วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    ก. ชนิดของแก้วที่พระ อ. บารมีอาจสนใจ ( ทรายก่อสร้างทรายแม่น้ำ หรือหินควอทซ์ จะกล่าวต่อไป )

    ทรายก่อสร้างหรือทรายแม่น้ำนี้มีโรงงานในจังหวัดนครชัยศรี, นครปฐม, ราชบุรีและที่อื่น ๆ หลายโรงงานทำการหลอมอยู่ ที่เคยมาปรึกษาผมมีอยู่ไม่กี่แห่ง ทราบมาว่าทรายแม่น้ำนี้ต้องคัดสีของทราย ขนาดให้ใกล้เคียงกันที่สุด หลอมออกมามักมีฟองอึดทึด คือฟองมาก สีของแก้วมักมีสีเหลืองหม่น ๆ และบางครั้งเหลืองไม่สวย ทางโรงงานหลอมทรายทะเลมักทำงานชนิดง่าย ๆ ที่ไม่ต้องการความสวยชนิดใสปิ้ง งานเทแม่พิมพ์ทราย ชิ้นงานเช่นที่เขี่ยบุหรี่แบบง่าย ๆ

    อุณหภูมิที่ต้องการประมาณ 1,400 องศาเซลเซียสถึง 2,200 องศาเซลเซียสนานประมาณ 8 - 36 ชั่วโมงแล้วแต่ชนิดของทราย

    ชนิดของพลังงาน อะไรก็ได้เพราะแก้วที่ได้ออกมาสีไม่สวยอยู่แล้ว

    แหล่งที่จะหาเป็นทรายแม่น้ำ มีแทบทุกแห่งในประเทศไทย แต่เท่าที่ทราบมา เขาชอบทรายขี้เป็ดแถว ๆ ชลบุรี ประมาณว่าในแถว ๆ เขาเขียว เลยสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเข้าไป มีแหล่งทรายแม่น้ำที่ดีที่สุดของประเทศไทย ( เขาว่านะครับ วันหลังอาจพบที่ดีกว่านี้ )

    คุณสมบัติของแก้วที่หลอมได้จากทรายแม่น้ำ ความหนืดตัวค่อนข้างสูง ควรใช้ปืนไฟช่วยลดความหนืดเฉพาะจุดหรือเฉพาะบริเวณที่มีความกว้างประมาณ 0.5 - 4 นิ้ว
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    ก. ชนิดของแก้วที่พระ อ. บารมีอาจสนใจตัวสุดท้ายคือหินควอทซ์

    หินควอทซ์มีหลากหลายชนิด ควรเลือกเฉพาะชนิดเดียวกัน สีใกล้เคียงกันเท่านั้น

    อุณหภูมิที่ต้องการประมาณ 2,000 องศาเซลเซียสถึง 2,400 องศาเซลเซียสนานประมาณ 12 - 72 ชั่วโมงแล้วแต่ชนิดของหินควอทซ์

    ชนิดของพลังงาน ต้องใช้พลังงานที่ไม่ทิ้งคราบเท่านั้น

    แหล่งที่มา มีในธรรมชาติหรือซื้อจากพ่อค้า

    คุณสมบัติของแก้วที่หลอมได้จากหินควอทซ์ มีความเชื่อว่าหินควอทซ์นั้นแกร่งในเนื้อ มีสีใส และมีพลังงานพิเศษ ( ความเชื่อนะครับ ) คุณสมบัติในการขึ้นรูป กลับพบว่า หินควอทซ์ที่หลอมได้ดีที่สุด ได้อุณหภูมิถูกต้องที่สุด และมีสารเคมีบางตัวเข้าไปช่วย สามารถนำมาขึ้นรูปชิ้นงานได้ดีและทนความร้อนสูงสุด เช่น หลอดไฟชนิดพิเศษที่ต้องปล่อยความร้อนออกที่ผิวหลอดไฟสูง คือทนความร้อนสูงนั่นเอง บางชนิดของหลอดไฟผลิตความร้อนประมาณ 200 - 1400 องศาเซลเซียส แต่หลอดไฟที่สร้างจากหินควอทซ์กลับทนได้สบาย ๆ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    วิธีที่ 1 การใช้แก้วธรรมดามาหล่อพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้ว

