Magnet Generator .... พลังงาน Free ... ทางเลือกยุคน้ำมันแพง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pew Pew, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    ติดตามกระทู้นี้มาตลอดเช่นกัน
    ผู้มีความรู้ทางด้านพลังงานทดแทน
    กรุณาช่วย Update ข้อมูลเพิ่มเต็มด้วยครับ
    ผมคิดว่าอีกไม่นานราคาน้ำมันคงต้องกลับมาแพงอีกแน่ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2008
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ใครมีข้อมูลใหม่อัพเดทด้วยครับ
     
  3. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    ดูเหมือนภัยพิบัติ ใกล้เข้ามาแล้ว
    พวกเราเตรียมหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ
    รองรับไว้หรือปล่าว?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2008
  4. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    อันนี้น่าจะเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจมาทดลองใช้ดูนะครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bick1.jpg
      bick1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      7,280
    • bick2.jpg
      bick2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.1 KB
      เปิดดู:
      7,053
    • bick3.jpg
      bick3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.7 KB
      เปิดดู:
      7,208
    • bick4.jpg
      bick4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.3 KB
      เปิดดู:
      7,081
    • bick5.jpg
      bick5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.2 KB
      เปิดดู:
      7,010
    • bick6.jpg
      bick6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      6,905
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  5. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    เจ้าของกระทู้หายไปแล้ว โปรดกรุณามาให้ความรู้ต่อเถอะ.......
     
  6. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ขอบคุณ คุณ TheyWat ที่แจ้งให้ทราบว่ากระทู้นี้ยังไม่ตาย

    ผมก็กลับมาเปิดหาดูบ้างบางครั้ง คิดว่าคงไม่มีใครสนใจแล้ว ดีใจที่ยังมีคนสนใจช่วยกันคิดต่อยอด ผมเองยังไม่สามารถแก้ปัญหาการเงินได้ เพราะภาวะ ศก. ตอนนี้ ยากลำบากจริงๆ เวลาเดินไปทานอาหาร ก็ยังมองชำเลืองดูร้านที่รับซ่อมไดนาโมอยู่บ่อยๆ ดูลึกเข้าไปในร้านบ่อยๆ นึกว่า สักวัน คงมีโอกาสได้ทดลองของเราเองบ้างนะ บางวันก็เห็นขดลวดทองแดง เหมือนแกะออกมาจากเครื่องซักผ้า เห็นแล้วก็ดีใจว่าเคยเห็นโมเดลของเครื่องปั่นไฟ จากที่เราค้นคว้ามา น่าจะมีโอกาสเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ

    ผมชอบรูปที่คุณ TheyWat นำมาโพสไว้นะ ดูแล้ว simple ดี น่าจะทำได้จริงไม่ยาก อย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นจากความสำเร็จเล็กๆ เรียกกำลังใจก่อน ใช้แรงคน ปั่นจักรยานให้ได้พลังงานไฟฟ้า ให้ได้จริงก่อน แล้วจับหลักการเดิมพัฒนาต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ในอนาคตอาจจะผสมผสานกับพลังงานแม่เหล็กด้วย ท้ายที่สุดค่อยดูว่าจะสามารถให้มันทำงานได้เองหรือไม่

    เดี๋ยวว่าจะหาเวลาไปถ่ายรูปร้านซ่อมไดนาโมแถว office มาลงให้ดู ถ้าทำได้ เพื่อเป็นไอเดียต่อให้ผู้ที่สนใจอยากทดลองทำ

    ผมว่าช่วงนี้ เป็นจังหวะที่น่าจะทดลองทำได้ โดยค่าใช่จ่ายไม่สูงมาก เพราะราคาค่าเหล็ก ทองแดง ตกลงมามาก ช่างก็ไม่กล้าเรียกค่าแรงแพง เพราะภาวะเงินฝืดๆ ข้าวของน่าจะไม่แพงมาก
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    น่าที่จะทำได้ครับ อย่างไร ในที่สุดคำตอบก็คือพลังงานทดแทนครับ

    สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

    มีงานสัมมนานิทรรศการอยู่สองงาน ในช่วงเดือน มีนาคมและเมษายนนี้ครับ

    จัดที่ไบเทคและเมืองทองอิมแพคค์

    งานหนึ่งจัดโดยกระทรวงพลังงาน อีกงานจัดโดยวิศวกรรมสถานครับ

    หากท่านใดมีรายละเอียดนำลงหน่อยครับ
     
  8. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ชุดขดลวดทองแดงที่บอกว่าเห็นในร้านรับซ่อมไดนาโม คล้ายๆกับที่ติดอยู่กับจักรยานปั่นไฟฟ้าในรูปที่แปะไว้ในกระทู้ # 93 ไงครับ

    ถ้าเอามาประกอบกับ model ที่คุณ TheyWat มาลงไว้ คงคล้ายๆกัน

    และแถวพระโขนงมีร้านรับทำรถเข็นหลายๆ แบบ เช่น รถเข็นผัก รถเข้นสามล้อ รถเข็นขายผลไม้ เอาไว้ว่าจะไปดูมาว่า พอจะ modify ได้บ้างไหม
     
  9. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    [​IMG]

    Turn an exercise bike into an energy bike

    http://www.instructables.com/id/S1Z2VX4FAWRI3HM/

    อันนี้ เป็นอีกตัวอย่าง ที่เขา modify จักรยานออกกำลังกาย มาเป็นเครื่องปั่นไฟ มีแสดงเป็นขั้น เป็นตอน ให้ดูละเอียดพอควร ลองลิ้งไปดูกันได้ครับ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็ List มาให้ดูไว้เล่นๆ

    Here's a list of parts you'll need to get started:
    - exercise bike, with cast iron flywheel or rubber tire type
    - DC motor or generator with magnets, 12Vdc or 120Vdc recommended
    - 1/2" plywood, 3/4" will also work
    - 6' - 2"x 4" pine lumber
    - 4' link belt (or fan belt)
    - 1/4" Lag bolts
    - assorted screws
    - 3/4" water pipe and end caps
    - screw band
    - wire DC volt meter
    - DC amp meter
    - 14 ga. wire
    - 2' of 1-1/2" PVC pipe
    - 1-1/2" sheave (pulley)

    Tools you'll need:
    - jig saw
    - hand saw or chop saw
    - router (optional)
    - drill and bits
    - hacksaw
    - file
    - wire cutters and strippers
    - screw driver
    - socket set and ratchet
    - carbide cutter
    - vise grips


    มีตัวอย่างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบอื่นๆด้วย น่าสนใจดี ลองไปศึกษากันดูนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2009
  10. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ในเวปเดียวกันนี้ ยังมีอีกหลายตัวอย่างที่ เขาช่วยกันคิดค้นวิธีสร้างพลังงานสะอาด Green energy ใครที่พอจะอ่านภาษาอังกฤษได้ ไม่ควรพลาดนะครับ เช่นตัวอย่างนี้ เป็นการประยุกต์เอาล้อรถจักรยานมาทำเป็นกังหันลม แล้งพ่วงตัวกำเนิดไฟฟ้า ติดตั้งบนหลังคารถ วิ่งไปปั่นไฟไป ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดีย แต่เขาว่าอันนี้ไม่ค่อย work แค่ลองเล่นๆ จริงๆ รถวิ่งไปก็ปั่นไฟในตัวชุดเครื่องยนต์อยู่แล้ว ไม่รู้ทำให้ยุ่งยากขึ้นไปทำไม

