เรื่องเล่าของข้าพเจ้าความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย ชัชวาล เพ่งวรรธนะ, 1 ตุลาคม 2008.

  1. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่เณรคำ ชุดขันติธรรม...เพื่อนิพาน

    หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่เณรคำ ชุดขันติธรรม
    • พระอริยเจ้าละสังขาร ไม่มีแดนเกิดแห่งกายนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นกายสัตว์ กายอะไรก็ช่าง กายละเอียดกายหยาบไม่มีอีกต่อไป
    • นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกายเมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร
    • นักปฏิบัติต้องทบทวนดูพฤติจิตของตนเองให้ดี ให้เด่นชัด ให้ละเอียด เพราะกลเกมกลลวงของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเฉียบคม
    • ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว อย่าเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหน ๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น ปฏิบัติให้ตื่นรู้อยู่ในกายทุกอากัปกิริยา
    • ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว ไม่พึงแสวงหาวัตถุอย่างอื่นอันนอกเหนือจากความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    • การปฏิบัติธรรมนั้น แม้เกิดก็เกิดคนเดียว การจะเข้าถึงมรรคผล ก็เข้าถึงคนเดียว ธาตุขันธ์จะแตกดับก็แตกดับคนเดียว
    • การธุดงค์ป่านอก ไม่มีผลสำเร็จดีเท่ากับเดินจาริกอยู่ในป่ามหานครกายและป่าใจของตัวเอง
    [​IMG]
    • จงดำเนินองค์สติ ให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ควบคุมความคะนองทางใจ สำรวมระวังความคิด เจริญกองบุญกุศลให้ถึงพร้อม และให้ละบาปอกุศลให้สิ้น
    • ไม่ยึดถือเอาสัญญาเป็นเจ้าของ หลุดพ้นออกจากสัญญาแล้วความขุ่นข้องหมองใจ ความพยาบาทปองร้ายก็ดับไป
    • พอใจในสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่ตนได้ ถ้าดิ้นรนมาก ก็จะกลายเป็นกิเลส ตัณหา
    • ท่านทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน ต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลาย ยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า
    • การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารภพน้อยภพใหญ่นี้ มันทุกข์ร้อนมาก ๆ ผู้ไม่ปรารถนาที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ต้องปฏิบัติตนรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ตั้งศรัทธาให้มั่นคง ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง ถอดถอนความยึดถือในโลกทั้งปวง ในธรรมทั้งปวง ความเป็นตัวเป็นตน ความแบกหาม เอาสมมุติทั้งหลายทิ้งไปให้หมด สละไปให้หมด จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิด
    • ท่านผู้มีปัญญาย่อมมีธรรมปรากฏอยู่ในจิตใจเสมอ ปัญญาธรรมคือ สิ่งที่เลิศที่สุดในชาติปัจจุบัน
    • ธรรม ทั้งปวงนั้นคือ เครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลายตื่นจากการหลับใหลในความยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ให้รู้จักส่งคืนสิ่งยึดติดทั้งปวง ด้วยธรรมอันจิตไม่ยึดมั่น เห็นเด่นชัดนั่นเป็นสักแต่ว่า
    [​IMG]
    • นักปฏิบัติต้องใช้สติปัญญาที่เฉียบคม ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดมากลงไปเรื่อย ๆ ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจนั้น มันหมดไปมากน้อยแค่ไหน และทบทวนดูสภาพจิตของตัวเองให้ลุ่มลึกลงไปให้มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทุกอย่างต้องดับไป
    • นักปฏิบัติต้องทบทวนดูสิ่งที่ตนเห็นให้ดี เพราะสิ่งที่เห็น คือ อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นแล้วเดินจิตปลงลงสู่ความไม่ยึดถือ เดินกระแสจิตเข้าสู่ความดับ พอมันหลุดไปหมดแล้ว จะเห็นอะไรมันก็เห็นเป็นปกติ
    • นักปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูรูป เวทนา ให้เด่นชัด เมื่อเด่นชัดแล้ว จิตก็จะถอดถอนออกโดยอัตโนมัติ เห็นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น
    • สาธุชนทั้งหลายอย่าเห็นฤทธิ์เดชเหล่านั้น สำคัญกว่าการละกิเลสให้ได้เด็ดขาดอย่างแท้จริง
    • ท่านทั้งหลาย เราอย่าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้านั้นสอนให้เราสร้างแต่บุญเพื่อไปเกิดในสวรรค์ อย่างเดียว แต่หัวใจของพระพุทธเจ้าที่เน้นหนักลงมา คือ ให้เราได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตามพระองค์
    • อุเบกขา นั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบอุเบกขาผู้มีปัญญา อุเบกขาแบบผู้มีปัญญา คือ การเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล
    ^ กลับสู่ข้างบน
    [​IMG]
    • เนื้อแท้ของธรรมชาติในโลกวัฏฏทุกข์นั้น ล้วนแล้วไม่ยั่งยืน แปรปรวนอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย จึงให้ทุกท่านเข้าไปรู้ความจริงของธรรมชาติแห่งวัฎฎทุกข์นั้น ด้วยสติปัญญาอันสุขุมละเอียด และด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ความจริงแจ้งชัดหายสงสัยปรากฏอย่างที่สุด หลุดพ้นทันที
    • ความโง่ในโลก ที่เราโดนหลอกเอย คนนั้นหลอก คนนี้หลอก มันไม่ใช่ความโง่ที่เรียกว่าหนักหนาอะไร แต่ที่หนักคือ เราโง่ให้กิเลสมาสับรางจิตใจของเรา ให้ไปผิดทาง
    • ยุคนี้ คือ ยุคที่เราจะทำให้เป็นดั่งสมัยพุทธกาล คือ ให้มีผู้บรรลุสำเร็จเป็นอรหันต์มากที่สุด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
    • จิตที่หลงยึดติด ว่าเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราบรรลุแล้วจบสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตที่หลงนี้ ต้องกลับมาเกิดใหม่และนำเอาจริตเดิม สันดานเดิมที่หลงติดไปด้วย
    • ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา
    • ถ้าเราได้จาบจ้วงพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ก็เหมือนเราได้จาบจ้วงทั้งหมด ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาลนี้ ผลกรรมนั้นมันหนักหนาสากรรจ์มาก
    • ให้เฝ้าดูอาการของจิตจนรู้จิตเด่นชัด การบรรลุธรรมจะปรากฎ รู้จิตเห็นธรรม
    • จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง
    • ทุกคนจงมาทำให้แจ้งในปัจจุบันนี้เลย อย่าทำเพื่อชาติหน้า อย่าทำเพื่ออนาคตอันยืดเยื้อยาวไกลไปมาก ทำปัจจุบันให้มันแจ้ง แจ้งทั้งกาย ให้มันแจ้งทั้งจิตใจ อย่าให้มีข้อลังเลสงสัย อย่าให้มันเกิดการพวักพวงให้มันแจ้งไปหมด
    • การขับเคลื่อนของสติปัญญานั้น ต้องเดินอย่างต่อเนื่อง
    • เมื่ออำนาจสติมีกำลังพอเพียง จะสามารถเห็นความเป็นจริงได้ว่าสภาพจิตและกาย ไม่ได้เป็นเนื้ออันเดียวกัน มันแยกกันอยู่
    • สัญญานั้นเหมือนเพลิงที่มาเผาจิตของเวไนยสัตว์ไม่ให้หลุดพ้น ออกจากกองทุกข์
    • คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้น ๆ แต่ละลมหายใจเข้า – ออก แต่ละเวลา แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที สภาพปัจจุบันด้วย
    • ยศถา บรรดาศักดิ์ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณทั้งหมดเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เราก็ไม่ได้เอาไปด้วย เป็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกนี้แค่นั้น ท่านจะเป็นมนุษย์ผู้มีสมบัติใหญ่โต มีชื่อแปลก ๆ มีรถยนต์นั่นคือเครื่องสมมุติ ผู้ที่บำเพ็ญตนให้พ้นจากกิลสตัณหา เห็นสมมุติเหล่านั้นให้เด่นชัด เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติ รู้สมมุติเหล่านั้นแล้วทิ้งสมมุติเป็นแดนเกิด ภพชาติจึงดับไป
    • หัวใจแก่นแท้ของนักปฏิบัติธรรมตามธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ความไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของในสิ่งทั้งปวง
    • คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์
    • การบำเพ็ญต้องบำเพ็ญด้วยสติล้วน ๆ ปัญญาล้วน ๆ ไม่ไปหลงกับอำนาจสมาธิ อำนาจความสุข ความปิติบางอย่าง ต้องตั้งสติให้มั่นคงเด็ดเดี่ยวขึ้นกว่าเดิม ตั้งกำลังปัญญาให้มันแกร่งขึ้นมากกว่าเดิมพิจารณาให้มันแตกฉานไปเสียหมดเลย จึงจะหลุดพ้น
    • การบำเพ็ญนั้น ต้องบำเพ็ญด้วยความเด็ดเดี่ยว คำว่าเด็ดเดี่ยวหลักสำคัญ คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น ให้นั่งทำใจของตนให้สงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
    • การบำเพ็ญต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่น ถือมั่นเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูกแล้ว อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันอัตโนมัติ
    • สภาพสติปัญญาที่จะน้อมนำธรรมคำสอนเข้าฝังในหัวใจ จะเข้าไปในจิตใจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ เพราะว่าการบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ของแต่ละคน แต่ละท่านนั้น สะสมกำลังบารมีส่วนนี้มาแตกต่างกัน
    ^ กลับสู่ข้างบน
    [​IMG]
    • ยิ่งรู้แจ้งในกายมากเท่าไหร่ สติปัญญายิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น
    • ยอดที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของสาธุชนทั้งหลายนั้น ต้องให้ถึงที่สุดแห่งองค์พุทธะ ให้ถึงที่สุดแห่งองค์ธรรมะ และให้ถึงที่สุดแห่งองค์พระสังฆอริยเจ้า ด้วยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้รวมเป็นหนึ่งหมุนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้านั้น นั่นแหละคือว่า เราได้ทำให้ถึงยอดของพระพุทธศาสนา
    • นิพพานนั้นไม่มีแดนเกิด นิพพานนั้นดับได้หมดเลย นิพพานเหนือโลกทั้งมวล เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหมด
    • สาธุชนท่านใดปรารถนาให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิด ต้องทำให้แจ้งในมหานครกายและมหานครใจ แจ้งจนหายสงสัย เมื่อหายสงสัยแล้ว ส่งคืนไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
    • แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น
    • ถ้าจะหลุดพ้นแท้ ๆ คือ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นยึดถือในหัวใจ
    • หลุดพ้นออกจากความหลุดพ้น นี่คือ ที่สุดของการปฏิบัติ
    • การบรรลุมรรคผล จิตนั้นจะไม่มีอะไรแทรกแซงในจิตเลย แม้แต่ความเห็นว่า จิตของตนนั้นใสดั่งแก้ว ก็ไม่มีเลย
    • การเดินย่ำไปในโลกธรรม ถ้าจิตเหนื่อยล้าก็จงพักเอากำลังแห่งสติปัญญาอันกล้าหาญ ไม่หวั่นไหวในสภาพทั้งปวง โลกธรรมมันยาวไกลไม่สิ้นสุด จิตหลุดพ้นแล้ว แม้โลกธรรมจะแสนไกลไร้ความหมาย เจริญธรรมอันเลิศแด่ท่านผู้ประเสริฐ
    • ความเชื่อในทางโลกนั้นมีกำลังมากกว่าความเชื่อในทางธรรม เพราะว่าทางโลกนั้นมีรูปธรรมสัมผัสได้จับต้องได้ แต่ทางธรรมนั้นต้องใช้สติปัญญา มันจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่า แต่กำหนดรู้เข้าไปที่จิตสำนึกได้เท่านั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้ ต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตั้งมั่นศรัทธาในศาสนาจนแก่กล้าจึงจะเข้าถึงราก ได้
    หลวงปู่เณรคำ วัดป่าขันติธรรม (เว็บไซต์หลัก)
     
