เรื่องราวอารยธรรมวัฒนธรรมตำนานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกิณกะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- เสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 00:00:28 น.
    <STYLE>.expanded { width: 620px; z-index: 9999 }</STYLE>อดีตซูเปอร์สตาร์พรีเมียร์ลีก ประเทศอังกฤษ นำโดย แอนดี้ โคล, เอียน รัช, จอห์น บาร์น เดินทางมาเปิดคลินิกสอนฟุตบอลแก่เยาวชนที่รักการเตะลูกหนังได้ฝึกแข้งใกล้ชิดกับอดีตซูเปอร์สตาร์พรีเมียร์ลีก ณ สนามคริสตัลฟุตบอลคลับ (เรียบทางด่วนรามอินทรา)
     
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    http://palungjit.org/threads/i-am-number-four-ไอ-แอม-นัมเบอร์-โฟร์.279856/
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    วันนี้ตัวอุ่นเหนียวเปียกชื้นมีเหงื่อแทบตลอดเช้า-กลางวัน คล้ายตอนสร้างพระกริ่งพุทธภูมิกรรมการ เช้ามีข่าวทีวีบอกว่าประเทศไทยอากาศร้อนอาจขาดฝนและน้ำอยู่ ภาวนานึกถึงธาตุน้ำ น่าสนใจดี



    [​IMG]


    เหวัชระและไนราตมยะ ล้อมรอบด้วยฑากิณี 8 ตน




    เหวัชระ (ภาษาทิเบต: ཀྱེའི་རྡོ་རྗེ་ kye'i rdo rje / kye rdo rje; ภาษาจีน: 喜金刚 Xǐ jīngāng;) เป็นอีกภาคหนึ่งของเหรุกะ ที่สะท้อนถึงจิตใจด้านดีงามต่างจากเหรุกะ

    ที่สะท้อนจิตใจด้านชั่วร้าย ถือเป็นยิดัมเช่นกัน อิตถีภาวะของเหวัชระเรียกว่าวัชรโยคินีหรือไนราตมยะ ซึ่งบ่งถึงสุญตาหรือความไร้ตัวตน

    รูปปั้นของเหวัชระมีกายสีน้ำเงิน แปดเศียร สี่ขา สิบหกกร ถือถ้วยรูปหัวกะโหลกที่บรรจุรูปพระธยานิพุทธะ หรือเทพต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ของพุทธะและเทพเหล่านั้น


    ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    จาก

    BlogGang.com : : sirivinit :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    เหวัชระมณฑล เทพผู้พิทักษ์พุทธศาสนามหายาน


    พระพิมพ์ในศิลปะเขมร ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาแบบมหายานนิกายวัชรยานหรือพุทธตันตระ ซึ่งเน้นในเรื่องเวทมนตร์ คาถาอาคม มณฑล เลขยันตร์ต่างๆ พระพิมพ์บางแบบมีลักษณะเป็นการจำลองแผนภาพของมหาจักรวาล หรืออนุจักรวาลแห่งกลุ่มเทพหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งแวดล้อมด้วยบริวาร ตามคติความเชื่อในลัทธิศาสนา สำหรับผู้เลื่อมใสศรัทธาใช้เป็นสื่อในการเข้าถึงเทพองค์นั้นๆ เพื่อให้ช่วยคุ้มครอง ขจัดความเลวร้าย หรือเพื่อให้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นต้นว่า พระพิมพ์ภาพเหวัชระมณฑล

    เหวัชระจัดอยู่ในกลุ่มยิดัมหรือเทพผู้พิทักษ์พุทธศาสนามหายาน ซึ่งปรากฏขึ้นในสมัยพุทธตันตระ มีหน้าที่ในการปราบภูตผีปิศาจสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ พระสงฆ์ในนิกายมหายานตันตระทุกรูปจะต้องมียิดัมประจำตัวสำหรับบูชาโดยเฉพาะ ยิดัมมีอยู่ด้วยกันหลายตน เช่น เหวัชระ คุหยสมาช มหามายา สังวร กาลจักร ชัมภล

    ซึ่งแต่ละตนมีลักษณะดุร้ายน่ากลัว เหวัชระถือเป็นยิดัมหรือเทพผู้พิทักษ์ตนหนึ่งที่ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้นิยมพุทธตันตระ ดังปรากฏรูปเคารพจำนวนมากทั้งในรูปเดี่ยวและร่วมกับศักติหรือบุคคลอื่น

    ลักษณะทางประติมานวิทยาของเหวัชระที่สังเกตได้คือ วรรณะ (ผิวกาย) สีฟ้า สวมเครื่องทรงแบบพระโพธิสัตว์หรือธรรมบาล (ธรรมบาลมีตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ มีอยู่ด้วยกัน ๘ องค์ มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูของพุทธศาสนา) มักปรากฏกายในรูปตันตระ คือ มี ๘ เศียร ๑๖ กร ๔ บาท

    เศียรทั้ง ๘ จัดเรียงกันโดยมีเศียร ๓ เศียรอยู่ด้านข้างทั้งสองของเศียรกลาง และเศียรที่ ๘ อยู่บนเศียรกลาง แต่ละเศียรจะมีสามเนตร กรทั้ง ๑๖ กรถือหัวกะโหลก โดยแปดถ้วยข้างขวาบรรจุสัตว์โลกต่างๆ มีช้าง ม้า ลา โค อูฐ มนุษย์ กวาง และแมว ส่วนถ้วยด้านซ้ายบรรจุเทพประจำแผ่นดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพรหม และท้าวไวศรวรรณ (ท้าวชัมภลหรือกุเวร)

    พระบาททั้ง ๔ นั้น สองบาทหน้าเหยียบร่างมนุษย์ (หรือซากศพ) ไว้ ส่วนอีกสองบาทหลัง เต้นรำท่าอรรธปรยังก์ โดยงอพระชงฆ์ซ้ายและพับพระชงฆ์ขวาขึ้นไว้ใต้พระเพลาซ้าย ในศิลปะทิเบตมักปรากฏร่วมในท่ากอดรัด (ยัม – ยัม) กับศักติ (Nairatmya) ซึ่งมีเศียรเดียวสองกร กรหนึ่งถือดาบ (grigug) ส่วนอีกกรหนึ่งโอบกอดอยู่กับเหวัชระ