    ผมมามองเห็นว่า ที่มีประโยชน์กับเรา คือ เราใช้ล้อรถจักรยานมาลดต้นทุนการประดิษฐ์กังหันลม หรือกังหันน้ำมากกว่า และได้เห็นตัวอย่างการประกอบกับเครื่องปั่นไฟฟ้าแบบสำเร็จรูป ช่วยลดค่าใชจ่ายและเวลาไปได้แยะ ถ้าต้องการลองสร้างกังหันลมเองแบบประหยัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    สนใจก็ลิ้งไปดูได้ที่

    http://www.instructables.com/id/EFO5KJYTGVEP28660N/
     
  11. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    ขอขอบคุณ Pew Pew ที่ได้กลับมาที่กระทู้นี้อีกครั้ง (ดีใจจริงๆ)
    ผมเองก็ได้แรงบันดาลใจจากกระทู้นี้แระ

    ขอเริ่มเลย!! จากกระทู้นี้ หน้าที่ 3 บทความที่ 49 ของคุณ ELMETH
    ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เกี่ยวกับชนิดของ Magnet Motor
    เคยคิดอยู่เหมือนกันว่าจะทดลองทำ Magnet Motor แบบ Perendev
    (หลักการคือใช้เส้นแรงของแม่เหล็ก ทำการดูดและผลัก เป็นพลังงานจลน์ ขับเคลื่อนหมุนไป)
    ผมลองหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต YouTube หรือ Google มีข้อมูลน้อยเหลือเกินที่กล่าวถึงและไม่แน่ใจว่ามันจริงหรือปล่าว
    ทั้งๆที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

    จาก หน้าที่ 6 บทความที่ 108 คิดว่าคุณ kananun อาจจะเคยทดลองแบบนั้น ไม่ทราบว่าตอนนี้เป็นอย่างบ้างครับ ?

    มีอีกแบบหนึ่งของ Magnet Motor ที่น่าสนใจ นั่นคือ Eletro Magnetic Motor จึงกลายตัวเลือกที่น่าสนใจ อะทิเช่น
    Newman Motor, Bedini Motor ฯลฯ

    ขณะนี้ผมกำลังทดลอง Bedini Motor อยู่ครับ ซึ่งยังไม่ประสบผลเป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร แต่ผมก็พยายามทำต่อไป
    ไว้คราวหน้าผมจะลอง Post บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SSG.JPG
      SSG.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.8 KB
      เปิดดู:
      947
    • SSG2.JPG
      SSG2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.3 KB
      เปิดดู:
      918
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2009
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ตอนนี้มีแนวคิดใหม่เพิ่มเติมอีกสองแนวคิดครับ

    คือการนำพลังงานจากฟรีเอนเนอจี้ เช่นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์มาเดินเครื่องแอร์ปั๊มเก็บลมในถังจากนั้น จึงนำลมมาหมุนเจนเนอเรเตอร์ปั่นไฟฟ้าอีกที ซึ่งจะคุมให้จ่ายออกอย่างเสถียรได้ คำนวนออกมาแล้วราคาไฟฟ้าต่อยูนิตถูกกว่า ปั่นไฟฟ้าโดยตรงและเหมาะกับบ้านเรือนทั่วไป


    กับอีกคอนเซปป์หนึ่ง คนไทยคิดนำพลังงานสามประเภทมาสมมาตรรวมกัน

    โดยใช้พลังงานจากไนโตรเจนเหลวด้วยซึ่งลองศึกษาแนวคิดใหม่ๆดูครับ

    มีเครื่องยนต์พลังงานเย็นด้วย เรียกว่าปั่นไฟ เดินเครื่องรถโดยไม่ต้องติดแอร์

    แต่เวบนี้ห้ามเผยแพร่อ่านอย่างเดียวครับ

    หาในกูเกิ้ลพิมพ์ว่า "พลังงานทดแทน" ครับ
     
  13. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ดูจากภาพ โครงการของคุณ TheyWat และ ลองไปเปิดลิงค์ดู รู้สึกดีครับ อย่างน้อยก็ได้ลงมือทำ ดีกว่าตัวผมที่ยังไม่เริ่มเลย

    ขอออกความเห็นนิดหน่อนนะครับ อย่าว่ากันนะ และอย่าเสียกำลังใจ เพราะผมยังไม่ได้ทำเอง แต่ลองวิเคราะห์จากข้อมูลที่คนอื่นเขาทำมาบ้างแล้ว

    ในความเห็นของผม ถ้าเราห่วงเรื่องพลังงานทดแทนในเวลาที่จำกัด ตามความเห็นส่วนตัว ผมอยากจะเริ่มทดลองสร้าง เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก่อนเครื่องสร้างแรงหมุน โดยอาจจะคิดควบคู่ไปพร้อมกันก็ได้ว่าอยากจะใช้ตัวสร้างแรงหมุนแบบไหน

    โครงการแบบ Bedini Motor น่าจะเป็นหลักการทำให้เกิดแรง ผลัก และ ดัน โดยอาศัยพลังงานจะไฟฟ้าแบตเตอรี่ ไปสลับขั้ว แม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้มาจากจากขดลวดทองแดง แล้วอาศัยแรง ผลัก และ ดัน นี้ ไปทำให้ลงล้อซึ่งมีแม่เหล็กหลายๆตัวติดอยู่หมุนไปได้เรื่อยๆ ต่อเนื่อง แต่ที่สังเกตุดู รู้สึกว่าเป็นแรงที่ไม่มากนัก จะนำไปพัฒนาต่อเป็น Magnet Generator ได้ยากรึเปล่า ?? ผมก็ไม่แน่ใจ ( เดาเอาเองนะ ) เพราะว่าการสร้าง generator ต้องมีแผ่นจานกลมๆ ที่มีแม่เหล็กโดยรอบ และต้องมีขดลวดทองแดงหลายๆขด ซึ่งแผ่นที่มีแม่เหล็กและแผ่นที่มีขดลวดต้องหมุนให้มันเคลื่อนผ่าน ซึ่งกันและกันด้วยความเร็วพอควร กำลังไฟฟ้าที่ได้ ขึ้นกับจำนวนรอบของขดลวดทองแดง ยิ่งมากรอบยิ่งได้ไฟฟ้ามาก และขึ้นกับกำลังของกระแสแม่เหล็ก ต้องมีแรงมากพอที่จะสร้างสนามพลัง ให้อิเลคตรอนในขดลวดวิ่ง และก่อเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้

    ผมไม่แน่ใจว่า พลังงานไฟฟ้าที่ใส่เข้าไป ( Input ) ทำให้เกิดการหมุน และ การหมุนที่เกิดขึ้น จะสร้างพลังงานไฟฟ้า ( Out Put ) จะ balance กันไหม จะได้กำไร หรือขาดทุน อันนี้ต้องคิดประดิษฐ์ให้ได้เครื่องที่สร้าง Output ได้มากกว่า Input

