เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    _oc=AQmbNF9DfkSRBVaE6P-hugIsUVwv-b_RqkJcvhcJsCEligPKuBWMopCu7PnzzK2zIrw&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.jpg
    เกร็ดธรรมจากประวัติ!!!!ผู้มีภูมิทิพย์ภูมิธรรม!!!!
    (((หลวงปู่จำเนียร สำนักสงฆ์ต้นเลียบ สงขลา)))
    พระอริยะโพธิสัตว์ธรรมผู้ทรงญาณวิเศษหลวงพ่อทวด
    ....คำสอนจากวาจาตาหลวง(หลวงปู่จำเนียร)
    (((.... ขอให้ลูกยึดถือศีลธรรมให้เคร่งทำฌาณให้ได้ลูกจะพบเห็นสมเด็จเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์...)))
    พระหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด นอกจากรุ่นต่างๆ ที่สร้างขึ้นโดย พระอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนเลื่องลือไปทั่วทั้งในและต่างประเทศแล้ว ก็ยังมีพระหลวงพ่อทวด อีกหลายรุ่นหลายสำนักที่ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากพุทธศาสนิกชนและนักสะสมพระหลวงพ่อทวดโดยทั่วไป และหนึ่งในนั้นก็คือ พระหลวงพ่อทวด สำนักสงฆ์ต้นเลียบ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อันเป็นสถานที่ฝังรกของหลวงพ่อทวด ถือได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความผูกพันกับหลวงพ่อทวดมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งทุกวันนี้มีชาวบ้านไปกราบไหว้สถานที่แห่งนี้เป็นประจำ

    พระหลวงพ่อทวด สำนักสงฆ์วัดต้นเลียบ เป็นพระเนื้อผงผสมว่าน สร้างเมื่อปี ๒๕๓๘ ปลุกเสกโดย หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสท่านมาก ด้วยความที่ท่านเป็นพระบริสุทธิสงฆ์ผู้ที่เมตตามหานิยม มีวาจาสิทธิ์ ให้ความสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้ที่ไปกราบไหว้ท่านตลอดมา
    ตามประวัติท่านได้ศึกษาศาสตร์วิชาอาคมหลายแขนงจากสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง พระเครื่องทุกรุ่นจึงมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธคุณในทุกด้าน
    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้รู้ด้วยญาณวิเศษถึงวันมรณภาพของตัวเอง โดยบอกกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า ก่อนวันเข้าพรรษา 7 วัน ท่านจะละสังขารแล้ว และเมื่อถึงวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2539 เวลา 21.20 น. ท่านก็ได้จากไปอย่างสงบ ตรงกับที่บอกกล่าวไว้ล่วงหน้าทุกประการ
    ####ประวัติหลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม
    เจ้าสำนักสงฆ์ ผู้ที่มีสังขารเป็นหิน
    เกจิอาจารย์สายเขาอ้อ ผู้มีญาณวิเศษสามารถรู้วันมรณภาพของตัวเอง
    หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม มีนามเดิมว่า นายจำเนียรเรืองศรี เกิดเมื่อเดือน 4 ปีเถาะ พ.ศ.2440 ที่บ้านพังไทร ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ท่านเกิดเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส ซึ่งท่านเห็นว่ามีแต่ความวุ่นวายสับสนจึงตัดสินใจเดินมุ่งสู่ร่มกาสวพัสตร์ เมื่อตอนอายุ 60 ปี หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่จำเนียรได้ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน เจริญกสิณเวทวิทยาคม จากสำนักเขาอ้อ (เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับ พล.ต.ต.ขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช) กับท่านอาจารย์ยู วัดปากพล จังหวัดพัทลุง และอาจารย์ทวดขาว ฆราวาสจอมขมังเวท จังหวัดพัทลุง จนมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมจนเป็นเลิศ ร่ำเรียนวิชาอยู่ยงคงกระพัน วิชากำบังตัววิชาปลาไหลใครจับท่านไม่ได้
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ ในขณะที่ท่านนั่งเจริญสมาธิภาวนา ปรากฏดวงวิญญาณขององค์หลวงปู่ทวดมาปรากฏต่อหน้าท่าน และได้ชี้มาที่ตัวท่านบอกให้ไปช่วยดูแลต้นเลียบ อันเป็นสถานที่ฝังรกขององค์หลวงปู่ทวด ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดดูแล มีสภาพที่รกร้าง
    เมื่อหลวงปู่จำเนียร มาจำพรรษาที่ต้นเลียบแห่งนี้แล้ว ก็ได้รวบรวมชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงมาช่วยกันพัฒนา เพื่อให้เหมาะเป็นสถานที่เจริญธรรม วิปัสสนากรรมฐาน
    ใครมีเรื่องเดือดร้อน ถูกคุณไสย หรือถูกผีเข้า ท่านจะช่วยรักษาประพรมน้ำมนต์ให้และใช้ไม้เท้าคดคู่กายของท่านชี้ไปที่หน้าผาก กลับหายเป็นปกติทุกรายไป อีกอย่างท่านสามารถดูดวง ผูกชะตาได้แม่นยำนัก ท่านจะมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ไม่ว่าไทยหรือเทศ โดยเฉพาะลูกศิษย์ทางมาเลเซีย สิงคโปร์ นั้นมีมากมายนัก
    หลวงปู่จำเนียร เป็นพระที่ถึงพร้อมด้วยความดี เป็นพระที่สมถะ สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ไม่สะสมสิ่งใด มุ่งปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐาน ชาวบ้านเชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ที่มีเมตตามหานิยม มีวาจาสิทธิ์ ท่านสามารถหยั่งรู้ได้ถึงวันมรณภาพของตัวเอง โดยท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา 7 วัน ท่านจะละสังขารแล้ว และท่านระบุไว้ในพินัยกรรมว่าร่างของท่านจะไม่เน่าเปื่อย จะแห้งไปเอง ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไปก็เป็นจริงอย่างที่ท่านพูดเอาไว้ แต่ก็ยังทิ้งร่องรอยการปฏิบัติและคุณงามความดีไว้ให้คนรุ่นหลังได้เจริญรอยตาม และยึดเป็นเยี่ยงอย่าง รวมอายุได้ 99 ปี 40 พรรษา
    ซึ่งปัจจุบันนี้ สรีระสังขารของท่าน ทางคณะศิษยานุศิษย์ได้เก็บไว้ในโลงแก้ว ณ สำนักสงฆ์ต้นเลียบ เพื่อให้สาธุชนได้เข้ากราบไหว้ เพื่อขอพรบารมี ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ปาฏิหาริย์ที่ท่านได้ปลุกเสกและสร้างวัตถุมงคลของสำนักสงฆ์ต้นเลียบ ก็ยังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยว แสวงหาของนักสะสมพระเครื่องหลวงพ่อทวด


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงเนื้อว่านหลวงปู่มวดพิมพ์เตารีดหลังท่านพ่อเนียน ต้นเลียบ ออกที่ปทุมธา่นี ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    พ่อท่านเนียรกล่อง..jpg พ่อท่านเนียน.jpg พ่อท่านเนียนหลัง..jpg

    เหรียญลป.ทวดหลังพ่อท่านเนียน ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.เนียร.jpg ลพ.เนียรหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    upload_2019-8-5_21-42-1.jpeg

    ในอดีตวัดบางนามี ชื่อเสียงมาก มีคนไปทำบุญที่วัดมากที่สุดเนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ มีพระไปบวชศึกษาเล่าเรียนมาก พระที่วัดต่างก็ถือปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจึงศรัทธาเลื่อมใสเข้าไปทำบุญกันมาก โดยเฉพาะในยุคของ หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี หรือพระครูธรรมสุนทร ซึ่งถือว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรกของวัดบางนาจากทางคณะสงฆ์ อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มทำพระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบางนาจนมีผู้รู้จักนิยมไปทั่ว ซึ่งก่อนหน้าหลวงปู่เส็งไม่มีสมภารองค์ใดทำพระเครื่องมาก่อนเลย พื้นเพของหลวงปู่เส็งเป็นคนละแวกวัดบางนา บ้านท่านอยู่ทางใต้วัดติดคลองบางนา โยมพ่อชื่อ “จู“ เป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่สามโคกใช้สกุล “แซ่บุญเซ็ง” โยมแม่ชื่อ “เข็ม” เป็นชาวรามัญ สมัยก่อนชาวบ้านย่านนั้นยึดอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ จนได้รับขนานนามหมู่บ้านว่า “บางนา” อาชีพรองลงมาก็คือการทำอิฐ ทำตาล และค้าขาย ซึ่งทางบ้านของหลวงปู่เส็งทำการค้าขายของชำเล็กๆ น้อยๆ ในหมู่บ้านและส่วนหนึ่งก็ทำนา สำหรับประวัติส่วนตัวของหลวงปู่เส็งท่านไม่เคยเล่าให้ใครฟัง ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2444 มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน พี่น้องของท่านเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษ เหลือเพียงท่านเท่านั้น ครั้นเมื่ออายุครบบวชได้เข้าอุปสมบทที่วัดบางนา เมื่อปี พ.ศ.2465 โดยมีท่านเจ้าคุณรามัญมุนี หรือพระนันทมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าชายของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทรังสี” ภายหลังที่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้วได้ศึกษาเล่าเรียนอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ต่างๆ และเรียนภาษาขอมและภาษารามัญจนแตกฉาน นอกจากนี้ ได้ไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน เกจิอาจารย์ดังในยุคนั้นอีกด้วย หลวงปู่เส็งมีปฏิปทาในการใฝ่หาวิชาความรู้มาก ใครแนะนำสั่งสอนท่านก็จดจำไว้เป็นอย่างดี ท่านเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ ท่านเก่งมาก จนกระทั่งปี พ.ศ.2486 หลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพลง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาในปี พ.ศ.2487 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ และปี พ.ศ.2489 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนา อย่างเป็นทางการ ท่าน ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันท่านก็บูรณะปฏิสังขรณ์วัดจนรุ่งเรือง โดยสานต่อการสร้างโบสถ์ที่หลวงปู่ทัดดำเนินการไว้จนสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี โดยทุกปีท่านจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรมมิได้ขาด ท่านเป็นคนพูดน้อย และ ไม่ค่อยพูดว่ากล่าวผู้ใด เล่ากันว่าเวลาว่างจากงานที่ต้องกระทำ ท่านจะนั่งนับลูกประคำที่คล้องคออยู่ บริกรรมพระคาถาตลอดเวลา ท่านปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ 65 ปี จึงเริ่มสร้างวัตถุมงคลคือพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของวัดบางนา ในปี พ.ศ.2510 ตามด้วยเหรียญรูปอาร์ม หรือใบเสมาคว่ำ รุ่นแรก และนับแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมา ท่านก็สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมาย โดยทุกปีจะสร้างออกมา 2-3 แบบ จนกระทั่งท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2530 รวมระยะเวลาการสร้างวัตถุมงคลถึง 20 ปี วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็งทุกรุ่นทุกแบบ มีผู้เลื่อมใสหามาพกติดตัว และบูชากันมากมาย ซึ่งกล่าวขานกันว่ามีพุทธคุณเด่นในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และการค้าขายดีเยี่ยม โดยรุ่นนิยมเท่าที่พอลำดับความได้คือ พระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกปี 2510 ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปพระประธานนั่งสมาธิ มีซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเป็นลายมือเขียนว่า “พระครูเส็ง” บางองค์เขียนว่า “เส็ง” และบางองค์ ก็เขียนว่า “พระครูเส็ง จันทฺรังสี” แล้วแต่ว่าหลวงปู่จะเขียนอะไรคำไหน แต่ส่วนใหญ่จะทำเป็นแบบพิมพ์เป็นบล็อก ใช้กดลงไปบนหลังพระเวลากดพิมพ์ เนื้อพระมีทั้งเนื้อน้ำมัน ลักษณะพระจะออกแกร่งมัน กับสูตรผสมเนื้อกล้วยพิมพ์ออกมามีทั้งหมด 5 สี คือ สีดำ เหลือง เขียว แดง และ ขาว ท่านปลุกเสกเดี่ยวแล้วออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ไปหาท่าน บ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ มีอักษรเขียนว่า “อาจารย์เส็ง” ด้านหลังเป็นยันต์ ใต้ยันต์มีอักษรระบุชื่อวัดบางนา พ.ศ.2510 ปี ที่จัดสร้าง และพระผงที่ทำออกมานั้นส่วนใหญ่จะบรรจุตะกรุดสาริกาดอกเล็กๆ ไว้ที่ฐานด้วย เพื่อเสริมพุทธคุณ ส่วนพระผงรุ่นที่โด่งดังมากก็คือ รุ่นขี่หมู ซึ่งลูกศิษย์จัดสร้างแล้วมานำไปให้ท่านปลุกเสก และมอบให้ท่านไว้จำนวนหนึ่ง บรรดานักเล่น พระนิยมกันมาก ส่วนวัตถุมงคลแนวเครื่องรางของขลังยอดนิยมก็คือ หมูทองแดง สร้างปีพ.ศ.2521 สาเหตุ การทำหมูทองแดงนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้น ปืนยิงไม่เข้า ท่านก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่ท่านปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาเจริญ พุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนพระสงฆ์ที่เจริญพระ พุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอก ท่านก็เฉยๆแถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอาไว้ ครั้น เมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี 2521” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง 4 ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน ต่อมาในปี 2524 ท่านได้จัดสร้างหมู 7 หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบ ที่เรียกว่า 7หัวนั้นหมายถึงหัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี 7 แห่ง คือที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี 2524 นอกจากนี้ยังทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีก 1 รุ่น หมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ 2,500 ตัวเท่านั้น พุทธคุณไปในทางแคล้วคลาดและค้าขาย หลังจากนั้นท่านได้ทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก 10 รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี 2522” สลับ กับอักขระขอม ประสบการณ์มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัยจากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้นท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็ เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน ต่อมาท่านก็สร้าง “พญาเต่าเรือน” เนื้อทองแดงผสมโลหะ และหงส์ทอง หงส์เงิน อีก 1 ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน เพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา นอกจากวัตถุมงคลรูปแปลกๆแล้วยังสร้างพระกริ่งรูปเหมือน มี ทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม ,พระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม,เหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม,เหรียญจอบเล็กและจอบใหญ่,เหรียญหยดน้ำเนื้อทองแดง ผสม,รูปหล่อเนื้อผงปิดทอง ส่วน รุ่นใหม่ๆก็มีหลายชนิดทั้งนางกวัก พระผงพิมพ์สมเด็จ พระผงปิดตา เรียกว่าการสร้างวัตถุมงคลของท่านนั้นมากมายจริงๆ ถ้าหากวัตถุ มงคลใดไม่ระบุ พ.ศ. เอาไว้ แทบจะไม่ทราบกันเลยว่าหลวงปู่จัดสร้างปีพ.ศ.ไหน เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้และก็ทำออกมามากแบบ สำหรับเงินรายได้ที่มีผู้นำมาบริจาค หรือบูชาวัตถุมงคล ท่านนำไปสร้างวัดวังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ปและทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรม สาเหตุ ที่ท่านไปสร้างวัดวังหินอีกแห่งหนึ่งนั้น เนื่องจากสมัยนั้นชาวบ้านยากจนมาก ถิ่นที่อยู่ก็ทุรกันดารเป็นแหล่งหลบซ่อนของเหล่าเสือปล้น ท่าน เกรงว่าชาวบ้านและลูกหลานจะมีนิสัยดุร้ายไปหมด จึงไปสร้างวัดให้เพื่อบรรเทาจิตใจให้ร่มเย็นลง เพื่อให้ธรรมะได้เข้าถึงจิตใจลูกหลานและผู้ที่คิดกลับตัว กลับใจหันมาบวชเรียนทำให้ผู้คนมีศีลธรรมขึ้น พอท่านสร้างวัดวังหินเสร็จ วันที่ 21 ม.ค. 2531 ท่านก็มรณภาพลงที่โรงพยาบาลคุ้มเกล้า ตึกคุ้มเกล้า สิริอายุ 87 ปี ปัจจุบันสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่เส็ง ยังคงประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว เพื่อให้คนที่ผ่านไปมาได้กราบไหว้ ขอพร รวมทั้งขอโชคลาภ ซึ่งคนสามโคกต่างเชื่อว่าบารมีของท่านยังคงช่วยปกป้องคุ้มครองผู้เคารพศรัทธาและศิษยานุศิษย์อยู่