    ส่วนศิลปะเขมรมักปรากฏในรูปเดี่ยว พักตร์ทั้ง ๘ มีทั้งที่แสดงสีพระพักตร์โกรธเกรี้ยวและสงบอ่อนโยน บ้างมีเนตรที่สาม บ้างก็ไม่มี ทรงเครื่องทรง ได้แก่ กุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองกร และทองบาท กรทั้ง ๑๖ ข้างถือสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มักมีลักษณะไม่ชัดเจนหรือหลุดหายไป มักมีสองบาท ซึ่งบางครั้งอาจมีการเซาะเป็นร่องเพื่อแสดงให้เห็นเป็นคู่พระบาทซ้ายทั้งสองเหยียบอยู่บนซากศพ พร้อมกับเต้นรำในท่าอรรธปรยังก์ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่บนสิ่งของที่ใช้ในกิจพิธีทางศาสนา เช่น บนสังข์สำริดสำหรับรดน้ำมนตร์ หรือเป็นบุคคลสำคัญอันดับแรก หรืออันดับรองบนพระพิมพ์ในพุทธศาสนาลัทธิตันตระ

    เหวัชระมีเทพสตรีหรือที่เรียกว่านางโยคินีแปดตนเป็นบริวาร นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้ายและรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล ถือกำเนิดขึ้นจากญาณของเหวัชระเรียงกันตามลำดับทิศหลักและทิศรอง โดยเริ่มจาก

    Gauri กำเนิดขึ้นเป็นตนแรกทางทิศตะวันออก มีผิวกายสีดำ สัญลักษณ์ประจำตัวคือ มีดและปลา ซึ่งถืออยู่ในกรขวาและซ้ายตามลำดับ
    Cauri กำเนิดขึ้นทางทิศใต้ มีผิวกายสีแดงราวกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์คือกลองและหมี หรือหมูป่า (Boar)
    Vetali กำเนิดขึ้นทางทิศตะวันตก มีผิวกายสีทองสุกสว่าง สัญลักษณ์คือเต่าและหัวกะโหลก
    Ghasmari กำเนิดขึ้นทางทิศเหนือ มีผิวกายสีเขียวมรกต สัญลักษณ์คืองูและชาม
    Pukkasi กำเนิดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีผิวกายสีคราม (Sapphire) สัญลักษณ์คือสิงโตและขวาน
    Savari กำเนิดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีผิวกายสีขาว (Moonstone) สัญลักษณ์คือพระ (นักบวช) และพัด
    Candali กำเนิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีผิวกายสีดำหมอกเมฆ สัญลักษณ์คือจักร (Wheel) และคันไถ (Plough)
    Dombi กำเนิดขึ้นเป็นคนสุดท้ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีผิวกายสีทอง สัญลักษณ์คือวัชระในกรขวา ส่วนกรซ็ายแสดงอาการชี้นิ้ว

    นางโยคินีทั้งหมดดังกล่าวล้วนมีสองกร สามเนตร มักอยู่ในท่าเต้นรำ (อรรธปรยังก์) เหนือซากศพ ที่ประทับของนางโยคินีเหล่านี้คือ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอวิชชา ได้แก่ พระพรหม พระอินทร์ พระวิษณุ พระศิวะ พระยม ท้าวกุเวร พระนิรฤติ และ Vemacitrin

    ในลักษณะที่เป็นรูปเคารพมักแสดงสัญลักษณ์ของเหวัชระมณฑลวงกลมสองวง วงกลมที่อยู่ภายในแสดงภาพเหวัชระ กำลังเต้นรำอยู่เหนือซากศพในท่าอรรธปรยังก์ มีนางโยคินีทั้งแปดแวดล้อมประจำทิศอยู่ภายในกรอบวงกลมด้านนอก หรืออาจแสดงอยู่ในรูปของกุฎาคาร (Kutagara) หรือปราสาท (Prasada) ในศิลปะเขมร โดยมีรูปวงกลม (มณฑล) ของเหวัชระและนางโยคินีทั้งแปดอยู่ตรงกลางภายในส่วนที่เรียกว่า ครรภธาตุหรือครรภคฤหะ ส่วนบนเหนือครรภธาตุแสดงส่วนประกอบคล้ายชั้นของหลังคาปราสาทซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ชั้นบนสุดมีพระพุทธรูปนาคปรกอยู่ตรงกลาง มีรูปบุคคลนั่งอยู่ในระดับต่ำเยื้องลงมาเล็กน้อยทั้งสองด้าน ถัดลงมาเป็นชั้นของรูปบุคคล (พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์) ประทับนั่งอยู่ในซุ้มจำนวนแถวละ ๓, ๕ และ ๗ องค์ ตามลำดับ ด้านล่างสุดหรือชั้นฐานของปราสาททำเป็นรูปบุคคล (พระโพธิสัตว์) ในท่ายืนภายในซุ้มจำนวนห้าองค์

    พระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่บนยอดสุดของพระพิมพ์ดังกล่าว คงมีความหมายถึงพระอาทิพุทธเจ้าตามคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายวัชรยานหรือพุทธตันตระ ส่วนรูปบุคคลที่อยู่ถัดลงมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรวมทั้งที่ฐาน โดยเฉพาะในชั้นหรือแถวซึ่งมีจำนวนรวมกันห้าองค์ ก็น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพระธยานิพุทธทั้งห้า (ไวโรจนะ อักโษภยะ รัตนสัมภวะ อมิตาภะ มุทรา และะอโมฆสิทธิ) รวมทั้งผู้ที่เกิดในสกุลของพระองค์ เช่น พระธยานิศักติ (วัชรธาตุวิศวรี โลจนา มามกิ ปาณฑรา และตารา) และธยานิโพธิสัตว์ (พระสมันตรภัทร พระวัชรปาณิ พระรัตนปาณิ พระอวโลกิเตศวร และพระวิศวปาณี) เป็นต้น

    อย่างไรก็ดี สำหรับในพระพิมพ์เราไม่สามารถที่จะกำหนดชี้ชัดลงไปในแต่ละบุคคลได้ เนื่องจากมีรายละเอียดของรูปภาพไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะจำแนกเพศ มุทรา หรือสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ประจำของแต่ละองค์ สำหรับภาพพระพุทธรูปที่อยู่ภายในซุ้มหลังคาปราสาทชั้นล่างสุดนั้น นาย J.J. Boels สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงพระธยานิพุทธอมิตาภะ เนื่องจากแสดงธยานมุทรา (ปางสมาธิ) อันเป็นสัญลักษณ์ (มุทรา) ประจำพระองค์ อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปดังกล่าวอาจหมายถึงพระอดีตพุทธจำนวนเจ็ดพระองค์สุดท้ายที่เรียกว่า สัปตมานุษิพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วยวิปัสสี (จากสารกัป) สิขี และเวสสภู (จากมัณฑกัป) กกุสันธะ โกนาคม กัสสปะ และโคตมะ (จากภัทรกัป) โดยเฉพาะเมื่อประทับอยู่เรียงกันเจ็ดองค์ ตามที่ปรากฏอยู่ในองค์พระพิมพ์

    เอกสารอ้างอิง
    ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
    Boeles, J.J. “Two YoQinis of Hevajara from Thailand” Essays Offered to G.H. Luce Volume II Artibus Asiae. Publishers – Ascona, Switzerland.