  2. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    การทรงอารมณ์ ของสมาธิระดับ ฌาน ทั้งวันนั้นเป็นเรื่องที่ยาก มีเฉพาะผู้ฝึกสมาธิขั้นสูงเท่านนั้นที่จะเข้าๆ ออกๆจาก ฌานในระดับต่างๆได้ ส่วนใหญ่ท่านเหล่านั้นจะพักที่อารมณ์สมาธิขั้นกลาง ( อุปจารสมาธิ ) นอกจากเวลาที่ท่านเหล่านั้นจะใช้งาน โดยท่านจะยึดอารมณ์สมาธิในอาณาปณสติ เป็นส่วนใหญ่ ขอให้เข้าใจว่า กรรมฐาน 40 กองนั้น สามารถทรงอารมณ์ ถึงระดับ ฌาน 4 แค่ 12 กอง ส่วนที่เหลือจะอยู่ในระดับอุปจารสมาธิเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น
    อาการที่แสดงออกทางกายให้เห็นอย่างที่ท่านเล่ามา ถ้าท่านอยากไปต่อ ขอให้ท่านอย่าไปสนใจอาการที่แสดงออกมาทางกาย จง เพ่งในอารมณ์ที่ท่านตั้งไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นไปเรื่อยๆ ถ้าใช้อาณาปาณสติจะเข้าถึงฌาน4 ใช้งานนี่ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่คนติดอยู่แค่อุปจารสมาธิขั้นละเอียด มีไม่กี่ท่านที่เข้าฌานใน อาณาปาณสติ.ถ้าต้องการฌาน 4 ใช้งานขอให้ไปฝึกกสิณครับ มีรูปให้กำหนด ไม่อย่างนั้นจะติดอยู่แค่อุปจารสมาธิขั้นละเอียดในอาณาปาณสติครับ. สมาธิขั้นนี้ขอให้เข้าใจว่า จะมีสิ่งแปลกๆเริ่มให้ท่านเห็น อย่าไปนึกดีใจนะครับ มีก็ดู ไม่เห็นก็ไม่เป็นไร ไม่งั้นท่านจะติด และเกิดความอยากเป็นนิวรณ์ครับ สุดท้ายก็จะไม่เกิด ไม่มีให้เห็นอีกเลย เพราะอยาก...
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  3. kung_9894

    kung_9894 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +1,584
    เรียนพี่อ้องค่ะ