    การจะสร้างให้ครบองค์ประกอบของ Generator จะต้องปัญหาบางประการ คือ

    1. มันจะมีน้ำหนักมาก จากตัวแม่เหล็ก และขดลวดทองแดง
    2. ระยะห่างระหว่างแผ่นจาน แม่เหล็กและจานหมุนต้องใกล้กันมาก และมีความเที่ยงของการหมุน จึงจะไม่เสียดสีกันเองเวลาหมุนไปนานๆ และเร็วๆ
    3. เราจึงต้องสร้างแรงหมุน ที่จะทำให้มันหมุนของหนักๆได้ดี และต้องสร้างโครงสร้างให้เสถียร มีความมั่นคงพอควร จึงจะใช้เป็นเครื่องกำเนิดไฟได้
    4. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนใหญ่ที่เห็นจึงมักเป็นตัวใหญ่ ๆ แข็งแรง ๆ

    ที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นจากที่คุณคณานันท์ได้ทดลองทำไปบ้างแล้ว เห็นบอกว่า กำลังไม่พอ จึงไม่หมุน ต้องเพิ่มแม่เหล็กอีก แปลว่าต้องเพิ่มน้ำหนัก พอเพิ่มแม่เหล็กก็ต้องคิดต่อว่า ต้องลดแรงฝืดจากน้ำหนักอีก นี่ก็แปลว่า เยงแค่ทำให้มันหมุนได้เอง ต้องใช้งบมากแล้ว เพราะต้องแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว กว่าจะทำให้หมุนได้ก็เหนื่อยมาก และใช้งบไปมากแล้ว ยิ่งเมื่อต้องสร้างชิ้นส่วนที่สร้างกระแสไฟฟ้าอีก ก็ต้องเพิ่มแม่เหล็กอีก เพื่อขดลวดทองแดง เพิ่มจานหมุน น้ำหนักก็ยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ เราก็ต้องกลับมาแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวอีก คิดแล้วรู้สึกว่าจบยาก ระยะทางข้างหน้าและงบประมาณอีกยาวไกล อาจจะสร้างได้ไม่ทันภัยพิบัติแน่ๆ ผมจึงไม่ค่อยได้ไปคิดต่อทางเดิม

    แต่ผมมาลองคิดมุมอื่นบ้างว่า ถ้าเราสร้างตัวที่สร้างพลังงานไฟฟ้าให้ได้ก่อน และคิดเครื่องสร้างแรงหมุนแบบออโต้ทีหลัง อย่างน้อยเราก็ได้เครื่องปั่นไฟฟ้ามาก่อน อาจจะเป็นเครื่องที่อาศัยพลังงานกล ( พลังคน ) ในตอนแรก แล้วค่อยเอาพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาใช้ต่อเข้ากับเครื่องสร้างแรงหมุนแบบต่างๆกัน ทดลองเอามาผสมผสาน ตัดต่อกัน เช่น Bedini Motor ที่คุณ TheyWat ทดลองอยู่ หรือ กังหันลม หรือ กังหันน้ำ อาจจะได้ประโยชน์มากกว่ารึเปล่า เพราะเราเริ่มต้นที่สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าให้ไดก่อน แล้วเราค่อยคิดต่อว่าจะเอาพลังงานไฟฟ้านี้ ไปสร้างการหมุนด้วยวิธีใด แล้วได้พลังงานไฟฟ้าออกมาอีกที ( ซึ่งก็ต้องคอยดูว่า Output ได้มากกว่า Input จึงจะมีกำไร เหลือเป็นพลังงานไปใช้อย่างอื่นๆได้ต่อไป )

    ถ้าคิดแบบวิธีหลังแล้ว สมมติว่า ยังไม่สามารถสร้าง Motor ที่ให้ Output ได้มากกว่า Input แล้วภัยพิบัติเกิดขึ้นก่อน อย่างน้อยเราก็มีเครื่อง generator โดยอาศัยพลังงานคน พลังงานลม พลังงานน้ำ ไปใช้ได้ในยามวิกฤต

    ลองคิดดูเล่นๆ นะครับ เห็นแตกต่างประการใด ก็โพสมา discuss กันได้นะครับ
     
  14. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    :พลังลมอัดถัง:

    เป็นคนไม่ชอบทำอะไรตามกระแส ยิ่งเรื่องพลังงานทด แทนด้วยแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • save.jpg
      save.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.7 KB
      เปิดดู:
      8,433
  15. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    เครืองจักรกลพลังงานอุณหภูมิ

    [​IMG]

    เป็นเครื่องจักรกลประเภท แรงดันไอก๊าซ ( Pneumatic System )
    ใช้พลังงานจากอุณหภูมิความร้อนของผิวโลกในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
    พลังงานแทนเชื้อเพลิงโดยทั่วไป

    เครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมิ เป็นเครื่องจักรกล ที่สามารถสร้างพลังงานใน
    การหมุนเพลาเครื่องจักร และมีแรงบิดเกิดขึ้นได้ โดยมี กรรมวิธีในการดึงดูด
    เอาพลังงานความร้อน จากบริเวณพื้นผิวโลก ตามอุณหภูมิท้องถิ่น และความ
    ร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่ใช่โซล่าเซลล์ ซึ่งใช้ของเหลวจากสาร
    เคมี เป็นตัวดูดซับความร้อนจากพลังแสงอาทิตย์ นำมาเก็บสะสมไว้ในถังสะสม
    พลังงานความร้อน ซึ่งเครื่องจักรจะนำพาเอาความร้อนดังกล่าว เข้ามาใช้ภาย
    ในระบบ จากนั้น ระบบแลกเปลี่ยนความร้อน ( Heat Exchange )
    จะทำการแลกเปลี่ยนความร้อน และทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กับสารเคมีทำ
    ความเย็น (สาร Refrigerant ) เพื่อให้สารเคมีดังกล่าว ดูดซับความร้อน
    จากพลังงานความร้อน ตามอุณหภูมิที่ได้ดูดเข้ามา และทำให้สารเคมีเดือด
    ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า ศูนย์ องศาเซลเซียส เกิดการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
    จนทำให้สารเคมีทั้งหมด ระเหย กลายเป็นไอก๊าซ และมีแรงดันที่สูงขึ้นมาก

    จากนั้นจึงนำเอาแรงดันที่ได้ นำไปใช้ในการหมุนแกนมอเตอร์แรงดัน และแกน
    หมุนของ มอเตอร์ ไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าออกมา
    และนำไปใช้งานได้ เนื่องจากสารเคมี Refrigerant เป็นสารเคมีที่ใช้ในการ
    ทำความเย็น และมีราคาที่แพงมาก เครื่องจักรนี้ จึงต้องออกแบบระบบการทำ
    งาน ให้สามารถนำสารเคมี Refrigerant ให้ย้อน กลับมาใช้งานได้ใหม่อีก
    อย่างต่อเนื่อง ไม่รู้จบ ....