    Tags เหวัชระมณฑล - เหวัชระ - เทพผู้พิทักษ์ - พุทธศาสนา - พุทธศาสนามหายาน - พุทธตันตระ


    BlogGang.com : : sirivinit :
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    June 13th, 2006 ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (4) http://www.fringer.org/?p=144

    June 13th, 2006
    ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (4)

    ขอบคุณที่มาครับ
    Fringer | คนชายขอบ : Blog Archive : ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? (4)


    “ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย” หนังสือของผู้เขียนที่รวบรวมบทความที่เคยลงบล็อกนี้ไปแล้วหกตอน (ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6) บวกเนื้อหาเพิ่มเติม และอีกสี่ตอนใหม่ พร้อมภาพประกอบสี่ีสีสวยงาม 16 หน้าเต็ม วางแผงแล้วนะคะ จัดพิมพ์โดยโอเพ่นบุ๊คเจ้าเก่า ราคา 190 บาท สามารถ สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่
    ความย้อนแย้งที่ไม่ขัดแย้ง : พุทธและไสยในชีวิตประจำวัน
    เสียงระฆังภาวนาหมุนบนแกนไม้ดังครืดคราดๆ และแสงแวววาวของร่มกาสาวพัสตร์สีทองที่ประดับยอดหลังคา เป็นสัญญาณบอกว่าเราได้มาถึงวัดอีกแห่งแล้ว
    ดูวัดมากๆ เข้าก็ชักเกิดอาการ “เบลอ” จำผิดจำถูก สงสัยสมองจะถูกฤทธิ์เหล้าขาวภูฏานที่เรียกว่า อะรา เล่นงานให้ฟั่นเฟือน แต่เจ้าอะรานี่ก็อร่อยไม่ใช่เล่น ทำจากข้าวสาลีหมัก ตอกไข่ใส่ก่อนกิน ทั้งฉุนทั้งคาวแต่รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว ไกด์ชอบคะยั้นคะยอให้เราดื่ม บอกว่ามาภูฏานต้องปาร์ตี้ ถ้าไม่ปาร์ตี้ก็ยังไม่รู้จักภูฏานจริง
    หยุดคิดเรื่องเหล้าได้แล้ว จิตใต้สำนึกเตือน นี่เขตวัดนะ สำรวมตัวหน่อย ดูซิ ขนาดพระตัวน้อยๆ ยังมีวินัย ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน มานั่งโยกตัวอ่านบทสวดมนต์งึมงำไม่ขาดสายไปจนกระทั่งอาทิตย์ตกดิน ยกเว้นเวลาหยุดฉันข้าวช่วงสั้นๆ ระหว่างวันเท่านั้น

    พระตัวน้อยวิ่งเข้าอุโบสถวัดหลวง ในซ้องเมืองพูนาคา

    [​IMG]



    แต่พระพวกนี้ยังไงๆ ก็ยังเป็นเด็กนะ อีกเสียงแย้งขึ้นมาในหัว เป็นเด็กแต่กลับถูกบังคับให้ทำตัวเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้เล่นอย่างที่เด็กควรจะเล่น น่าสงสารจะตาย
    เอาเถอะ เสียงแรกตัดบท อย่างน้อยพ่อแม่ที่ส่งเด็กพวกนี้เข้าวัดตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบก็คงรู้สึกปลื้มใจที่เห็นลูกอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ แถมเด็กพวกนี้ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ได้รับการศึกษา ไม่ต้องทำงานหนัก มีข้าวกินทุกมื้อจนตาย ดูเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาออก
    ก็อาจจะจริง เสียงแย้งไม่ลดราวาศอก แต่ถ้าเด็กไม่อยากเป็นพระล่ะ อย่าลืมว่าภูฏานไม่มีประเพณีประเภทผู้ชายบวชเรียนไม่กี่พรรษานะ ทุกคนที่บวชเป็นพระต้องทำใจว่าจะเป็นพระไปจนตาย พระที่ตัดสินใจสึกออกมาเป็นฆราวาสใหม่จะถูกเรียกว่า เก็ตเต้ ไปตลอดชีวิต ถูกสังคมดูแคลนว่าเป็นพวกใจเสาะ แม้ไม่ถึงขนาดแสดงความเหยียดหยามจนออกนอกหน้า เก็ตเต้ที่ตกเป็นเป้าสายตาก็สามารถรู้สึกได้ถึงชนักที่ปักหลังอยู่ ทั้งๆ ที่เขาอาจไม่เคยอยากเป็นพระเลย แต่ถูกพ่อแม่บังคับให้เป็น คนเราทุกคนเกิดมาก็ควรมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกทางเดินชีวิต มิใช่หรือ?

    “ทางนี้ครับ!” เสียงทาชิ ไกด์ชาวภูฏานฉุดให้ออกจากภวังค์ ทำให้ต้องระงับการโต้วาทีคนเดียวไว้เท่านี้ก่อน