    อนุโมทนาค่ะพี่อ้อง

    เวลานั่งสมาธิ บางครั้งจะเห็นตัวเองนั่งอยู่ กุ้งก็จะพิจารณาแยกทีละส่วน
    คือดูหนัง เนื้อ ขน ผม เล็บ แยกกันออกมาทีละส่วนค่ะ
    แล้วก็จะพิจารณาให้เห็นตัวเองไม่มีหนัง มีแต่เนื้อแดงๆ แล้วก็เห็นตัวเองนอนอยู่
    ในที่สุดก็กลายเป็นศพ แล้วก็เน่า เปื่อยจน เหลือเป็นซากผุพังกลายเป็นธาตุดิน
    แล้วก็ปลิวหายไป ไม่มีอะไรเหลืออีก
    นี่คือพิจารณาไตรลักษณ์ใช่หรือไม่คะ ระหว่างวัน อารมณ์ที่เกิดขึ้น มันเกิดแล้วดับไปอย่างรวดเร็วค่ะ เนื่องจากไม่ได้ยึดติดกับอะไรทั้งนั้น เหมือนดูละคร ไม่ได้เก็บมาคิดอีก เพราะไม่มีอะไรที่เป็นของเรา คืออารมณ์เป็นกลางๆ ว่างๆ สบายๆ
    ส่วนระหว่างวัน ในชีวิตประจำวัน รู้สึกเหมือนกับคิดอะไรได้เป็นระเบียบมากขึ้นค่ะ และเวลาทำงานอะไรก็จะจดจ่อกับสิ่งนั้นอยู่ตลอดจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย

    ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะพี่อ้อง _/|\_





     
  4. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบกุ้ง

    ปฏิภาคนิมิต การพิจารณาอวัยวะ ชิ้นส่วนจัดเป็นการปลงอสุภะชนิดหนึ่ง
    เบื้องต้นในขณะที่ยกอารมณ์เข้ามาพิจารณาอยู่นั้นยังจัดเป็นสมถะอยู่ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนาเพราะต้องอาศัยสติ สมาธิอันเป็นคุณอุปถัมภ์เสียก่อน

    เมื่อสติ สมาธิมีกำลัง ความสงบเงียบของโลกธรรมทั้ง๘สลายหายไป
    เหลือเพียงจิตที่ตั้งมั่น บางครั้งถ้ากำลังสมาธิมีอยู่ก็อาจจะเห็นความเกิดดับของขันธ์ที่พิจารณาอยู่

    ขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    มันออกมาจากใจ ถ้าจิตตั้งมั่นในอารมณ์เต็มที่ของเค้าที่เีรียกว่าเอกัคคตาจิตเพราะยกอารมณ์เอกัคตารมณ์จนจิตรวมเข้าหาักันเป็นหนึ่ง

    ความจริงก็คือปัญญา...
    คือต้องพบขันธ์ และพิจารณาขันธ์ เห็นขันธ์แสดงตัวตนอย่างชัดเจน และพิจารณาหยั่งลงสู่ขันธ์คือรูปลักษณะที่ปรากฏ

    มันแวบเดียวจริงๆและเข้าไปเห็นเหตุเห็นผลของความธรรมดาที่ปรากฏ

    ทุกสิ่งเราไปบังคับไม่ได้ เค้าปรากฏเกิดเองตามธรรมชาติ
    มีทั้งเหตุใกล้ เหตุไกล

    เช่นบางครั้งกุ้งก็นึกอะไร เห็นอะไร ได้ยินอะไรแล้วจดจำได้ รู้รส กลิ่น
    เสียง สัมผัสที่เคยพึงพอใจ ไม่พึงพอใจ มันปรากฏเองแล้วเราระลึกได้
    ธรรมชาติมันเกิดเอง

    เหตุเกิดของจิตคือ อดีตกรรม อารมณ์ วัตถุรูป เจตสิก
    มันจะเกิดที่วิญาณอายตนะตรงที่แลบออกมาจากใจ

    ดังนั้นในขณะที่กุ้งพิจารณาอวัยวะชิ้นส่วนของร่างกาย จิตยังเป็นสมถอยู่ในอารมณ์นั้นๆ

    พระไตรลักษณ์เป็นการที่ผู้รู้เข้าไปรู้รูปลักษณะตามความจริงของเหตุและผลเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ

    เช่นกุ้งเมื่อย เวลาขยับ ถ้ามีสติ มีสมาธิ มันจะเห็นจิตส่งออกไปไปหาเหตุมีรูปลักษณะปรากฏ ช่วงที่กุ้งเห็นเหตุคือทุกข์สัจจะปรากฏ กุ้งจะเห็นเพียงขันธ์ปรากฏ นี่คือพบขันธ์ รูปลักษณะเมื่อย

    จิตปรากฏเกิดขึ้นเพราะมีอดีตกรรม อารมณ์ วัตถุรูป เจตสิกตัวปรุงแต่งอาการของจิตคือ จิตจะกระเพื่อมหวั่นไหวเพราะเมื่อยต้องขยับ

    ช่วงที่จะขยับและเปลี่ยนท่าทางแล้วกุ้งจะเห็นรูปลักษณะของขันธ์แสดงการเปลี่ยนแปลงตั้งอยู่ไม่ได้ และดับสลายหายไปเพราะเปลี่ยนท่าทางใหม่

    มันแวบเดียวเองในท่าขยับตัวที่ปรากฏ สติ สมาธิ และเห็นขันธ์ พิจารณาลงสู่ขันธ์

    หลวงปู่เทสก์ท่านจึงสอนว่า อย่าพึงพิจารณาถ้า สติ สมาธิยังไม่มีกำลัง
    ให้ทำจิตยกอารมณ์นั้นๆให้จิตรวมกำลังเสียก่อนเพราะจะพิจารณาไม่ชัดถ้าขาดกำลัง

    ปฎิภาคนิมิตเป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารนะ ถ้ากุ้งชอบ พอจิตมันยกอารมณ์กรรมฐานที่พิจารณาอยู่จนรวมเต็มที่แล้วก็ปล่อยวางเค้าลงเข้าสู่ใจที่ปรากฏ

    ใจที่ปรากฏจะมีสภาพที่เป็นอนัตตาเช่นกันคือซักพักก็จะกระเพื่อมไปกับอารมณ์ชนิดอื่นๆอีก ช่วงที่มันแวบออกจากใจ จิตก็จะปรากฏ ขันธ์ก็จะปรากฏ ตรงที่ปรากฏคือที่อายตนะวิญญาณ ตรงจุดผัสสะกระทบ

    ตรงนี้ให้เข้าไปรู้จนแจ่มแจ้งในวิญญาณแห่งอายตนะ ขันธ์ สัจจะ ความจริง

    ปัญญาถ้าพูดตรงๆก็คือเราเห็นความจริง
    จนแม้แต่ขันธ์ที่ปรากฏก็ไม่ใช่แม้แต่เราซึ้งเป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่ก็ไม่ใช่
    เป็นเพียงการแสดงของพระไตรลักษณ์ในรูปลักษณะชนิดหนึ่งก็สลายหายไปทั้งหมดทั้งสิ้น

    อนุโมทนาครับ
    พี่อ้อง
     
  5. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบน้องตั๊ม

    ตั๊มยังประคองตัวรู้อยู่...
    พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต
    ถ้ายังยึดผู้รู้เป็นเรา ยังยึดว่าจิตเป็นเราก็ยังไม่สามารถละสังโยชน์ได้

    จิตนั้นเป็นธาตุรู้อารมณ์ถูกกิเลสตัณหาหมักดองมานานอเนกชาติจนคำว่าหมักดองนั้นมันปรากฏ อาสวะห่อหุ้มจิตเป็นชั้นๆ