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธา่นี ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    ลพ.เส็ง.jpg ลพ.เส็งหลัง.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    369830.jpg

    พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของพระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้สมควรจะได้รับการถวายสมัญญา เป็นบูรพาจารย์ เป็นบิดาแห่งวงศ์พระกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบัน ศิษย์สำคัญที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนทั่วประเทศตามรอยบาทแห่งบูรพาจารย์ของท่าน ถือเป็นรุ่นใกล้เดียงกันกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร ก็มีเช่น พระคุณเจ้า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นอาทิ

    หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ชอบ ต่างมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่หลุย โดยหลวงปู่เทสก์และหลวงปู่อ่อน เกิดในปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ ในวันที่ ๒๖ เมษายน และ วันที่ ๓ มิถุนายน ตามลำดับ ส่วนหลวงปู่ชอบ เกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เช่นเดียวกับหลวงปู่หลุย แต่เกิดภายหลังท่าน ๑ วัน กล่าวคือ หลวงปู่หลุยเกิดวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ และหลวงปู่ชอบเกิดวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์

    สำหรับวันอุปสมบทหรือญัตติเป็นธรรมยุตนั้น พอเรียงลำดับได้ดังนี้

    หลวงปู่เทสก์ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖

    หลวงปู่อ่อน วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗

    หลวงปู่ชอบ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗

    หลวงปู่หลุย วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘

    นอกจากหลวงปู่เทสก์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า อุปสมบทก่อนท่าน ๒ พรรษาแล้วหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบจะอุปสมบทก่อนท่านเพียง ๒- ๓ เดือนเท่านั้น และมีพรรษาเท่ากัน เพราะท่านทั้งสามจะต้องเริ่มพรรษาหนึ่งในปี ๒๔๖๘ ด้วยกันทั้งนั้นด้วยแม้จะเป็นการอุปสมบทในปี ๒๔๖๗ สำหรับหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบ แต่โดยที่ระยะนั้นวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ ๑ เมษายน พรรษาของปี ๒๔๖๗ ได้ผ่านพ้นมาแล้วเมื่อท่านทั้งสองอุปสมบท เช่นในกรณีของหลวงปู่ชอบ ท่านอุปสมบทเมื่อ ๒๑ มีนาคม เท่ากับเหลือเวลาอีกเพียง ๑๐ วันก็จะสิ้นปี ๒๔๖๗ พรรษาของท่านจึงต้องไปตั้งต้นที่ปี ๒๔๖๘ เช่นหลวงปู่หลุย ในกรณีของหลวงปู่อ่อนก็เช่นเดียวกัน

    หลวงปู่ขาว ญัตติเป็นธรรมยุตวันเดียวกับท่าน คือวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ บวชหลังท่าน ๑๕ นาที โดยต่างเป็นคู่นาคซ้ายขวาซึ่งกันและกัน ท่านอธิบายว่า แม้ท่านจะมีอายุน้อยกว่าหลวงปู่ขาวนับ ๑๐ ปี แต่โดยที่ท่านได้ญัตติมาเป็นพระธรรมยุตแล้วครั้งหนึ่งที่จังหวัดเลย แต่ในปี ๒๔๖๗ ก่อนหน้านั้น หากมีความสงสัยในการญัตติครั้งนั้นว่าจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะชื่ออุปัชฌาย์เขียนไม่ถูกอักขระซ้ำการภาวนาก็ขัดข้องไม่เป็นไป จึงมาขอญัตติใหม่อีกครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในขณะนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสังฆวุฒิกรจึงให้ท่านเป็นนาคขวา ให้หลวงปู่ขาวเป็นนาคซ้าย

    สำหรับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร นั้น มีอายุแก่กว่าท่าน ๒ ปี โดยหลวงปู่ฝั้นเกิดปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ แต่มาญัตติบวชเป็นธรรมยุตหลังท่านและหลวงปู่ขาว ๗ วัน

    ปกติพระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น จะเคร่งครัดพระธรรมวินัยโดยเฉพาะเรื่องการบวชก่อนหลัง ถือเป็นประเพณีว่า แม้บวชหลังเพียงนาทีเดียวก็ต้องเคารพผู้บวชก่อน ดังนั้นจึงเป็นภาพธรรมดาที่จะเห็นหลวงปู่ผู้มีความมักน้อยถ่อมองค์เป็นนิสัย เมื่อพบเพื่อนสหธรรมิกของท่านผู้บวชก่อน แม้จะมีอายุน้อยกว่าแต่หลวงปู่ก็จะคุกเข่าก้มลงกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อย่างนอบน้อม อ่อนโยนถึงเวลาจะพูดจาด้วย ก็จะใช้คำแทนชื่อองค์ท่านเองว่า "กระผม” หรือ “เกล้ากระผม” เสมอ เช่น เมื่อท่านพบหลวงปู่เทสก์ ซึ่งเป็นที่ทราบและเป็นที่ยกย่องกันในหมู่วงศ์ศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นว่า ท่านพระอาจารย์มั่นท่านถือหลวงปู่เทสก์เป็นธรรมทายาทของท่าน เป็นคล้าย “พี่ชายใหญ่ของวงศ์ตระกูล” ที่จะต้องดูแลพวกน้อง ๆ..

    หลวงปู่หลุยท่านก็จะปฏิบัติต่อหลวงปู่เทสก์ด้วยความนอบน้อมถ่อมองค์เช่นดังที่กล่าวมา

    แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพบเพื่อนผู้บวชทีหลัง อย่างหลวงปู่ขาวและหลวงปู่ฝั้นท่านจะรีบยกมือขึ้นเตรียมไหว้ก่อนเป็นประจำ และในเวลาที่ได้รับนิมนต์ไปฉันจังหันท่านจะถอยไปนั่งในที่ลำดับถัดไปจากหมู่พวกเสมอ ดังนี้ ความเรื่องที่ท่านมีอาวุโสทางบวชก่อนนี้ หากมิได้แพร่งพรายมาจากทางหลวงปู่ขาว ซึ่งกล่าวยกย่องท่านแล้วก็คงจะแทบไม่มีศิษย์รุ่นหลังผู้ใดทราบเลย

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-louis/lp-louis-hist-04-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญไตรมาสหลวงปู่หลุย ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.หลุย.jpg ลป.หลุยหลัง.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    729-2dd7.jpg

    หลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ. อยุธยา



    ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า “บุญมี” ถือกำเนิดในตระกูล “ธนสนธิ์” ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง “การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด” มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า “หลวงพ่อมี” จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน

    ศึกษาวิทยาคม

    หลวงพ่อมีได้เล่าให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งฟังว่า ยุคที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น วิชาด้านคาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่นิยมเรียนกันมาก ชาวอยุธยาแทบทุกคนที่เป็นชายก็ล้วนแต่มีผู้สนใจเรียนกันมากเป็นพิเศษ เพราะคนหนุ่มในยุคนั้นต้องการของจริงมาทดลองกัน

    คือ ใครมีอะไรดีก็มาอวดต่อหน้าสาว ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ สำหรับหลวงพ่อมีนั้น เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรก ท่านก็ได้เรียนภาษามคธ และทางปริยัติควบคู่กันไป

    ในตอนหัวค่ำ หลวงพ่อมีและพระเณรรุ่นหนุ่ม ๆ ก็มักจะจับกลุ่มกันเรียนคาถาอาคมอย่างขะมักเขม้น คือเรียนทั้งจากตำราสมุดข่อย และจากหลวงตาที่บวชเรียนมาหลายพรรษาในวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาถาเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ นั้น หลวงพ่อมีท่านได้เรียนอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว

    เช่น คาถาหัวใจหนุมาน หัวใจเสือ หัวใจราชสีห์ และหัวใจลิงลม เป็นต้น
    รียนวิชากับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    ในปี พ.ศ. 2470 ขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค เลื่องลือไปทั่วประเทศ ประชาชนทั้งใกล้และไกลให้ความศรัทธาแห่กันมาให้หลวงพ่อปานรักษาโรคเนืองแน่นทุกวัน รวมทั้งชาวบ้านวัดมารวิชัย ซึ่งอยู่ตำบลเดียวกับวัดบางนมโค มีระยะทางห่างกันไม่ไกลเท่าใดนัก เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็พากันมาให้หลวงพ่อปานช่วยบำบัดรักษาเช่นกัน

    ดังนั้นครอบครัวโยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีจึงคุ้นเคยกับหลวงพ่อปานพอสมควร รวมทั้งหลวงพ่อมีครั้งยังเป็นเด็กวัดมารวิชัยก็เคยรับใช้หลวงพ่อปานมาแล้วในสมัยที่ท่านมาสร้างศาลาการเปรียญที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมีจึงให้ความเคารพหลวงพ่อปานเป็นอย่างสูง เนื่องจากรู้จักกิตติคุณความเก่งกล้าของท่านเป็นอย่างดีมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ 1 พรรษา ก็มาปวารณาตัวเป็นศิษย์คอยรับใช้หลวงพ่อปานที่วัดบางนมโค เมื่อต้นปี พ.ศ. 2476

    ในวันแรกที่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดบางนมโค ได้พำนักที่กุฏิของหลวงพ่อปาน ซึ่งใช้เป็นสถานที่รักษาโรคและให้บรรดาคนไข้และแขกเหลื่อมาค้างแรม หลวงพ่อมี จึงมีโอกาสเห็นหลวงพ่อปาน ทำการรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิดด้วยน้ำมนต์บ้าง ด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่าย เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น แต่ก็มีสรรพคุณสูงสามารถใช้รักษาโรคร้ายและไข้ต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยถูกเขากระทำย่ำยีมา หรือถูกผีเข้าเจ้าสิง กระดูกแตกหักต่าง ๆ หลวงพ่อปานสามารถรักษาให้หายได้ทั้งนั้นอย่างน่าอัศจรรย์

    “ผู้ที่ได้บวชเรียนแล้ว อย่าให้ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อย่าเกาะโลกธรรม 8 อันเป็นเรื่องทางโลก คือ...อิฏฐารมณ์ ความพึงพอใจในลาภยศ สุข และสรรเสริญและความไม่พึงพอใจในอนิฏฐารมยณ์...คือการขาดลาภ ขาดยศ มีทุกข์ และการนินทา...”

    “เมื่อเป็นพระอย่าหวังร่ำรวย ปัจจัยที่ได้มาจงนำมาเป็นสาธารณประโยชน์แก่ศาสนาและประชาชนให้หมด...อย่าหวังลาภ ยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าเมาในยศถาบรรดาศักดิ์...เรื่องของลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นตัวกิเลส ต้องตัดออกให้หมด เราเป็นพระภิกษุสงฆ์รวยด้วยบุญญาบารมี เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าการบวชนี้ เพื่อหวังนิพพานเท่านั้น”

    โอวาทของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อมีกล่าวว่ายังจำขึ้นใจถึงปัจจุบันและระลึกอยู่เสมอ ปฏิบัติอยู่เสมอ



    เมื่อหลวงพ่อปาน พิจารณาลักษณะอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของหลวงพ่อมี นึกรักขึ้น จึงรับปากจะถ่ายทอดวิชาให้ โดยให้ฝึกอสุภกรรมฐานก่อน เพื่อเป็นการสร้างอำนาจจิตของตัวเองให้กล้าแข็ง

    อสุภ แปลว่าไม่สวยไม่งาม ซากศพ

    กรรมฐาน แปลว่าการชนะใจด้วยความสงบ

    อสุภกรรมฐาน จึงรวม ๆ ความได้ว่า ฝึกจิตใจที่ยึดเอาเจ้าสิ่งที่ไม่สวยงาม มาเป็นหลักในการพิจารณาอารมณ์แห่งจิต

    มองกันอย่างธรรมชาติ พอมองกันออกว่ามองไปนาน ๆ แล้วปลงอย่างไรสภาพของซากศพนั้น คงคิดรูปร่างกันได้ เป็นการเริ่มต้นที่ฉลาดและแน่นอนมั่นคง เมื่อพิจารณาเป็นหลักโดยไม่หนักไปทางเพ่งในระยะแรก เมื่อพิจารณาซากศพที่เสียชีวิต จากความรู้สึกที่แท้จริง แล้วโน้มความรู้สึกนั้น ๆ เข้าไปเปรียบเทียบกับตัวของเราเอง อธิบายเพิ่มขึ้นสักนิด เมื่อเราพิจารณามองศพที่น่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน มองนาน ๆ จะเกิดสังเวชขึ้นในจิตใจ จะเริ่มหนักขึ้น มองเห็นอะไรมากขึ้น ทราบถึงกับปลงในร่างกายของคนเรานั้นไม่มีอะไรเลย สังขารเปื่อยเน่าหมดสิ้นก็สิ้นกัน เพียงแค่นั้น ทุกอย่างที่เกิดเป็นอารมณ์สร้างให้จิตใจสงบแน่นิ่งเป็นพลังพุ่งเข้าสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้โดยง่าย ดั่งคำของหลวงพ่อปานที่กล่าวไว้ว่า



    “เมื่อปฏิบัติอสุภกรรมฐานจนมีความชำนาญแล้ว ย่อมเป็นของง่ายในการวิปัสสนาญาณ และจนลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี”



    เรียนวิชากับหลวงพ่อจง

    เมื่อสิ้นหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไปแล้ว ศิษย์ของท่านทุกองค์รวมทั้งหลวงพ่อมี ต่างมุ่งตรงไปศึกษาหาความรู้ต่อกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เพราะก่อนที่หลวงพ่อปานท่านจะมรณภาพ ท่านได้บอกบรรดาศิษย์ของท่านให้ไปหาหลวงพ่อจง ซึ่งท่านว่าเป็น “พระทองคำทั้งองค์” ความจริงหลวงพ่อมี ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจงมาก่อนหน้านั้นแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โดยไปขึ้นกรรมฐานกับท่าน และเมื่อออกพรรษาทุกปีก่อนที่หลวงพ่อมีจะออกธุดงค์ท่านต้องไปให้หลวงพ่อจงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนทุกครั้งไป

    ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อมีออกรุกขมูลคราวใด ท่านจึงไม่เคยได้รับอันตรายใด ๆ จากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มีอยู่มากภายในป่าดงดิบทุกแห่งหนที่หลวงพ่อมีเดินธุดงค์ไปถึง เรียกว่า รอดพ้นปลอดภัยกลับถึงวัดมารวิชัยโดยสวัสดิภาพทุกคราวไป หลวงพ่อมีจึงมีความเคารพนับถือหลวงพ่อจงมาก นอกจากท่านจะมีปฏิปทางดงามแล้ว ท่านยังเคยแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ความมีวิทยาคมขลังให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของหลวงพ่อมีอยู่เสมอ เนื่องจากท่านมีวาสนาบารมีผูกกันฉันศิษย์กับอาจารย์มากนั่นเอง

    ดังนั้นในปี พ.ศ. 2481 หลวงพ่อมีจึงมาฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อจงอย่างจริงจัง โดยขอเล่าเรียนวิชาทำตะกรุดกับท่านก่อนตามที่เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงพ่อมีท่านเคยเห็นคนมาลองของกับหลวงพ่อจงด้วยการเอาตะกรุดให้ท่านเป่า แล้วไปลองยิง ปรากฏว่าปืนขัดลำกล้อง แต่เมื่อหันปากกระบอกปืนไปทางอื่น เสียงปืนก็ลั่นเปรี้ยงทันที

    เมื่อหลวงพ่อมีประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ในตะกรุดที่หลวงพ่อจงเป่าด้วยสายตาตนเอง เช่นนี้ จึงตั้งใจไว้ว่าเมื่อบวชเรียน จะมาขอวิชาจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อจงท่านสอนวิธีลง นะหน้าทอง ให้แก่หลวงพ่อมีและบอกให้ใช้นะหน้าทองตัวนี้ลงแผ่นโลหะทำตะกรุดเมตตา หลวงพ่อมีจึงถามหลวงพ่อจงขึ้นว่า เมื่อถึงเมตตามหานิยมทำไมถึงยิงไม่ออก หลวงพ่อจงเปิดเผยเคล็ดลับในการใช้วิทยาคมโดยไม่ปิดบังอำพรางแก่หลวงพ่อมี ว่าลงทางเมตตาก็จริง แต่เวลาปลุกเสก เริ่มต้นว่าอย่างไร ให้ลงท้ายว่าอย่างนั้นเป็นมหาอุด เพราะยันต์นะหน้าทองมีความศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้สารพัด ข้อสำคัญต้องสร้างสมาธิจิตของตนเองให้แก่กล้า จึงจะใช้ได้สารพัดตามใจนึก

    ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มสมาธิจิตให้กล้าแข็งอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่าเรียนพระเวท หลวงพ่อจงท่านจึงถ่ายทอดวิธีปฏิบัติการเพ่ง เตโชกสิณ แก่หลวงพ่อมี พร้อม ๆ กับการสอนสูตรการลง นะหน้าทอง หลวงพ่อมี ผู้สำเร็จอสุภกรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แล้วยังมาได้วิชากสิณไฟจากหลวงพ่อจง อันเป็นกรรมฐานเกี่ยวกับการสร้างพลังจิตทั้งสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า

    ทำไมอิทธิมงคลทุกอย่างที่ผ่านมาปลุกเสกจากหลวงพ่อมี ล้วนมีประสบการณ์เข้มขลัง เป็นที่กล่าวขานโดยทั่วไปในขณะนี้ !