    วัดคิชู (Kyichu Lhakhang) หนึ่งในสองวัดเก่าแก่ที่สุด
     
  9. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    วันนี้เรามาเยือนวัดชื่อ คิชู ในหุบเขาพาโร คนภูฏานเรียกว่า คิชู ลาคัง (”ลาคัง” แปลว่า “วัด” ในภาษาซองก้า) เป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่เคารพสักการะที่สุดของประเทศ สร้างโดยกษัตริย์ทิเบตชื่อ ซองเซ็น กัมโป เมื่อประมาณ 1,400 ปีที่แล้ว หรือนับร้อยปีก่อนครูรินโปเชจะมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในภูฏาน ตำนานเล่าว่า เมื่อพระเจ้าซองเซ็นอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาวจีนชื่อเหวินเชนนั้น พระนางเหวินเชนได้อัญเชิญรูปปั้นเจ้าชายสิทธัตถะจากจีน เพื่อเป็นสินสอดไปถวายพระเจ้าซองเซ็นในเมืองลาซาของทิเบต แต่ระหว่างทาง เจอยักษีตนหนึ่งใช้ร่างกายใหญ่โตนอนทับส่วนหนึ่งของทิเบตและภูฏานทั้งประเทศ กดรูปปั้นให้จมหล่มโคลนยกไม่ขึ้น พระเจ้าซองเซ็นจึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ ส่งรูปจำแลงของพระองค์ออกไปสร้างวัดพุทธ 108 แห่งในวันเดียว ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วร่างยักษีเพื่อกำราบมันให้อยู่หมัด วัดคิชูนี้ตั้งอยู่บนเท้าซ้ายของยักษี (วัดที่สร้างบนหัวใจยักษีชื่อ โจคัง อยู่ที่เมืองลาซา เมืองหลวงของทิเบต)
    วัดที่พระเจ้าซองเซ็นสร้างในภูฏานมีสองวัดเท่านั้น คือคิชูและ จุมเป ในมณฑลบุมทัง ซึ่งเราจะไปเยือนในทริปนี้ด้วย
    เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ในภูฏาน วัดคิชูไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปข้างในอุโบสถ จริงๆ แล้ววัดภูฏานหลายวัดไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วยซ้ำ และห้องชั้นในสุด ซึ่งใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นและภาพวาดพระโพธิสัตว์มหายานในปางชั้นสูงสุด ก็ไม่อนุญาตให้ชาวภูฏานธรรมดาเข้า เข้าได้แต่เฉพาะคนที่พระมองเห็นว่าบรรลุธรรมะชั้นสูงพอที่จะเพ่งสมาธิมองพุทธศิลปะได้อย่าง “เข้าถึง” โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด
    ทั้งนี้ เพราะนิกายตันตระใช้สัญลักษณ์อันสลับซับซ้อนมากมายหลายพันชนิดเป็น “เครื่องมือ” ในการปฏิบัติธรรม ผู้นับถือตันตระปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ธรรมะข้อต่างๆ ด้วยการเพ่งสมาธิมองจิตรกรรมและรูปปั้นทางศาสนา ชมการร่ายรำของพระสงฆ์ สวดมนต์ภาวนา ฝึกลมปราณด้วยท่าโยคะ และทำท่าพนมมือ (mudra) อันหลากหลายกว่าปางต่างๆ ของพระพุทธรูปแบบเถรวาท
    หลักการที่สำคัญที่สุดในตันตระคือ “ใช้มรรคผลเป็นหนทาง” (use the result as the Path) ซึ่งหมายความว่า แทนที่จะตั้งนิพพานเป็นเป้าหมายโดยตรง พุทธศาสนิกควรพยายามฝึกฝนให้ กาย วาจา ใจ ของตน เข้าถึงสภาวะเดียวกันกับ กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว สภาวะนี้เรียกว่า “ภาวะพุทธองค์” (Buddha-form)
    หากเข้าถึง “ภาวะพุทธองค์” ได้ ก็แปลว่าเข้าถึงนิพพานได้โดยปริยายด้วย
    เนื่องจาก “ภาวะพุทธองค์” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติธรรมผิดวิธีอาจเกิดอันตราย (เช่น บาดเจ็บจากการทำโยคะผิดท่า) ต่อร่างกายและจิตใจ ความลับจึงถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของตันตระ โดยเฉพาะความลับระหว่างพระกับลูกศิษย์ ปกติพระลามะชั้นผู้ใหญ่จะไม่อธิบายความหมายอันซับซ้อนของสัญลักษณ์และพิธีกรรมต่างๆ ให้ใครฟัง ยกเว้นคนที่ท่านเห็นว่ามีระดับสติปัญญาและจิตที่เข้มแข็งพอเท่านั้น
    ข้อจำกัดของตันตระที่เน้นการสอนธรรมะแบบตัวต่อตัวแบบนี้ มักนำไปสู่ความสับสนงงงวยและความเข้าใจผิด โดยเฉพาะสำหรับคนนอกนิกายที่เห็นท่วงท่า “วิจิตรกามา” ที่คนภูฏานเรียกว่า “ยับ-ยัม” (yab-yam) เป็นครั้งแรกในชีวิต
     
  10. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ยับ-ยัมที่นิยมปั้นและวาดในภูฏานคือรูปเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาพุทธ ชื่อ กาลจักร กำลังสมสู่กับพระมเหสีชื่อ วิศวมาต อย่างวิลิศมาหรา แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างในภาพล้วนมีความหมาย

    [​IMG]

    ชาวไทยพุทธบางคนอาจเอามือปิดตาเมื่อเห็นภาพที่สมองขึ้นป้ายทันทีว่า “อุจาด” ปฏิเสธที่จะยอมรับว่านี่คือศาสนาเดียวกันกับที่พวกเขานับถือ
    ลองมาเปิดใจให้กว้างกันสักนิด เพราะอันที่จริง หากนิพพานเป็นเรื่อง “ทางใครทางมัน” จริง หนทางสู่นิพพานก็น่าจะมีหลากหลายเท่ากับจำนวนมนุษย์บนโลกนี้ มิใช่หรือ?
    หากการลด-ละ-เลิกกิเลสทุกชนิด ตามวิถีแบบเถรวาท เป็นหนทางหนึ่งในเข้าถึงนิพพาน การเสพกิเลสทุกชนิดเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายจนคลายกิเลสในที่สุด ก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้ผล (จริงๆ แล้วนี่เป็นแนวทางที่พุทธมหายานหลายนิกายส่งเสริม ใครที่เคยลองเลิกกิเลสแล้วไม่สำเร็จ จะลองเปลี่ยนมาใช้วิธีตรงกันข้ามบ้างก็คงไม่มีอะไรเสียหาย ยกเว้นสุขภาพและเงินทองเท่านั้น)
    เพศ และความหมายของการร่วมเพศ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของตันตระ โดยเฉพาะเมื่อตันตระเชื่อว่า เพศสัมพันธ์เป็นวิธี “ทำสมาธิ” ชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การบรรลุธรรมะขั้นสูง หรือแม้กระทั่งนิพพานได้ หากรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง
    นอกจากจะแสดงถึงความสำคัญของการร่วมเพศในฐานะแนวทางหนึ่งของการ “ปฏิบัติธรรม” แล้ว ยับ-ยัม ยังหมายถึงการ “แต่งงาน” ระหว่างปัญญา (เพศชาย) และความเมตตา (เพศหญิง) ที่ต้องมีควบคู่กัน เพื่อให้บรรลุธรรมที่แท้
    คนภูฏานเขาปั้นรูปพวกนี้ได้ละเอียดไม่แพ้คนฮินดูในอินเดียที่จำลองฉากจากกามสูตรเลย ใครที่ใจกล้าพอที่จะก้มลงมองจากข้างใต้ของ ยับ-ยัม อาจระทึกใจไม่น้อยเมื่อพบว่าช่างปั้นลงทุนแกะสลักทุกส่วนสัดของอวัยวะเพศชายและหญิงอย่างสมส่วนในทุกมิติ จนใครที่เคยคิดว่าเทพและเทพีกอดกันเฉยๆ ต้องสิ้นสงสัยอย่างแน่นอน (ถ้าไม่เพ่งนานจนเป็นตากุ้งยิงไปก่อน)
     