    หลังจากที่ สารเคมีได้เปลี่ยนสถานะเป็นไอก๊าซ และแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
    จลน์ ซึ่งมี ความเร็วสูง และถูกปลดปล่อยออกมาจาก Outlet มอเตอร์แรงดัน
    แล้ว คุณสมบัติของสารเคมีเอง จะเกิดการควบแน่นให้กลายเป็นของเหลวส่วน
    หนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด และยังคงมีแรงดันเหลืออยู่อีกมาก และไม่สามารถทำให้
    ย้อนกลับได้ จึงต้องทำให้สารเคมีที่ยังเป็นไอก๊าซอยู่ กลับเป็นของเหลวทั้ง
    หมด ด้วยวิธีการหล่อเย็นสารเคมี จึงทำให้สารเคมีทั้งหมด กลายเป็นของเหลว
    และอยู่ในสถานะที่มีแรงดันเป็นศูนย์ เครื่องจักรจึงจะสามารถทำงานได้ครบ
    วงจร และเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

    เครื่องจักรจึงต้องมีระบบในการนำสารเคมีให้สามารถย้อนกลับ และนำสารเคมี
    นี้กลับมาใช้ในขบวนการผลิตพลังงานได้ใหม่อีก ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า Cooling
    transfer system ซึ่งเป็นระบบในการแช่เย็นให้กับสารเคมี Refrigerant
    ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า ลบ 30 องศา C ซึ่งจะทำให้สารเคมี เกิดการควบแน่นกลาย
    เป็นของเหลวได้ทั้งหมด และแรงดันลดลงจนกลายเป็นศูนย์ ซึ่งในสภาพนี้เอง
    ทำให้เกิดการนำสารเคมีที่มีความเย็น อุณหภูมิ ต่ำกว่า ลบ25 องศาเซลเซียส
    นำไประบายความเย็นออกไปภายนอกเครื่องจักร

    ลักษณะพิเศษ และจุดเด่นของเครื่องจักรกลพลังงานอุณหภูมินี้คือ เครื่องจักร
    กลนี้ ทำงานได้เหมือนกับเครื่องจักรกล พลังงานความร้อนโดยทั่วๆไป แต่มี
    ประสิทธิภาพของพลังงาน Output ที่ได้ออกมานั้น มีสูงกว่าเครื่องจักรกล
    โดยทั่วไปมาก อีกทั้งยังไม่ต้องการ การเติม หรือการใส่พลังงานจากเชื้อเพลิง
    ความร้อนใดๆ นอกจากอุณหภูมิความร้อนจากอากาศบนพื้นผิวโลก และ
    พลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่มีวันหมดไปได้จากโลก
    นี้ จุดเด่นที่สำคัญ และเหนือกว่าเครื่องจักรกลชนิดใดๆ ก็คือเครื่องจักรกล
    พลังงานอุณหภูมินี้จะปลดปล่อยเอาความเย็นออกทิ้งภายนอกเครื่องจักร ที่
    อุณหภูมิ ต่ำกว่า ศูนย์องศา และไม่ทำให้เกิดมลพิษ หรือ มลภาวะใดๆต่อสภาพ
    แวดล้อม ซึ่งจะเป็นการแก้ไขสภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังให้พลังงานทดแทนที่
    สามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด โดยที่ไม่ต้องประหยัดพลังงานกันอีกต่อไป....

    (ยังมีต่อที่ Renewable Energy พลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก )

    คิดว่าน่าจะเป็นอีกข้อมูลที่หนึ่งน่าสนใจ โดยคนไทยคิดนำพลังงาน
    สามประเภทมาสมมาตรรวมกัน และใช้พลังงานจากไนโตรเจนเหลว

    ผมจะเสนอมากไป ก็คงไม่เหมาะสม อาจจะกลายเป็นการโฆษณาไป
    ลองตรวจสอบดูเองนะครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19 KB
      เปิดดู:
      8,527
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ไปพบข้อมูลดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง .. กรมพลังงานทดแทนเขามีโครงการพัฒนาการใช้พลังงานน้ำมาปั่นไฟ ใช้ในระดับหมู่บ้าน เห็นว่าต้องการเสป็คความเร็วในการไหลราว 20 ลิตรต่อวินาทีขึ้นไป และความสูงของน้ำที่จะปล่อยลงมาปั่นไฟ 10 เมตร ขึ้นไป เราเลยนึกได้ว่า ตอนไปวัดถ้ำเมืองนะ เห็นว่าที่วัดมีการสูบน้ำเก็บไว้ปริมาณมากในแทงค์สูงกว่า 10 เมตร และยังจัดเป็นระบบโครงการประปาหมู่บ้านในบริเวณนั้นด้วย (หลวงตาท่านเมตตามาก )

    เลยมาคิดเอาว่า ถ้าชุมชนไหนที่เขาจะตั้งเป็นชุมชนต่อสู้ภัยพิบัติ ก็ต้องการน้ำใช้อยู่แล้ว ควรมีการกักเก็บน้ำเหมือนที่วัดถ้าเมืองนะ แล้วถ้าจะให้ได้ประโยชน์ 2-3 เด้ง ก็วางระบบเป็นประปาชุมชนย่อยๆ ควบคู่ไปกับการปั่นไฟด้วยพลังงานน้ำไปซะเลยทีเดียว อย่างนี้ ก็ครบวงจรพอดี และเราสามารถขอดูตัวอย่างได้ไม่ยาก

    ลองอ่านดูกันนะ..

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=normalfont>[​IMG] พพ.ได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านโดยดำเนินการในรูปแบบความร่วมมือกับราษฎร ปัจจุบันมีจำนวนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านที่ยังสามารถเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่จำนวน 39 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 1,155 กิโลวัตต์ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จำนวน 3,779 ครัวเรือน สำหรับปีงบประมาณ 2548 มีการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 3 โครงการ คือโครงการบ้านห้วยหมากลาง จ.แม่ฮ่องสอน มีขนาดกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และ โครงการบ้านสามหมื่นทุ่ง จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ และในปีงบประมาณ 2549 มีโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างจำนวน 2 โครงการ คือโครงการบ้านมะโอโค๊ะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และโครงการแม่น้ำดะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา โดย เดลินิวส์ออนไลน์

    จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีกทั้งความต้องการพลังงานมีเพิ่มมากขึ้นซึ่งภาวะวิกฤติพลังงานดังกล่าวทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทน

    ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี พลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานหมุนเวียน ลม น้ำ แสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพไบโอดีเซล หรือแม้แต่บางประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านพลังงานทดแทนต่างให้ความสนใจพัฒนาระบบเครื่องยนต์ให้สามารถเลือกใช้ประเภทเชื้อเพลิงได้หลากหลาย ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความหวังการลดภาวะวิกฤติพลังงานที่กำลังเผชิญ

    ท่ามกลางความต้องการพลัง งานที่มีเพิ่มขึ้น พลังงานธรรมชาติ ที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่สิ้นสุด ที่ผ่านมาได้มีการกล่าวถึงรวมทั้งมีการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนทั้ง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งในความโดดเด่นของพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้นอกจากความหมายของการเป็นพลังงานทดแทนยังมีความสำคัญเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษและมีศักยภาพสูง

    พลังงานธรรมชาติที่นำมาใช้แต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน พลังงานน้ำ เป็นพลังงานธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งพลังงานน้ำสามารถเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าหรือพลังงานรูปแบบอื่นได้ สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ให้ความรู้พร้อมบอกเล่าการใช้พลัง งานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าลดภาวะวิกฤติพลังงาน

