<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    ขอจองครับท่านโม:cool::cool::cool:
     
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    สุดยอดเหรียญในตำนาน หายากสุดๆ
    เหรียญรุ่นแรกพระอาจารย์ปาน ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง

    <center>[​IMG]</center>
    พระอาจารย์ปาน ท่านเป็นพระเกจิฯที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดองค์หนึ่งของเมืองพัทลุง นอกจากในฐานะพระเกจิฯที่มีชื่อแล้ว ท่านยังเป็นเจ้าสำนักเข้าอ้อ ต่อมาจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ อีกด้วย หากจะกล่าวไปแล้ว สำนักเขาอ้อ นั้นเปรียบประดุจดัง ตักศิลาแห่งเมืองทักษิณ ที่มีอายุสืบต่อกันมานานนับพันปี เป็นที่ศึกษาของเหล่าฤาษี พระเกจิฯ หรือ รวมทั้งเจ้าเมือง ทั้งหลายในอดีต ซึ่งหากจะสืบกันจริงๆแล้ว ก็จะพบว่า พระเกจิฯ ทางใต้ ดังๆ ทั้งหลายล้วน สืบสาย หรือ เรียน วิชามาจากสำนักเขาอ้อเป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่หลังจากพระอาจารย์ปาน สิ้นแล้ว ก็ไม่มีผู้สืบทอดเจ้าสำนักเขาอ้อ

    เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง ปี 2519

    หนึ่ง ในสุดยอดเหรียญเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ อดีตเจ้าสำนักเขาอ้อ เหรียญรุ่นนี้สร้างแบบเนื้อเงิน 99 เหรียญ, แบบเนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ
    ได้ทำการปลุกเสกด้วยพระอาจารย์ปาลเอง 2 วาระ
    วาระที่ 1: ครั้งแรก พระอาจารย์ปาล ทำการปลุกเสกเดี่ยวด้วยตนเองรูปเดียว
    วาระที่ 2 : พระอาจารย์ปาล ได้รับนิมนต์เข้าเป็นองค์ประธานปลุกเสกเหรียญพระอาจารย์เอียด ปี2519, พ่อท่านรอด จึงได้นำเหรียญพระอาจารย์ปาลเข้าร่วมพิธี ในครั้งนี้ด้วย ในวาระที่ 2 นี้พระครูกาชาด ได้นิมนต์เกจิอาจารย์ที่มี ชื่อเสียงเข้าร่วมพุทธาพิเศษหลายองค์ด้วย อาทิเช่น พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ในการปลุกเสกวาระครั้งที่ 2 นี้ พระอาจารย์ปาล ได้เริ่มเจริญสมาธิภาวนา ปลุกเสก ตั้งแต่เวลาประมาณ 1 ทุ่ม และออกจากเจริญสมาธิภาวนาปลุกเสก ของอีกวันหนึ่ง เวลาใกล้เที่ยงวัน (อาจารย์ปาล เจริญสมาธิภาวนา ปลุกเสกอยู่รูปเดียว ด้วยระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 16-17 ชั่วโมง) เรียกได้ว่า เป็นการปลุกเสกที่ท่านพระอาจารย์ปาล ปลุกเสกแบบทิ้งทวนและครอบคลุมทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่าน ได้รับของดี และดีที่สุดของท่านไว้บูชาครับ

    จุดสังเกตุ ของเหรียญพระอาจารย์ปาน พิมพ์นิยม นั้น ดูง่ายๆคือ ให้ดูตรงใต้จมูกของท่านหากไม่มีเส้นแตกลงมาคือ บล๊อคนิยม(ตัวอย่างในภาพ) หากเป็นเหรียญที่มีเส้นแตกใต้จมูก หรือ ที่วงการเรียกว่าบล๊อคน้ำมูก นั้นไม่เป็นที่นิยมเพราะเป็นเหรียญเสริม ไม่ทันท่านครับ