    ถ้ายังไม่สามารถละอาสวะที่ห่อหุ้มได้ด้วยปัญญาก็ละสังโยชน์ให้ขาดไม่ได้ในชั่วขณะที่อินทรีย์สมบูรณ์

    ขอให้ตั๊มระวัง วิปัสสนูกิเลสมันละเอียดไปตามจิตเรา
    ตั๊มเชื่อแต่จิตตั๊มยังไม่คลายออกเพราะมันดื้อ มันยังไม่เชื่อ

    พี่อ้องถึงบอกตั๊มเสมอว่า...
    อบรมสติให้มั่นคง อบรมสภาวะ พื้นฐานให้มาก

    จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
    คำว่าสำรอกออกส่ิงนี้ก็สำคัญ

    พี่อ้องอ่านที่ตั๊มเขียนนั้น ตั๊มอาจจะแยกจิตกับอารมณ์ได้ในบางขณะ
    ตั๊มลืมคำว่าบังคับไม่ได้ เป็นอนัตตาไป คือไม่มีสิ่งใดที่เราจะทรงอารมณ์ชนิดๆนั้นได้ตลอดเวลา

    ลองทวนจิตตนเองว่าประคองตัวรู้อยู่หรือไม่

    ปัญญาที่เป็นความจริง คุณธรรมที่เจริญงอกงาม
    การระงับยับยั้งอารมณ์ เพราะเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นว่าไร้สาระ
    มันตัดออกด้วยสติ หรือตัดออกด้วยการกดข่มอารมณ์

    อ่านของตั๊มแล้วหนาวๆร้อนๆไงชอบกล
    พอดีพี่อ้องก็ไปกรุงเทพมาซะหลายวันอดห่วงน้องไม่ได้นะ

    ละความทนงตนออกนะ จิตต้องอ่อนโยนนี่เป็นคุณธรรมแห่งองค์ตรัสรู้ที่จะเจริญงอกงามเป็นลำดับ ต้องอ่อนโยน สงบ ร่มรื่น ผ่องใส ไร้ทิำฐิมานะ

    ความทนงตนจะทำลายปัญญาแห่งตนได้

    อย่าพึ่งหนีพี่อ้องไปไหนเลยตั๊ม ช้านิดหน่อยนะ ใจเย็นๆ
    คำว่าบริสุทธิ์ก็ไม่เที่ยงนะ มันปรากฏก็หายไปเป็นอนัตตา

    สิ่งที่สำคัญแห่งพุทธะปัญญาก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญาที่อบรมจนรู้แจ้งสรรพสิ่งและสรรพสิ่งที่ปรากฏก็ไม่ทำให้ใจหวั่นไหวจนให้จิตออกมาจากใจ

    จิตเป็นหนึ่ง อยู่กับหนึ่ง ไร้สมมุติบัญญัติ ไม่ว่าโลกแสดงมาให้รู้ทางวิญญาณอายตนะจิตก็ไม่กระเพื่อมหวั่นไหว

    ตั๊มเวลาทานข้าวน้ำลายยังหกไม๊
    ยังรักพอใจในผัสสะละเอียดอ่อนไม๊
    ยังรู้สึกแรงผลักที่ออกมาให้ไปกระทำไม๊

    พี่อ้องพิจารณาตั๊มแล้ว ตั๊มนับหนึ่งใหม่อีกทีนะ
    เริ่มใหม่ คลายทิฎฐิตนเองด้วย
    ด้วยรักและเคารพในธรรมซึ้งกันเสมอ

    พี่อ้อง
     
  6. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ส่งอาอ้องครับ

     
  7. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    แม้แต่อาเองก็นับหนึ่งเสมอนะ
    เริ่มใหม่ทุกวันเสมอแต่สิ่งหนึ่งที่เจริญก้าวหน้าคือคุณธรรม สติ สมาธิ ศีลแห่งอริยมรรค

    ความก้าวหน้าเราดูกันตรงนี้ ไม่ใช่ดูที่เฉยๆไม่เอาอะไร
    คำว่าไม่มีอะไรยังเป็นสมถอยู่

    แต่ปัญญาวิปัสสนาต้องอาศัย สติ สมาธิ พิจารณาที่รูปลักษณะที่กำลังปรากฏ
    กำลังตั้งอยู่ กำลังสลายหายไป
    รู้ไปที่อริยสัจ๔ ถ้ารู้แจ้งทุกข์ สมุทัยก็เพราะมรรคถูกย่อมปรากฏนิโรธ ประหารกิเลสตัณหา คำว่าหมดจด สิ้นเชื้อ นั้นชัดเจนอยู่

    หมดจดคือมันปรากฏแต่จิตไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว สิ้นเชื้อสืบต่อของภพ
    เพราะจิตไม่เอารูป ไม่เอาขันธ์

    การที่ครูอาจารย์ยังมีขันธ์อยู่เมื่อถามว่ากิเลสมีไม๊ ท่านตอบว่ามีอยู่แต่จิตมันไม่เอากิเลส ไม่เอาตัณหาเพราะรู้ทัน คำว่ารู้ทันก็เพราะอบรมสติ สมาธิ ปัญญาที่รู้แจ้งนั้นทำลายอาสวะกิเลส สิ้นเชื้อส่งต่อให้ปรากฏภพ หมดจดแห่งภพ

    ท่านก็เป็นพระอรหันต์เพราะอะไร
    ก็เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ที่ี่อบรมมาดีแล้วทั้งสิ้น

    อาสวะที่ห่อหุ้มจิตมีสี่ชั้น ทำลายชั้นแรกแหวกอาสวะกิเลสย่อมเท่ากับเป็น
    พระอริยบุคคลในเบื้องต้น ชั่วแวบเดียวที่ทำลายมีไม่กี่ขณะจิต แต่เพราะอินทรีย์ที่สมบูรณ์ถึงเวลาสุกงอมเพราะมีเหตุแห่งการทำลาย

    โจมตีในจุด ตำแหน่งวิญญาณอายตนะ โจมตีภพที่กำลังปรากฏขันธ์ที่กำลังปรากฏ เข้าไปรู้เหตุรู้ผล ปัญญาจะอบรมจิตจนจิตเริ่มคลายออกจากอุปทานแห่งปวงขันธ์

    สิ่งที่มนุษย์ติดอยู่คือวิปราสคือเชื่อว่ามี ว่าใช่ แต่ถ้าเราเข้าไปโจมตี ในจุด ตำแหน่งแห่งวิญญาณอายตนะเสมอๆด้วยสติ ด้วยสมาธิที่ตั้งมั่น
    มรรคที่ปรากฏย่อมทำให้พบสัจธรรมแห่งนิโรธดับสิ้นเชิง

    คำว่าดับสิ้นเชิงคือดับกิเลส ดับตัณหา ที่ดับได้ก็เพราะการอบรมสติ ศีล สมาธิ ปัญญาล้วนๆ คุณธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม๓๗ เจริญแก่รอบ อินทรีย์แก่รอบ
    จิตเค้าก็แหวกอาสวะด้วยกำลังแห่งฌานไม่กี่ขณะเพราะมีเหตุ มีผลแห่งการทำลายทั้งสิ้น