    ยังอยู่ที่วิธีการสร้างวิธีที่ 1 นะครับ เหมือนกับการเทพระพุทธรูปทองเหลืองทั่ว ๆ ไป วิธีการนี้ช่างหล่อทองเหลืองบางท่านอาจเรียกว่า Lost Wax Brass หรือ Lost Wax Bronze แต่การหล่อโดยเปลี่ยนมาใช้แก้วหลอม เราเรียกว่า Lost Wax Glass ชิ้นงานหรือองค์พระที่ไ้ด้ออกมามักจะเป็นแก้วตัน ๆ เนื้อตัน ๆ ไม่เหมือนพระทองเหลืองทั่ว ๆ ไปที่กลวง

    ให้ช่างเททองเหลืองพระพุทธรูปทำแม่พิมพ์ปูนยิปซั่ม แทนที่จะใช้ดินขี้วัว เราต้องใช้ปูนยิปซั่มแทน เพราะดินขี้วัวจะไม่ทนความร้อนเท่าปูนยิปซั่ม ที่เมืองนอกมีขายปูนซิปซั่มเฉพาะที่จะทำแม่พิมพ์ Lost Wax เฉพาะงานแก้ว มีขายทางอินเตอร์เน็ทด้วย

    เมื่อได้แม่พิมพ์แบบ Up Side Down ( คือเอาพระเศียรพระพุทธรูปหนลง ยกเอาส่วนด้านล่างหันขึ้น ) นำแม่พิมพ์ไปวางไว้ตรงกลางเตาหลอมที่อาจต้องสร้างขึ้นเอง หรือไม่ก็ไปเช่าเตาอบเซรามิคทั่ว ๆ ไปได้ มีทั้งจังหวัดลำปาง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เยอะแยะ

    แต่ต้องทนอ่านให้หมดก่อนนะครับ ยากสุดกลับคือขบวนการอบลดอุณหภูมิที่ต้องอยู่ในเตาเดียวกันกับตอนหลอม
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    เตาหลอมกับเตาอบควรต้องเป็นเตาเดียวกัน

    หากเราเลือกวิธีการหลอมแบบนี้คือ Lost Wax ควรต้องใช้เตาหลอมกับเตาอบในเตาเดียวกัน ดังนั้น เตาที่เราต้องการคือเตาอะไรก็ได้ ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตลอดระยะเวลาทั้งหมด กล่าวคือ ในช่วงหลอมที่ต้องการอุณหภูมิอาจถึง 2,600 องศาในบางช่วงนานนับสิบ ๆ ชั่วโมง ( ในกรณีปกติมักใช้ 1,400 C เพียงไม่กี่ชั่วโมงในกรณีเลือกใช้ก้อนแก้วมาหลอมต่อ ) หลังจากที่หลอมละลายแก้วแล้ว ก็ถึงช่วงลดอุณหภูมิอีกนานนับร้อย ๆ ชั่วโมง ซึ่งช่วงที่ยากสุด ๆ กลับคือตอนอบลดอุณหภูมิที่ต้องการความค่อยเป็นค่อยไป ลดช้ามากหลายวันหลายคืน หรือบางองค์อาจใช้เวลาเฉพาะช่วงตอนอบนานนับสัปดาห์หรืออาจนานนับเดือนดังเหตุผลต่อไปนี้นะครับ

    ช่วงตอนหลอมละลายแก้วนั้นไม่มีปัญหา เพราะเรายกอุณหภูมิให้ค่อย ๆ สูงขึ้นจากอุณหภูมิห้องไปถึงการหลอมละลายเพียงไม่กี่ชั่วโมง และช่วงการหลอมละลายก็ไม่กี่ชั่วโมงถึงไม่เกิน 36 ชั่วโมงแล้วแต่ชนิดของแก้ว ( ในกรณีที่เป็นแก้วคริสตัลของ Lalique เขาใช้ช่วงที่อุณหภูมิถึง 1,480 เซลเซียสแล้วนี้ ลากยาว 48 ชั่วโมงที่ 1,480 C ไม่ให้ต่ำกว่านี้ตลอด ) แต่ในกรณีของเราไม่น่าจะนานขนาดนั้นเพราะเราเลือกแแก้วธรรมดา