    เหรียญ อาจารย์ปาลวัดเขาอ้อ ปี2519 บล็อกแรกตอนนี้กำลังมาแรงมากๆ มีคนโทรถามหาที่ผมกันขวักไขว่ครับ แต่ก็เป็นสิ่งที่สมควรแล้วเนื่องจากพระปิดตาเขาอ้ออันโด่งดังของท่านเล่นหา กันหลายๆหมื่น หาก็ยากแสนยากแล้วยังต้องเสี่ยงภัยกับของฝีมือ เหรียญพระอาจารย์ปาลวัดเขาอ้อรุ่นแรก ปี 2519 สร้างโดยพระรอดวัดเขาอ้อ ลูกศิษย์ของอาจารย์ปาลอาจารย์ปาลท่านถือได้ว่าเป็นเจ้าสำนักวัดเขาอ้อ รูปสุดท้ายที่สืบทอดวิชาสายตรงมาจากเจ้าสำนักรุ่นก่อน เหรียญของท่านจึงเป็นเหรียญเจ้าสำนักเขาอ้ออันเกรียงไกร เรียกได้ว่าเป็นเพียงเจ้าสำนักเขาอ้อเพียงท่านเดียวที่มีการสร้างเหรียญรูป เหมือนเพราะรุ่นก่อนๆไม่เคยสร้าง อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฆราวาสผู้โด่งดังยังบอกกล่าวว่าท่านได้สัมผัสพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศยัง บอกกล่าวกับลูกศิษย์ว่าพระที่ขลังที่สุดที่เคยเจอมาก็คืออาจารย์ปาล เป็นเหรียญดีเหรียญหลักที่น่าสะสมน่าบูชาอีกเหรียญครับ ที่สำคัญส่องดีๆ พินิจดีๆเหรียญนี้เป็นเหรียญที่ เส้นสายลายพิมพ์ รายละเอียดการแกะแม่พิมพ์สวยงามมีชีวิตชีวามากเหรีญนึงครับ

    พระสภาพใช้มาบ้างเล็กน้อยแต่สวย ถ้าคมๆไม่ได้ใช้เลย 3-4หมื่นนะครับ แตหายากมากครับใครที่มีต่างหวงแหน หาเงินง่ายกว่าหาพระครับ บางทีมีเงินจะเช่ายังหาของแท้ไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่องค์นี้รับประกันพระแท้ทุกสนามครับ


    [​IMG][​IMG]

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 123456987.JPG
      123456987.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.3 KB
      เปิดดู:
      3,281
    • 1234569878.JPG
      1234569878.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      2,853
    • SAM_4850.jpg
      SAM_4850.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      188
    • SAM_4852.jpg
      SAM_4852.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      182
    • SAM_4853.jpg
      SAM_4853.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      155
    • SAM_4854.jpg
      SAM_4854.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      153
    • SAM_4856.jpg
      SAM_4856.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      137
    • SAM_4858.jpg
      SAM_4858.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      137
    • SAM_4860.jpg
      SAM_4860.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      131
    • SAM_4861.jpg
      SAM_4861.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      137
    • 26824.jpg
      26824.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.4 KB
      เปิดดู:
      204
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2013
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    พระครู 4 กา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯ


    [​IMG]
    พระครูกา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯ
    จาก หลักฐานที่ปรากฏในตำนาน ทำให้ทราบว่า วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๕๘ พื้นที่ใช้สอยในวัดเมื่อสมัยแรกสร้างจนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาล ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้บริเวณวัดเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และได้ตั้งเขตสังฆาวาสขึ้นรอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่
    ทิศเหนือ มีวัดพระเดิม วัดมังคุด และวัดโรงช้าง
    ทิศใต้ มีวัดหน้าพระลาน วัดโคกธาตุ วัดท้าวโคตร วัดศพ วัดไฟไหม้ และวัดชายน้ำ
    ทิศตะวันออก มีวัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ และวัดหน้าราหู
    ทิศตะวันตก มีวัดพระนคร วัดแม่ชี และวัดชลเฉนียน
    ใน ปัจจุบัน วัดต่างๆ ที่อยู่รอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ วัดโรงช้าง วัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ และวัดแม่ชี กลายเป็นวัดร้าง ส่วนวัดพระเดิมและวัดมังคุดรวมเป็นวัดเดียวกับวัดพระมหาธาตุฯ วัดศพและวัดไฟไหม้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดท้าวโคตร สำหรับวัดราหูได้รวมกับวัดหน้าพระธาตุ
    ในส่วนของพระสงฆ์ซึ่งทำหน้าที่ ดูแลองค์พระบรมธาตุ มีจำนวน ๔ คณะ แต่ละคณะจะรับผิดชอบประจำอยู่ในทิศต่างๆ คือ คณะกาเดิม อยู่ทิศเหนือ คณะการาม อยู่ทิศใต้ คณะกาแก้ว อยู่ทิศตะวันออก
    คณะกาช่าด อยู่ตะวันตก