    หลวงพ่อมีได้ศึกษากรรมฐานและวิทยาคมต่าง ๆ มากับหลวงพ่อจงเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี ท่านได้เดินทางไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดหน้าต่างนอก และวัดมารวิชัยอยู่เสมอ ๆ ทั้งยังได้ร่วมงานกับหลวงพ่อจงอย่างใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้ง และได้ปฏิบัติดูแลหลวงพ่อจง ตราบจนท่านสิ้นลมหายใจ


    หลวงพ่อมีเมื่อได้พระอาจารย์ดี ท่านก็ตั้งใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะหลวงตาผู้สอนท่านจะคอยกำกับโดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิพนมมือ และหลับตาภาวนาหัวใจของคาถาต่าง ๆ ไปด้วย ในระหว่างการเรียนจะเงียบสงบ เพราะต้องการให้เกิดสมาธิเร็วขึ้นเป็นเอกัคตา คือเป็นหนึ่งตลอด เรียกว่าผู้เรียนคาถาต่าง ๆ ต้องมีสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

    สมัยหลวงพ่อมีนั้น จะมีพระเณรเรียนในทางวิชาอาคมกันมาก เพราะมีพระอาจารย์คอยสอนให้อยู่อย่างมากมายนั่นเอง

    “เพื่อเห็นแก่อนาคตก็ต้องเรียนไว้ เพราะต่อไปจะหาไม่มีอีกแล้ว ที่จะมีอาจารย์ผู้เก่งกล้าสามารถเช่นสมัยนั้น”


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.มี.jpg ลพ.มีหลัง.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อดี จัตตมโล

    1730-16e4.jpg
    วัดพระรูป

    หลวงปู่ดี จัตตมโล หรือ พระครูสุนทรสุวรรณกิจ พระเกจิชื่อดังจังหวัดสุพรรณบุรี ต้นตำรับพระขุนแผน ผงสุพรรณ และพระปิดตา นามเดิมว่า นายดี ศรีขำสุข เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2454 ที่บ้านคันลำ ต.ดอนตาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายปั้น และ นางหรุ่น ศรีขำสุข มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

    ในช่วงวัยเยาว์ ได้ติดตามพี่ชายคือ พระอาจารย์เผื่อน ปุสสชิโน (ศรีขำสุข) ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ มาอยู่อาศัยที่วัดพระรูป ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมกับ พระอาจารย์คง วัดไชนาวาส เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเรียนหนังสือไทยกับ พระอาจารย์ช้าง เจ้าอาวาสวัดพระรูป ครั้นอายุ 23 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดไชนาวาส โดยมี พระครูสมณะการพิสิฐ (หลวงพ่อท้วม) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูถาวรสุวรรณคุณ (หลวงพ่อคำ) เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และ พระอาจารย์บุญ วัดไชนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระรูป และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระรูป ในเวลาต่อมา

    พ.ศ.2488-2520 หลวงปู่ดี ได้ร่วมกับคณะกรรมการวัด พระภิกษุ-สามเณร บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ

    1731-65c8.jpg


    พ.ศ.2508-2514 หลวงปู่ดี ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชาแบบต่างๆ เพื่อหาเงินสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ หลวงปู่ดีได้นิมนต์พระคณาจารย์ รวบรวมดอกไม้ร้อยแปด ว่านร้อยแปด แร่ธาตุต่างๆ และผงกรุต่างๆ นำมาสร้างพระเครื่อง พระเครื่องทุกแบบ ทุกพิมพ์ ทุกรุ่น ที่หลวงปู่ดีสร้างปรากฏว่าได้รับความนิยม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งถึงระดับประเทศ ได้ชื่อว่า เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศอีกรูปหนึ่ง ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

    จนกระทั่ง เมื่อเวลา 18.40 น. วันที่ 18 ก.พ.51 หลวงปู่ดีได้ละสังขารสิริอายุ 96 ปี พรรษา 73 ลูกศิษย์ท่านมีทั้งเจ้านายผู้ใหญ่ คนร่ำรวย และคนยากคนจนแต่ท่านก็สงเคราะห์ลูกศิษย์เท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นศิษย์คนพิเศษแต่อย่างใด ทุกวันนี้ท่านยังอยู่ในใจคนที่เคารพท่านเสมอ ไม่ใช่เพียงการสะสมพระเครื่องเท่านั้น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ดีให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.ดี.JPG ลป.ดีหลัง.JPG
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    upload_2019-8-5_22-26-11.jpeg
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    ชาตะ 8 กุมภาพันธ์ 2464
    มรณภาพ 15 พฤษภาคม 2542
    พระราชทานเพลิงศพ 31 พฤษภาคม 2543



    “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” หรือ “พระราชสังวรญาณ” เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก




    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ หมู่บ้านชนบท ต.หนองหญ้าเซ้ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร




    อุปสมบท
    ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479 เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดอินทรสุวรรณ ซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร





    เรียนรู้ธรรม
    หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา และในช่วงสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2489 ระหว่างนั้น ท่านได้อาพาธอย่างหนักด้วยวัณโรค มีหมอมารักษาตั้งหลายคน แต่แล้วก็สู้ไม่ไหว ต่อมาท่านได้พบกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่ฝั้นก็ได้ช่วยรักษาโดยการให้ตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น
    หลวงพ่อพุธทำตามอุบายของหลวงปู่ฝั้นทันที แรกๆ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่พอพิจารณาหนักเข้าๆ ปรากฏว่ามีผลมาก ท่านใช้เวลารักษาตัวอยู่ประมาณ 10 ปี โรคร้ายจึงหายขาด



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อพุธให้บูชาเหรียญละ 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับมี2เหรียญ


    เหรียญที่1
    ลพ.พุธ.jpg ลพ.พุธหลัง.jpg


    เหรียญที่2

    ลพ.พุธ1.jpg ลพ.พุธ1หลัง.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี หลวงพ่อเคนนี้ เป็นอาจารย์หลวงปู่กวยด้วยเช่นกัน เก่งวิชารักษาโรค ประสานกระดูก มีวิชาเล่นเเร่เเปรธาตุ ทำตะกั่วให้เป็นทองคำได้เเบบหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    อาจารย์รื่น อำเภอวิเชียร จ.เพชรบูรณ์
    อาจารย์อ้วน วัดด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


    เสือกลับใจ
    หลังจากบวชครั้งที่สองปีพ.ศ.๒๕๐๔ หลวงปู่จำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ โดยตัดทางโลกสิ้นเชิง สมัยนั้นทางกองปราบเคยส่งมือปราบมาฆ่าท่าน เพราะท่านเคยมีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ ทางกองปราบส่งคนปลอมตัวมาเเบบสามัญชน มาหลอกถามท่านว่า บวชทำไม จะสึกหรือไม่ หลวงปู่ตอบไปว่า บวชครั้งนี้ ขอบวชให้พระพุทธองค์ จะไม่ขอลาสิกขาอีกเเล้ว จนกว่าจะถึงฝั่งพระนิพพาน คนที่ปลอมตัวมา เห็นหลวงปู่พูดจาจริงจังดังนั้นจึงไม่ทำอะไรท่าน เเละได้ลบชื่อหลวงปู่ออกจากรายชื่อบัญชีดำ หลวงปู่ก็ได้ปฎิบัติธรรมอย่างจริงจังดังที่ท่านได้กล่าวออกไป
    จากนั้นท่านก็ไปศึกษาตำราเก่าของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สมัยนั้นหลวงพ่อทอง เป็นเจ้าอาวาส เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐที่อุทัยธานี หลวงปู่เก่งวิชาหลายอย่างที่เรียนจากหลวงพ่อศรี เช่น การทำเเหวนเเขน ลงตะกรุด เช่นตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามดอก นอกจากนี้ยังเก่งเรื่องทำผงวิเศษ ทำสีผึ้ง ลงมีดหมอได้ขลัง เเละเก่งวิชาตะกรุดกระดอนสะท้อน คือ ถ้าถูกยิง ลูกปืนจะย้อนกลับ



    ปฎิปทา
    ๑. เป็นผู้คงเเก่เรียน ชอบศึกษา ทำผงได้เก่ง เก่งทางตะกรุด มีดหมอ ลงอาถรรพ์ วิชาหลายอย่างทำได้เเบบหลวงปู่กวย
    ๒. ชอบทำวัตถุมงคลเอง ที่หน้ากุฎิหลวงปู่มักนั่งจารตะกรุด หรือเขียนผ้ายันต์ คนไปกราบ บางครั้งนั่งลงยันต์ไป นั่งคุยไป เขียนเสร็จ เสกเดี๋ยวนั้นเลยก็มี
    ๓. ร้อนวิชา หลวงปู่ค่อนข้างร้อนวิชา อย่างที่กล่าว ท่านชอบลงของ ทำของด้วยตัวเอง
    ๔. ชอบเลี้ยงสัตว์ หลวงปู่เลี้ยงหมา เเมว ไก่ ตอนเช้าๆท่านจะขุนข้าวให้มันเอง ปรกติหลังหกโมงเย็น หลังจารตะกรุด ท่านจะมาให้ข้าวพวกมัน เเมวคลุกข้าวให้กินในกุฎิ หมาจะมีข้าวในอ่างให้ข้างนอก เสร็จกิจ หลวงปู่จะสรงน้ำ ทำวัตรสวดมนต์ ปลุกเสกวัตถุมงคลเเละปฎิบัติธรรม
    ๕. ชอบยิงคุนกระสุน คันกระสุนนี้ ใช้ลูกดินยิงเเทนลูกธนู ท่านมักวางไว้ใกล้ตัว สมัยก่อน ใครเคยไปกราบ มักจะเห็นคันกระสุนวางข้างๆตัวท่าน



    คุณวิเศษ
    ๑. หายตัวได้ หลายครั้งที่ศิษย์พบเหตุการณ์ดังกล่าว เช่นขับรถมาถึงหน้ากุฎิ เห็นหลวงปู่นั่งจารตะกรุด พอลงรถมาถึง จะกราบท่านเเละนำของมาถวาย กลับมองไม่เห็น พอเดินไปเดินมา หาท่าน กลับเห็นท่านนั่งอยู่ที่เดิม พอถามว่าท่านไปไหน หลวงปู่ตอบว่า นั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ได้ไปไหน ศิษย์ใกล้ชิดบางคนบอกมาว่า เวลาหลวงปู่เสก หรือลงตะกรุดให้เป็นกำบัง ต้องลงจนไม่มีใครเห็นตัวท่าน
    ๒. ถ่ายรูปไม่ติด หลายครั้งที่ท่านไปงานพิธีต่างๆ มีช่างมาขอถ่ายรูปท่าน บางครั้งหลวงปู่รำคาญ ถ่ายเเบบไม่เกรงใจ หรือท่านยังไม่พร้อม พวกช่างเลยกดชัตเตอร์ไม่ลง บางครั้งถ่ายไปไม่ติดก็เคยมี หลวงปู่เคยเหน็บตะกรุดชนิดหนึ่งที่ท่านทำให้คนทำบุญ เเต่ท่านพกติดตัว มีศิษย์ถาม ท่านเลยตอบไปว่า ท่านรำคาญพวกถ่ายรูป เลยต้องมีดีติดตัวไว้บ้าง ครั้งนึงมีศิษย์มาจากอเมริกา มากราบท่าน หลวงปู่ได้เอาตะกรุดชนิดนี้ออกมาให้ทำบุญ ท่านบอกว่า เงินหาได้ เเต่ตะกรุดเเบบนี้ หาได้ยากกว่าหลายร้อยเท่านัก
    ๓. ทำวัตถุมงคลได้ขลัง ท่านเป็นพระ ชอบพระเอง เเม้อายุมาก ผ้ายันต์ ตะกรุดจารเอง มีดหมอก็จารเอง สมเด็จยุคเเรกๆหลวงปู่ทำเอง รุ่นต่อมาเเม้ไม่ได้ทำเอง เเต่ก็คุมเรื่องมวลสาร เนื้อหา ส่วนผสมต่างๆ วัตถุหลักที่เป็นส่วนผสม เช่น ผงอิทธิเจ เเร่ เส้นเกศา เป็นต้น
    การปลุกเสก มีการอัญเชิญพระอรหันต์ เสกด้วยคาถาชินบัญชร พระคาถาธรรมจักรกัปปะวัตนสูตร พระผงท่านเด่นทางเมตตาเเรง เหรียญเเละตะกรุดก็มหาอุตม์ หยุดปืนได้ไม่เเพ้ใคร
    ๔. ลงอาถรรพ์ได้ ในสระที่วัด หลวงปู่ได้ขุดไว้ ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำอาบเเละกิน ท่านได้ลงอักขระทื่เสา ฝังไว้ที่ขอบสระทั้งสี่ด้าน ถือเป็นเขตวัด เขตอภัยทาน ต่อมีมีชาวบ้านบางกลุ่ม ถือวิสาสะ ไม่เกรงใจเขตวัดเขตอภัยทาน มาดักปลาในสระไปทำอาหารกินกัน ต่อมาเกิดอาเภท บ้านถูกไฟไหม้ ต้องคดีติดคุก มีอันเป็นไปต่างๆนานา เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมาก ลองไปถามเเถววัดดู เเล้วจะทราบดี



    มรณภาพ
    ในบั้นปลายชีวิต หลวงปู่ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดห้วยเจริญสุข บ้านเกิดท่าน มาช่วยสร้างโบสถ์ จากนั้น ท่านก็จำพรรษาที่วัดนี้ จนมรณภาพ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จหลังรูปเหมือนฝั่งตะกรุด ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    2920-7ce9-jpg.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสุทัศน์ โกสโล

    วัดกระโจมทอง
    ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี


    หลวงพ่อสุทัศน์ โกสโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๖ มกราคม ๒๔๗๘ ปีกุน ในตระกูลชาวนา เป็นบุตรของนายพรหม และนางพันธ์ ตามภานนท์ ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๖ ณ ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยบิดาของท่านเป็นพระภิกษุถึง ๒๐ พรรษา เป็นพระนักเทศน์ที่ได้รับความเคารพนับถือจากภิกษุอื่น นอกจากนั้นยังเป็นสมภารปกครองหลายวัด ถึงแม้ว่าโยมบิดาจะสึกมามีครอบครัวแล้วก็ตาม พระภิกษุอื่นก็ยังเคารพโยมบิดาในฐานะของอาจารย์เสมอมา โยมบิดาท่านปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรมเสมอๆ ประกอบทั้งได้อบรมลูกๆ ให้มีความเคารพต่อพระบรมศาสดา สอนให้ละการเบียดเบียนบุคคลอื่นด้วยกาย วาจา และใจ และชี้แนะแนวทางในการช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยพรหมวิหาร ๔

    ธรรมะเกิดในราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ขณะที่ท่านอยู่ระหว่างการศึกษาเล่าเรียนนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น หลังจากสงครามสงบลงใหม่ๆ ภายในหมู่บ้านได้เกิดอาการไข้แพร่เชื้อติดต่อกัน ในจำนวนผู้เป็นไข้นั้นมีตัวท่านเอง น้องชายของท่าน เพื่อนเล่นของท่านและเด็กคนอื่นๆ แต่ก็ไม่มียามารักษา เพราะว่าหลังสงครามขณะนั้นยาหายากมาก อาการไข้ของน้องชายและเพื่อนของท่านทวีขึ้นอย่างรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ และถึงแก่ความตายในที่สุด ความตายนี้มาพรากน้องชายและเพื่อนของท่าน ทำให้ท่านเสียใจอย่างสุดซึ้ง ได้บังเกิดเป็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งเข้ามาในจิตใจของท่าน