    ตั๊มอย่าดูถูกพื้นฐานนะ คำว่าพื้นฐานเนี่ย สำคัญที่สุด นับหนึ่งใหม่เสมอนี่สำคัญที่สุด ไม่มีคำว่าเก่งหรอกมีแต่ทิฎฐิปรากฏ เราต้องใช้โยนิโสอย่างแยบคายพิจารณาให้รอบครอบว่ามีสิ่งใดผิดพลาด แล้วโน้มเข้าไปในสิ่งที่ถูกต้อง

    อาอ้องนับหนึ่งเสมอ เริ่มใหม่ตลอด ไม่เคยสนใจว่าเก่ง ทำตัวสบายๆ อบรมสติเสมอๆ สิ่งที่ปรากฏ คุณธรรมปรากฏ ศีลปรากฏ อินทรีย์เราทวนได้นะว่ามั่นคงมากขึ้นไม๊
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มันเจริญขึ้นหรือถดถอยลง เราพิจารณาได้นะ
    สรรพสิ่งตกอยู่ภายใต้พระไตรลักษณะ
    ทุกสิ่งตกอยู่ในกฏอำนาจของธรรมชาติ
    สิ่งที่ถูกรู้ แม้ผู้รู้ ก็มีแต่สูญสลายอยู่ตลอดเวลา

    คำว่าเข้าสู่ความเป็นกลางถึงที่สุดนี่หล่ะหัวใจหลัก
    ทำลายจิตโดยไม่ยึดจิตนี่หล่ะ
    ตั๊มยังต้องศึกษาอีกนะ
    สัมมาทิฎฐิ(รู้อย่างถูกต้อง) พื้นฐานแห่งธรรมะสำคัญที่สุด
    ขออนุโมทนานะทำดีมามากแล้วอย่าท้อแท้ หดหู่เสร็จนิวรณ์หมด
    อาอ้อง...
     
  8. kung_9894

    kung_9894 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +1,584
    กราบอนุโมทนาค่ะพี่อ้อง
    ขอบพระคุณมากจริงๆ ก่อนอื่นหนูต้องเรียนพี่อ้องตามจริงว่า
    ตั้งแต่หนูได้มาปฏิบัติเต็มที่ ทุกวัน ไม่ขาดเลยค่ะ เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างกับหนูมากมาย ซึ่งอย่างที่พี่อ้องบอกก็คืออาจจะเป็นสิ่งที่เคยปรากฏมาก่อน แต่จากที่พี่อ้องได้กรุณาเตือนสติหนูว่าอย่ายึดติดกับสิ่งเหล่านั้น ทำให้หนูระลึกอยู่ตลอดเวลา และไม่เอามาใส่ใจเลยค่ะ
    จริงๆแล้วหนูได้นั่งสมาธิ ฝึกจิตมานานหลายปีแล้วค่ะ แต่หนูไม่กล้าที่จะปฏิบัติโดยไม่มีผู้แนะนำ กลัวว่าจะไปผิดทาง
    ต้องกราบอนุโมทนาและขอขอบพระคุณพี่อ้องเป็นอย่างยิ่งค่ะ

    ระหว่างวันบางครั้งที่หนูทำอะไรอยู่ เช่นงานบ้าน หรือนั่งหน้าจอคอม บางครั้งเหมือนกับตัวเองดูตัวเองทำอยู่ ( อธิบายไม่ถูกค่ะ คือเหมือนเรามองดูเฉยๆอ่ะค่ะ )
    ลักษณะแบบลื่นไหล คล้ายร่างกายอยู่ใน Mode Auto
    ช่วงนี้มีอาการไม่ค่อยอยากจะพูดมาก เหมือนกับว่าจะใช้จิตเป็นส่วนใหญ่ค่ะ
    เป็นอาการอะไรคะพี่อ้อง

    ขออนุโมทนาค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
     
  9. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบกุ้ง

    สักแต่รู้ สักแต่ดู เป็นการอบรมสติที่เริ่มเข้าสู่ขบวนการของวิปัสสนา
    แต่ยังเป็นเพียงเบื้องต้น เหมือนเราดูหุ่นยนต์มันเคลื่อนไหวไปมา มันทำหน้าที่ของมัน มีผู้รู้ดูอยู่อีกต่างหาก เป็นสักแต่รู้ว่ามันเคลื่อน สักแต่รู้ว่าได้ยิน ได้กลิ่น ได้เห็น ได้รับผัสสะกระทบ

    ที่ยังไม่เข้าขบวนการของวิปัสสนาเพราะปัญญาวิปัสสนานั้นต้องเข้าสู่ขบวนการของการปรากฏของขันธ์และเห็นการเกิดดับของเค้าด้วยจิตที่ตั้งมันประกอบด้วยกำลังของสมาธิและสติ

    แต่การที่สักแต่รู้ในเบื้องต้นนี้ก็จะก้าวเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาอย่างแท้จริงในไม่ช้าเพราะฝึกอบรมสติอยู่เสมอ เริ่มเข้าสู่ขบวนการในสิ่งที่จากยากกลายเป็นง่าย

    คือเริ่มชินสภาวะของรูปลักษณะมากยิ่งขึ้นจากแต่เดิมที่ต้องฝืนอารมณ์ก็ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องกดข่ม แม้จิตซัดส่ายก็เริ่มรู้ แม้จิตเป็นสมาธิก็รู้ แม้จิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ แม้ความจริงของกายที่เคลื่อนไหวอยู่ก็เริ่มรู้

    เริ่มรู้ว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา กายเรา แต่เป็นก้อนเนื้อ รูปลักษณะชนิดหนึ่งที่เราอิงอาศัยมันอยู่ก็แค่นั้น

    อบรมสติ ตามรู้ความจริงของกายอย่างง่ายๆไม่ต้องหวังผลอันใด
    อยู่กับปัจจุบันและนับหนึ่งใหม่เสมอ ไม่ต้องกลัวไม่ก้าวหน้าแต่ให้หันมาดูคุณธรรมที่เจริญมากขึ้น

    กุ้งจะเริ่มขบวนการของจิตสำนึกในความสะอาดมากยิ่งขึ้นเหมือนกุ้งเช่นกระจก ถูและทำความสะอาดกระจกที่มัวเพราะฝุ่นระออง

    กุ้งพยายามละอกุศลโดยรู้จักอกุศล ราคะ โทสะ โมหะปรากฏก็รู้เค้าพอรู้ก็ละด้วยความเพียรพยายามละอกุศลและทำอกุศลให้หายไปทำดีให้ถึงพร้อม

    เรามาขัดเกลาจิต ขัดกันตรงที่ความจริงคือ รูปลักษณะที่ปรากฏตรงวิญญาณอายตนะนี่หล่ะ ตรงผัสสะกระทบและจิตมันวิ่งส่งออกกระเพื่อมหวั่นไหวนี่หล่ะ

    วงกระเพื่อมมันแรงช่วงแรกแต่พอชินกับรูปลักษณะที่ตามรู้มากขึ้น
    วงกระเพื่อมมันจะหดตัวเร็วขึ้นเพราะการตื่นรู้เพราะการอบรมสติที่กายและจิตนี่หล่ะ
    จนท้ายสุดชั่วแวบเดียวที่สติรู้ปรากฏมันตัดภายในชั่วขณะนั้นทันที
    ไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว ไม่ปรุงแต่ง เจตสิกที่เป็นอาการของจิตยังไม่เริ่มทำงานก็ถูกสติที่ตื่นรู้ระงับยับยั้งเสีย