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]


    ความ “ปกติ” ของรูปวาดและรูปปั้นในวัดที่แสดงการร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้ง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภูฏานเป็นประเทศที่ค่อนข้างเสรีเรื่องเพศ คนภูฏานไม่เคยรีรอที่จะเล่าโจ๊กสัปดนให้คนแปลกหน้าฟัง คุยกันเรื่องเซ็กซ์แบบหน้าตาเฉยต่อหน้านักท่องเที่ยว และวาดอวัยวะเพศชายบนกำแพงบ้าน นัยว่าเป็นการปกป้องครอบครัวจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
    บางบ้านถึงขนาดสลักองคชาติเป็นรูปสามมิติ ห้อยลงมาจากมุมหลังคา แถมมีปีกบิน และคาดด้วยดาบเสียด้วย (นัยว่าดาบเอาไว้ฟาดฟันอวิชชาให้หมดสิ้นไปจากจิต)
    ทาชิบอกว่า อวัยวะเพศชายที่วาดหรือแขวนตามบ้านนั้นเป็นสัญลักษณ์ของดรุกปา คุนเลย์ พระธุดงค์ในตำนานที่สอนชาวบ้านด้วยการเล่าเรื่องสัปดนที่สอดแทรกคติธรรม และกำราบอสูรร้ายให้กลายเป็นสาวกในพุทธศาสนาด้วยการตีหัวพวกมันด้วยจ้าวโลกของตัวเอง (!)
    เรื่องคุนเลย์นี้มีให้เล่าอีกเยอะ เพราะเป็นพระที่เรียกได้ว่า “มีสีสัน” ที่สุด เป็นที่รักที่สุดของชาวภูฏาน เดี๋ยวพอไปเยือนวัดของดรุกปา คุนเลย์ จะเล่าให้ฟังอีก
    พระลามะชั้นสูงอาจเป็น “ที่เคารพ” กราบไหว้ก็จริง แต่พระ “ติดดิน” อย่างคุนเลย์ที่ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านต่างหากที่เป็น “ที่รัก” ของประชาชน
    ……
    เรื่องเสรีภาพทางเพศของคนภูฏานนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก
    กฎหมายภูฏานไม่มีข้อจำกัดเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ผู้ชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้ แต่ผู้หญิงจะมีสามีกี่คนก็ได้เช่นกัน กษัตริย์องค์ปัจจุบันก็มีพระมเหสีสี่คน เป็นพี่น้องกันหมด (อะไรจะโชคดีปานนั้น)
    ก็นับว่ายุติธรรมดี
    ผู้ชายภูฏานนิยมมีภรรยาสองคน แต่งคนแรกตอนอายุ 25 ปี คนที่สองตอนอายุประมาณ 40 แน่นอน เจ้าสาวโดยมากเป็นสาวรุ่นแรกแย้ม อายุระหว่าง 18-25 ทั้งคู่
    ผู้หญิงภูฏานส่วนใหญ่มีสามีคนเดียว ยกเว้นในครอบครัวที่เลี้ยงจามรีเป็นอาชีพหลัก ผู้หญิงนิยมมีสามีสามคน คนแรกมีหน้าที่เลี้ยงฝูงจามรีในฤดูร้อนบนภูเขา (จามรีเป็นสัตว์เมืองหนาว จึงต้องอาศัยอยู่บนภูเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อหนีร้อนจากข้างล่าง) พอถึงฤดูหนาวก็ต้อนจามรีลงมาจากเขาให้สามีคนที่สองเลี้ยง (เพราะอากาศในฤดูนี้หนาวเกินกว่าที่จามรีจะทนอยู่บนยอดเขาได้) ส่วนสามีคนที่สามมีหน้าที่เอาเนยที่ทำจากจามรีไปขายที่ตลาด
    การหย่าร้างเป็นเรื่องธรรมดาในภูฏาน เพราะทั้งชายและหญิงมีสิทธิหย่าขาดจากกันได้ และสังคมภูฏานก็ไม่มีอคติต่อแม่ม่ายเหมือนสังคมไทยสมัยก่อน ที่กดดันให้หญิงไทยยอมทนอยู่กับผู้ชายเลวๆ แทนที่จะหย่า (แต่จะว่าไป สังคมไทยสมัยนี้ก็ใจกว้างขึ้นเยอะ)
    โสเภณีเป็นอาชีพถูกกฎหมายในภูฏาน (แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่าไหร่ พวกเธอทั้งหลายจึงอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ) แต่เสรีภาพเรื่องเซ็กซ์ของคนภูฏานน่าจะทำให้บริการของพวกเธอค่อนข้างเป็นสิ่งไม่จำเป็น
    สามีหรือภรรยาที่ถูกจับได้ว่ามีชู้อาจถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยตั้งจำนวนค่าเสียหายตามจำนวนปีที่แต่งงานกัน
    ชนบทภูฏานมีประเพณีหนึ่งเรียกว่า “การล่ายามวิกาล” (night-hunting) คือการที่ผู้ชายแอบปีนขึ้นห้องนอนของผู้หญิงที่ตน “ปิ๊ง” ยามดึก (หรือแม้แต่ไม่เคยเห็นหน้าผู้หญิงก็ไม่เป็นไร ขอแค่รู้ว่าบ้านนี้มีลูกสาวโสดเป็นใช้ได้)
    ก่อนจะมีอะไรกัน ฝ่ายหญิงเองก็ต้องยินยอมด้วย ไม่อย่างนั้นฝ่ายชายก็ต้องรีบจ้ำอ้าวก่อนจะเจอข้อหาข่มขืน ซ้ำร้ายถ้าทำผู้หญิงท้องแล้วถูกจับได้ กฎหมายบังคับให้จ่ายค่าทำคลอด และ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือนเป็นค่าเลี้ยงดูบุตร หากผู้หญิงไม่ยอมแต่งงานด้วย
    เรื่องนี้น่าสรรเสริญ เพราะเสรีภาพทางเพศคงไม่มีประโยชน์อันใด หากไร้ซึ่งความเท่าเทียมกันของสิทธิชายหญิงควบคู่ไปด้วย
    เมื่อมีอะไรกันแล้ว หากชายหญิงชอบพอกัน ผู้ชายก็เพียงแต่รอเฉยๆ ในห้องผู้หญิง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นผู้หญิงก็จะไปบอกพ่อแม่ ให้นิมนต์พระหรือ กอมเช็น (ฆราวาสที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็น) ประจำหมู่บ้านมาทำพิธีแต่งงานให้ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยโรงเรียนภูฏาน
    ปัจจุบันนักล่ายามวิกาลยังมีอยู่มากมายตามชนบท แต่ไม่แน่ใจว่าสถิติความสำเร็จของพวกเขาจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
    แต่ที่แน่นอนกว่าก็คือ การล่ายามวิกาลอาจเป็นวิธี “หาเมีย” โดยไม่ฝืนใจใคร ที่รวดเร็วที่สุดในโลก!
    (ถามทาชิกับเพม่าว่าเคยไปล่ายามวิกาลหรือไม่ สองหนุ่มเงียบ แต่ยิ้มกริ่มแววตาเป็นประกาย เหมือนล้อเล่นแต่ฉายแววเอาจริง แววตาแบบนี้เห็นบ่อยในคนภูฏานจนผู้เขียนเรียกมันว่า “สายตาแบบภูฏาน”)
    เล่าเรื่องตันตระอยู่ดีๆ ทำไมกลายเป็นเรื่องประเพณีพื้นบ้านไปได้แฮะ
     