    ช่วงที่ยากทีสุดคือตอนที่แก้วละลายเป็นน้ำและหายไปจากกระถางที่วางบนแม่พิมพ์ ก้อนแก้วที่ใส่ในกระถางดินจะหายไปหมด ลงไปอยู่ในแม่พิมพ์ปูนยิปซั่ม เรามองได้ทางช่องดูเล็ก ๆ ที่เตามักมีรูให้เรามองดูภายในได้ รูนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละเตาไม่เหมือนกัน ( ห้ามเปิดประตูเตาเพื่อดูเด็ดขาด ) การค่อย ๆ ลดอุณหภูมินั้น ทำถูกต้องตามสูตรอาจต้องนานเกือบร้อยชั่วโมง และบางครั้งอาจเกินร้อยชั่วโมงได้ ขอให้ศึกษาตามด้านล่างอีกครั้งซึ่งผมจะได้บอกเคล็ดลับในการเลือกสูตรอีกครั้งครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ภาพตารางการอบลดอุณหภูมิจากแก้วเพื่อการหลอมต่อที่ผมเคยหลอมจากแก้วคริสตัลเพื่อการหลอมต่อมาแล้ว เคล็ดลับคือ การที่เราต้องเลือกตารางใดตารางหนึ่ง ต้องตัดสินใจให้ขาดตั้งแต่แรกด้วยรูปร่าง และขนาด การกำหนดผิดเพียงนิดเดียวอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ความเสียหายมีตั้งแต่แก้วแตกในเตา หรืออบเสร็จออกมาอยู่ได้เพียงไม่กี่ชั่วก็แตก หรืออาจจะออกมาแล้ว 1 ปีบ้าง 2 ปีบ้างค่อยมาร้าว หรืออาจแตก หรืออาจร้าวเพียง 1 หรือครึ่งเซ็นติเมตรก็ได้
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    เคล็ดลับในการเลือกตารางคือ ?

    เคล็ดลับในการเลือกตารางอบลดอุณหภูมิคือ การที่เรามองเห็นพระพุทธรูปปางอะไร ? ยกตัวอย่างสมมุติปางพระสังกัจจายน์นั่ง ( พระอ้วนมาก แทบจะเป็นก้อนกลม ) เราต้องมองโจทย์ให้ออกตามความเป็นจริงว่า แก้วก้อนนี้กลมแทบจะกลมดิ๊ก คือกลมไปทุกสัดส่วน การวัดมวลตรงบริเวณที่เราจะกำหนดความหนา thickness นั้น เราต้องมองให้ออกว่า แม่พิมพ์ที่สร้างได้ก่อนเข้าเตาหลอมนั้น ความหนาหรือ thickness ที่แท้จริงคือส่วนไหน แล้วเอาเครื่องมือมาวัดส่วนนั้น เช่น หัวเข่าถึงหัวเข่า 9 นิ้ว แต่หัวเข่าขององค์พระนั้นเมื่อยกชันตามแม่พิมพ์แล้ว อาจตัดส่วนที่ยื่นสุด หันมามองมวลแทน คือจากจุดที่ท้องขาด้านในมาติดกับท้องที่กลมดิ๊กนั้นต่างหาก

    ในพระพุทธรูปปางอื่น ๆ ก็เช่นกัน มองให้ออกมามวลที่เรียกว่า thickness อยู่ตรงไหนกันแน่ ถ้าไปเลือกตรงหัวเข่าถึงหัวเข่า จะกลายเป็นว่าเราเลือกกำหนดผิดจากความเป็นจริงไปนะครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    วัดเขาพนมสัจจฉัพพรรณรังสี (วัดเขาชี)
    ธรรมะ นิทานชาดก ฟังนิทานธรรมะออนไลน์ ฟังธรรมะต่างๆมากมาย ปฏิบัติธรรมะด้วยการนั่งสมาธิ › สถานที่ปฏิบัติธรรม › ภาคเหนือ
    1 พ.ย. 2553 -
    วัดเขาพนมสัจจฉัพพรรณรังสี (วัดเขาชี)
    หมู่ 15
    บ้านเขาชี
    ต.บ้านกลาง
    อ.วังทอง
    จ. ... บึงพระ
    อ.เมือง
    จ.พิษณุโลก 65000
    โทรศัพท์ 055-248-556, 055-244-556