    “ในประวัติศาสตร์ของเรื่อง พลังงานน้ำเป็นพลังงานสาขาหลักอย่างหนึ่งของโลก แต่ในระยะหลังมีประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจะสร้างพลังงานน้ำขนาดใหญ่ดังในอดีตจะกระทบกับสิ่งแวดล้อม ทุกประเทศจึงมองหาพลังงานทางเลือกอย่างอื่น

    สำหรับประเทศไทยแบ่งขนาดของพลังงานน้ำออกเป็น ขนาดใหญ่ เล็กและระดับหมู่บ้าน สำหรับขนาดใหญ่มีกำลังเกิน 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปในลักษณะนี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระดับพื้นฐานของประเทศและที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการเชื่อมโยงเข้ากับเขื่อนต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเขื่อนขนาดใหญ่มีกำลังผลิตอยู่ที่ประมาณ 3,400 เมกะวัตต์ใช้น้ำเป็นตัวผลิต ดำเนินการผลิตโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานทดแทน”

    ส่วนที่เล็กลงมาคือ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก มีขนาด 10 เมกะวัตต์ลงมาจนถึงระดับ 200 กิโลวัตต์ โครงการนี้ได้ดำเนินการขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งครั้งนั้นขาดแคลนพลังงานและสายส่ง เชื่อมโยงไปไม่ถึงและจากการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้พลังงานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนเต็มรูปแบบ จนถึงปัจจุบัน กรมฯได้ติดตั้งไฟฟ้าพลังน้ำ 74 เมกะวัตต์ซึ่งพลังงานน้ำได้แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนเชื่อมโยงเข้ากับระบบผลิต ที่อยู่ปลายสายเป็นการยกระดับพลัง งานไฟฟ้าให้มีความมั่นคง

    “ไฟฟ้าที่ส่งไปไกลในพื้นที่ทุรกันดารต้นทางนั้นจะได้มาตรฐานเต็ม 220 โวลต์แต่พอไปถึงปลายสายก็จะเกิดการสูญเสียระหว่างทาง ยิ่งในอำเภอที่ห่างไกลออกไป หมู่บ้านในชายแดนไฟฟ้าก็จะดร็อปลงซึ่งอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย ในสมัยนั้นกรมฯได้ดำเนินการโครงการไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อเสริมความมั่นคงของปลายสายให้กับผู้ใช้ปลายสายซึ่งก่อนหน้านั้นขณะที่ยังไม่มีโครงการฯใช้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันดีเซล แต่เมื่อมีการใช้พลังงานน้ำก็สามารถลดการใช้น้ำมันลง”

    ในระดับหมู่บ้านมีขนาดต่ำกว่า 200 กิโลวัตต์ลงมาแต่ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์โดยก่อนหน้านี้ไม่คุ้มทุนมีราคาแพงเนื่องจากเครื่องจักรสั่งมาจาก ต่างประเทศ แต่ต่อมาได้ศึกษาวิจัย ทดสอบเครื่องจักรผลิตอุปกรณ์ขึ้นใช้ในประเทศทำให้อุปกรณ์มีราคาลดลงประมาณ 1 ใน 3 จากการนำเข้าจากต่างประเทศและในปัจจุบันโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านได้เกิดขึ้นแล้ว 96 แห่งในพื้นที่ห่างไกลสามารถนำพลังงานน้ำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้านเป็นพลังงานทดแทนได้

    ขณะที่การใช้พลังงานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นการลดการใช้น้ำมัน แต่ก็อาจมีข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศซึ่งในแต่ละพื้นที่ชุมชนสามารถจะดำเนินโครงการนี้ได้ แต่จะต้องมีแหล่งน้ำที่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานน้ำได้ซึ่งถ้าในระดับหมู่บ้านควรที่จะมีน้ำไม่น้อยกว่า 20 ลิตรขึ้นไปต่อวินาที มีขนาดความสูงเกินกว่า 10 เมตรซึ่งความสูงไม่น่าที่จะเป็นห่วงเพราะสามารถพัฒนาได้และในหลายพื้นที่ของประเทศนั้นก็มีความเหมาะสม

    แม้พลังงานน้ำจะเป็นพลังงานทางเลือกได้ แต่หากพิจารณากับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่ง จากที่มีการคำนวณไว้ว่าจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 600-1,000 เมกะวัตต์ต่อปี จากข้อจำกัดในด้านความต้องการและทางด้านสิ่งแวดล้อม การจะพัฒนาพลังงานน้ำมาเป็นแหล่งพึ่งพาในอนาคตด้านพลังงานไฟฟ้าให้ทั้งประเทศอาจไม่เพียงพอ

    แต่หากมองในชนบทพื้นที่ห่างไกลที่กระแสไฟฟ้าไปไม่ถึง การนำพลังงานน้ำมาใช้มีความเป็นไปได้
    ซึ่งพลังงานน้ำสามารถเป็นพลังงานทางเลือกอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างมั่นคง สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน หมู่บ้านประมาณ 100-200 ครัวเรือนได้และพลังงานธรรมชาติชนิดนี้ยังเป็นพลัง งานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการรักษาธรรมชาติ รักษาป่า เพราะหากไม่มีน้ำก็ไม่มีกระแสไฟฟ้าเป็นการใช้พลังงานทดแทนอย่างถูกต้อง

    โครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านอย่างที่ บ้านแม่คำปอง จ.เชียงใหม่ ชุมชนแห่งนี้เป็นแบบอย่างหนึ่งของการนำพลังงานน้ำมาผลิตไฟฟ้าซึ่งนอกจากจะมีกระแสไฟฟ้าใช้ยังสามารถขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้คืนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสร้างรายได้เข้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ในระดับหมู่บ้าน 5-10 ครัวเรือนที่มีแหล่งน้ำมีศักยภาพ ขณะนี้ได้มีการทดสอบกังหันน้ำขนาดจิ๋วประมาณ 5 กิโลวัตต์ลงมาจนถึง 200 กิโลวัตต์เพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย

    นอกจากพลังงานน้ำ พลัง งานแสงอาทิตย์ อีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกส่วนหนึ่งจากสำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ให้ความรู้ว่า ประเทศไทยมีศักยภาพตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นมีแสงอาทิตย์สม่ำเสมอตลอดปีค่อนข้างสูงซึ่งถ้าเทียบเป็นหน่วยประมาณ 12.8 เมกะจูด ซึ่งถ้าแปลงเป็นกิโลวัตต์เหมือนหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่คุ้นเคยก็จะเท่ากับ 5.05 กิโลวัตต์ต่อชม.ต่อตารางเมตรต่อวันซึ่งเป็นศักยภาพที่มีของประเทศ ส่วนการจะนำไปใช้ประโยชน์อยู่ที่เทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ อย่างถ้านำเทคโนโลยีทางด้านเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเหมือนเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าหรือโซลาร์คอเลคเตอร์ที่เปลี่ยนแสงเป็นความร้อน