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    ก็คงไม่เป็นไร เพราะพุทธกับไสยในภูฏานมีความใกล้ชิดกลมกลืนจนแยกจากกันไม่ออก มิหนำซ้ำครูรินโปเช และพระองค์อื่นๆ ที่เผยแผ่ศาสนาพุทธในภูฏาน ยังใช้ความแยบยลตรงที่กำราบเทวดาและอสูรต่างๆ ในความเชื่อพื้นบ้านดั้งเดิม (ที่ไม่มีชื่อเรียก แต่นักมานุษยวิทยาขนานนามว่า “บอน”) ให้กลายมาเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ แทนที่จะฆ่าฟันให้พินาศ
    นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมตันตระจึงมีเทวดาจำนวนมากมายมหาศาลขนาดนี้
    นับเป็น “เทคนิค” ในการเผยแพร่ศาสนาแบบโอนอ่อนผ่อนปรน บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในดินแดนแห่งมังกรคำราม
    ใครที่นึกดูถูกไสยศาสตร์ว่าเป็นเรื่องงมงายของคนโง่ อาจกำลังงมงายกับพุทธแบบคนฉลาดที่ไร้ปัญญาอยู่ก็ได้ ผู้เขียนเองขอสารภาพว่าอาจเป็นหนึ่งในจำนวนนี้
    แล้วถ้าไม่เห็นคนหลับในโลกนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตื่นแล้ว?
    ……
    นอกเหนือจากเรื่องเพศแล้ว เอกลักษณ์เด่นของตันตระอีกประการหนึ่งเมื่อเทียบกับพุทธนิกายอื่นๆ คือความดุดันน่ากลัวของศิลปะ

    ปางดุร้ายของพระอวโลกิเตศวร ชื่อ
    “มหากาฬ”
     
  13. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ปางดุร้ายของพระอวโลกิเตศวร ชื่อ “มหากาฬ”

    [​IMG]

    พระโพธิสัตว์ เทวดา และพระอรหันต์แทบทุกองค์ในตันตระ มีทั้งปางธรรมดา และปางดุร้าย ปางธรรมดาให้อารมณ์เงียบสงบ สันติ ในขณะที่ปางดุร้ายก็ดุร้ายสมชื่อ
    บ่อยครั้งจะเห็นเทวดาตาถลนแยกเขี้ยว ทิ่มหอกแหวกอกคนจนเห็นตับไตไส้พุงข้างใน มีหัวกะโหลก งูพิษ ซากศพ และอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์เป็นรูปประกอบฉาก
    แน่นอน ทุกอย่างย่อมมีความหมาย ลามะอาวุโสรูปหนึ่งเล่าให้ฟังว่าส่วนใหญ่รูปคนที่เทวดาเหยียบหรือแทงนั้น เป็นสัญลักษณ์ของอวิชชา กิเลส หรือนามธรรมที่ไม่พึงปรารถนาอื่นๆ
    แล้วทำไมต้องดุขนาดนี้ด้วยล่ะ? ผู้เขียนถาม
    เพราะพลังของความชั่วร้ายสามารถใช้ในทางดีได้นะโยม พระท่านตอบยิ้มๆ ความชั่วร้ายบางอย่างสยบได้ด้วยความชั่วร้ายด้วยกันเท่านั้น
    แม้จะไม่ค่อยเข้าใจที่พระท่านพูด แต่ก็รู้สึกเข้าใจได้ลางๆ เมื่อมานั่งคิดว่า ในเมืองไทยเราเองดูเหมือนว่า “คนเลว” ทั้งหลายจะไม่เคยแพ้ “คนดี” ประเภทดีบริสุทธิ์เลย แพ้แต่ “คนเลว” ด้วยกันที่ “เลวน้อยกว่า” ก็เท่านั้น
    ส่ง “คนดี” ของเรามาภูฏานให้ศึกษาวิธีใช้พลังชั่วร้ายปราบคนชั่ว แลกกับให้ภูฏานส่งคนมาศึกษาวิธี “เลวน้อยปราบเลวมาก” แบบไทยๆ น่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่ไม่เลว
    ……
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468


    Rango ฮีโร่ทะเลทราย
    Rango ฮีโร่ทะเลทราย | พัทยาเดลินิวส์ - ข่าวพัทยา คลิกทุกวัน ทันทุกข่าว

    [​IMG]

    Rango เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันใหม่เอี่ยม ที่มีกำหนดจะเข้าฉายในปี 2011 ภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนบทโดยจอห์น โลแกน (John Logan) และกำกับโดยกอร์ เวอร์บินสกี้ และพากย์เสียงโดยจอห์นนี่ เดปป์ ในบทแรงโก้

    [​IMG]