    หมายเลขโทรมือถือผมหาไม่พบครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    อธิบายการหล่อพระพุทธรูปจากแก้วด้วยภาพประกอบ

    [​IMG]
    ในภาพนี้เป็นการหล่อชิ้นงานจากแก้วชนิดกลวง
    ซึ่งในแก้วชนิด sodalimesilica จะทำได้ยากกว่าแก้วคริสตัล
    เนื่องจากความหนืดที่มากกว่า

    [​IMG]
    ในภาพนี้เป็นการหล่อชิ้นงานจากแก้วชนิดเนื้อตัน
    ซึ่งในแก้วชนิดใด ๆ ก็ใกล้เคียงกัน
    ขึ้นกับเทคนิคของแต่ละช่างมากกว่า
    การลดมุมเล็กแคบโค้งก็ช่วยได้

    [​IMG]
    ยิ่งถ้าแบบตื้น ๆ ไม่มีงวงยาว ๆ ไม่มีอะไรที่เล็กแคบโค้งยาว ๆ ยิ่งง่าย
    แต่ในพระพุทธรูปถึงแม้มีลายกนก
    ก็ควรลดความยาวของสิ่งที่เล็กแคบโค้งยาว ๆ ลงบ้าง
    จะทำให้ชิ้นงานออกมาครบทุกส่วน

    [​IMG]
    ช่างแก้วหญิงท่านนี้ใช้วิธีเอาเศษแก้วใส่ลงไปเลย
    ไม่ใช้กระถางดิน เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งครับ
    สังเกตุเมื่อปักแก้วลงไปแล้วต้องให้มวลที่ปักลงไปสูงกว่าแม่พิมพ์ปูนยิปซั่มมาก ๆ
    เพื่อให้น้ำแก้วเต็มแม่พิมพ์เวลาละลาย

    [​IMG]
    ในรูปนี้ชิ้นงานเป็นชิ้นเดียวนะครับ
    แต่เขาทำกระถางยิปซั่มขึ้นมาแทนกระถางดินหลายกระถาง
    เพราะชิ้นงานมีความโค้งยาวเล็กแคบ
    เขาใส่เศษแก้วลงไปในกระถางทุกกระถาง
    เมื่อละลายหมดน้ำแก้วจะไหลลงไปในแม่พิมพ์ที่เป็นชิ้นเดียว และบรรจบกัน

    [​IMG]
    ในรูปนี้เป็นชิ้นงานหลาย ๆ ชิ้น
    เขาทำกระถางยิปซั่มขึ้นมาแทนกระถางดิน
    การตั้งในเตาจะมีลักษณะการวางแบบนี้
    การหล่อชิ้นงานในครั้งเดียวกันหลาย ๆ ชิ้น
    งานจะประหยัดทั้งพลังงานและเวลาของช่าง

    [​IMG]
    นี่ครับเตาหลอมและเป็นเตาอบในเตาเดียวกัน
    ใช้กระถางดินใส่เศษแก้ว หรือก้อนแก้ว หรือวัตถุดิบ
    เมื่อวัตถุดิบละลายกลายเป็นน้ำแก้วหนืด ๆ ไหลลงไปในแม่พิมพ์จนเต็มแล้ว
    จะสังเกตุได้ว่าเศษแก้วหรือวัตถุดิบหายไปจากกระถางดิน
    ในคนที่ชำนาญแล้ว เพราะหลอมมาหลายครั้งก็ไม่จำเป็นต้องดูก็ได้
    เพราะเขาจะชำนาญจนพอรู้ว่า การหลอมครั้งนั้น ๆ
    ต้องใช้เวลาเท่าไรกระถางจึงจะว่างลง
    จากจุดนั้นก็เข้าสู่ขบวนการอบลดอุณหภูมิทันทีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    นี่ครับ นักเรียนที่ไปเรียนการหล่อแก้ว ไม่ใช่เฉพาะคนอเมริกาหรือยุโรปเท่านั้น มีคนเอเซียไปเรียนด้วย โดยเฉพาะประเทศจีนเริ่มเรียนมากขึ้น การหล่อแก้วแบบนี้มักเรียกว่า cast glass, lost wax glass หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ก็คล้าย ๆ แต่พอจะให้คนไทยสรุปความหมายได้ว่า เหมือนงานเททองเหลืองครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    ถ้าเป็นการสอนในอเมริกา ในยุโรป ในออสเตรเลีย เขามักใช้เตารูปแบบนี้ซึ่งถ้าขนาดชิ้นงานใหญ่ ๆ เตาก็ต้องใหญ่ตาม ก็จะติดตรงราคาเตาแพง