    ในขณะที่ใคร่ครวญพิจารณาศพเพื่อนและน้องชายด้วยใจจดใจจ่อ ได้บังเกิดเป็นฝ้าขาวบางแผ่กระจายไปทั่วบริเวณและได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนเดินผ่านหน้าท่านไปอย่างช้าๆ ทำให้ท่านหวนคิดไปว่า ผู้หญิงคนนั้นเขามีสิ่งใด เขาจึงเดินได้ เคลื่อนไหวได้ แล้วเพื่อนของเราขาดสิ่งใด จึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ในขณะที่คิดพิจารณาอยู่กับการตายของน้องและเพื่อนนั้น จิตเริ่มค่อยๆ ลงสู่ความสงบพร้อมกับฝ้าขาวค่อยๆ หนาขึ้น หนาขึ้น จนกระทั่งเห็นสีขาวเต็มไปหมด นานเท่าไรไม่ทราบได้ จิตจึงเริ่มถอนออกมา รับรู้สภาพภายนอก ทบทวนย้อนหลังกลับไปถึงสาเหตุของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความคิดที่พิจารณาถึงความตาย หลังจากนั้นเป็นต้นมาในดวงใจของท่านเหมือนมีสิ่งมาดลใจไปให้ท่านอยากบวชเสมอมา

    กุศลดลใจ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจอีกสิ่งคือ เสียงเด็กร้องไห้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าท่านได้ยินเมื่อไร จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเหมือนถูกกรีดด้วยมีดคม ต้องหลีกให้ไกลเท่าที่จะไกลได้ จนไม่ได้ยินเสียง มูลเหตุนี้ทำให้ท่านคิดว่า สมมติว่าเราแต่งงานมีลูก ถ้าลูกร้องแล้วเราเจ็บปวดอย่างนี้ เราจะเข้าไปหาลูก หรือเราจะหนีลูก ได้รับคำตอบมาทันทีว่า เราต้องหนี และถ้าเราหนีขณะที่ลูกร้องจะตาย ใคร ๆ เขาจะว่าเราบ้า เพราะมันไม่ใช่พ่อคนแล้ว พ่อสัตว์แน่ๆ

    เมื่อท่านพิจารณาเช่นนั้น ท่านจึงตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่ขอแต่งงานเด็ดขาด ยิ่งเป็นการสนับสนุนความคิดเดิมที่จะบวชให้ทวียิ่งขึ้นไปอีก หลังจากนั้นมา ท่านก็ขอฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูประภาส ภูมิสถิต วัดคงคาสวัสดิ์ ที่ท่านเล่าเรียนหนังสืออยู่ ได้ติดสอยห้อยตามพระครูไปในสถานที่ต่างๆ ในกรณีที่ท่านมีกิจนิมนต์เทศน์ และปรนนิบัติท่านพระครูด้วยดี ในยามว่างจากการปรนนิบัติแล้ว ท่านพระครูมักจะไล่ให้ท่านลงไปพิจารณากรรมฐาน โดยให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทุกๆ คืน นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาด้านปริยัติและได้นำบทเรียนที่เกี่ยวกับการทำกสิณมาปฏิบัติจนกระทั่งท่านมีความชำนาญในฝ่ายสมถะมากพอสมควร

    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคงคาสวัสดิ์ ต.คงคาสวัสดิ์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี ท่านพระครูประภาส ภูมิสถิต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เจิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดเกตุ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้อยู่ศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ๑ ปี แล้วย้ายไปอยู่วัดวิชิตสังฆาราม ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อศึกษาทางด้านภาษาบาลี แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากท่านเป็นเนื้องอกในจมูก จึงได้กลับมาศึกษานักธรรมเอกที่วัดคงคาสวัสดิ์ดังเดิม และออกธุดงค์ในเวลาต่อมา

    ราวปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ หลังจากที่ท่านและสหายได้เดินทางกลับจากธุดงค์ เพื่อจะสอบนักธรรมและสอบได้ในคราวนั้นแล้ว ปีนั้นได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่ที่แหลมตะลุมพุก ที่ อ.ปากพนัง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตคนสัตว์อย่างมากมาย มีการทยอยนำศพมาตั้งไว้ที่วัดคงคาสวัสดิ์นั้นมากมายเต็มศาลา ทำให้ท่านรำพึงว่า “มนุษย์เราไม่ว่าจะมีตำแหน่งใหญ่โต ร่ำรวยมหาศาล สวยหรืองาม ทุกข์ยากลำเข็ญเพียงใด ก็หนีความตายไม่พ้น เมื่อตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ เกิดตายเช่นนี้ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันชาติ ศีล สมาธิ และปัญญาเป็นทางไปแห่งความไม่ตายที่นิจนิรันดร์” เสียงหนึ่งผุดกังวานขึ้นในใจ เป็นเหตุให้ท่านเบื่อหน่ายต่อความเกิด มุ่งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง

    เมื่อดำริเช่นนั้นแล้วจึงได้จัดเตรียมบริขาร และชักชวนพระสหายออกเดินธุดงค์แถบป่าเขา จ.นครศรีธรรมราช อีกครั้ง ท่านได้ไปลาโยมพ่อ โยมพ่อแสดงความห่วงใยและแนะนำให้ไปนมัสการพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ก่อนออกเดินทาง ท่านก็ได้รับปาก จังหวะเดียวกันนั้นท่านได้รับนิมนต์ให้ไปฉันที่วัดทับโคก และได้พบกับท่านพระอาจารย์อุดม สมถกิจ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น ท่านได้บอกความตั้งใจที่จะธุดงค์ พระอาจารย์อุดมก็เห็นดีด้วย เพราะคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการธุดงค์ พร้อมกันนั้นพระอาจารย์อุดมได้แนะนำให้ท่านเดินทางไปกราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่วัดชายนา หาแนวทางในการปฏิบัติไว้เป็นพื้นฐานเสียก่อนจะไปธุดงค์ พระอาจารย์สุทัศน์ก็เห็นด้วยกับคำแนะนำนั้น ได้เป็นศิษย์รุ่นแรกของพระคุณอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร พระครูภาวนานุศาสก์

    ในวันมาฆบูชานั่นเอง เป็นวันที่หลวงพ่อสุทัศน์ และพระอาจารย์บัญญัติ ได้เดินทางไปทำการนมัสการพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ด้วยการเวียนเทียนและเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอีกที่หนึ่งคือวัดชายนา ครั้งแรกที่ท่านพบพระคุณอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร ขณะนั้นท่านกำลังทำการสอบอารมณ์แม่ชีอยู่และได้มีการการไต่ถามข้อที่กล่าวด้วยมรรคมีองค์ ๘ โดยพระอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ถามและแม่ชีน้อยเป็นผู้ตอบ

    หลวงพ่อสุทัศน์ท่านยืนฟังและพิจารณาตามจนจิตเกิดความสงบนึกนิยมชมชอบในตัวพระคุณอาจารย์ใหญ่และคำตอบของแม่ชีน้อยที่โต้ตอบไป พลางรำพึงในใจว่า เราเรียนนักธรรมมายังตอบไม่ได้ลึกซึ้งอย่างนี้เลย เมื่อได้โอกาสแล้ว พระอาจารย์สุทัศน์จึงเข้ากราบเรียนจุดประสงค์ในการเดินทางมาครั้งนี้ ซึ่งพระคุณอาจารย์ใหญ่ก็รับด้วยความยินดี พร้อมกับแจงการปฏิบัติของท่านว่า

    “การปฏิบัติให้จับอิริยาบถทั้ง ๔ คนเรามี การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ทุกคน แต่ไม่มีใครเลยที่ตามจับความรู้สึกในอิริยาบถทั้ง ๔ ให้ใช้ความเพียรพยายามในการติดตาม อย่าย่อท้อ”

    อุบายการสอนของพระคุณอาจารย์ใหญ่สอนเพียงสั้นๆ แต่กินใจของหลวงพ่อสุทัศน์อย่างลึกซึ้ง เหมือนหนึ่งส่องไฟที่มีดให้สว่าง หงายของคว่ำให้แจ้ง บังเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้ให้สัจจะต่อหน้าพระคุณอาจารย์ใหญ่ว่า“ตราบใดที่ผมได้ปฏิบัติอยู่ในสำนักนี้ ถ้าไม่แจ้งในขันธ์ ๕ นี้จะไม่ขอพูดกับใคร” ท่านได้ตั้งใจปฎิบัติโดยมีพระคุณอาจารย์ใหญ่คอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด จนท่านพิจารณาเห็นว่าท่านพอจะมีสติและปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองตัวได้ พร้อมกับมีศรัทธาเชื่อมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสูงยิ่ง ท่านจึงปรารถนาที่จะไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองที่ประเทศพม่า ที่เชื่อว่ามีพระเกศาของพระพุทธองค์ประดิษฐานอยู่ จึงได้ออกธุดงค์พร้อมพระสหายในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ นั่นเอง


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เพระสมเด็จหลวงพ่อสุทัศน์ วัดกระโจมทอง
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)


    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-jpg.jpg AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2019
  9. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,906
    ค่าพลัง:
    +6,829
    ขอจองครับ
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    upload_2019-8-7_15-32-34.png

    หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิเมืองสุพรรณฯ วัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นมีลงในหนังสือพระเครื่องเมืองสุพรรณฯ ของท่านอาจารย์มนัส โอภากุล (หนังสือพระเครื่องที่ดี และสมบูรณ์ที่สุดของเมืองสุพรรณฯ ) ลองหาอ่านดูจ้า...ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้หายากอยู่เหมือนกันเพราะพิมพ์เมื่อ 10 กว่าปีก่อน
    พระเครื่องของท่านมีหลายรุ่น หลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่สุดคือพิมพ์ " พระเณรสุพรรณ " หรือหลวงพ่อเณร พิมพ์หลวงพ่อเณรรุ่นแรกสร้างเมื่อปี 2497 จำนวน 90 กว่าองค์ นับว่าสุดยอดหายากยิ่ง
    ต่อมาได้ทำอีกหลายสิบรุ่น แต่รุ่นหลังๆที่นิยมได้แก่รุ่น เนื้อดินลงรักปิดทอง , รุ่นตะกั่วสองหน้า มูลเหตุที่สร้างเป็นพระลักษณะไม่มีเกศคือเพราะว่าสมัยเมื่อปี 2490 กว่าๆ เจดีย์เก่าแก่สมัยอยุธยาหรืออู่ทองที่วัด( จำสมัยของเจดีย์ไม่ค่อยได้) ได้ทรุดโทรม บางส่วนทลายลงมา และชาวบ้านได้รับพระเครื่องเนื้อตะกั่วเป็นพระพิมพ์ไม่มีพระเกศ เหมือนอย่างพระพุทธ ซึ่งคล้ายเณร ไปจำนวนไม่กี่สิบองค์ และมีเหลือที่เป็นพระชำรุดอีกหลายสิบองค์ หลวงตาจวนจึงนำเอาพระชำรุดนั้นมาหล่อหลอมรวมกันแล้วสร้างเป็นพระขึ้นมาเป็นลักษณะพระไม่มีเกศ ซึ่งเหมือนพระกรุที่พบ แล้วเรียกว่า " พระเณรสุพรรณ " แต่ชาวบ้านเรียกสั้นๆว่า " หลวงพ่อเณร "
    ซึ่งมีพุทธคุณด้านมหาอุตแคล้วคลาดปลอดภัยครับ เพราะสมัยตอนแจกพระสมัยก่อน หลวงตาจวนได้โยนพระลงไปใต้ถุนกุฏิ แล้วให้คนที่จะเอาพระลงไปเก็บพระ พอคนที่จะเอาพระลงไปเก็บพระใต้กุฏิ พอมือกำพระเท่านั้นแหละครับ หลวงตาจวนก็ได้ เขวี้ยงหอกลงใส่คนนั้นเต็มๆ แต่หอกนั้นไม่เข้าเนื้อหนังมังสาของคนที่รับพระ เหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการลองของ ว่าพระของท่านแน่จริงๆ

    https://palungjit.org/threads/หลวงตาจวน-วัดไก่เตี้ย-อำเภอศรีประจันต์-จังหวัดสุพรรณบุรี.358905/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระหลวงพ่อเณรหลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย ให้บูชา300บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลต.จวนกล่อง.JPG ลต.จวน.JPG ลต.จวนหลัง.JPG
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    ชีวประวัติและปฏิปทา

    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺโม)

    จากหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)

    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร

    วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔

    bar-1.jpg

    บรรพบุรุษชั้นปู่ ย่า ตา ยายของพระอาจารย์วัน มีพื้นเพอยู่ที่บ้านหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้อพยพครอบครัวขึ้นไปตั้งรกรากอยู่ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอบ้านหัน จังหวัดสกลนคร

    คำว่า “ตาลโกน” อันเป็นชื่อของหมู่บ้านนั้น มีที่มาจากต้นตาลที่เป็นโพรง ชาวบ้านถือเอาสัญลักษณ์นี้เองมาเป็นชื่อของหมู่บ้าน ส่วนคำว่า “ตาลเนิ้ง” อันเป็นชื่อของตำบลนั้น ก็มีที่มาจากต้นตาลที่เอน ไม่ขึ้นตรงเหมือนตาลทั้งหลาย ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกต้นไม้ที่เอนว่า “ต้นไม้เนิ้ง” ปัจจุบันนี้ทางราชการได้ยกฐานะหมู่บ้านตาลโกนขึ้นเป็นตำบลแล้ว ส่วนอำเภอบ้านหัน ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์วัน เกิดวัน ๑ ฯ๖ ๙ ปีจอ (วันอาทิตย์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙) ตรงกับวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ บ้านตาลโกน ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    บิดาชื่อ นายแหลม สีลารักษ์

    มารดา นางจันทร์ (มาริชิน) สีลารักษ์

    นายแหลมและนางจันทร์ มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ

    ๑. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม

    ๒. นายผัน สีลารักษ์

    เมื่อมารดาคลอดบุตรคนที่สองได้ไม่กี่วันก็ถึงแก่กรรม ต่อมาบิดาได้แต่งงานใหม่กับ นางพิมพ์ สารทอง มีบุตรด้วยกัน ๓ คน คือ

    ๑. นายบุญโฮม สีลารักษ์

    ๒. นายนิยม สีลารักษ์

    ๓. นายดำ สีลารักษ์

    ขณะที่บิดาของพระอาจารย์วันแต่งงานกับนางจันทร์ใหม่ ๆ บิดาของท่านได้ไปอยู่ที่บ้านของพ่อตาแม่ยาย ต่อมาเมื่อมารดาของพระอาจารย์วัน ถึงแก่กรรมแล้ว จึงกลับมาอยู่กับปู่ ย่า ตามเดิม และพระอาจารย์วัน ก็ติดตามบิดามาอยู่ด้วย ขณะนั้นพระอาจารย์วัน มีอายุเพียงย่างเข้า ๓ ขวบเท่านั้น แต่ท่านพระอาจารย์วัน ก็เป็นที่รักของตระกูลทั้งสองฝ่ายุคือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา

    ชีวิตในปฐมวัย

    จากบันทึกประวัติท่าน และจากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องที่สูงอายุ ได้ความว่า เมื่อยังเด็กพระอาจารย์วัน เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ร้องไห้เก่งในเวลาค่ำคืน จึงเป็นความลำบากแก่บุคคลที่เลี้ยงดู เวลาร้องไห้จะต้องอุ้มพาเดินไปรอบบ้าน หรือเดินเล่นในสวน จึงจะหยุดร้องไห้ นิสัยใจคอเป็นเด็กที่เอาใจยาก มักจะตามใจตัวเอง อาจจะเป็นเพราะญาติพี่น้องให้ความรักความเอ็นดูจนเกินไป เพราะเห็นว่าเป็นเด็กกำพร้าก็ได้

    สมัยหนึ่งที่ยังไม่รู้เดียงสานัก ขณะพระอาจารย์วัน กำลังวิ่งไล่จับกับน้าหญิงอย่างสนุกสนานอยู่นั้น ปรากฏว่าพระอาจารย์วัน ล้มลงและโดนหนามตำที่เข่าข้างซ้าย ต่อมาเมื่อแผลหายดีแล้ว แต่ก็กลายเป็นแผลเป็นมองเห็นได้ชัดเจน โดยเป็นเนื้อนูนขึ้นมา พวกญาติจึงเรียกว่า เจ้าโป้ หรือ ท้าวโป้ แล้วเลยกลายเป็นชื่อเรียกเล่น ๆ อีกชื่อหนึ่ง