    แอนิเมชั่นคอมเมดี้ผจญภัยสุดแปลกใหม่ ที่จะนำผู้ชมร่วมผจญภัยสุดฮา และตื่นเต้นสุดลูกหูลูกตากับดินแดนตะวันตก การเดินทางสุดขำขันที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของแรงโก้ (เด็ปป์) กิ้งก่าหนุ่มที่เคยเป็นเพียงแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดาๆ ของมนุษย์ครอบครัวหนึ่ง แต่กลับต้องหลงทางอยู่กลางทะเลทรายที่น่าหวาดหวั่น แรงโก้ กำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์สุดวิกฤตของชีวิตกิ้งก่า นั่นคือ การไปลงเอยอยู่ในถิ่นนักดวลปืนนอกกฎหมาย ซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรดาสิ่งมีชีวิตเจ้าเล่ห์ที่สุดในทะเลทราย เจ้ากิ้งก่าหยองกรอดตัวนี้ก็พบว่าความแตกต่างในตัวเขาได้รับการต้อนรับอย่างดีในฐานะความหวังสุดท้ายที่ชาวเมืองรอคอยอยู่ แรงโก้ นายอำเภอหน้าใหม่ก็เลยถูกบีบให้ต้องสวมบทบาทนี้…จนกระทั่งสถานการณ์สุดระทึกและการได้เผชิญหน้ากับบรรดาตัวละครพิลึกพิลั่นผลักดันให้แรงโก้ เริ่มกลายเป็นฮีโร่ตัวจริงเสียงจริง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ^_^
    พิจารณา มหาพิจารณา
    ผู้มีสติเป็นผู้มีโชค
    ผู้ไม่ประมาทเป็นผู้ไม่ตาย
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  16. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  17. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  18. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ไป่เกินกาลท่านสั่ง กระทั่งแรมสิบห้าค่ำ ย่ำสองนาฬิกาปลาย ทำงนงายพอเสร็จ จึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วแคล้วคลา กับราชาคณะสงฆ์ ยี่สิบห้าองค์สองแผนก แฉกงาสานสรล้าย ผ้ายลุยังวังราช พระบาทธให้นิมนต์ ดลเรือนรัตนมาฬก ตกแต่งอาสน์ลาดเจียม เตรียมเสร็จสงฆ์สู่สถิต บพิตรกรกรรมพุม ชุมบรรพชิตแช่มชื่น ขุนชีอื้นอวยพร ถามข่าวจรจอมภพ ซึ่งเสด็จรบพารณ จนอเรนทรพินาศ ขาดคอคชในรงค์ จึ่งพระองค์อิศเรศ บรรหารเหตุจำบัง จอมสงฆ์ฟังซั้นขาน พระราชสมภารมีชัย ใดทวยบาทมูลิกา ต้องอาชญายินแหนง ตรัสแสดงโดยดับ ว่านายทัพทั้งผอง เกณฑ์เข้ากองพยูห์ โยมสองตูต่อเข็ญ มันเห็นเศิกสระทก ตระดกดาระรัว ยิ่งกว่ากลัวสวามิศ บเต้าติดตูต้อย มละแต่ข้อยสองคน เข้าโรมรณราวิศ ในอมิตรหมู่กลาง แสนเสนางค์เนืองบร จนราญรอนไอยเรศ ลุชเยศมฤตยู จึ่งได้ดูหน้ามัน เพื่อมหันตบารเมศ เบื้องบุเรศบำรุง ผดุงเดชเผือพี่น้อง ผิบพ้องบุญบูรพ์ ไอยศูรย์เสียมภพ ตรลบเลื่องขามนามตะเลง ลือละเวงธาษตรี เป็นธรณีหงสา เสื่อมกฤตยาสยามยศ สาหสสหากมากมวล ควรลงทัณฑ์ถึงม้วย ด้วยพระอัยการศึก จารึกชื่อชั่วฟ้า ไว้เป็นขนบภายหน้า อย่าให้ใครยลเยี่ยงนา
    ๑๖๙/๓๔๘ โคลง๔
    สมเด็จพนรัตเจ้า ... จอมชี
    ฉลองพจน์ราชวาที ... ท่านให้
    ทวยทูลละอองธุลี ... บัวบาท พระนา
    พื้นภักดีต่อใต้ ... บทเบื้องเรณู


    ๑๗๐/๓๔๙
    ดูผิดไป่รักท้าว ...ไป่เกรง
    แผกระบอบแต่เพรง ... ห่อนพ้อง
    พระเดชหากแสดงเอง ... อำนาจ พระนา
    เสนอทุกทวยธเรศก้อง ... เกียรติอ้างอัศจรรย์
    ฯลฯ


    ๑๗๑/๓๕๗
    พระตรีโลกนาถแผ้ว ...เผด็จมาร
    เฉกพระราชสมภาร ... พี่น้อง
    เสด็จไร้พิริยะราญ ... อรินาศ ลงนา
    เสนอพระยศยิ่งยินก้อง ... เกียรติท้าวทุกภาย


    ๑๗๒/๓๕๘
    ผิวหลายพยุหยุทธ์ร้า ... โรมรอน
    ชนะอมิตรมวลมอญ ... มั่วมล้าง
    พระเดชบ่ดาลขจร ... เจริญฤทธิ์ พระนา
    ไปทั่วธเรศออกอ้าง ... เอิกฟ้าดินไหว


    ๑๗๓/๓๕๙
    อย่าไทโทมนัสน้อย ...หฤทยา
    เพื่อพระราชกฤษฏา ... แต่กี้
    ทุกทวยเทพคณา ... ซุมซ่วย พระเอย
    แสดงพระเดโชชี้ ... ชเยศไว้ในสนาม


    ๑๗๔/๓๖๐ โคลง๓
    สมดั่งความตูพร้อง ... ขอบพิตรอย่าข้อง
    ขุ่นแค้นเคืองกมล ... ท่านนา


    ๑๗๕/๓๖๑
    โดยยุบลถ่องแท้ ... ฤๅสนเท่ห์เล่ห์แล้
    ถูกถ้อยแถลงการณ์ ... นี้นา


    ร่าย ๑๗๖/๓๖๒ ปางนฤบาลบดินทร์ ยินสมเด็จพระวันรัต จำแนกอรรถบรรยาย ถวายวิสัชนาสาร โดยพิสดารพรรณนา เสนอสมญายศโยค พระบรมโลกโมลี ด้วยวิธีอุปมาแห่งกฤษฎาภินิหาร ดาลมนัสชุ่มชื้น ตื้นเต็มปรีดิ์ปราโมทย์ โอษฐ์ออกื้นสาธู ชูพระกรกรรพุม ชุมทศนัขเหนือผาก เพื่อยินมลากเลอมาน เจ้ากูขานคำขอบ ชอบทุกสิ่งจริงถ้อย ถวิลบ่แหนงหนึ่งน้อย แน่แท้แถลง แลนา
    ๑๗๗/๓๖๓
    แจ้งเหตุแห่งเหือดขึ้ง ... ในมนัส
    จึ่งพระวันรัตวัด ... ป่าแก้ว
    ถวายพรบวรศรีสวัสดิ์ ... สว่างโทษ ท่านนา
    นฤทุกข์นฤภัยแผ้ว ... ผ่องพ้นอันตราย


