เห็นแต่ไม่รู้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 5 ตุลาคม 2011.

  1. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สงสัยจะเป็นธาตุไม้หรือป่าวแหะ ว่าแต่ปีใหม่นี่ไปไหนล่ะ

    [​IMG]
     
  2. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา อยู่ที่ไหนๆล้วนก็เป็นบ้านเรา

    เพราะบ้านเราคือโลกนี้และจักรวาล ที่ประกอบได้ด้วย ธาตุทั้ง 6 ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาส วิญญาณ
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คิดเอา ก็เป็นเรื่องสัญญา ความจำ

    สังเกตุตรงผิวน้ำที่ไหวๆลักษณะไหว คือ วาโย

    ลองเอามือจุ่มน้ำดู สัมผัสแรกเป็นร้อน เย็นเป็นลักษณะของ เตโช

    น้ำที่กระแทกตัว จนรู้สึกได้ถึงแข็งอ่อน เป็น ปฐวี

    แต่โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะใหญ่ๆ คือ ไหล เอิบอาบ แผ่ขยายไป เป็นลักาณะ อาโป

    ก็จะรู้ ธาตุ๔ ภายนอก ที่ประชุมอยู่ในอาโป

    ที่เห็น ที่สัมผัส ว่านี่ธาตุอะไรๆ อยู่ขณะนั้น คือธาตุรู้

    ทีนี้ ถ้าชอบของอเมซิ่ง ปัญญาจะรู้จักเล่นแร่แปรธาตุกันตรงนี้

    แต่ถ้า จะเอาวิปัสสนา ก็สังเกตุใส่ใจตรง จุดกระทบ



    ปีใหม่อยู่บ้าน :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2011
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ขอบคุณค่ะ ทำให้นึกถึงบทอิติปิโส ... ด้วย


    พระคาถาธารณปริตร

    น้อมรำลึกถึง พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ
    แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อม นมัสการ
    คือ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

    ๑. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ
    อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง
    อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
    ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

    ๒. อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
    สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
    สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

    ๓. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ
    นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ
    นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ

    ๔. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง
    นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา

    ๕. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง
    นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง
    นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง
    นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง
    นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง
    นัตถิ อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
    นัตถิ ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
    นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง
    สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง

    ๖. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
    ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ
    ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ
    ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง
    มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา

    ๗. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม
    ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค
    สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

    ๘. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา
    สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
    วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว
    กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ
    อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ
    ตะมังคะลัง

    ๙. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา
    สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
    ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ
    วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา<!-- google_ad_section_end -->


    คำแปลพระคาถาธารณปริตร

    ๑.อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญมีย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน

    ๒.อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ

    ๓. อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้
    อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๔.อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้
    อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่การพิจารณาเสียก่อน ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๕.อันว่าความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้
    อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
    อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
    อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
    อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต
    อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน
    อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต
    อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์
    ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก

    ๖.ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้
    อัน ว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้

    ๗.อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ
    ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ
    มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
    ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย
    มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป
    มี อานุภาพให้พ้นจากโลกต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ การเป็นใบ้ เป็นพิการ เป็นคนหูหนวก อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้นโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

    ๘.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย พึงทำกายให้เป็นกายดี พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่ถึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล พึงฟังแต่สิ่งที่ดีไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่ถึงเห็นนิมิตร้าย
    โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้
    มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง
    สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

    ๙.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
    อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้
    มันติลา สามารถทำน้ำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น สามารถประหารโรคต่างได้ และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้
    ทุพพิลา สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
    ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด


    http://palungjit.org/threads/ความเป็นมาของพระคาถาธารณปริตร.213612/<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    ส.ค.ท. 55
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส.ค.ท. 55
    ส่งความทุกข์ ... ??


    สำหรับประวัติ พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหารแห่งวัดไชโย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร มีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

    แปะไว้ก่อน
    http://palungjit.org/posts/5552863
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อีกภัยพิบัติที่กลัว คือ
    ภัยพิบัติทางการเมือง กลัวจราจล..
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ความโกรธแค้น ความบ้าคลั่ง ความอาฆาต ความกลัว

    คำหยาบ กริยาที่หยาบ การเห็นเขาต่ำกว่า ความไม่ต้องการให้ใครดีกว่า ความหยาบแห่งจิต

    เป็นลักษณะของโทสะ มักถูกยั่วยุ ปลุกเร้า และชี้นำได้ง่าย
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระวาจาตรัสเรื่องคาถาชินบัญชร

    คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้ ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเองหรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

    เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม)โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑ เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึงจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

    ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่าต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี

    ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้ บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘

    พระคาถาชินบัญชร - วิกิพีเดีย
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คาถาชินบัญชร

    พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
    ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
    ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
    ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด
    • เริ่มสวด นโม 3 จบ

      นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    • นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

      ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
      อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
      อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
      มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
    • เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
        1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
          จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
        2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
          สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
        3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
          สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
        4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
          โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
        5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
          กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
        6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
          นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
        7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
          โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
        8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
          เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
        9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
          เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
          ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
        10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
          ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
        11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
          อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
        12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
          วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
        13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
          วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
        14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
          สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
        15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
          ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
          ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
          สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
          สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำแปล

    พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
    ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
    อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

    มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

    ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
    พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
    พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

    พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
    พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

    พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
    พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

    มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
    อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

    พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
    มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

    พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
    พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

    ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
    เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
    รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

    พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
    พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

    พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
    เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

    อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
    ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
    สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

    ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
    เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
    แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
    อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
    เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

    ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
    จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
    จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
    ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
    แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระคาถาชินบัญชร <SMALL style="CURSOR: help" class="metadata audiolinkinfo">(help·info)</SMALL> (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ..