    สมัยเริ่มการศึกษา

    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๐ ขวบ บิดาได้นำไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่ศาลาวัดโพธิชัยเจริญ เรียนต่อถึงประถมปีที่ ๓ บิดาก็ถึงแก่กรรม จึงเป็นความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงแก่พระอาจารย์วัน เป็นครั้งที่ ๒ ถึงแม้จะได้รับความเศร้าโศกเพราะบิดาจากไป แต่การเล่าเรียนก็หาได้หยุดลงไม่ ฝ่ายญาติผู้ดูแลคงปลอบโยนให้หายเศร้าโศก และได้ศึกษาเล่าเรียนต่อมา จนจบประถมปีที่ ๔ ส่วนชั้นเรียนที่สูงขึ้นไปคือ ป. ๕ ป. ๖ ทางการได้สั่งยุบไปเสียก่อน ๆ ที่จะได้เรียน

    ในสมัยที่กำลังเล่าเรียนอยู่นั้น วิชาที่พระอาจารย์วัน ถนัดและทำคะแนนได้ดีคือวิชาเลขคณิต สำหรับวิชาอื่น ๆ ปรากฏว่าคะแนนไม่ค่อยดี

    ตามความตั้งใจของบิดานั้น ท่านต้องการให้พระอาจารย์วันเรียนกฎหมาย เพราะเป็นบุตรคนโต แต่ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ความหวังที่จะเรียนต่อก็พังทลายลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อบิดาถึงแก่กรรมลง จึงเป็นภาระของพระอาจารย์วัน ที่จะต้องทำงานต่างๆ ที่ตนสามารถจะทำได้ อาทิเมื่อถึงฤดูทำนาจะต้องช่วยปู่ไถนา เนื่องจากอาส่วนมากเป็นผู้หญิง จากบันทึกประวัติของท่านบอกว่า รับหน้าที่ไถนา แต่คราดนาไม่ได้เพราะยกคราดไม่ไหว

    นับว่าพระอาจารย์วัน ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าแม่ตั้งแต่อายุย่างเข้า ๓ ขวบ และเป็นกำพร้าพ่อเมื่ออายุได้ ๑๓ ขวบ ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ความว้าเหว่ซึ่งไม่มีใครจะบอกได้ว่าหนักเพียงไร นอกจากตัวของท่านเอง ซึ่งเป็นผู้ประสบ ส่วนการงานอย่างอื่น ถึงจะหนัก แต่ยังมีผู้ช่วยเหลืออยู่บ้าง ความผันผวนในชีวิตส่วนตัวดังกล่าวมานี้เอง ทำให้พระอาจารย์วัน กลายเป็นเด็กเจ้าความคิดมาตั้งแต่เด็ก

    สมัยออกบรรพชา

    เมื่อสิ้นร่มโพธิ์ร่มไทรลงแล้ว พระอาจารย์วัน ก็เริ่มมีชีวิตอยู่อย่างว้าเหว่ แม้ว่าตระกูลของปู่ เป็นตระกูลที่พอมีอันจะกิน ตามฐานะของชาวชนบท แต่ความรู้สึกภายใน ที่ประสบกับความพลัดพรากจากไป ของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ผู้เอาอกเอาใจ ผู้ให้ความอบอุ่น ผู้ปกป้อรักษาในทุก ๆ ด้าน ก็คงมีสภาพไม่ผิดอะไรกับคนที่มีบ้านใหญ่โต แต่ถูกพายุหนุนหอบไปกับสายลม แม้จะมีหน่วยสงเคราะห์ให้ความเมตตา ก็ไม่สามารถทดแทนความอาลัยนั้นได้ จึงทำให้เด็กชายวันคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะขณะที่บิดาของท่านกำลังเจ็บหนัก ได้สั่งเสียไว้ว่า

    “เมื่อออกโรงเรียนแล้ว ขอให้ลูกบวชให้พ่อ ก่อนจะคิดเรื่องอื่น ๆ จะอยู่ได้ในศาสนานานเท่าไรไม่บังคับ”

    คำสั่งเสียนี้แหละ เป็นเครื่องกระตุ้นอันสำคัญอีกแรงหนึ่ง ที่ทำให้เด็กชายวันตัดสินใจออกบวช

    วันหนึ่งจึงเข้าไปกราบลาปู่โดยกล่าวสั้น ๆ ว่า “ขอไปบวช” ปู่ได้ยินหลานมาออกปากกราบลาอยู่ซึ่งหน้าเช่นนั้น ถึงกับพูดไม่ออก เพราะความรักความอาลัยในหลาน แต่พระอาจารย์วันก็ไม่ลดละความพยายาม ผลสุดท้าย ปู่ก็จำต้องอนุญาตให้บวชด้วยความอาลัย

    lp-one-pic-12.jpg
    พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

    เมื่อตัดสินใจบวชแน่นอนแล้ว พระอาจารย์วัน ได้ถูกนำตัวไปฝากไว้กับท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านตาลโกนไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร

    ในการไปบวชครั้งนี้ ก็ได้ให้เงินติดตัวไปด้วย ๑ บาท เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นในการใช้จ่ายมากนัก เมื่อไปอยู่วัดระยะแรก ๆ ก็ยังไม่รีบร้อนอะไร เพราะตามธรรมดา เด็กที่ไปอยู่วัดกรรมฐาน จะต้องได้รับการฝึกให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นเสียก่อน หมายความว่าเด็กจะได้รับการอบรมในข้อวัตรต่าง ๆ เช่นการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร ต่อบุคคลโดยทั่วไป รวมทั้งกิริยามารยาทในอิริยาบถต่าง ๆ ตลอดจนการฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาไปด้วย เป็นเวลาหลายเดือน บางคนเป็นปีหรือหลายปี แล้วแต่อาจารย์จะเห็นเหมาะสม เพราะถ้าหากได้รับการฝึกหัดดีแต่เบื้องต้น เมื่อบวชเข้ามาแล้ว อาจารย์ก็ไม่ต้องยุ่งยากลำบากในการแนะนำสั่งสอนบ่อย ๆ

    lp-one-pic-11.jpg
    พระธรรมเจดีย์ (จูม)

    สำหรับพระอาจารย์วัน พอไปอยู่วัดไม่นาน ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ก็บอกให้ท่องคำขอบรรพชา ประจวบกับโอกาสอำนวย กล่าวคือขณะที่กำลังท่องคำขอบรรพชาอยู่นั้น พอดี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์ จูม พนฺธุโล) กลับจากไปงานผูกพัทธสีมาที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี แวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์วัง จึงนำไปบวช ณ วัดศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ (ขณะนั้นพระอาจารย์วันมีอายุ ๑๕ ปี) โดยมีพระเทพกวี เป็นพระอุปัชฌายะ

    เมื่อได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอาจารย์วัน ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส ๒ พรรษา จากนั้นท่านพระอาจารย์วังก็พาท่านออกเที่ยววิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ เมื่อใกล้เข้าพรรษา พระอาจารย์ก็พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอท่าบ่อศรีสงคราม อีก ๒ พรรษา รวมเป็นเวลา ๔ พรรษาที่ได้อบรมในทางปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์วัง

    พอย่างเข้าพรรษาที่ ๕ จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรมที่วัดสุทธาวาส อันที่จริงวัดสุทธาวาสในสมัยนั้นก็เป็นวัดป่า ฉันอาหารมื้อเดียว ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ก็เหมือนวัดป่าทุกอย่าง เพียงแต่เพิ่มการศึกษาปริยัติธรรมเข้าไปเท่านั้น

    การศึกษาด้านปริยัติธรรมของพระอาจารย์วัน ได้เริ่มต้นเรียนนักธรรมชั้นตรีที่วัดสุทธาวาสนี้ ระหว่างสอบนักธรรม ฝรั่งได้เอาเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองสกลนคร ชาวเมืองต้องหลบภัยหนีไปอยู่นอกเมือง ปล่อยให้เป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง แต่ญาติโยมก็ได้จัดอาหารแห้งไปมอบให้สามเณรทำอาหารถวายพระ โดยเฉพาะ คุณโยมนุ่ม ชุวานนท์ พร้อมด้วยคณะญาติ ได้มอบอาหารไว้สำหรับทำถวายพระเณรทุก ๆ เช้า

    noom-choowanon.jpg
    ในขณะที่บ้านเมืองกำลังประสบภัยสงคราม คล้ายบ้านแตกสาแหรกขาด เพราะอำนาจลูกระเบิดฝรั่ง ดูเป็นภัยที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งในสมัยนั้น จึงมีเรื่องแปลก ๆ ขำ ๆ มาเล่าสู่กันฟังในภายหลังได้เสมอ แม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์วันก็มีเช่นกัน

    กล่าวคือ ภิกษุสามเณรต่างก็ขุดหลุมหลบภัยกันตามคำแนะนำของทางราชการบ้านเมือง พระอาจารย์วัน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสามเณรก็ขุดหลุมหลบภัยกับเขาเช่นกัน แต่แทนที่จะขุดเป็นหลุมใหญ่เช่นคนอื่น ๆ กลับขุดเป็นหลุมเล็ก ๆ ลงไปได้เฉพาะคนเดียว

    วันหนึ่งขณะที่เครื่องบินกำลังบ่ายโฉมหน้าจะมาทิ้งระเบิดเช่นเคย เสียงเตือนภัยทางอากาศก็ดังกังวานขึ้น ประชาชนพลเมืองพระเณรต่างก็วิ่งเข้าที่หลบภัยกันจ้าละหวั่นด้วยความตกใจ พระสงฆ์บางองค์วิ่งไปลงหลุมของคนอื่น เลยถือโอกาสหลบอยู่เลยก็มี

    หลุมหลบภัยของสามเณรวัน ขณะที่ต่างคนต่างเอาตัวรอดนั้น ปรากฏว่ามีพระสงฆ์โจนลงไปหลบภัยอยู่ก่อนแล้วสามองค์ สามเณรวันจึงลงไปอัดอยู่เป็นองค์ที่สี่ หลุมหลบภัยที่ทำไว้เฉพาะคนเดียวเมื่ออัดเข้าไปถึงสี่ ท่านผู้อ่านก็นึกภาพเอาเองก็แล้วกัน ว่าจะอยู่กันในสภาพเช่นไร

    ที่ร้ายไปกว่านั้น บางองค์วิ่งเข้าไปในกอไผ่ พอเครื่องบินกลับไปแล้วออกมาไม่ได้ ต้องร้อนถึงพระสงฆ์องค์อื่น ต้องใช้มีดถางให้ออกมาก็มีสัญชาตญาณการหนีภัยโดยเฉพาะมรณภัยนั้น สัตว์ทุกหมู่เหล่ากลัวกันทั่วทุกชีวิต เพราะจะกลัวอะไรก็แล้วแต่ ย่อมมาสรุปรวมลงที่กลัวตายนั่นเอง

    lp-one-pic-13.jpg
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

    เมื่อเสร็จจากการสอบนักธรรมแล้ว พระสิงห์ ธนปาโล ที่เคยอยู่ด้วยกันกับท่านอาจารย์ยังได้ไปแวะเยี่ยม และชวนพระอาจารย์วัน ไปด้วย เพื่อไปศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน แล้วในที่สุดพระอาจารย์วัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองอุบลราชธานี

    ขณะที่ไปอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ นั้นยังท่องหลักสูตรนักธรรมชั้นโทไปด้วย พระอาจารย์เสาร์ ได้กำชับว่า สามเณรที่มีอายุ ๑๙ ปี ต้องท่องปาติโมกข์ให้ได้ จึงจะให้ไปเรียนนักธรรม พระอาจารย์วัน ก็ท่องปาติโมกข์อยู่ประมาณ ๒๐ วัน จึงขึ้นใจ

    ต่อจากนั้นจึงกราบลาพระอาจารย์เสาร์ ไปเข้าเรียนนักธรรมต่อที่วัดพระแก้วรังษี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระพิบูลสมณกิจ (เก้า) เป็นเจ้าอาวาส
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-one/lp-one-hist-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระอาจารย์วัน อุตโมให้บูชา200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    อ.วัน.jpg อ.วันหลัง.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    upload_2019-7-23_14-15-54-jpeg.jpg

    พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตฺโต)

    เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2458

    พ.ศ. 2473 อายุได้ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองสุ่ม อยู่ 3 พรรษา ต่อมาได้ลาสิกขา เพื่อไปช่วยพี่สาวประกอบอาชีพกสิกรรม

    พ.ศ. 2475 อายุได้ 22 ปี อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม 1 พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต .ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

    พ.ศ. 2482 ได้ลาสิกขาบทไปประมาณ 5 เดือนเศษ เพื่อไปช่วยพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงมา

    พ.ศ. 2483 อายุได้ 26 ปี ทำการอุปสมบทใหม่ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 22483 ณ พัทธสีมาวัดประศุก และได้มาจำพรรษาอย่วัดหนองสุ่ม ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงวันละสังขาร

    หลวงพ่อจวน ได้ละสังขารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (แรม 8 ค่ำ เดือน 8) รวมอายุได้ 79 ปี

    พระอาจารย์ที่หลวงพ่อจวนได้ศึกษาเล่าเรียน (ที่พอหาได้) ได้แก่
    หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ วิชาเครื่องรางของขลัง
    หลวงพ่อกอง จังหวัดสุโขทัย วิชาตะกรุดโทน
    หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์
    และอาจารย์ที่เป็นฆาราวาสอีกหลายท่าน

    "หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย
    เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ"

    "สมัยที่หลวงพ่อจวนยังอยู่ จะไม่ให้ทำหนังสือวัตถุมงคล ท่านบอกว่า ของ ๆ ฉันถ้าจะดังเดี๋ยวดังเอง"


    ประวัติ พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตโต) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี

    ชาติกำเนิด พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตโต) เกิดเมื่อวันที่ 13 เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2458 วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ จุลศักราช 1277 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ บ้านหนองสุ่ม ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดาชื่อ เคลือบ ทิพย์กรรณ์ โยมมารดาชื่อ อิน ทิพย์กรรณ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน เป็นพี่ชาย 2 คน เป็นพี่สาว 3 คน และมีพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกันอีก 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน โยมมารดาได้สิ้นชีวิตไปตั้งแต่ยังเยาวัย จึงได้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพี่สาวชื่อ นางสุขการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2467 ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่ม จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพราะสมัยนั้นการเรียนมีเพียงชั้นประถมศึกษา 3 เท่านั้น ถือว่าเป็นการจบหลักสูตรประถมศึกษา อันมีครูฉาม เป็นครูใหญ่ และครูพิน เรืองสารณ์ เป็นครูใหญ่ต่อมา การบรรพชาอุปสมบท พ.ศ.2473 เมื่ออายุได้ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองสุ่ม ตำบลห้วยชันบ้านเกิดอยู่ 3 พรรษา ต่อมาก็ได้ลาสิกขาเพื่อไปช่วยพี่สาวปรพกอบอาชืพในการทำกสิกรรม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดประศุก ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระสมุห์จรัสเจ้าอาวาสวัดประศุก เป็นพระอุปัชณาย์ พระมหาหล่ำ วัดเฉลิมมาศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระครูพิศิษฐ์ลศีคุณ วัดปราสาท เป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม 1 พรรษาแล้วได้ย้ายไป อยู่ที่วัดโพธิ์ลังกา ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรม ป้อมดำ ตลอดมาพ.ศ.2482 ได้ลาสิกขาจากเพศบรรพชิตไปประมาณ5เดือนเศษเนื่องจากพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดูไม่มีคนช่วยทำงานในการประกอบอาชืพกสิกรรมการลาสิขาครั้งนี้หลวงพ่อเล่าว่าความจริงใจแต่เดิมแล้วไม่อยากลาสิขาแต่อีกใจหนึ่งก็นึกสงสารพี่สาวที่อุปการะมาสำแต่ก็มีข้อแม้ว่าจะต้อง จับฉลากเสี่ยงทายเสียก่อนมี ข้อความว่า สึก ใบหนึ่งและ ไม่สึก ใบหนึ่งเป็นจำนวนหลายใบใส่ลงในบาตร อธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปและจับฉลากนั้นขึ้นมา ปรากฎว่าครั้งแรกจับฉลากใบไม่สึกขึ้นมา จึงทำการจับฉลากใหม่เป็นครั้งที่ 2 แต่ปรากฎว่าจับฉลากถูกใบไม่สึกอีก จึงตัดสินใจขอจับฉลากเป็นครั้งที่ 3 โดยตั้งปณิธาน ไว้ว่าถ้าถูกอย่างไหน จะยึดถือปฎิบัติเอาอย่างนั้น ครั้งที่ 3 นี้ ปรากฎว่า ได้ใบสึก จึงตัดสินใจ ลาสิขาไปตามคำปณิธานที่ตั้งไว้ ทั้งๆ ที่ยังรักและอาลัยในเพศพรหมจรรย์อยู่ แต่ด้วยความกตัญญกตเวที ที่มีต่อพี่สาวที่ได้อุปพ.ศ.2483 เมื่ออายุได้ 26 ปี ได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2483 ณ พัทธสีมา วัดประศุก ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี พระครูพิศิษฐ์ศีลคุณ เจ้าอาวาส วัดประศุก เป็นพระอุปชฌาย์ พระใบฎีกาถนอม วัดประสาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเพี้ยน วัดโพธิ์ลังกา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้มาจำพรรษา อยู่วัดหนองสุ่ม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจุบัน เป็นเวลา 35 พรรษาการะมาหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้นพี่สาวก็ไปกู้หนี้ยืมสินผู้อื่นมาซื้อให้ด้วยเมื่อไม่ลาสิขาไปก็กลัวพี่สาวจะเสียใจจึงตัดสินใจลาสิขาการศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออายุครบ 16 ปี บรรพชา เป็นสามเณร 3 พรรษา ศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2473 สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. 2474 สอบได้นักธรรมโท เมื่ออายุได้ 26 ปีอุปสมบทแล้ว ได้ไปศึกษา พระปริยัติธรรม ที่สำนักเรียน วัดโพธิ์ลังกา ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ.2475 ได้ศึกษา ภาษาบาลี จากพระใบฎีกาเกลี่ยนที่ วัดนก และไป ศึกษาภาษาบาลีที่ วัดเฉลิมมาศ อีก แต่ก็มีอุปสรรค ได้ล้มเลิก กลางคันเสี่ยก่อน พ.ศ.2483 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมโทพ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ดังปรากฎเห็นได้อย่างแน่ชัดว่าพระครูสุจิตรตานุรักษ์(จวน สุจิตโต)มีสติปัญญาสามารถวิริยธุสาหะศึกษาหลักธรรมวินัยได้อย่างลึกซึ้งรู้และเข้าใจพระธรรมวินัยอย่างถูกต้องดังปรากฎการสอบนักธรรมชั้นตรีและโทได้ซึ้งท่านเองก็สอบได้ทั้ง 2 ครั้งสองคราวแสดงถึงสติปัญญาความสามารถของท่านได้เป็นอย่างดีในสมัยนั้นการศึเมื่อเข้ามาทำการอุปสมบทใหม่ก็จะต้องสอบใหม่หมดดังกรณีพระครูสุจิตตานุรักษ์(จวน สุจิตโต) เป็นตัวอย่าง พ.ศ. 2487 ได้หันมาสนใจศึกษา(วิชาไสยศาสตร์) ครั้งแรกเริ่มเรียนกับหลวงพ่อแป้นวัดบ้านไร่ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในวิชาเกี่ยวกับทำพวกเครื่องรางของขลังเรียนวิชาทำผ้ายันและอื่นๆ จากคุณครูโฉม อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เรียนวิชาตระกรุดโทนจากหลวงพ่อกองพระอาจารย์ผู้มีเกียรติคุณแห่งจังหวัดสุโขทัยและกับอาจารย์ทางวิชาไสยศาสตร์อื่นๆพร้อมกันนี้ก็ได้เรียนอักษรขอมด้วยต้นเองและก็มีความสนใจในวิชาไสยศาสตร์มาก
    #
    #ตำแหน่งหน้าที่ทางคณะสงฆ์พ ศ 2494 เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองสุ่ม ต่อมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำวสำนักวัดหนองสุ่ม และเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรมสนามหลวง ที่สนามสอบวัดเฉลิมมาศ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นผู้อุปการะโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่มการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ พ ศ 2491 งานก่อสร้างครั้งแรกคือสร้างหอประชุม (ปัจุบันได้รื้อไแแล้ว) สีน้ำเงิน ประมาณ6000 บาท(หกพันบาท) พ ศ 2492 สร้างอุโบสถ์แบบยกพื้น ด้วยไม้ทั้งหลัง มุงหลังคาด้วยกระเบื้องขึ้นทั้งหลังกว้าง 4 วายาว 8 วา สิ้นจำนวนเงินประมาณ 10000 บาท (ประมาณหนึ่งหมืนบาท) ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่านี้ยังปรากฏมีอยู่แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมมากพ ศ 2501 สร้างศาลาการเปรียญ กว้าง 8 วา ยาว 14 วา สิ้นจำนวนเงินประมาณ 100000 (ประมาณหนึ่งแสนบาท) และทำการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายคราว พ ศ 2512 ได้ปรับปรุงปฏืสังขรณ์กุฏิใหม่หมดรวม 8 หลัง เพราะกุฏิเดิมปลูกสร้างไว้นั้นไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและเพื่อพัฒนาวัดให้มีบริเวณวัดกว้างขวางยิ่งขึ้นจึงย้ายกุฏิที่มีอยู่เดิมไปปลูกสร้างถอยหลังไปทางเขตท้ายวัดทางด้านทิศตะวันตกสภาพของกุฏิใหม่ยังคงรักษาทรงไทยแบบบ้านโบราณอยู่ มองดูสวยงามมาก สิ้นจำนวนเงินประมาณ 100000 (ประมาณหนึ่งแสนบาท)พ ศ 2513 ได้สร้างหอระฆังขึ้น 1 หลังเป็นจำนวนเงิน 30000 บาท (สามหมืนบาท) ผู้ที่ศรัทธาคือ นายสุนทร นางประมวล แสงมณี สร้างถวาย ชื่อ หอระฆัง แสงมณี พ ศ 2514 ได้ร่วมกรมอนามัยสร้างถังน้ำประปาเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของวัด โดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวร่วมกันฝ่ายละครึ่งเป็นจำนวนเงิน 8000 (ประมาณแปดพันบาท) พ ศ 2514 เป็นประธานในการติดต่อกับทางราชกาล กรมอนามัย สร้างสถานีอนามัยชั้น 2 ประจำตำบลห้วยชันเพื่อสะดวกแก่ชาวบ้านในเมื่อเกิดเจ็บป่วยพ ศ 2514 พิจารณาเห็นว่าอุโบสถที่สร้างขึ้นครั้งแรกนั้นไม่ถาวรเท่าที่ควร เพราะสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่แบบถาวรกระทัดรัดสวยงาม อุโบสถหลังใหม่นี้ กว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร วางศิลาฤกษ์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ ศ 2514 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่13 -21 กุุมภาพันธ์ พ ศ 2518 สิ้นจำนวนเงินประมาณ 900000 บาท (ประมาณเก้าแสนบาทเศษ)

    พ ศ 2515 สร้างศารารับรองแขก กว้าง 6 ยาว 12 วา สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว สิ้นจำนวนเงินประมาณ 80000 บาท (ประมาณแปดหมื่นบาทเศษ) พ ศ 2515 เป็นประธานติดต่อในการชวน คุณแม่พลอย ภูสง่า ให้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ถวายเป็นสมบัติวัดหนองสุ่ม เพื่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่ม ปัจจุบันโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่มได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ พ ศ 2516 ท่านเป็นผู้มีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านหนองสุ่มให้เจริญรุ่งเรือง ถนนหนทางสะดวก สบายยิ่งขึ้นแต่ก่อน การคมนาคมก็สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยร่วมมือกับทางราชกาลตัดถนนผ่านที่เอกชนจนถึงวัด เป็นทางหลวงจังหวัดเข้าหมู่บ้านประมาณ 10 ก มพ ศ 2517 ได้สร้างตึกครุภันฑ์ (โรงครัว) เป็นอาคารตึก 2 ชั้น 1 หลังและอาคารชั้นเดียว 1 หลังซึ้งกำลังก่อสร้าง กว้าง 6 วา 1 ศอก ยาว8 วา สิ้นเงินประมาณ 600000 (ประมาณหกแสนบาท) (เกียรติคุณพิเศษ) พระครูสุจิตตานุรักษ์(จวน สุจิตโต)เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณรูปหนึ่งประกอบด้วยศิลาจารวัตรอันดีงามตามลักษณะแบบสมมณะผู้รักสงบสุขุมเยือกเย็นมีเมตตากรุณาธรรมอันสูงส่งเป็นบูชารหบุคคลที่นำมาซึ่งความเคารพเลื่อมใสกราบไหว้บูชาของสาธุชนเป็นจำนวนมากและมีเกียรติคุณเป็นที่นิยมเชื่อถือของสาธุชนอย่างกว้างขวางและศักสิทธิ์

    นอกจากการสร้างถาวรวัตถุในวัดหนองสุ่ม แล้วหลวงพ่อยังได้ให้ความอุปถัมภ์แก่วัด โรงเรียน และส่วนราชการทั้งในเขตจังหวัดสิงบุรี และใกล้เคียง โดยทั่วไป เช่น การบริจาคการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดท่า บริจาคและจัดตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนวัดหนองสุ่ม บริจาคกองทุนมูลนิธิ วัดก้าร้อง และบริจาคทุนการก่อสร้างอาคารสำนักการประถมศึกษา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้นประวัติของพระเดชพระคุณ พระครูสุจิตตานุรักษ์ (หลวงพ่อจวน) เป็นประวัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญที่ชนรุ่นหลังจะได้จดจำ และนำเอามาเป็นเยี่ยงอย่าง บั้นปลายชีวิตหลวงพ่ออาพาธด้วย โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ลูกศิษย์ได้นำไปบำบัดรักษาทร่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสิงห์บุรี โรงพยาบาลอินทร์บุรี หลายครั้งอาการคงทรงกับทรุด และถึงแก่การมรณภาพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฏาคม พ ศ 2536 (แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ) รวมอายุได้ 79 ปี 35 พรรษา ต่อมาทางวัดหนองสุ่ม โดยพระครูพิทักษ์ศาสนวงษ์ เจ้าอาวาสวัดหนองสุ่ม คณะกรรมการวัดข้าราชกาล ศิษย์ยานุศิษย์ และ ประชาชน ได้ร่วมประชุมตกลงให้มีการจัดการพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อจวน สุจิตโต ในวันครบรอบมรณะ ปีที่ 6 ในวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฏาคม 2542 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฒโน ป.ธ.7) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) เจ้าคณะภาค 3 เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานฝ่ายสงฆ์ มีนายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายนิคม บูรณพันธ์ศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในงานมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุ สามเณร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการการเมือง หัวหน้าส่วนราชการ ศิษย์ยานุศิษย์ พ่อค้า ประชาชน จากจังหวัดสิงห์บุรี และ ต่างจังหวัด มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่ออย่างมากมาย แม้ว่าหลวงพ่อท่านจะล่วงลับไปนานหลายปีจากไปเพียงแต่รูปสังขาร สาระแก่นสารชีวิต ประโยชน์กิจที่หลวงพ่อได้ประกอบกระทำไว้แล้วนั้น หาสูญสิ้นไปด้วยไม่ สมด้วยนัยพระพุทธภาษิตที่ว่า

    ""รูป่ ชีรติ มจุจาน่ นามโคตุต่ น ชีรติ""รูปกายของมนุษย์และสัตว์ย่อมคร่ำคร่า เสื่อมสิ้นไปแต่ชื่อโคตรสกุลความดีของผู้นั้น หาถึงความคร่ำคร่าเสื่อมสูญไปไม่
    ข้อมูลนี้ผมได้นำมาเขียน จากหนังสื่อพัทธสีมานุสรณ์ วัดหนองสุ่ม 13-21 กุมภาพันธ์ 2518 และ หนังสือ พระครูสุจิตตานุรักษ์ เล่มสีแดงครับ เพื่อเผยแพร่เกียจติคุณและคุณงามความดีของหลวงพ่อที่มีต่อลูกศิษย์ทั้งหลายครับ ท่านใดที่อยากเผยแพร่ประวัติหลวงพ่อผมยินดีให้ข้อมูลต่างๆ ที่ผมเขียนลงไว้นี้ได้เลยครับ

    http://www.boonnakamulet.com/…

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อจวนวัดหนองสุ่ม ปี๒๕๒๖
    ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    95-1-jpg.jpg

    ประวัติหลวงพ่อ
    หลวงพ่อคำ ชาตสุโข พื้นเพเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือนสาม(กุมภาพันธ์) ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2436 เป็นบุตรของคุณพ่อแสง แสงศรี และคุณแม่กลิ่น แสงศรีครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนามาแต่เดิม มีพี่น้องร่วมกัน 5 คนคือ 1.นางขลิบ 2.นางเล็ก 3.นายหาด 4.นางหนู 5. คือหลวงพ่อคำ ซึ่งท่านเป็นคนสุดท้อง ต่อมาโยมพ่อของหลวงพ่อได้ออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ส่วนท่านเองก็ได้เป็นลูกศิษย์วัดปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อท่านมาตั้งแต่อายุ ได้ 8 ขวบ วันหนึ่งหลวงพ่อของท่านเตรียมอัฐบริขารเพื่อออกธุดงค์ ก่อนไปหลวงพ่อของท่านได้บอกกับท่านว่า “พ่อไปนะลูก” สิ้นคำเท่านั้นแล้วหลวงพ่อของท่านก็เดินดุ่มลงกุฏิ ท่านถามหลวงพ่อของท่านว่า “หลวงพ่อจะไปไหน” หลวงพ่อของท่านไม่ตอบยังคงมุ่งหน้าเดินออกจากวัดไป ท่านวิ่งตามและตะโกนถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายหลวงพ่อของท่านจึงหันมาพูดว่า “ถ้าพ่อไม่เจออาจารย์ดี พ่อจะกลับมาภายใน 1ปี แต่ถ้าพ่อเจออาจารย์ดี ก็อย่าคอยพ่อเลยนะลูก” แล้วท่านก็เดินออกจากวัดไปโดยไม่หันกลับมาอีกเลย
    เมื่อหลวงพ่อคำโตเป็นหนุ่ม จึงได้ข่าวว่า บิดาของท่านรุกขมูลไปอยู่ถ้ำ ทางภาคเหนือชื่อบ้านสระหนองแว้ง บิดาของท่านนอนอาพาธอยู่คนเดียวในถ้ำแต่บ้างก็ว่านอนอาพาธอยู่กลางป่าสัก ชาวบ้านไปพบเข้าจึงนำท่านมารักษาตัวที่วัดอ้อมแก้ว อ.สวรรคโลก จนกระทั่งมรณภาพ ก่อนมรณภาพชาวบ้านได้สอบถาม ชื่อ นามสกุล และชื่อญาติพี่น้องของท่านไว้ หลวงพ่อคำจึงทราบข่าวได้ในภายหลัง
    ครั้งหนึ่งแม่ของหลวงพ่อคำ จะไปขอผู้หญิงมาเป็นภรรยาให้ท่าน แต่หลวงพ่อแอบไปได้ยินผู้หญิงคนนั้นใช้คำพูดรุนแรงขึ้นเสียงกับแม่ของตนเอง หลวงพ่อคำจึงบอกกับแม่ของท่านว่า “หญิงคนนี้ไม่ดี อย่าได้เอามาเป็นเมียเลย” ด้วยอุปนิสัยโน้มเอียงไปสู่การถือเพศพรหมจรรย์ ท่านก็เลยไม่มีภรรยาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    หลังจากบิดาของหลวงพ่อออกรุกขมูลแล้วหายสาบสูญไป หลวงพ่อคำได้ทำหน้าที่ของความเป็นบุตรผู้รู้กตัญญูกตเวทิตาคุณ ปรนนิบัติเลี้ยงดูผู้เป็นแม่มาโดยตลอด จนกระทั่งแม่ของหลวงพ่อถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 82 ปี ขณะนั้นหลวงพ่ออายุ 41 ปี ท่านได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณครั้งสำคัญอีกครั้งโดยการโกนหัวบวชเณร หน้าไฟให้แก่แม่ของท่านที่วัดขุมทรัพย์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี แล้วได้ไปหาอาจารย์บุตร ให้พาไปบวชพระที่วัดใหญ่ ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยมีหลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี 2482 หลังอุปสมบทแล้วท่านได้ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อทิมวัดบ้านบน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
    ต่อมาในปี 2475 หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศพม่าเพื่อเสาะหา ศึกษาวิทยาความรู้ต่างๆ และกระทำบำเพ็ญความเพียรทางจิตอย่างจริงจัง
    ประมาณปี 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ ท่านได้กลับมาจำพรรษาปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อทิม วัดบ้านบน ผู้เป็นอาจารย์ตามเดิม
    และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีผู้ใจบุญผู้หนึ่งชื่อนายรัตน์ นุ่มทองคำ ได้มานิมนต์หลวงพ่อให้ไปช่วยสร้างวัดหัวทะเล ต.น้ำทรง อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
    ที่ดินของวัดหัวทะเล เดิมเป็นที่ของนายถนอม นุ่มทองคำ ซึ่งเป็นพี่ชายของนายรัตน์ นุ่มทองคำ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1งาน แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าหญ้าคาและป่ายางหนาทึบจนแดดส่อง ไม่ถึง หลวงพ่อและลุงรัตน์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการชักชวนชาวบ้านบ้าง พระจากวัดบ้านบนบ้าง ร่วมกันหักร้างถางพงบุกเบิกพื้นที่จนเป็นพื้นที่โล่งเตียน หลังจากนั้นลุงรัตน์จึงเริ่มนำวัตถุมงคลของหลวงพ่อคำ บอกหาเงินสร้างกุฏิถวายหลวงพ่อไว้จำพรรษาได้ 1 หลัง และต่อมาลุงรัตน์ก็ยังได้นำวัตถุมงคลของหลวงพ่อบอกบุญหาเงินเพื่อสร้าง ศาสนสถาน ศาสนวัตถุต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจบุญญาบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ในองค์หลวงพ่อและวัตถุมงคล ของท่านโดยแท้ (หากพิจารณาตามนี้จึงจะพอสันนิษฐานได้ว่าได้มีการริเริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้น มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2489 – 2490 เรื่อยมาตามลำดับ )