    ๑๗๘/๓๖๔
    ทั้งหลายทวยบาทเบื้อง ... บงกช
    ควรโคตรโทษสาหส... อะคร้าว
    แต่ทูลธุลีบท ... สนองบาท มานา
    เพรงพระอัยกาท้าว ... ตราบไท้พระเจ้าหลวง


    ๑๗๙/๓๖๕
    ล่วงถึงบพิตรผู้ ...เถลิงถวัลย- ราชย์ฤๅ
    คือพุทธบรรษัทสรรพ์ ... สืบสร้าง
    เชิญดอดอวยทัณฑ์ ...ทวยโทษ นี้นา
    เลยอย่าลาญชีพมล้าง ... หนึ่งครั้งขอเผือ


    ๑๘๐/๓๖๖
    ไว้เพื่อผดุงเดชเจ้า... จอมปราณ
    ก่อเกิดราชรำบาญ ...ใหม่แม้
    พูนเพิ่มพระสมภาร ... เพ็ญภพ พระนา
    วายบ่หวังตนแก้ ...ชอบได้ไป่มี


    ร่าย ๑๘๑/๓๖๗ นฤบดีดาลสดับอรรถ ซึ่งพระวันรัตอภิปราย ถวายพระพรอาจายน์ โทษมวลมาตย์ทุกมุล เพื่อการุญบริรักษ์ ภักดีในบาทบงสุ์ จึ่งพระองค์อนุญาต พระราชทานโทษทั้งผอง โดยอันครองยศ บรรหารพจนพาที ซึ่งเจ้าชีขานขอ ข้อยยกยอโทษให้ แต่ชอบใช้ไปรอน เอานครตะนาวศรี บุรีทวายมริด ถ่ายหนผิดหาชอบ ขุนสงฆ์ตอบคำขาน ข้อโรมราญราวิศ ไป่เป็นกิจตูตาม ใช่เงื่อนงามบรรพชิต โดยพิตรอัธยา เบื้องบัญชาเชิงใช้ ขอลาไท้ลีลาศ ยังอาวาสเวียงวัด ตระบัดท่านจรลี พาเพื่อนชีอะคร้าว คืนสู่ด้าวอาราม เจ้าจอมสยามเสาวนีย์ เนืองมนตรีพ้นโทษ โปรดให้เนาตำแหน่ง แห่งฐานันดรยศ พระราชกำหนดโดยดับ ทัพเจ้าพระยาคลัง รังพลห้าหมื่นเสร็จ เห็จโหมเวียงทวาย หมายเจ้าพระยาจักรี พรักพิรีย์เทียบทัด รัดไปโรมตะนาวศรี ตีมริดเวียงชัย จึ่งชไมมาตยา บัลคลลายาตรพยู่ห์ สู่แดนเศิกโดยปอง ปิ่นเสียมสองสุริยชาติ ตรัสพิภาษพจนา ซึ่งอุตรานคเรศ เขตสีมาเมืองออก เลิกครัวครอกมาหลาย หมายบ่หมดทั้งผอง ตริไตรครองคราวศึก เสื่อมหาญฮึดแบ่งเบา จักโรมเราฤๅย่าน ฝีมือม่านมอญมวล ควรผดุงชนบท ปรากฏเกียรติยืนยง คงคู่กัลป์ประลัย เฉลิมแหล่งไผททั่วด้าว แสดงพระยศไทท้าว ธิราชไว้ไป่วาย นามนา

    ฯลฯ
    ๑๘๒/๔๒๖ โคลง๔
    เสร็จแสดงพระยศเจ้า... จอมอยุธ- ยาแฮ
    องค์อดิศรสมมุติ ...เทพไท้
    นเรศวรรัตนมกุฎ ...เกศกษัตริย์ สยามฤๅ
    หวังอยู่คู่ธเรศไว้ ... ฟากฟ้าดินเฉลิม


    ๑๘๓/๔๒๗
    รังเริ่มรจเรขอ้าง ... อรรถา แถลงเอย
    เสมอทิพย์มาลย์ผกา ... เก็บร้อย
    ฉลองบทรัชนรา- ...ธิปผ่าน ภพฤๅ
    โดยบ่เชี่ยวเชลงถ้อย ... ถ่องแท้แลฉลาย


    ๑๘๔/๔๒๘
    บรรยายกลกาพย์แสร้ง... สมญา ไว้แฮ
    สมลักษณ์เล่ห์เสาวนา ...เรื่องรู้
    “ตะเลงพ่าย”เพื่อตะเลงปรา-... ชเยศ พระเอย
    เสนอฤทธิ์สองราชสู้ ... ศึกช้างกลางสมร


    ๑๘๕/๔๒๙
    อวยพรคณะปราชญ์พร้อม... พิจารณ์ เทอญพ่อ
    ใดวิรุธบรรหาร ...เหตุด้วย
    จงเฉลิมแหล่งพสุธาร... เจริญรอด หึงแฮ
    มลายโลกอย่ามลายม้วย... อรรถอื้นอัญขยม


    ๑๘๖/๔๓๐
    กรมหมื่นนุชิต ...เชื้อ กวีวร
    ชิโนรส มิ่งมหิศร ... เสกให้
    ศรีสุคต พจนสุนทร ... เถลิงลักษณ์ นี้นา
    ขัตติยวงศ์ ผจงโอษฐ์ไว้ ...สืบหล้าอย่าศูนย์
    ฯลฯ


    ๑๘๗/๔๓๗
    ผิววงว่ายวัฏเวิ้ง ... วารี โอฆฤๅ
    บลุโลกกุตรโมลี ...เลิศล้น
    จงเจนจิตกวี ... วรวากย์ เฉลิยวเอย
    ตราบล่วงบ่วงภพพ้น ... เผด็จเสี้ยนเบียนสมร
    ฯลฯ
    [แก้ไข]

    ที่มา
    http://palungjit.org/threads/นอกชานระเบียงบ้าน.258369/page-514#post4607239
    ลิลิตตะเลงพ่าย ฉบับร้อยกรอง - วิกิซอร์ซ
    ลิลิตตะเลงพ่าย ฉบับร้อยกรอง - วิกิซอร์ซ
     
  19. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468

    ที่มาครับ
    http://palungjit.org/threads/นอกชานระเบียงบ้าน.258369/page-509
     
  20. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ที่มาครับ
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8...58369.509/
     

แชร์หน้านี้

Loading...