    “แสงอาทิตย์โดยทั่วไปการใช้ประโยชน์คือแสงสว่าง แต่ถ้าจะนำมาทดแทนพลังงานตัวอื่นนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อน ซึ่งจุดเด่นของการนำพลังงานธรรมชาติชนิดนี้มาใช้คือที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งมีรังสีค่อนข้างสูงสม่ำเสมอ ถ้านำเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ไปติดตั้ง จุดเด่นของเทคโนโลยีไม่มีการเคลื่อนไหว แสงตกกระทบ ก็เป็นพลังงานไฟฟ้าไม่เหมือนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเหล่านั้นต้องใช้เชื้อเพลิงต้องใช้กระบวนการหลายขั้นตอน การสึกหรอดูแลรักษาสูง ต่างจากแสงอาทิตย์ซึ่งนำมาใช้ได้เลยไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ติดตั้งที่ไหนก็ได้ ฯลฯ แต่ทีนี้ก็มีอุปสรรคในเรื่องราคาซึ่งยังสูงอยู่ แต่ในอนาคต 15-20 ปี มีการคาดการณ์กันว่าระบบติดตั้งโซลาร์เซลล์จะลดลง ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจะลดลงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาวะวิกฤติพลังงาน”

    จากความโดดเด่นของพลัง งานธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์หรือแม้แต่พลังงานลม พลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในธรรม ชาติเหล่านี้เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีความน่าสนใจ สามารถนำมาใช้ทดแทนพลัง งานปกติ ลดการใช้น้ำมันเป็นความหวังลดคลายภาวะวิฤติพลังงานในช่วงเวลานี้

    แต่ทั้งนี้การเลือกนำมาใช้คงต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ การรู้ใช้ รู้คุณค่าพลังงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มีพลังงานใช้ต่อไปอย่างยั่งยืน.


    โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์

    บันทึกเมื่อ : 23/6/2008
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2009
  17. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    การสูบน้ำไปเก็บไว้ในแทงค์สูงๆ อาจจะอาศัยกังหันลมสูบน้ำก็ได้ ไม่ต้อเปลืองไฟ เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดทั้งหมด เอาพลังงานลมไปสูบน้ำไปกักเก็บ และปล่อยน้ำให้ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้ทั้งระบบประปาและพลังงานไฟฟ้าสำหรับชุมชน ครบพอดี น่าสนมั้ยจ๊ะ ลองไปคิดต่อเอาเองนะ สวัสดี.....

    กังหันลมแบบสูบน้ำในปัจจุบัน




    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]กังหันลมแบบสูบชักเป็นกังหันลมชนิดหลายใบ ส่วนใหญ่ใช้ในการสูบน้ำจากบ่อ สระน้ำ หนองน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ ที่มีความลึกไม่มากนัก เพื่อใช้อุปโภค ใช้ในทางการเกษตรและใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีความสามารถในการยกหรือดูดน้ำได้ในระยะที่สูงกว่าแบบระหัด เพื่อความเข็งแรงวัสดุที่ใช้ทำใบพัดและโครงสร้างเสาของกังหันลมชนิดนี้มักเป็นโลหะเหล็ก ถ้าผลิตในประเทศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด ประมาณ 4 - 6 เมตร จำนวนใบพัด 18, 24, 30, 45 ใบ การติดตั้งแกนใบพัดสูงจากพื้นดินประมาณ 12-15 เมตร ตัวห้องเครื่องถ่ายแรงจะเป็นแบบข้อเหวี่ยงหรือเฟืองขับ กระบอกสูบน้ำมีขนาดตั้งแต่ 3-15 นิ้ว ปริมาณน้ำที่สูบได้ขึ้นอยู่กับขนาดกระบอกสูบน้ำและปริมาณความเร็วลม กังหันลมเริ่มหมุนทำงานที่ความเร็วลม 3.0 เมตร/วินาที ขึ้นไปและสามารถทำงานต่อเนื่องได้ด้วยแรงเฉื่อยที่ความเร็วลม 2.0 เมตร/วินาที แกนใบพัดสามารถหมุนเพื่อรับแรงลมลมได้รอบตัวโดยมีใบแพนหางเสือเป็นตัวควบคุมการหมุน มีระบบความปลอดภัยหยุดหมุนในกรณีที่ลมแรงเกินกำหนด[/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]ส่วนประกอบที่สำคัญของกังหันลมแบบสูบชักเพื่อสูบน้ำ[/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]1. ใบพัด ทำจากเหล็กกาวาไนท์หรือแผ่นสังกะสีชนิดหนาอย่างดี ไม่เป็นสนิมทนทานต่อกำลังลม ทำหน้าที่รับแรงลมแล้วเปลี่ยนพลังงานจลน์จากลมเป็นพลังงานกลและส่งต่อไปยังเพลาประธาน[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]2. ตัวเรือน ประกอบไปด้วยเพลาประธานหรือเพลาหลักทำด้วยเหล็กสแตนเลสที่มีความแข็งเหนียวทนต่อแรงบิดสูง ชุดตัวเรือนเพลาประธานเป็นตัวหมุนถ่ายแรงกลเข้าตัวห้องเครื่อง ภายในห้องเครื่องจะเป็นชุดถ่ายแรงและเกียร์ที่เป็นแบบข้อเหวี่ยงหรือแบบเฟืองขับ เพื่อถ่ายเปลี่ยนแรงจากแนวราบเป็นแนวดิ่งเพื่อดึงก้านชักขึ้นลง ใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นในห้องเครื่อง[/FONT]

    [​IMG]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]ส่วนประกอบของกังกันลมสูบน้ำ[/FONT]​

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]3. ชุดแพนหาง ประกอบไปด้วยใบแพนหางทำจากเหล็กแผ่น ที่ทำหน้าที่บังคับตัวเรือนและใบพัดเพื่อให้หันรับแรงลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง และโซ่ล็อคแพนหางซึ่งทำหน้าที่ล็อคแพนหางให้พับขนานกับใบพัดเมื่อได้รับแรงลมที่ความเร็วลมเกิน 8 เมตร/วินาที และส่ายหนีแรงปะทะของแรงลม[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]4. โครงเสา ทำด้วยเหล็กประกอบเป็นโครงถัก (Truss Structure) ความสูงของกังหันลมสูบน้ำ มีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาติดตั้งกังลม เพื่อให้สามารถรับลมได้ดี กำหนดที่ความสูงประมาณ 12-15 เมตร และมีแกนกลางเป็นตัวบังคับก้านชักให้ชักขึ้นลงในแนวดิ่ง[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]5. ก้านชัก ทำด้วยเหล็กกลมตัน รับแรงชักขึ้นลงในแนวดิ่งจากเฟืองขับในตัวเรือน เพื่อทำหน้าที่ปั้มอัดกระบอกสูบน้ำ และถูกบังคับให้ชักขึ้นลงได้ในแนวดิ่งด้วยตัวประคองก้านชัก (Slip Control) ที่อยู่กึงกลางโครงเสาในแต่ละช่วง[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]6. กระบอกสูบน้ำ ลูกสูบของกระบอกสูบน้ำวัสดุส่วนใหญ่เป็นทองเหลืองหรือสแตนเลส มีความคงทนต่อกรดและด่าง สามารถรับแรงดูดและแรงส่งได้สูง มีหลายขนาดแต่ที่ใช้ทั่วไปมีขนาด 3 - 15 นิ้ว ใช้สูบน้ำได้ทั้งจากบ่อบาดาลและแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับระยะหัวน้ำและการออกแบบ[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]7. ท่อน้ำ ซึ่งจะประกอบไปด้วยท่อดูดขนาด 2 นิ้ว ต่อระหว่างปั้มน้ำกับแหล่งน้ำที่จะสูบและติดฟุตวาล์วกันน้ำไหลกลับ ท่อส่งขนาด 1.5 นิ้ว ต่อระหว่างปั้มน้ำกับถังกักเก็บน้ำเพื่อส่งน้ำที่ดูดได้ไปไว้ที่ถังเก็บน้ำ[/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif][​IMG] [​IMG][/FONT]
    กังหันลมสูบน้ำของต่างประเทศ กังหันลมสูบน้ำในฟาร์มปศุสัตว์