    จิตที่จะแวบออกมาจากใจแต่ถูกใจที่ตั้งมั่น มีสติรู้ปรากฏ มันดับ มันละทันที

    ตรงนี้หล่ะที่เรียกว่าการฝึกสติที่จะพัฒนากลายเป็นมหาสติในภายภาคหน้า จนกำลังเค้าถึงพร้อมและจิตเริ่มคลายออกจากขันธ์เพราะพบความจริงบ่อยๆมากเข้า

    กุ้งจะเข้าถึงความจริงของจิตไม่เอาขันธ์ ไม่ส่งออก จิตเห็นจิตแจ่มแจ้ง
    อยู่กับหนึ่งเดียวไม่ปรุงแต่งสังขารภพก็ไม่ปรากฏ ทุกข์ย่อมสลายหายไป เมื่ออินทรีย์แก่รอบสุกงอมสมบูรณ์

    ถึงเวลานั้นกุ้งจะเข้าใจคำว่าสำรอก จิตแหวกอาสวะกิเลสที่ห่อหุ้มจิตเอง

    ขอให้เพียรพยายามเพื่อพบความจริงแห่งสันติสุข

    สันติคือความสงบ สงบจากกิเลสและตัณหา หมดสิ้นการปรุงแต่ง
    อบรมสติที่กายและจิตง่ายๆเช่นเดิม

    พระธรรมไม่ยาก ยากในช่วงต้น แต่ท่ามกลางแล้วจะรู้ถึงอัตโนมัติ
    ไม่ทำเค้าก็ระลึกเอง จะเหมือนเราเริ่มหลอมกลมกลืนกับธรรมชาติมากขึ้น จะเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในบางครั้ง ไม่แบ่งแยกเค้าเรา แต่ช่วงแรกมหาสติยังไม่ปรากฏ

    หลอกไฟที่กระพิบติดๆดับๆในช่วงต้นเป็นการอบรมสติ
    แต่หลอดไฟที่ติดไม่กระพิบสว่างจ้าตลอดกาลนั่นคือมหาสติปรากฏ

    สักแต่รู้เห็นการเกิดดับและวาง จิตจะเข้าสู่มหากริยาจิตอย่างแท้จริง
    อยู่เพียงจิตหนึ่ง
    ธรรมชาติที่แท้จริงไม่มีสองมาแต่ไหน
    ธรรมชาติที่แท้จริงมีเพียงหนึ่งมาตลอด
    ดีชั่วเป็นของโลก คืนให้เค้าไป ไม่เอาอะไร ไม่เหลืออะไร ทิ้งมันลงอยู่ข้างหลัง ไม่เหลียวมามองอีกต่อไป

    ของที่แบกบนไหล่มันหนัก วางลง สังขารมันหนัก มันทุกข์ มันไร้สาระ
    ไม่มีแก่นสาร มีแต่ทุกข์ล้วนๆ หนีห่างจากมันด้วยการฝึกอบรมสิ่งเดียวอันเป็นทางเอกคือสติปัฎฐาน๔ ทางแห่งสติแค่ง่ายๆ
    กายตอนนี้เป็นอย่างไร จิตตอนนี้เป็นอย่างไร

    ถามเด็กที่่ซื่อๆ ถามลูกดูนะ เค้าจะตอบแบบถูกต้องเพราะไม่พลิกแพลง
    ถามทีละหนึ่งครั้งเค้าจะตอบถูกทุกครั้ง แต่เราที่ผิดเพราะไปอยากให้มันอยู่นานๆ นี่ติดสมาธิไป นับหนึ่ง เริ่มใหม่ตลอด เพราะอารมณ์ที่ถูกรู้มันแวบหายไปหมดแล้วและมีสิ่งใหม่เกิดตามมาเสมอๆ

    หลอดไฟกระพิบ1วินาทีเราเห็นเป็นหนึ่งแต่มันกระพิบถี่ยิบ45ครั้งกระมัง
    แต่จิตมันเร็วกว่านี้มหาวินาศ ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งมั่นและอมตะมีแต่เกิดและดับทันทีแต่ที่รู้สึกว่ามีอยู่และรู้ตลอดเวลาเพราะ

    ไปกำหนด ประคองตัวรู้ในอารมณ์นั้นๆมากไป ดูแล้วดูอีก ติดใจแล้วติดใจอีกแต่ไม่ทันการเกิดดับและไปหลงกับเค้าเพราะอุปทานเพราะวิปลาสและความเร็วแห่งการเกิดดับที่ตามไม่ทัน

    จนไปยึดมั่นถือมั่นเป็นกายและจิตเรา
    ทำดีแล้วกุ้งทำต่อไปนะอบรมกายและจิตที่พื้นฐานนี่หล่ะ พอมันแน่นเต็มกำลังเราจะรู้เอง

    อนุโมทนา
    พี่อ้อง
     
  10. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ขอบพระคุณครับคุณอา.....^^

    ขอบพระคุณครับคุณอา

    เพราะอารมณ์ทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
    ที่ว่าผู้รู้ ไม่ใช่ตัวเรา เพราะ ว่า เรามีเผลอบ้างใช่มั้ยครับอา รู้ตื่นก็อยู่ในกฏของไตรลักษณ์

    ที่ผมบอกว่ารู้แบบเฉยๆ นั่นผมประคองอยู่ เป็นจริงที่อาบอกครับ จริงอย่างที่อาว่า ถ้าหากเราจ้องเพ่งให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวคือสมถถะ

    แต่การรู้ตามความเป็นจริงของกฏไตรลักษณ์ เป็นวิปัสสนา ใช่มั้ยครับอา

    ครับคุณอา ผมจะนับหนึ่งทุกวัน จะคลายทิฎฐิ

    แต่มีอย่าหนึ่งครับที่อยากให้อาช่วยได้มั้ยครับ... คือตอนที่อาเขียนตอบผม แล้วมีคำที่เป็นภาษาในทางพุทธหนะครับอา อยากจะให้อาช่วย วงเล็บแปลให้ทีหน่อยครับ เพราะผมรู้แค่บางคำครับ ช่น อุปปาทาน คือความยึดถืออย่างนี้


    ....อาครับด้านสมถถะ คือผม ก้าวหน้าขึ้นแล้วน่ะครับ คือแบบว่า เอาง่ายๆคือ ตอนที่ผมอ่านกระทู้ของอาใหม่ๆ แล้วทำสมาธิแบบ คนตาบอดคลำช้างหนะครับ แล้วเกิดเข้าฌานที่มีปิติน่ะครับ...

    ...แล้วบังเอิญวันนั้นผมตามดูลมหายใจตัวเอง แต่ ไม่ได้ทำสมาธิน่ะครับ เกิดอารมณ์ ทรงฌานเกิดขึ้น คือ ปีตีเข้ามาครับ ผู้รู้ได้เพราะจำอารมณ์ในตอนที่ทำครั้งแรกได้ คือ หายใจอกสุดท้อง....โอโห ครับ น้ำตาตัวเองแทบร่วง มันมีความปีตีสุดล้น มันอธิบายไม่ได้ครับ มันสุดยอดจริงๆ .... จากนั้นน่ะครับ ลองหายใจออกสุดท้องอีก มันก็สุขสบาย ออกๆ เข้าๆ เป็นอย่างนี้ครับ ประมาณว่า จาก บ่าย4 โม่ง จนถึง บ่าย 5 โมง

    ....แล้วสภาววะเริ่มเปลี่ยนไปครับ คือ ปีติเหมือนเดิม แต่ทำไมเรานิ่งเฉยกับปีติ ตอนนั้น่ะครับยังโง่อีก ยังอยากสุขต่อกับอารมณ์ พยายามทำให้มันปีติต่อ แต่ก็ เฉยๆ กับอารมณ์ปีติ ทั้งที่ปีติเกิดอยู่

    แล้วซักพักอารณ์ นิ่งๆ ก็หายไป เป็นอารมณ์อื่นเข้ามาแทนครับ

    แต่ได้ปัญญาอยู่น่ะครับอา คือ ผมเห็นว่า สุข เป็นทุกข์น่ะ เพราะทำให้เราต้องการมันอีก ความต้องการก็อคือความทุกข์

    ..........................