    ขอบคุณมากมายอาหลง
    กดฟังได้ด้วย แต่อาจต้องไปกดที่ วิกิพิเดีย
    พระคาถาชินบัญชร - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [๙๙๑] ในฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน

    ความโกรธ ความหลบหลู่คุณท่าน ความริษยา

    ความโอ้อวด ความปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน

    เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล ๖



    [๙๙๒] ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต

    อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ฯลฯ

    ในกลิ่นที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันอิงอาศัยกามคุณ

    ในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ

    เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]
     
  15. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    นิวรณ์ สบายดีไหมครับ

    ใครเหรอครับ ไปแอบทำไมตรงนั้น
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [​IMG]

    กำเนิดมดเขียววี3
    Kamen Rider V3
    กลับมาคุยเรื่องคาเมนไรเดอร์กันต่อ คราวก่อนพักไว้ที่ V2 วันนี้มาต่อเลยละกัน ความเดิมจากตอนที่แล้ว เมื่อ V1 กับ V2 ได้ร่วมมือกันจัดการกับองค์การช็อคเกอร์ได้แล้ว ต่อมาได้มี องค์กรชั่วร้ายเกิดขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า เดสตรอย ไอ้พวกนี้ก็หาทำเรื่องชั่วร้ายตามเคยอ่ะแหละจนมีเหตุการณ์นึงที่มันไปฆ่าคนแล้วมีเด็กหนุ่มคนนึงไปเจอ แล้วก็รู้ความลับเกี่ยวกะ พวกเดสตรอย ก็เลยถูกมันตามฆ่า เด็กหนุ่มเนี้ยแหละที่ต่อไปจะเป็นไอ้มดเขียวV3เด็กหนุ่มคนนี้มีชื่อว่า คาซามิ ชิโร่

    เดสตรอยมันตามล่ามาถึงที่บ้านแล้วก็ทำร้ายคนในครอบครัว พ่อ แม่ น้อง ของ คาซามิ แต่ มดแดงV1 กับV2 มาช่วยเอาไว้ คาซามิ เลยรอด ไอ้ตอนที่มาช่วย V1 กับ V2 แปลงร่างให้ คาซามิเห็น เลยอยากแปลงได้มั่ง จะได้แก้แค้นให้ครอบครัวที่โดนเดสตรอยฆ่า แต่ V1กับV2 ไม่เปลี่ยนให้เพราะถ้าเปลี่ยนร่างแล้วจะต้องใช้ชีวิตไม่เหมือนคนปกติ ต่อจากนั้น V1กับV2 ก็ได้ออกตามหาฐานทัพของเดสตรอยจนเจอ แล้วได้บุกเข้าไปทำลาย พอเข้าไปในฐานทัพ V1กับV2 โดนกับดักที่ เดสตรอยทำไว้ แต่คาซามิ แอบตามมาเลยเข้าไปช่วยแล้วตัวเองก็บาดเจ็บ บาดเจ็บกำลังจะไม่รอด V1กับV2 เลยคิดว่าถ้าจะช่วยให้รอด ก็จะต้องผ่าตัดให้เป็นคาเมนไรเดอร์ ก็เลยทำการผ่าตัดให้และก็ภายทอดพลังให้ ตอนผ่าตัดพวกเดสตรอยก็ตามมาโจมตี V1กับV2 เลยออกไปสู้

    [​IMG]

    แต่ดูว่าจะเสียเปรียบตอนกำลังแย่ V3 ก็ปรากฏตัวออกมาช่วยเหลือเอาไว้ แต่ไอ้ปีศาจมันมีระเบิดอยู่ในตัว ถ้าระเบิดตรงนี้ก็จะตายกันหมด แล้วก็กำลังจะระเบิดอยู่แล้ว V1กับV2 เลยตัดสินใจอุ้มปีศาจกระโดดขึ้นไปบนฟ้า แล้วก็ระเบิด ตูมมมมม... แล้วV1กับV2 ก็หายไปในตอนนั้น มอบหน้าที่ปกป้องโลกเอาไว้ให้ V3 โดยที่ V3ก็ยังเชื่อมั่นว่า V1กับV2 ยังมีชีวิตอยู่และจะกลับมาอีกครั้ง

    ไอ้มดเขียว V3 ::. | :: ฮีโร่'s Story ~ เรื่องราวของพระเอก ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2012
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................โอโห เจ้........มาได้ไงเนี่ย!!!.....จิ้กกี้!!...จิ้กกี้สส์++:cool:
     
  18. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ดีใจ แปลกใจ แต่ยินดี เป็นลักษณะของโลภะที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมครับ
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......................ผิดครับ จิ้กกี้ จิ้กกี้ เป็นเสียงร้องของลูกน้องระดับกระจ๊อก ขององค์การ นะครับ....น่าจะเป็นโทสะ มีลักษณะ อยากจะทำลาย..:cool:
     
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ไม่ได้หมายถึงความหมายครับ แต่หมายถึงเห็นแล้วปรุงแต่งทันที ตอบทันที
    เพราะรู้จักกัน เพราะชอบใจกัน เพราะเคยสนทนากัน จึงหยอกล้อ เพลิดเพลิน
    ไม่น่าอายหรอกครับ โลภะเป็นกันทุกคน
     

แชร์หน้านี้

Loading...