    บุคลิกของหลวงพ่อนั้นหากมองจากหน้าตาท่าทางท่านดูเหมือนท่านจะเป็นคนดุ แต่แท้ที่จริงแล้วหลวงพ่อท่านมีอุปนิสัยอ่อนโยน เยือกเย็น มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สร้างความเชื่อถือศรัทธาและความซาบซึ้งตรึงใจ ให้กับผู้ที่เข้าไปพบปะกราบไหว้ได้อย่างดียิ่ง มีคุณลุงท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่แกไปกราบหลวงพ่อซึ่ง เป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้ว แต่หลวงพ่อท่านก็ยังกล่าวทักทายต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีมิได้บ่ายเบี่ยง ด้วยเรื่องเวลาแต่อย่างไร และที่สำคัญหลวงพ่อท่านยังมีน้ำใจชงโอวัลตินให้ลุงดื่มด้วยตัวท่านเอง สร้างความปลาบปลื้มปีติใจให้แก่คุณลุงยิ่งนัก ใครมาใครไปท่านจะบอกให้ทานนู่นทานนี่เท่าที่จะมีอยู่ใกล้ๆตัวท่านอยู่เป็น ประจำ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในกุฏิท่านใครจะขอเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างไรท่านให้ โดยที่ไม่มีแสดงอาการห่วงหวงเลย ท่านมีอัธยาศัยต้อนรับขับสู้เสมอภาคกันหมดไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่แบ่งยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านจะทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอยู่เป็นนิจ และองค์ท่านก็มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวจูงใจคนสูง ใครจะมีอุปนิสัยมาอย่างไร ท่านก็คุยเข้ากันได้กับทุกอุปนิสัย ท่านเข้าใจสนทนาหว่านล้อมจนกระทั่งสุดท้ายก็ต้องยอมลงให้แก่ท่าน ท่านก็ได้โอกาสสอดแทรกธรรมมะ หรือคติเตือนใจเข้าไปได้ ญาติโยมเข้ามาหาเครื่องรางของขลัง ท่านก็มักจะสอนให้ปฏิบัติที่ตัวเองมากกว่า เช่นมาหานางกวัก ท่านก็ว่า “จะมาหานางกวักอะไรที่นี่หล่ะ ไปหานางกวักที่บ้านซิดีกว่าเยอะ”โยมก็ไม่เข้าใจว่านางกวักจะมีที่บ้านของเขา ได้อย่างไรก็เลยถามหลวงพ่อว่านางกวักที่บ้านเป็นยังไง หลวงพ่อท่านก็เฉลยให้ฟังว่า “ก็หัวจอบซิจ๊ะ ยิ่งใช้เท่าไรก็ยิ่งรวยเท่านั้น” แม้แต่เรื่องทำบุญท่านก็ว่า “บุญน่ะไม่ใช่จะมาทำที่วัดกันอย่างเดียว กลับไปก็ต้องไปทำที่บ้านด้วย ขยัน อดทน ประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่าย ขยันให้เป็นหลัก ยกตัวอย่างโยมขยันทำนาได้ข้าวมาก ชาวบ้านเขาก็ว่า เอ้อ..ปีนี้มันได้ข้าวเยอะบุญของมันเน๊อะ นี่ไงเล่าบุญ” และโดยเฉพาะเด็กๆท่านจะเอ็นดูมากถ้าท่านเห็น ท่านก็มักจะเรียกมาแจกพระบ้าง แจกขนมนมเนยบ้าง สังเกตได้ว่าเหรียญของท่านจะทำเป็นเหรียญเล็กๆขนาดกะทัดรัดสำหรับคล้องคอ เด็กๆได้เหมาะสม และเหรียญของท่านก็สร้างปาฏิหาริย์ให้กับเด็กๆมามากต่อมากด้วยเช่นกัน ในคอเด็กๆในละแวกนั้นส่วนใหญ่จะมีเหรียญหรือไม่ก็ล๊อคเก๊ตของท่านเกือบทุกคน เด็กๆก็รักและเคารพนับถือท่านมาก บ้างก็ไปปัดกวาดเช็ดถู บ้างก็ไปบีบนวดให้ท่านท่านก็ได้โอกาสอบรมสั่งสอนคุณธรรมให้แก่เด็กๆไปในตัว



    ในสมัยที่ท่านอยู่พวกหมา พวกไก่ใครมาปล่อยไว้หรือพัดหลงมาเองท่านก็มีเมตตารับเลี้ยงไว้หมด คำพูดคำจาของท่านออกจะนุ่มนวลและเป็นกันเองตามแบบฉบับลูกทุ่งโดยแท้ ไม่ว่าเหตุการณ์จะดีร้ายอย่างไร ท่านจะว่า “ ดีจ๊ะดี ” หมด เคยมีโยมท่านหนึ่งมาบอกหลวงพ่อว่าไฟไหม้บ้านเขา หลวงพ่อก็บอกว่า “ไฟไหม้ก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้บ้านใหม่ล่ะซิหว่า” น้ำท่วมอ้อยท่วมข้าวท่านก็ว่าดี “น้ำท่วมก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาดูแลมันอีกไงล่ะ” อย่างนี้เป็นต้น เรื่องขันติธรรมท่านก็เป็นหนึ่งตลอดอายุสังขารในเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยออกปากขอความช่วยเหลือจากใคร และไม่เคยแสดงอาการให้ใครเห็น เคยมีลูกศิษย์จะพาไปหาหมอ ท่านไม่ยอมไป ท่านว่าของท่านว่า “เป็นเองก็หายเองซิหว่า” ในด้านการขบฉัน ด้วยนิสสัยของพระปฏิบัติที่เคยถือธุดงค์เป็นวัตรทำให้ท่านมีปกติที่จะฉันแบบ เอกา คือการฉันในบาตรแต่อย่างเดียวไม่ใช้ภาชนะอื่น และฉันมื้อเดียว แต่เพื่อไม่ให้ขัดศรัทธาญาติโยมท่านก็ผ่อนปรนลงบ้างในกรณีที่มีกิจนิมนต์ฉัน เพลท่านก็สามารถฉลองศรัทธาได้ไม่ให้เสียกำลังใจญาติโยม เวลาท่านออกบิณฑบาต ท่านจะมีบาตรของท่านติดตัวไปเพียงใบเดียวเท่านั้น ใครจะใส่หวาน ใส่คาว ก็เทใส่รวมลงไปในนั้น บางคนหวังดีไม่อยากให้กับข้าวปนกันเกรงว่าท่านจะฉันไม่ได้รส พอท่านรับบิณฑบาตแล้วลับหลังท่านก็แก้ถุงออกแล้วเทรวมลงไปตามเดิม ท่านบอกของท่านว่า “ อย่างนี้ฉันง่ายดีจ๊ะ ไม่ต้องไปคลุกเคล้า เดี๋ยวก็ลงไปเคล้ากันในท้องอยู่ดีแหละจ๊ะ” เส้นทางที่ท่านใช้บิณฑบาตก็แปลกเช่นกันพอได้เวลาสักประมาณ 4 -5 เย็นท่านจะพาพระลูกวัดปัดกวาดทำความสะอาดทุกวันตั้งแต่ออกจากวัดจนกระทั่ง สุดเส้นทางบิณฑบาตทั้งขาไปและขากลับอยู่เป็นประจำ ท่านเป็นพระขยัน นอกเสียจากเวลาปฏิบัติของท่านแล้ว ท่านมักจะทำนู่นทำนี่อยู่เสมอ กว่าจะเข้ากุฏิจำวัดได้ก็ค่อนข้างดึกบางคราวท่านก็นั่งปฏิบัติทั้งคืน หากจำวัดท่านก็ตื่นแต่เช้าประมาณตี 3 ทำกิจวัตรส่วนตัวทำวัตรสวดมนต์ตามปกติของท่าน สักประมาณตี 4 ท่านก็จะออกปัดกวาดบริเวณวัด พระลูกวัดรูปไหนยังไม่ตื่นท่านก็ไม่ดุไม่ว่าแต่ท่านจะไปเที่ยวกวาดอยู่ใน บริเวณใกล้ๆกุฏิของพระรูปนั้นนั่นเอง นับว่าเป็นอุบายวิธีที่แยบคาย การจำวัดของท่านท่านจะจำวัดในท่าสีหไสยาสน์เสมอ จะเห็นได้จากรูปอิริยาบถต่างๆของท่านที่วัดสุวรรณรัตนาราม และด้วยปฏิปทาจริยาวัตรที่ท่านถือปฏิบัติบ่มเพาะบำเพ็ญเพียรมาอย่างอุกฤษฏ์ นี้เอง จึงเป็นผลให้วัตถุมงคลของท่านทรงอานุภาพศักด์สิทธิ์ แม้แค่เสกเป่าเพียงพ่วงเดียวก็ก่อให้เกิดความเข้มขลังมีประสบการณ์เป็นพยาน ยืนยันมาหลายต่อหลายราย เมื่อจิตของท่านยังทรงกำลังฌานอยู่ ท่านจะกำหนดที่อะไรกะแสจิตก็ยิ่งไวต่อสิ่งนั้น ดังที่ชาวบ้านเกรงบารมีท่านกันนักหนาในเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่าน ท่านพูดอย่างไรย่อมเป็นไปอย่างนั้นไม่มีพลาดเลย ยกตัวอย่าง ท่านเห็นญาติโยมที่กราบลากลับไปขึ้นรถกันหมดแล้วแต่ยังไม่ทันได้สตาร์ท เครื่อง ท่านจึงทักว่า “ เอ้า..มันยังไม่ไปกันหรือหว่าน่ะ” ทีนี้เองเจ้าของรถจะสตาร์ทรถอย่างไรก็ไม่ติด พอท่านเห็นท่าไม่ค่อยดีท่านจึงกล่าวว่า “เออ..ไปกันได้แล้ว” เท่านั้นแหละรถก็สตาร์ทติดชึ่ง ได้อย่างง่ายดาย ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เล่ากันว่าหากไม่ขออนุญาตท่านแล้วจะถ่ายรูปท่าน อย่างไรก็ถ่ายไม่ติด การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความพิศวงงงงวยให้ กับบุคคลใกล้ชิดอยู่เสมอ เช่น เรื่องของคุณหมอในตลาดพยุหะท่านหนึ่งมากราบหลวงพ่อเมื่อเสร็จธุระแล้วก่อน กลับคุณหมอก็กราบขอพรหลวงพ่อ แต่คราวนี้แทนที่หลวงพ่อจะให้พรตามปกติ หลวงพ่อกลับกล่าวทักขึ้นมาว่า เออ..ไปเถอะอย่างหมอเนี่ยถึงชนกันก็ไม่ตาย คุณหมอก็งงๆกับพรของหลวงพ่อเช่นกัน แต่เมื่อขับรถมาถึงสี่แยกพยุหะปรากฏว่ามีรถวิ่งเข้ามาชนรถคุณหมอจริงๆ สภาพรถยับเยินแต่คุณหมอไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างไร



    ในเรื่องโชคลาภนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน อย่างเช่นคราวหนึ่งเมื่อนายโย มากราบหลวงพ่อแต่การกราบคราวนี้ต่างจากการเข้ามากราบทุกๆครั้ง เนื่องจากเมื่อนายโยก้มกราบหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อกลับใช้เท้าเหยียบลงไปบนหัวของนายโย สร้างความประหลาดใจให้กับนายโยเป็นอย่างมาก และในงวดนั้นนั่นเองปรากฏว่านายโยถูกล๊อตตารี่รางวัลที่ 1 อย่างไม่คาดคิด คราวนี้เองนายโยจึงเข้าใจพระคุณรอยเท้าหลวงพ่อที่ประทับลงมาบนศรีษะว่ามี ความหมายและเป็นศิริมงคลต่อตนอย่างไร
    มีโยมคนหนึ่งมาขอหวยจากหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็ปฏิเสธบ่ายเบี่ยงว่าท่านไม่รู้หรอกว่าหวยมันจะออกเลขอะไรถ้า อยากรู้ก็ให้ไปถามกองสลากกินแบ่งโน่น โยมบอกว่าไปไม่ถูกแต่เขาได้เลข 82 มาจากหลวงพ่ออื่น หลวงพ่อก็เลยควักแบงค์ 20 ฝากโยมซื้อหวยเลขนั้นด้วย “งั้นข้าฝากซื้อ 20 นะ” ชาวบ้านเห็นหลวงพ่อซื้อเลข 82 ก็พากันซื้อเลข 82 กันยกใหญ่ ปรากฏว่าหวยงวดนั้นออก 20 ชาวบ้านได้ยินแล้วหงายท้องตามๆกันที่สำคัญความหมายของหลวงพ่อผิด
    คุณลุงอีกท่านบ้านอยู่ทางวัดดงขวาง จ.อุทัยธานีเล่าว่า ตอนแกบวชแกไปสึกกับหลวงพ่อคำ(แกเล่าว่าตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ที่วัดอีเติ่ง) แกแลเห็นกุฏิหลวงพ่อจุดเทียนสว่างจนดึกจนดื่นด้วยความสงสัยแกจึงแอบดู ปรากฏว่าหลวงพ่อท่านนั่งสมาธิตลอดทั้งคืน เมื่อตอนหัวค่ำหลังจากที่พระลูกวัดแยกย้ายกันไปจำวัดแล้วแกก็เห็นหลวงพ่อ เดินไปเดินมา เหมือนกับเดินจงกรมแต่แกก็ไม่ได้เอะใจอะไร ต่อเมื่อฟ้าสว่างท่านเดินผ่านกุฏิหลวงพ่ออีกครั้ง ทำให้ลุงแกถึงกับอึ้ง..เพราะปรากฎว่าหลังกุฏิหลวงพ่อเป็นลำคลองที่มีน้ำอยู่ เต็มตลิ่ง นอกจากนั้นลุงท่านนี้ยังเล่าว่าหลวงพ่อท่านกล่าวถึงหลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ ปั๋ง เหมือนกับท่านไปมาหาสู่กันอยู่เสมอทั้งๆที่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้ไปไหนไกลเลย
    สำหรับข้อห้ามในการใช้เครื่องรางของขลังของหลวงพ่อ ท่านไม่มีข้อห้ามยุ่งยากเหมือนหลวงปู่หลวงพ่อท่านอื่นๆเลย ท่านห้ามผิดศีลข้อ 3 เป็นหลัก และก็ห้ามด่าพ่อด่าแม่ เท่านั้นเอง ท่านว่า ทองคำอย่างไรก็เป็นทองคำ ตกน้ำก็เป็นทองคำ ตกไฟละลายแล้วก็ยังเป็นทองคำ อยู่วันยันค่ำ
    ความมหัศจรรย์ในองค์ท่านผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าเล่าวันนึงก็ไม่หมด ด้วยเหตุที่หลวงพ่อเป็นพระผู้นั่งอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของชาวบ้านทุก เพศทุกวัยจึงพูดได้เต็มปากว่าท่านเป็นเสมือนหนึ่ง “เทพเจ้าแห่งน้ำทรง”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่คำหลังสิงห์ ปี๒๕๒๐ สภาพสวยเดิม ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ วัตถุมงคลท่านมากประสพการณ์ครับ สังขารยังอยู่ให้กราบนะครับที่วัดหนองหม้อ ตาคลี หาสวยเดิมๆแบบนี้ยากครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B3-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    วันนี้จัดส่ง

