อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
    ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่
    ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
    ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
    ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มี
    ศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา
    ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์
    มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... เมื่อเป็น
    เช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่าน มี
    วิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารี
    นั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึง
    กล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็น
    โทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์
    .
     
  15. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    คุณอุรุเวลา

    คุณมันช่างไม่รู้อะไรเลย แม้สิ่งที่สมควรหรือไม่ก็แยกแยะไม่ออก

    ถ้าผมจะหาพระไตรฯ มาอ้างแบบคุณทั้งดุ้น มันง่ายมาก เพราะผมมีโปรแกรมพระไตรฯ

    แต่ผมเห็นว่าไม่สมควรที่จะนำมาเพื่อสนองความยึดติดที่ถกกัน เพราะมันมีสิ่งที่ขัดแย้งในเหตุการณ์หลายเรื่องปนกัน อยู่ที่ว่าเราจะมีปัญญาแยกแยะว่าสิ่งใดเหมาะสม

    และบางครั้งก็ต้องนำมาบ้าง เพื่อให้เห็นว่ามีจริง แต่ไม่ได้พร่ำเพื่อแบบคุณ
     
  16. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ตัวคุณเองยังไม่รู้เลย ว่ามียมกปาฎิหาริย์

    หาอะไรมาก็มั่ว ไม่ตรงกับที่ผมได้แย้งไว้เลย

    สิ่งที่คุณนำมาก็เพื่อสนับสนุนแนวคิดด้านเดียวของคุณ
     
  17. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    อีกเรื่องที่คุณกล่าวไว้ เรื่องศีล
    กลับกล้าเอามาอ้าง ช่างไร้ยางอายสิ้นดี เห็นมาหลายกระทู้แล้ว

    ผู้ถือศีลนับร้อย แม้ทำผิดจริง ก็ย่อมถูกชาวโลกติเตียน
    เรื่องนี้มีมานานมากแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นปัจจุบันนี้

    ผู้ที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ย่อมน่านับถือกว่าผู้ถือศีลเป็นร้อย รู้ไว้ด้วยท่าน

    เพราะผู้ที่ไม่ได้ทำผิดนั้น ก็นับว่าถือศีลนับร้อยเช่นกัน
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
    ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑ สมานัตตตา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทาน
    ทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำ
    อันเป็นที่รัก การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้
    ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญา
    ทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย พระโสดาบัน
    มีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
    กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้
    เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ

    ----
    การแสดงธรรมหาได้เป็นการกระทำที่พร่ำเพรื่อ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย"
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มีโปรแกรมพระไตรปิฏกก็น่าจะศึกษาก่อนนะครับ การตำหนิผู้มีศีลต้องรับกรรมใด
     
  20. โปเย

    โปเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +964


    ตั้งแต่อ่านมา เพิ่งเจอประโยคเด็ดของคุณนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...