    ผมจะเเวะเข้ามาหาอาบ่อยๆ น่ะครับ ทั้งวันนี้น่ะครับ รบกวนอาช่วยอยู่ด้วย
    อิ ๆๆ ^^

    **************
    ****ถ้าจะสะดวกน่ะครับอา อยากให้อา ออนเอ็ม จะได้ให้อาสอบถามอารณ์ โดยไม่คลาดเคลื่อนครับอา

    ptumzakrub@hotmail.com
     
  11. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    สวยงามมากครับอา


    สวยงามมากครับอา ผมจะมีโอกาสเกิดญานไปเจอแบบอามั้ยน้า ^^

    ... อาครับผมไม่สายไปใช่มั้ยครับที่จะทำสมถถะ จนเกิดญาน คือทำแบบหลับหูหลับตาไปครับอา

    อยากไปเที่ยวสวรรค์จังครับอา.... ^^

    *************
    กามอาครับ

    อาครับการจะเกิดญาน จะต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างครับ..........

    ส่วนการเกิดฌาน จะประกอบไปด้วย วิจารย์ สุข ปีติ ความนิ่งเฉย อะไรประมาณนี้ใช่มั้ยครับอา

    ...จริงๆแล้ว ผมก็อยากให้ตัวเองเกิดญานน่ะครับอา แต่ผมจะค่อยเป็นค่อยไปครับอา ทำแบบไม่เอากิเลสนำ ส่วนนี้สำคัญมากใช้มั้ยครับอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  12. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ญานเป็นความรู้แจ้ง
    ฌานเป็นการเพ่งอารมณ์โดยมีคุณทั้ง๕ปรากฏคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
    สมาธิเป็นการกำหนด ยึดอารมณ์เอามาเป็นวิหาร เครื่องอยู่ไม่ให้จิตซัดส่ายประกอบด้วยสติ
    ฌานมีเครื่องสังเกตุที่ภวังค์ทั้งสามปรากฏ
    สมาธิมีสติเป็นคุณอุปถัมภ์เมื่อรวมเข้าอัปนาสมาธิถอนกำลังมาที่อุปจารสมาธิพิจารณาิสิ่งใดก็เป็นพระไตรลักษณะแม้คลายออกจากสมาธิก็ยังมีกำลังพิจารณาสรรพสิ่งเห็นแต่ความจริงของธรรมชาติ สมาธิจึงมีคุณแห่งปัญญามากกว่าฌาน

    หลวงปู่เทสก์ท่านเปรียบเอาไว้เรื่องสมาธิและฌานตามนี้...
    ไม่ว่าสมถ สมาธิ ฌานนั้น ถ้าฝึกสติที่อิริยาบททั้ง๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้ามีสติก็เป็นสมาธิหมด สมาธิไม่จำเป็นต้องหลับตา แม้ลืมตาก็เป็นสมาธิได้

    ยามที่เดินจงกรม หรือเดินตามปกติ ถ้ามีสติตามรู้อิริยาบทอย่างต่อเนื่อง
    สมาธิก็ปรากฏได้เสมอ
    เวลาที่เราอ่านหนังสือ ดูคอม ดูหนังเรารู้เรื่องนี่ก็มีสมาธิแต่เป็นสมาธิของกิเลส
    มีตัณหาพาไป เป็นขณิกสมาธิเพราะเข้าไปกำหนด เข้าไปแต่งอารมณ์

    ตั๊มวางทุกอย่างที่อยากลงถูกแล้วเพราะกิเลสนำสมาธิไม่เกิดแน่ ฌานนั้นก็เช่นกัน
    การรู้อะไร เห็นอะไร ไม่ใช่แก่นสาระแห่งความเพียรในการทำสมาธิและฌาน

    เราทำสิ่งใดเราต้องมีเหตุจึงทำ มีผลจึงมุ่งหน้าและต้องรู้จุดหมาย
    ผลพลอยได้ที่เราทำงานในสมาธิหรือฌาน เค้าปรากฏเองตามวาสนา บารมีที่เคยฝึกอบรมมาแล้วปรากฏเพราะเคยชินในอารมณ์ชนิดนั้นๆมาก่อน

    เราทำสิ่งใดก็ตามจึงต้องทำด้วยเหตุด้วยผล ทำด้วยปัญญานี่เป็นบัณฑิต
    เราพยายามที่สละอารมณ์เพื่อเข้าสู่แก่นแท้ของสมาธิและฌาน
    นั่นก็คือพบใจที่เที่ยงธรรมเท่านั้น

    เมื่อวันใดที่พบใจปรากฏ เราจะรู้ว่า ปีติ สุข นิมิต อภิญญาเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ราคา
    เพราะคำว่าสูงสุด อันเป็นแก่นแท้ที่แท้จริงคือพบใจ
    ปิดทวารทั้ง๕ประหารใจ สมาธิและฌานปิดทวารสิ้นลงพบใจประหารมันเสีย
    ไม่ให้มันสำรอกจิตออกมาอีกตลอดกาล
    อนุโมทนา
    อาอ้อง...
     
  13. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    อาครับ

    สมมุติน่ะครับว่า มีผู้รู้ทำลายผุ้รู้ แล้วบังเอิญ ไปตายตอนเผลอ แต่ดันรู้ว่าเผลอ เปน เช่นนี้ จะมีนิพพานเป็นแดนเกิดมั้ย ? หรือจะไปที่อื่น เพราะตายด้วยความรู้เผลอ ???
     
  14. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ถ้าเผลอแล้วรู้ว่าเผลอก็มีสติส่วนจะไปที่ไหนต้องอยู่ที่จิต
    ถ้าจิตยังยึดขันธ์ก็ต้องวนเวียนอยู่ในภพทั้ง31ภพภูมิ
    ถ้ามีสติและปล่อยวางเมื่อคตินิมิตปรากฏในภวังค์
    โดยมากจะมีนิมิตหมายอารมณ์ที่ดีที่เคยทำมา
    ก็ย่อมไปแดนที่พึงปรารถนาที่ฝึกอบรมมา
    ส่วนแดนนิพพานนั้นไม่ใช่สถานที่ ไม่มีจุด ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีช่องว่าง ไม่มีกาลเวลา ส่วนจะเป็นเช่นใดนั้นคำว่านิพพานนังปรมังสุขังนั้น
    เป็นสิ่งที่แท้จริงบรมสุขจริง
    อย่าพึ่งคิดไปไกล ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด สร้างเชื้อ สร้างเหตุ หว่านพืชเข้าไว้
    วันที่มันงอกงามก็สุกงอมเองนะตั๊ม
    อนุโมทนา
    พี่อ้อง
     
  15. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    รับทราบครับป๋ม ^^



    รับทราบครับป๋ม ^^

    ...อาครับ เมื่อคืนนั่งสมาธิครับอา อดคิดถึงคำที่อาบอกไม่ได้ครับ ว่า "เราทำสมาธิเพื่อให้พบใจ" ผมเลยพิจารณาตัวเองว่า แล้วเราจะทำให้มันบังเกิดญาน หรือ ฌานทำไมน้า..