    ถ้าไม่ลืมผมจะหารูปเตาแบบญี่ปุ่นและจีนแบบถูก ๆ ราคาไม่แพงมาให้ดูกันครับ คนไทยน่าจะเอาอย่างญี่ปุ่นบ้าง เพราะลงทุนไม่มาก ทำให้ใคร ๆ ก็อยากเข้ามาทำและเมื่อได้ผลดีขึ้นมา การสร้างพระพุทธรูปแก้วตัน ๆ องค์ใหญ่ ๆ ขนาดหน้าตักเป็นเมตรหรือหลายเมตรก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินฝันสำหรับคนไทยครับ โดยเฉพาะที่ใช้งบประมาณไม่มาก

    หมายเหตุ
    เตาแบบในรูปด้านบนนี้มีการใช้งานในเมืองไทยอยู่แล้วนะครับ ที่โรงงานเผาเซรามิคต่าง ๆ เผากระถางเซรามิคหรือตุ่มหรือโอ่งมังกรก็ใช้ ขอยืมเขาสร้างก็ได้หากเขาให้ยืมครับ ยิ่งคนไทยพอพูดถึงการสร้างพระพุทธรูป บางคนนอกจากให้ใช้ฟรีแล้ว บางคนเขาจ่ายค่าพลังงานให้ก็มี ยิ่งกว่านั้น บางคนอาจขอร่วมบุญค่าสร้างด้วยก็อาจจะมีนะครับ คนไทยที่ใจดีมีจริง ๆ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    วิธีการหล่อแก้วแบบนี้ ทำให้สามารถสร้างชิ้นงานใหญ่ ๆ ได้
    ทุกวันนี้ช่างแก้วสมัครเล่นเขาไปเรียนแค่คอร์สสองคอร์สก็สร้างได้แล้ว
    ชิ้นงานใหญ่ ๆ ที่สมัยก่อนเขาเรียกว่า ชิ้นงานยักษ์นี้
    ปัจจุบันสร้างได้อย่างกับว่าเล่น

    ในอนาคตก็คงเรียกว่า เด็ก ๆ

    การสร้างพระพุทธรูปจากแก้วตัน ๆ หรือจะเป็นแบบกลวง ๆ
    ขนาดหน้าตักประมาณ 2 เมตรหรือมากกว่านั้นก็คงเป็นไปได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ถ้าคนไทยสร้างเตาเผาถ่านขนาดใหญ่ขนาดนี้ได้ ความหวังที่จะสร้างเตาหลอมและอบชิ้นงานแก้วใหญ่ ๆ ก็ไม่ยากเกินไป นี่เป็นแค่ก้าวแรกนะครับ ไม่ใช่ทั้งหมด
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    คราวนี้มาถึงเตาเผาถ่าน 200 ลิตรแบบตั้งที่สามารถใช้หลอมและอบชิ้นงานแก้วขนาดประมาณหน้าตัก 9 นิ้วไ้ด้สบาย ๆ 1 ชิ้นงานครับ และขอบอกว่านี่เป็นแค่ชั้นใน ยังต้องมีชั้นนอกอีกจึงจะอบได้ครับ