    ED 9850 9261 4 TH บางบัวทอง

    ขอบคุณครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    ขออนุญาตตอบตามที่ท่านสอบถามมาครับ ขอบคุณครับ
     
  17. ~หัตถ์oBuddha~

    ~หัตถ์oBuddha~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2017
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +398
    เเจ้งโอน ขอบคุณมากครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    พระครูขันติธรรมรัตน์ (หลวงพ่อสอน) วัดศาลเจ้า จ.ปทุมธานี พร้อมกล่องเดิมๆ

    ประวัติ โดยย่อ พระครูขันติธรรมรัต (หลวงพ่อสอน) วัดศาลเจ้า ปทุมธานี
    พระครูขันติธรรมรัต ชื่อเดิม สอน นามสกุล ทองประเสริฐ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑/ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะแม ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ที่บ้านเลขที่ ๔๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายยอด มารดาชื่อ นางกลีบ ประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องทั้งหมด๕คน หลวงพ่อสอนเป็นบุตรคนที่๒ จากทั้งหมด๕คน
    อุปสมบท
    เมื่อวันจันทร์ แรม๔ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ณ พัทธสีมา วัดสามจุ่น ตำบลดอนปรุ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระอธิการนุ่น วัดนางใน เป็นพระอุปปัชฌาย์ หลวงพ่อชม วัดนางใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการเชื่อม วัดสามจุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ขันติธัมโม
    เมื่อได้อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง และสอบได้นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ภายหลังจากสอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว หลวงพ่อก็เบนเข็มไปฝึกทางสมาธิ ฝึกนั่งทางใน เรียนวิชาอาคมไสยศาสตร์ โดยออกจากวัดนางในไปจำพรรษาอยู่ที่วัดต่างๆ ทางภาคเหนื่อ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่อเสาะหาอาจารย์ดีเรียนและฝึกตามที่ตั้งใจไว้ เป็นระยะเวลานานกว่า๑๐ปี ซึ้งก็มีวัดต่างๆที่หลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่สรุปรวบรวมได้ดังนี้
    ๑.วัดหนองผ่า อุตรดิตถ์
    ๒.วัดท่าหลวง พิจิตร
    ๓.วัดบ้านดง อุตรดิตถ์
    ๔.วัดสากเหล็ก พิจิตร
    ๕.วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร
    ๖.วัดป่าดอนมูล ลำพูน
    ๗.วัดสวนดอก เชียงใหม่
    ๘.วัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี
    ๙.วัดเมือง ยะลา
    ๑๐.ส่วนวัดในจังหวัดปทุมธานี หลวงพ่อเคยไปจำพรรษาอยู่ที่วัด ไก่เตี้ย วัดชัยสิทธิ วัดโบสถ์ ปทุมธานี
    ๑๑.วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
    กล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลา๑๐ปีเศษ หลวงพ่อสอนท่านเรียนวิชาต่างๆมาเต็มภูมิเลยทีเดียว
    ต้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงพ่อสอนได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเข้ารับรักษาตัวจนได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ ๖๙ ปี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระพิมพ์ขุนแผนขุนแผนหลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้าให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    ลพ.สอน.jpg ลพ.สอนหลัง.jpg ลพ.สอนกล่อง.jpg ลพ.สอน.jpg ลพ.สอนหลัง.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    ชีวประวัติ ( หลวงพ่ออุ้น ) สุขกาโม


    823-22e4.jpg



    นามเดิม : อุ้น อินพรหม

    สมณศักดิ์ : พระครูวินัย วัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

    ชาติภูมิ : กำเนิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2459 ( แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปี มะโรง ) เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 8 คน คือ
    1.ลพ.อุ้น
    2.นายอิ่น
    3.นายเอื่อน
    4.นายพวง
    5. นายแดง
    6.นางพุด
    7.นางเพี้ยน
    8.นางพ้วน
    ของโยมบิดา บุญ อินพรหม โยมมารดา เล็ก อินพรหม ณ บ้านหนองหินถ่วง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

    เริ่มการศึกษาเบื้องต้น หนังสือไทย ขอม ที่วัดไสค้าน จนกระทั่งจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วมาช่วยเหลือ บิดามารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรม



    อุปสมบท : เมื่ออายุ 20 ปี วันที่ 21 ก.ค.2479
    ณ พัมธสีมา วัดตาลกง โดยมีพระอธิการชัน
    วัดมาบปลาเค้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการผิว
    วัดตาลกง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการขาว
    วัด อินจำปา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายา
    ว่า " สุขกาโม "



    การศึกษาพุทธาคม : ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ อยู่รับใช้ ลพ.ผิว วัดตาลกง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่เชี่ยวชาญไสยศาสตร์
    เวทย์มนต์คาถาอาคม รุ่นราวคราวเดียว ( สหธรรมิก ) กับ ลพ.เพลิน วัดหนองไม้เหลือง ทั้งยังเก่งด้านวิปัสนา
    กรรมฐาน เมตตา อยู่ยงคงกระพัน ซึ่งใกล้ชิดกับ ลป.นาค วัดหัวหิน ทั้งเคยเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้จาก ลป.นาค อยู่เป็นประจำ



    หลวงพ่อผิว ธมฺมสิริ เป็นพระเกจิทรงคุณวิเศษของเมืองเพชรบุรีในยุคนั้น แต่อุปนิสัยของท่านชอบอยุ่สันโดษ เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีดีนานๆจะลง นะ ที่กระหม่อมให้ผู้ไปหาท่านสักครั้ง
    ชาวบ้านวัยชราอายุ 80 กว่า เล่าให้ฟังว่า ลพ.ผิวลง นะ ที่หัวให้ตัวเดียว มีคุณสารพัดอยู่ยงคงกระพันจนวันตาย คนเก่าๆแถวท่ายาง
    ต่างประจักษ์ในความคงกระพันชาตรีมาแล้วหลายราย ก่อนนี้มีไอ้หนุ่มวัยรุ่นมาติดพันสาวมาบปลาเค้า เข้าไปกราบนมัสการ ลพ.ผิว
    ขอให้ท่านลงนะที่กระหม่อมให้ ครั้นต่อมาไม่นานเขากลับมามาบปลาเค้าอีกครั้ง
    ถูกนักเลงเจ้าถิ่นแทงด้วยมีด ตีหัวด้วยท่อนไม้ ไม่ยักเป็นไร เลยฮึดสู้หนึ่งต่อสาม เล่นเอานักเลงเจ้าถิ่นต้องเปิดหนีกันจ้าละหวั่นไปเลย




    หลวงพ่ออุ้น เป็นที่โปรดปรานของ ลพ.ผิวมากๆ ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาให้จนหมดสิ้น
    ในพรรษาต่อมา ลพ.อุ้่นเดินทางไปกราบนมัสการลพ.ทองศุข วัดโตนดหลวง ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อ
    เล่าเรียนฝึกปฏิบัติสมธกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐานพุทธาคม โดยเรียนฝึกวิชากสิณจนชำนาญในกสิน 10 รวมทั้งตำรับตำราการทำผงเมตตาชั้นสูงด้วย



    หลวงพ่อทองศุข เห็นความมานะพยายามของ ลพ.อุ้น
    ประจวบกับ หลวงพ่อผิว ก็มีความคุ้นเคยกับ หลวงพ่อทองศุข มาก่อนแล้ว ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ถ่ายทอดสรรถวิชาให้อย่างเต็มกำลัง
    อันที่จริงศิษย์ของ หลวงพ่อทองศุขมีหลายรูป ล้วนแต่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น เช่น
    หลวงปู่คำ วัดหนองแก , หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก , หลวงปู่นิ่ม วัดเขาน้อย
    หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัด หุบมะกล่ำ , หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว
    หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง , หลวงพ่อแล วัดพระทรง เป็นต้น
    ก่อนที่จะศึกษาเล่าเรียนวิชา หลวงพ่อทองศุขได้ดูฤกษ์ยามก่อน แล้วนัดกำหนดวันให้ หลวงพ่ออุ้น เดินทางไปทำพิธีขึ้นครู หรือการยกครูมีขันธ์ 5
    ดอกไม้ ธูปเทียน บายศรี ทำพิธีขึ้นครู กล่าวได้ว่า ลพ.อุ้น เป็นศิษย์ผู้สืบทอดพุทธาคมจาก ลพ.ทองศุข โดยตรงอีกรูปหนึ่งอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการกล่าวอ้างครูบาอาจารย์อย่างเลื่อนลอย



    การเรียนวิชาอาคม ของ หลวงพ่ออุ้น ต้องเดินทางจากวัดตาลกงไปเรียนที่วัดโตนดหลวง ครั้งหนึ่ง
    พักอยู่ 15 วัน ไปกลับอย่างนี้เป็นประจำ ทั้งยังออกปริวาสกรรมร่วมกับหลวงพ่อทองศุข ขึ้นเขา
    ไปบำเพ็ญเพียรในป่าช้าก็บ่อยครั้ง มีอยู่ครั้้งหนึ่งได้พบกับ หลวงพ่อจัน วัดมฤคทายวัน ซึ่งเป็นญาติกับ หลวงพ่อทองศุข
    หลวงพ่อจัน เก่งวิชาสะกดชาตรี คือวิชาสะกดสัตว์ร้าย
    อยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เรียนมาจากพระภิกษุธุดงค์ชาวเขมร
    หลวงพ่อจัน ได้ถ่ายทอดวิชาสะกดชาตรีให้กับหลวงพ่ออุ้นเช่นกัน สำหรับวิชาที่โดดเด่นมากของ
    หลวงพ่อทองศุข ยากที่ศิษย์ผู้ใดจะได้รับการถ่ายทอด
    คือ " วิชาการทำผงพระจันทร์ครึ่งซีก " วิชา การทำผงพระจันทร์ครึ่งซีกเป็นอย่างไร ?
    ผงพระจันทร์ครึ่งซีก เป็นผงเมตตามหานิยมมีพุทธคุณอมตะล้ำลึกแต่ท่านยังไม่เคยนำเอาวิชา
    มาทำผงเลย เพราะสัจจะกฎสำคัญมากนอกจากนั้นยังได้รับการถ่ายทอดการทำผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงหน้าพระภักษ์ อันเป็นตำรับสุดยอดของ พระผงวัดนก จังหวัดอ่างทอง
    สำหรับตำราผงหน้าพระภักษ์ รู้ว่าปัจจุบันได้สูญหายไปจากวงการไสยศาสตร์นานแล้ว หากมีอยู่หรือเป็นมรดกแก่ผู้ใดบ้างก็คงมีน้อยเต็มที ที่จะรู้ได้



    อีกวิชาหนึ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อทองศุข คือ การสักยันต์คงกระพันชาตรี หลวงพ่ออุ้นเคยสักยันต์ให้ลูกศิษย์ไปหลายคน
    ล้วนแล้วแต่อยู่ยงคงกระพันชาตรี ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน ( บางคน ) มีนิสัยเกเรสร้างความเดือดร้อนใจให้ผู้อื่น ท่านมาพิจารณาดูแล้ว
    เห็นเป็นการส่งเสริมให้คนประกอบมิจฉาชีพผิดคดีโลกคดีธรรม ตั้งแต่นั้นท่านเลิกสักยันต์โดยเด็ดขาด ส่วนใครที่อยากได้รับประสิทธิ์ประสาทอักขระเลขยันต์
    จากท่าน ก็เมตตาทำให้เพียงเป่ากระหม่อม หรือเจิมหน้าผากด้วยผงพุทธคุณเพื่อความเป็นศิริมงคล



    สำหรับ วิชา นะปัดตลอด นั้น หลวงพ่ออุ้นได้รับการถ่ายทอดเช่นเดียวกัน วิชานี้จะสังเกตุได้ถึงวัตถุมงคลสำนักวัดโตนดหลวง
    มียันต์นะปัดตลอด และ นะ ปถมังปรากฎอย่างชัดเจน รวมทั้งวัตถุมงคลศิษย์สาย หลวงพ่อทองศุขทุกรูป
    หลังจากนั้น ลพ.อุ้นได้ไปกราบนมัสการพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เพื่อขอศึกษาวิชาไสยศาสตร์ ด้านอยู่ยงคงกระพัน เสกลิงลม
    ขับคุณไสย วิชาทำตะกรุด ครูบาอาจารย์ของท่านมิใช่จะมีแต่บรรพชิตเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ผู้ิเชี่ยวชาญอาคม ท่านก็ยังขอเล่าเรียนเช่นกัน อย่างเช่น
    อาจารย์โม หมอสักชาวเพชรบุรีมีชื่อเสียงโด่งดังทีสุดในยุคนั้น
    หลวงพ่ออุ้น ได้ไปขอเรียนวิชาจากอาจารย์โมแม้ ลพ.ไสว วัดปรีดาราม ( มรณภาพไปแล้ว )

    ก็เคยไปเรียนวิชาการสักยันต์มาเหมือนกันจากนั้น ลพ.อุ้นไปเรียนวิชาทำสีผึ้งเมตตามหานิยมวิชาลงเลขยันต์ ลงสมุนไพร ตำราสมุนไพรจากหมอฉ่ำ
    หมอไสยศาสตร์ ชาวท่ายาง อันที่จริงโยมพ่อบุญ อินพรหม บิดาของ ลพ.อุ้นก็เชี่ยวชาญเป็นหมอไสยศาสตร์ มีความรู้เรื่องยาโบราณ
    ทั้งตำรายาโบราณที่ตกทอดมาแต่ยุคก่อนจำนวนมาก โดยเฉพาะตำราทำผงยาเพชรบุรี ซึ่ง ลพ.อุ้น ได้รับสืบทอดมาด้วยเช่นกัน
    ว่ากันว่า ผงยาเพชรมณีหรือเพชรจินดา เป็นตำรายาหัวใจ ยาลม ยาอายุวัฒนะที่ดีมาก มีคุณสมบัติพิเศษไม่แตกต่างกับผงยาจินดามณี
    ของหลวงปู่บุญมากนักหรืออาจเป็นตำราสูตรเดียวกัน มาแต่โบราณก็เป็นได้



    ปฏิปทาศีลวัตร
    หลวงพ่ออุ้น เป็นพระที่มีอัธยาศัยไมตรีเปี่ยมด้วยเมตตาถือสัจบารมีเป็นที่ตั้ง ปฏิปทาศีลวัตรงดงามบริสุทธิ์
    เสมือนทองทั้งแท่ง ท่านใฝ่ใจในเรื่องที่เป็นวัฏสงสาร การเกิดแก่เจ็บตาย บุญกรรมสิ่งลี้ลับ ธรรมชาติ
    โดยเฉพาะเรื่องเวทมนต์ถาถาอาคมอักขระเลขยันต์ เป็นพิเศษ ซึ่งมีอุปนิสัยใจคอมาตั้งแต่วัยเด็ก
    จึงเป็นแรงจูงใจให้ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนรู้แล้วปฏิบัติให้เข้าถึงรู้แจ้งเห็นจริง ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่ออุ้น
    ต่างรุ้กันดีว่าท่านไม่ใช่พระธรรมดาหรือเป็นพระธรรมดา ที่ยิ่งกว่าธรรมดา มีญาณสมาบัติสูง มีสมาธิจิตแก่กล้า
    หยั่งรู้อนาคต แม้กรวดหินแร่ธาตุต่างๆท่านหยิบผ่านมือแล้วมอบให้แก่ใครก็มีอานุภาพพุทธคุณอย่างน่าอัศจรรย์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จโครงเว้าหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัดศาลเจ้าให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.อุ้น.jpg ลพ.อุ้นหลัง.jpg
    ลพ.อุ้นกล่อง.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,708
    ค่าพลัง:
    +21,337
    วันนี้จัดส่ง

    EW 7201 9967 8 TH รามอินทรา

    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...