    ผมเลยคิดว่ามันดูไร้ค่าอย่างที่อาบอกเสียจริงๆ ครับ เพราะว่าอย่างดีก็แค่พิจารณากาย แต่ในเมื่อผม ไม่ให้ความสำคัญในกายแล้ว ประมาณว่าปลงมันแล้วครับ ส่วนมากผมจะภาวนามรณสติจนเกิดสมาธิพอประมาณ เพื่อสังวรณ์ใจว่า ความตายใกล้เข้ามาทุกทีแล้วน่ะตั้ม กลืนน้ำลายเฮือกใหญ่เเลยทีเดียวครับอา


    ไม่ทราบว่าผมทำถูกหรือไม่ครับอา ประมาณว่าทำไม่เอาญาน หรือ ฌาน แต่ทำเพื่อเตือนตนก่อนตาย ด้วย มรณสติ....

    ...แล้วทุกวันนี้ที่ผมทำความดี ด้วยกาย วาจา ใจ ผมจะไม่ยึดเอาเป็นของๆ ตน แต่จะอนุโมทนา กับ กาย วาจา ใจ นี้ เพราะรู้สึกว่ามันสะอาดดี ไม่เกาะกุมครับ


    ...แล้วหลังจากที่นับหนึ่งใหม่ รู้เผลอบ่อยมากครับ รู้แบบถี่ๆ ไม่ยึดรู้แล้วครับอา


    ***************

    ขออนุโมทนากับผลบุญที่อาได้ทำด้วยน่ะครับ

    สาธุ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  16. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตื่นเถิดใจเรา

    คำนำ

    บางครั้งการอ่านอะไรยาวๆก็จะทำให้ใจมันเกิดนิวรณ์ เซื่องซึม เพราะต้องคิดตาม

    และธรรมะนั้น คิดไม่ได้ทำให้รู้แต่ต้องอาศัยคิด เพื่อเป็นการวางแผนงานให้ถูกต้อง

    ในการเรียนรู้ จดจำ สภาวะธรรมทั้งหลาย

    ตื่นเถิดใจเรา เป็นการรวบรวมคำสอนสั้นๆ ของครูผู้ประเสริฐ ซึ้งทุกๆท่านสามารถยกเอาคำสอน ที่ลึกซึ้งกินใจ

    ของครูอาจารย์มาแทรกได้ เพื่อเป็นการปลุกใจให้ตื่นขึ้นมากับความจริง

    คำสอนของครูที่อ้องยกเอามาจะแนบท้ายว่าของครูอาจารย์ท่านใด

    เพื่อเป็นการระลึกคุณของครูที่อบรมสติให้ตื่นขึ้น

    สุดท้ายขออนุโมทนา คุณ สถิต คล่องนักรบ ท่านเป็นโยมอุปัฐถากหลวงปู่เทสก์อย่างใกล้ชิด

    และแนะนำให้อ้องและให้หนังสือที่หาได้ยากคือ คำสอนสั้นๆของหลวงปู่เทสก์ อ้องเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์

    ทั้งในชีวิตและทางธรรม และอาจจะมีแทรกของหลวงปู่ดูลย์และพระอาจารย์ปราโมทย์

    หลวงปู่หล้า ส่วนท่านใดจะแทรกคำสอนของครู แบบ สั้นๆ อ่านแล้วปลุกใจให้ตื่น อ้องยินดีเสมอในธรรมครับ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]
     
  17. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์

    การที่จะให้ขันธ์ มีความสุข พ้นจากทุกข ์อย่างถาวรจึงเป็นไปไม่ได้เลย

    หลวงพ่อปราโมทย์(ทางเอก๑)

    การเจริญวิปัสสนาเป็นการหันหน้ามาเรียนรู้ ความจริง ของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กาย

    ตามความจริง เมื่อทุกข์อยู่ที่จิตก็มีสติ ตามรู้จิต ตามความจริง เมื่อเข้าถึงความจริงก็พบอริยสัจจ์ข้อแรกได้

    คือการรู้ทุกข์

    การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหา ให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ์ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]
     
  18. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    คนที่กระทำความผิดแล้วมารู้สึกตัวทีหลัง เมื่อไปพูดขอโทษ กลับจะเป็นความดียิ่งกว่าเก่า

    เพราะเป็นความเห็นใจซึ้งกันและกัน บาปในทางพุทธศาสนาต้องล้างด้วยวิธีนี้ เรียกว่า ล้างแท้

    แต่หากคนนั้น ไม่ให้อภัย ก็หมายถึงล้างไม่หมด

    เมื่อทำดีมากเข้าไปเรื่อยๆ จนเคยชินซะแล้ว กรรมชั่วมันก็ละไปเองโดยไม่รู้ตัว

    กรรมเวร เกิดที่จิตเศร้าหมอง ก็ต้องแก้ที่จิตให้ผ่องแผ้วไปแก้ที่อื่นมันไม่ถูก

    ใจแท้

    ใจแท้คือ ความถึงซึ้งสภาวะความเป็นกลางในสิ่งสารพัดทั้งปวง ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้

    ผู้นั้นจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
    <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo-->

    หลวงปู่เทสก์
     
  19. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    เมื่อความโกรธเกิดขึ้น เรากลั้นลมหายใจเสีย ความโกรธนั้นก็หายไป

    แล้วจะเหลือแต่ใจเดิม คือ รู้สึกเฉยๆ เมื่อทำบ่อยๆก็จะเห็นใจเดิม

    ความโกรธก็จะจางหายไป

    จิตเป็นของไม่มีตัวตน ถ้าไม่มีหลักให้จิตยึด ก็จับจิตได้ยาก

    จิตที่วุ่นวายส่ายหาอารมณ์ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ก็คือ ความหิวของจิต

    มรรคสมังคีคือ จิตที่ค้นคว้าปฏิบัติอยู่ในมรรค คิดค้นแสวงหาเหตุผลเรื่องราวต่างๆ
    รู้ชัดตามเป็นจริงแล้ว จึงรวมลงเป็นที่เดียว เรียกว่า มรรคสมังคี จึงจะประหัตประหารกิเลสทั้งหลายได้


    <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> หลวงปู่เทสก์(คำภีร์ปัญญาวิศิษฎ์)
     
  20. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ถาม: พระพุทธรูปต้องปลุกเสกเสียก่อนหรือไม่ขอรับ จึงจะเอาไปกราบไหว้บูชาได้ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo-->

    หลวงปู่เทสก์: การปลุกเสกเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์ พุทธศาสนาไม่มี เราเลื่อมใสแล้วจงกราบไหว้ไปเถิด
    ได้บุญทั้งนั้น

    ถาม: หลวงปู่ครับถ้าปล่อยวางหมด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ไม่มีใช่หรือไม่ขอรับ

    หลวงปู่เทสก์: ยิ่งปล่อยวางมากเท่าไหร่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ยิ่งสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้น

    แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ปล่อยวางจึงยุ่งเสียยุ่งจนจะไม่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ขอให้เข้าใจด้วยว่า ผู้รู้เท่าและผู้ปล่อยวางต้องมีอยู่ จึงจะปล่อยวางสิ่งนั้นๆได้ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:09:-->[​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...