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif][​IMG] [​IMG][/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]กังหันลมสูบน้ำเพื่อการเกษตร กังหันลมสูบน้ำของไทย[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2009
  18. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=430><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=800 height=421><TABLE width="98%" align=center><TBODY><TR><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]ตัวอย่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำ แบบสำเร็จรูปก็มีแล้ว พอจะใช้ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปประดิษฐ์ ถ้ากลัวภัยพิบัติมาเร็ว ถ้าวางระบบตามรี้ น้ำไฟพร้อม ก็บรรเทาเรื่องอื่นๆไปได้เยอะน้า อันที่เอามาโพสนี้ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียนะ เห้นว่าเป้นของไทยๆ เลยเอามาเป็นตัวอย่าง เราสามารถไป search หาจากรายอื่นๆได้ตามใจชอบ อีกอย่าง ที่ชอบอันนี้ เพราะเปิดไปอีกหน้า เขาว่า ถ้าทำในรูปบริษัทฯ องกรณื สามารถขอสิทธิประโยชน์เป็นตัวเงินกลับมาได้อีกต่างหาก เลยเอามาลงให้ดู เดี๋ยวจะเอามาแปะเพิ่มเรื่องสิทธิพิเศษ...[/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif](Hydro Turbine Generator)[/FONT] [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]
    กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว เป็นแบบเพียวตัน ขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000W. – 3,000W. ผลิตไฟฟ้า 220V. Singel phase เหมาะสำหรับบริเวณแม่น้ำ ฝายทดน้ำ น้ำตก
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="98%" align=center><TBODY><TR><TD width="41%">
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="59%">[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]หลักทำงานของกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว[/FONT] [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]ใช้แรงดันน้ำที่ต่อจากท่อส่งน้ำที่อยู่ด้านบนซึ่งมีความสูงของระดับน้ำตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป เข้ากับกังหันน้ำ เพื่อให้น้ำไหลผ่านวาล์วน้ำ ผ่านหัวฉีดไปฉีดให้ใบพัดภายในกังหันหมุน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะอยู่ในรูปแบบของไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สามารถใช้ต่อตรงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทันที
    หมายเหตุ : ท่อส่งน้ำควรใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว
    [/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="98%" align=center><TBODY><TR><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]กังหันน้ำผลิตไฟฟ้ารุ่นคอยาว ขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 – 3,000W. สามารถใช้กับลำน้ำที่ไม่ต้องการความสูงของน้ำ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับลำธาร ลำห้วย คลองส่งน้ำ โดยต้องสร้างทางรับน้ำ และใช้น้ำหนักของน้ำเป็นตัวขับกังหันน้ำและกังหันจะต่อตรงกับตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและจะผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้ทันที [/FONT]</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=18><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD width=801 height=18>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=116><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD vAlign=top width=801 height=116>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรเทก
    เลขที่ 958 หมู่ 6 ซอยอมรชัย ถนนบรมราชชนนี
    แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
    โทร. 0-2441-2336, 0-2889-7020-2
    โทรสาร. 0-2441-2343
    e-mail : rotexthailand@hotmail.com
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=430><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=800 height=421><TABLE height=406 width="99%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE width="88%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top height=249>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]นี่ไง ที่บอดว่าชอบ เห็นเขาว่า ถ้าใช้พลังงานสะอาดแล้ว สามารถไปขอสิทธิพิเศษเป็นตัวเงินเข้ากระเป๋าไดด้วยละ[/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษ[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2[/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] ผู้มีสิทธิได้รับเงินสนับสนุน [/FONT]

    1. [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]เจ้าของกิจการที่เป็นเอกชนและมีการดำเนินการตามคุณสมบัติต่อไปนี้ [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]1.1 ) เป็นสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และทำการจดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย ( อาทิเช่น โรงงานอุตสาหกรรมธุรกิจบริการและอาคารฟาร์มปศุสัตว์ เป็นต้น )
    1.2 ) ต้องมีผู้สอบบัญชีที่มีใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ( ก.บช. ) หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุระกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และผู้สอบบัญชีที่เซนต์ลายมือชื่อรับรองงบการเงินที่จะต้องไม่ถูกขึ้นบัญชีดำ
    และเพิกถอนใบอนุญาต ( ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก หน่วยงาน ก. บช. เช่นเดียวกัน )
    2. ) สถานประกอบการต้องมีนโยบาย แนวทาง วิธีการ และเป้าหมายการระบุ บุคคล อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารบุคลที่ชัดเจน
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] วิธีการในการคัดเลือกสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ [/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]1.) พิจารณาให้สิทธิสถานประกอบการเข้าร่วมตามลำดับการส่งหลักฐานการสมัคร ก่อน – หลัง
    2.) เริ่มรับสมัครสำหรับสถานประกอบการที่สนใจ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 50 จนถึงวันที่ 15 พ.ค. 51
    ( ทั้งนี้อยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษี
    ระยะที่ 2 ในแต่ละราย ) หรือจนกว่าใช้เงินสนับสนุนครบตามวงเงิน 100 ล้านบาท

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] จำนวนเงินที่ให้การสนับสนุน [/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]1.) วงเงินสนับสนุน = ( ผลการประหยัดที่ตรวจวัด ได้จริงในปีภาษี 2551 X อัตราการการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ; ร้อยละ 30,25,15 )[/FONT]
    1. [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]สนับสนุนเป็นเงินสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ต่อสถานประกอบการในกรณี[/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]สถานประกอบการมีอยู่หลายสาขา ให้สนับสนุนเงิน แยกตามสาขาที่ตั้ง

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] มาตรการที่เข้าข่ายการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี [/FONT]

    1. <LI class=black2>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]มาตรการที่ดำเนินการต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเกินกว่าค่ามารตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด [/FONT]<LI class=black2>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]มาตรการที่ดำเนินการต้องลดการใช้พลังงานเดิม หรือลดมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานจากต่างประเทศ [/FONT]<LI class=black2>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]มาตรการที่ดำเนินการต้องมีการลงทุนในอุปกรณ์หรือกระบวนการผลิตอันก่อให้เกิดผลประหยัดด้านพลังงานอย่างถาวร [/FONT]<LI class=black2>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]พิจารณาให้สิทธิเข้าร่วม แก่ข้อเสนอโครงการอนุรักษ์พลังงาน ที่ผู้เข้าร่วมโครงการที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนในรูปของเงินได้เปล่า
      จากกองทุน อนุรักษ์พลังงานเป็นลำดับแรก
      [/FONT]<LI class=black2>[FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]มาตรการที่ดำเนินการต้องมีผลประหยัดจากการประเมินต่ำกว่า 100,000 บาทต่อมาตรการต่อปี โดยกำหนด วงเงินภาษี
      สนับสนุนรวมสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อสาขา
      [/FONT]
    2. [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]มาตรการที่นำเสนอทุกมาตรการของสถานประกอบการจะต้องได้รับการเห็นชอบจากกรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท

      ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] การยื่นเรืองขอเพิ่มเติมและ / หรือเปลี่ยนแปลงมาตรการผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับและวงเงินภาษีสนับสนุน

    1.) สถานประกอบการแต่ละแห่ง สามารถยื่นเรื่องขอเพิ่มเติม และ / หรือเปลี่ยนแปลงมาตรการ
    ผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับและวงเงินสนับสนุนได้ 1 ครั้ง หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการแล้ว
    ต้องมีมูลเหตุ จากการเพิ่ม / ลดเงินลงทุน และ / หรือ เปลี่ยนแปลงขนาด อุปกรณ์


    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ [/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]1.) สถานประกอบการ ต้องจัดหาเครื่องมือ และตรวจวัดการใช้พลังงานก่อนการปรับปรุง และส่งข้อมูลการตรวจวัดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ที่ปรึกษาตรวจสอบการใช้พลังงานรับรอง ภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่ผ่านการอนุมัติเข้าร่วมโครงการฯ
    2.) สถานประกอบการต้องดำเนินการมาตรการหรือติตตั้งอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานให้แล้วเสร็จ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2551
    3.) สถานประกอบการต้องตรวจวัดการใช้พลังงานหลังการปรับปรุง และส่งข้อมูลการตรวจวัดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ที่ปรึกษาตรวจสอบการใช้พลังงานรับรองผลภายในระยะเวลา 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จ


    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif][​IMG] จำนวนเงินที่เบิกจ่ายจริงตามสิทธิที่ได้ [/FONT]

    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]1.) นำผลประหยัดที่ตรวจวัดได้จริงในปีภาษี 2551มาคิดเป็นเงินสนับสนุน โดยเริ่มนับจากวันที่ติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จจนสิ้นสุดปีภาษี 2551
    2.) จ่ายเงินสนับสนุน ไม่เกินกว่าที่สถานประกอบการชำระภาษีประจำปี 2551 ต่อกรมสรรพากร

    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=18><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD width=801 height=18>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=116><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD vAlign=top width=801 height=116>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, MS Sans Serif, sans-serif]
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรเทก
    เลขที่ 958 หมู่ 6 ซอยอมรชัย ถนนบรมราชชนนี
    แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
    โทร. 0-2441-2336, 0-2889-7020-2
    โทรสาร. 0-2441-2343
    e-mail : rotexthailand@hotmail.com
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    แบบนี้ สำหรับผู้ที่อยากทำเอง ประหยัดงบประมาณก็ทำได้

    กังหันน้ำ แบบที่ 1
    กังหันน้ำ แบบที่ 1 นี้เหมาะสำหรับพื้นที่บนภูเขาที่มีลำธารหรือน้ำตกเพียงแต่เราเปลียนแบบกังหันลมเป็นแบบกังหันน้ำและใช้ท่อ PVC ลดขนาดทำท่อ Nozzle ไปฉีดน้ำเข้าที่กังหันน้ำแล้วไปขับ Generator ซื่งสามารถใช้แบบเดียวกับ Generator ของกังหันลม
    [​IMG]
    วิธีทำกังหันน้ำแบบที่ 1
    1. นำท่อน้ำขนาด 40 mm มาผ่าครื่ง ให้ได้ท่อที่ผ่าแล้ว 8 ชิ้น ความสูงประมาณ 3 นิ้ว
    [​IMG]
    2. นำท่อน้ำขนาด 50 mm มาตัดให้ได้ความสูงประมาณ 3 นิ้ว
    3. นำมาเชื่อมเข้าด้วยกันตามรูปด้านล่าง
    [​IMG]
    4. นำแผ่นเหล็กหนาสัก 2 mm ตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 130 mm แล้วนำมาเชื่อมกับชิ้นงานในข้อที่ 2 ตามรูปด้านล่าง
    [​IMG]
    5. เจาะรูตรงกลางและยืดน็อตเข้ากับแกนของ Generator
    6. นำท่อ PVC มาทำท่อ Nozzle เลือกแบบใดแบบหนื่งตามรูปด้านล่าง
    [​IMG]
    เมื่อท่านนำน้ำผ่านท่แ PVC ฉีดน้ำเข้าที่กังหันน้ำแล้วไปขับ Generator ท่านก็สามารถใช้น้ำมาปั่นไฟได้ ตราบใดที่ท่านมีน้ำ
    เป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่ท่านสามารถใช้ได้ตลอดไป
    [​IMG][​IMG]
    ตัวอย่างที่ประกอบเสร็จแล้ว
    [​IMG]
    กังหันน้ำ แบบที่ 2
    กังหันน้ำ แบบที่ 2 นี้เหมาะสำหรับพื้นที่ติดแม่น้ำหรีอลำคลอง เพียงแต่เราเปลียนแบบกังหันลมเป็นแบบกังหันน้ำและติดตั้งกังหันน้ำนี้เหนือแม่น้ำ เหมือนกับกังหันวิดน้ำที่เราเคยเห็นทั่วไป หรือท่านใดที่มีกังหันวิดน้ำอยู่แล้ว สามารถนำมาดัดแปลงติด Generator ที่แกนกังหันก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน เราเพียงแต่ดัดแปลงกังหันน้ำ แบบที่ 1 ให้มีขนาดใหญ่ขื้นกว้างขื้นก็สามารถนำมาใช้งานได้
    [​IMG]
    วิธีทำกังหันน้ำแบบที่ 2 จะเหมือนกับแบบที่ 1 เพียงแต่เราเพิ่มขนาดของท่อให้ใหญ่ขื้น และควรใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ท่ออลูมิเนียม หรือท่อเหล็กขนาดบางเป็นต้น​
    [​IMG]
    สำหรับใบกังหันน้ำแทนที่เราจะผ่าครื่งท่อน เราควรจะผ่า 3 หรือ ผ่า 4 ขื้นอยู่กับขนาดของกังหันน้ำ ดูให้มันเหมาะสมเป็นใช้ได้
    ใบยิ่งใหญ่ยิ่งกว้างยิ่งดี ทั้งนี้ขื้นอยู่กับขนาดและเนื้อที่ในการติดตั้ง
    [​IMG]
    ถ้าท่านใดมีปัญหาต้องการสอบถามติดต่อผมโดยตรงที่เบอร์ 089-4103905
    [​IMG]
    ตัวอย่างที่ทำเสร็จแล้ว
    ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว จำนวน 16 ใบ ความสูงของใบ 10 นิ้ว ใช้ท่อขนาด 6 นิ้ว ผ่า 4

    อยากอ่านเพิ่มเติม ก็ลิงค์นี้เลยครับ

    http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=518
     

แชร์หน้านี้

Loading...