    [​IMG]
    โบกทับเตาเผาถ่าน 200 ลิตรด้วยดินโคลนละเอียดมาก ๆ เพื่อใช้ไม่ให้ความร้อนเล็ดรอดออกมาได้ง่าย ๆ คือเราต้องการค่อย ๆ ลดอุณหภูมิในบางช่วงที่ต้องการให้ลดช้ามาก ๆ ครับ ช่วงที่สำคัญคือต้องการให้ลดเพียงชั่วโมงละ 0.5 C อย่างนี้เป็นต้น ( ดูในตารางลดอุณหภูมิแก้ว )

    [​IMG]
    ดูจากภาพนี้อาจจะพอเพียงสำหรับเตาเผาถ่าน แต่ถ้าเป็นเผาอบแก้วแล้วยังถือว่าน้อยไปครับ การซีลไม่ให้ความร้อนเล็ดรอดยังถือว่า น้อยไปมาก ๆ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2014
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    การออกแบบเตาเผาถ่านที่มีคุณภาพใช้ได้ดีครับ

    การออกแบบชั้นใต้ดินของเตาเผาถ่านบางส่วน
    สามารถนำมาใช้ร่วมกับเตาเผาแก้วและเตาอบแก้วได้
    แต่ต้องคำนวนปริมาณอากาศไหลวนทั้ง
    ขาเข้าและขาออกให้ดีครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ครับ

    งานเกี่ยวกับเตาเผา เตาอบ ชิ้นงานแค่เผาถ่านง่าย ๆ ก็ยังมีบวงสรวง
    ยิ่งชิ้นงานพระพุทธปฏิมากร ไม่ใช่ระดับเล่น ๆ ครับ
    ส่วนมากคนในพระพุทธศาสนา คนเอเซียมีความนับถือและเชื่อว่า
    เทพเทวดายังมาร่วมงานบุญแบบนี้กับผู้ที่มีจิตเป็นกุศลสร้างพระพุทธปฏิมากรครับ

    ผมเองประสบการณ์มาแล้ว
    หากท้าวสักกะเทวราชเมตตาโปรดให้สั่งได้เมื่อไรก็จะสำเร็จได้ง่ายครับ
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    ถ้าซื้อเตาควรเลือกคุณสมบัติอย่างไร ?

    [​IMG]

    ถ้าหากจะเลือกซื้อเตาหลอม เตาอบ ควรบอกกับคนขายหรือคนที่จะสร้างว่า เราต้องการที่สามารถยกอุณหภูมิขึ้นไปให้ได้ถึง 2,400 C ( ในกรณีที่ต้องการหลอมหินควอทซ์หรือทรายทะเลขาวหรือทรายก่อสร้างทรายแม่น้ำ ) แต่ถ้าหากท่านมั่นใจว่า จะหลอมแต่แก้วชนิดโซดาไลม์ซิลิก้า หรือกระจกแผ่น หรือขวด บอกว่าเราต้องการยกอุณหภูมิขึ้นไปให้ได้ถึง 1,800 C นานที่สุดประมาณ 48 ชั่วโมง จากนั้นจึงต้องการให้เตานั้นสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตามตารางแผ่นนี้ครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    พระแก้ว 9 นิ้วต้องอบนานแค่ไหนอย่างไร หน้า 2 #37

    คำถาม " พระแก้ว 9 นิ้วต้องอบนานแค่ไหน ? อย่างไร ? "
    คำตอบ " อยู่ที่คุณยึดถือวิธีแบบไหน ? " มี 3 คำตอบ

    1. ยึดถือตามตำราหรือไกด์หรือแผ่นตารางเวลาที่ทางโรงงานจากเมืองนอกจะแนบมาให้ซึ่งเราต้องทำตามอย่างเคร่งครัดที่สุด ผลที่ออกมาพระแก้วจะคลายความเครียดในเนื้อแก้วออกมาได้หมด เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องส่องแก้วจะไม่พบรอย Stress หรือความเครียดในเนื้อแก้วเลยแม้แต่น้อย เมื่อตรวจสอบด้วยวิธีอื่น ๆ ก็มักผ่านการตรวจสอบได้ตามตำราวิชาแก้ว เมื่อใช้งานตามหลักวิชาแก้วก็จะสามารถอยู่ได้นานหลายร้อยหรืออาจนานนับพันปีได้โดยไม่มีรอยร้าว รอยแตก หรือรอยอื่นใดที่เกิดขึ้นเองภายหลัง


    .....................

    ตัวอย่างของตารางแผ่นไกด์ของโรงงานแก้วเพื่อการหลอมต่อแผ่นนี้

    สมมุติว่าคุณมองแล้วว่า องค์พระแก้วในที่นี้คือพระสังกัจจายน์ปางนั่ง มีลักษณะกลมเหมือนแตงโม มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 9 นิ้วบริบูรณ์ ถ้าเช่นนั้นก็แปลว่า ความหนาของแก้วหรือ Tickness = 9 นิ้ว ก็ต้องใช้ตารางแถวล่างสุดครับ

    หลังจากที่ท่านหลอมละลายจนแก้วเพื่อการหลอมต่อละลายเป็นน้ำแก้ว ซึ่งส่วนมากคือประมาณ 1,400 C จนแน่ใจแล้วว่า แก้วเพื่อการหลอมต่อได้ไหลลงไปในแม่พิมพ์ปูนยิปซั่มจนแนบแน่นสนิททุกอณูแล้ว ถือว่า ขบวนการหลอม melting สำเร็จและจบลง จะใช้เวลาเท่าใดแล้วแต่ช่างแก้วแต่ละคน

    จากตรงจุดหลอมละลายกี่ชั่วโมงไม่ต้องคิดถึงนะครับ เริ่มนับขบวนการอบลดอุณหภูมิใหม่ เริ่มต้นที่ 0

    เริ่้มลดจาก 1,400 C ลงด้วยการตั้งอุณหภูมิลงมาที่ 900 C โดยไม่ต้องสนใจว่าใช้เวลาเท่าใด ขึ้่นอยู่กับคุณภาพของเตา ถ้าเตายิ่งดีตรงนี้จะใช้เวลายิ่งนาน ถ้าเตาไม่ดีมากก็จะใช้เวลาสั้น ๆ ไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็ลงถึง 900 C ได้ ยิ่งถ้าช่างบางคนเก่งมาก ๆ ก็จะมีเทคนิคซึ่งผมไม่สอน เพราะเป็นการโกงที่อาจพลาดได้ ลงมาถึง 900 C ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที

    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 900 C แล้ว ให้ตั้งอุณหภูมิใหม่ คราวนี้มีช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วนะครับ ทุก ๆ ชั่วโมงลด 100 C จนกว่าจะถึง 600 C หรือจะพูดว่า 3 ชั่วโมงลดจาก 900 C ลงมาถึง 600 C ด้วยอัตราลดชั่วโมงละ 100 C ก็ได้ครับ ในช่วงตรงนี้ก็แล้วแต่ช่างแก้วแต่ละท่าน มีความเก่งไม่เหมือนกัน แต่ถ้าตามตำราก็ยิ่งช้ายิ่งดีครับ

    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 600 C ให้ตั้งอุณหภูมิใหม่ คราวนี้มีช่วงเวลาเข้ามาและต้องเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น คือพยายามอย่าใช้เทคนิคการโกงเวลาโกงอุณหภูมิเป็นอันขาด นับจากช่วง 600 C ทุก ๆ ชั่วโมงให้ลดความร้อนลงเพียงชั่วโมงละ 50 C จนกว่าจะถึง 500 C

    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 500 C คราวนี้ยิ่งต้องเคร่งครัดยิ่งขึ้น ทุกชั่วโมงลดชั่วโมงละ 10 C จนถึง 450 C

    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 450 C คราวนี้ยิ่งหนักขึ้นครับ ทุกชั่วโมงลดชั่วโมง 5 C จนถึง 430 C


    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 430 C ช่วงนี้เป็นต้นไป ห้ามใช้เทคนิคในการโกงทุกชนิดนะครับ ตามตารางเลยครับ แถวล่างสุดครับ ใช้เวลาจากช่วง 430 C ถึงอุณหภูมิห้องหรือในประเทศไทยก็ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 34 วันกับอีก 10 ชั่วโมงครับ

    นี่คือแบบทำงานตามตารางไกด์ที่โรงงานผลิตแก้วเพื่อการหลอมต่อแนบมาให้นะครับ และถ้าทำตามตารางนี้ เขารับรองความถูกต้องและชิ้นงานที่ออกมาจะต้องดีที่สุดแน่นอนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    2. ไม่ยึดถือตามตำรา แต่ยังคงใช้เครื่องมือสมัยใหม่ที่มีเครื่องวัดอุณหภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    3. ไม่ยึดถือตามตำรา และไม่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ที่มีเครื่องวัดอุณหภูมิใด ๆ

    3. ไม่ยึดถือตามตำรา และไม่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ที่มีเครื่องวัดอุณหภูมิใด ๆ

    วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่างเซรามิคของญี่ปุ่นสมัยโบราณสร้างเตาเผาและเตาอบเซรามิคซึ่งมีอุณหภูมิสูงยิ่งกว่าแก้ว ช่างเซรามิคญี่ปุ่นผ่านร้อนผ่านหนาวมานานนับพันปี ถ่ายทอดองค์ความรู้ลงสู่รุ่นลูกหลานเหลนโหลนลงมา และมาลงตัวที่เตาเผาเซรามิคแบบโบราณที่สามารถใช้เผาและอบลดอุณหภูมิแก้วได้ด้วย ท่านใดที่รู้วิธีนี้ก็จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดเตาเผาเซรามิคซึ่งเป็นเตาอบเซรามิคด้วยในตัว จึงสามารถใช้เผาทั้งแก้วและอบแก้วได้ด้วย อันจะได้กล่าวต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2014
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    วิธีการแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นทุกระยะ

    1. ยึดถือตามตำราหรือไกด์ ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

    1.1 เตาแตกหรือร้าว 1.1 แก้ไขด้วย......

    1.2 ช่องมองพัง 1.2 แก้ไขด้วย

    1.3 แหล่งกำเนิดความร้อนพังทั้งหมดหรือบางส่วน 1.3 แก้ไขด้วย.......
    1.3.1 ฮีตเตอร์เสียชำรุดทั้งหมดหรือบางส่วน 1.3.1 แก้ไขด้วย
    1.3.2 เครื่องทำความร้อนชนิดเหนี่ยวนำหรือชนิดอื่น ๆ พังทั้งหมดหรือบางส่วน 1.3.2 แก้ไขด้วย

    1.4 เตาถูกความชื้นรุกอย่างเบาและอย่างหนัก, แบบช้าหรือฉับพลัน 1.4 แก้ไขด้วย

    1.5 ความร้อนขึ้นไม่เสถียรโดยไม่รู้สาเหตุ
    1.5 แก้ไขด้วย..... เกิดขึ้นได้ทั้งในเตาไฟฟ้า, เตาน้ำมัน, เตาใช้ถ่านหิน และมักเกิดบ่อยมากในเตาใช้ถ่านไม้โกงกางหรือไม้ชนิดอื่น ๆ
    1.5.1 ในเตาไฟฟ้าส่วนมากมักเกิดกับเตาที่ใช้ลวดฮีตเตอร์เพียงประการเดียว
    1.5.2 ในเตาน้ำมันมักเกิดกับหัวจ่ายน้ำมันและทางเดินอากาศขาออก มักเป็นเตาสมัยโบราณ
    1.5.3 ในเตาถ่านหินมักไม่ค่อยเกิดปัญหาจากตัวเตา แต่มาจากข้อ 1.4
    1.5.4 ในเตาใช้ถ่านไม้โกงกางหรือไม้ชนิดอื่น ๆ มักเกิดในเตาสมัยโบราณที่ออกแบบได้ไม่ดี หรือเตาที่สร้างแบบง่าย ๆ ที่รู้เท่าไม่ถึงการกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นทั้งเนื่องจากข้อ 1.4 และจากตัวเตาเอง มักเกิดทั้งขาเข้าและขาออกของทางเดินอากาศ และการร่วงหล่นของวัสดุภายในเตาหรือทางเดินอากาศ ส่วนมากที่หาสาเหตุไม่พบเนื่องจากมักเป็นส่วนใต้ดินท่อหรือปล่องที่สร้างจากอิฐทนไฟที่มักหล่นลงมาขวางทางอากาศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...