    จน กระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดให้ตั้งพระสงฆ์คณะต่างๆ มีตำแหน่งเป็นพระครู โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้ช่วยอีก ๔ รูป คือ พระครูกาเดิม พระครูการาม พระครูกาแก้ว และพระครูกาชาด ตำแหน่งพระครูทั้ง ๔ นี้ยังคงจำพรรษาอยู่ในวัดเดิมของตนตามทิศทั้ง ๔ มีหน้าที่ดูแลพระบรมธาตุร่วมกัน ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกซึ่งมีพระครูวินัยธร (นุ่น) เป็นหัวหน้าสงฆ์จำพรรษาดูแลวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
    เจ้าคณะทั้งสี่นั้นหมายถึงเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรักษาพระบรมธาตุทั้งสี่ทิศ และดูแลคณะสงฆ์ข้างนอกตามทิศที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล และในช่วงปี พ.ศ.2504 ช่วงนั้นพระบรมธาตุยังรกร้างอยู่ ดังที่นายทองหมีได้กล่าวกับท่านปานตอนมาบูรณะพระบรมธาตุ และให้นายทองหมีปลุกกุฏิเล็กๆ ที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2437 ว่า

    “ลานพระ เจดีย์เดี๋ยวนี้ รกมากถูกทอดทิ้งมากว่า 30 ปีแล้วเป็นดงไม้ยืนต้น ไม้เถาว์ไม้เลื้อยคลาน เพกา ผกากรองรกท่วมศีรษะสภาพเป็นป่าช้า อากูลด้วยซากศพและมูตคูต ทำความสะอาดไม่ไหว ขืนไปอยู่ชาวบ้านจะหาว่าวิกลจริต งดคิดเสียดีกว่า”

    ซึ่งเจ้าคณะทั้ง สี่ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ร.๖ แต่เป็นเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่คณะสงฆ์ของนครศรีธรรมราชเป็นผู้คัดสรรขึ้น ตามที่มีมาแต่โบราณกาล
    เมื่อท่านพระครูกาแก้วแห่งวัดสวนหลวงออกสิ้นบุญ พระสมุห์บุญศรี เจ้าอาวาสวัดหน้าราหู ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ท่านเป็นบิดาท่านพระครูสุนทร และท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่น อิสฺสโร)พระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญปี พ.ศ.2460
    ในปี พ.ศ.2467 หลังจากท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญ พระหมุ่น อิสฺสโร ซึ่งเป็นปลัดในฐานานุกรมพระญาณเวทีเจ้าคณะจังหวัด วัดพระเดิม ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูกาแก้วต่อ
    ซึ่งการแต่งตั้งพระครูกาทั้ง สี่นั้นเป็นตำแหน่งทำเนียบสงฆ์พระครูกาทั้งสี่ของเมืองนคร ซึ่งเป็นกรรมการรักษาองค์พระบรมธาตุสืบมาแต่โบราณ และมีท้องที่ปกครองสงฆ์แบ่งทิศกัน แยกตามฐานะ ด้วยวัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัยของชาวนครฯและชาวใต้ ในสมัยก่อนจะเป็นเขตพุทธาวาส พระอารามหลวงไม่มีพระสงฆ์อยู่ พึ่งมาถูกพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ วัดพระเดิมเข้าถือสิทธิ์ปกครองเสีย เมื่อประมาณ พ.ศ.2480 สมัยพระธัชมุนี (แบน) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเดิมเมื่อยังเป็นพระศรีธรรมประสาธน์ และตรงนี้ทำให้ความขัดแย้งของคณะสงฆ์ในนครฯ ขึ้น

    ลำดับท่านพระครูกาแก้ว
    1. ท่านพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก
    2. ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) วัดหน้าราหู บิดาท่านพระครูสุนทร วัดดินดอน ท่านเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับท่านปาน
    3. ท่านพระครูกาแก้ว(หมุ่น อิสฺสโร) วัดหน้าพระบรมธาตุ (รวมวัดหน้าราหู วัดประตูลักษณ์ วัดหน้าพระบรมธาตุเข้าด้วยกัน)
    4. ท่านพระครูกาแก้ว (พุฒ วัดชะเมา)
    5.ท่านพระครูกาแก้ว วัดใหญ่ชัยมงคล
    6. ท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่น ปุณฺณรโส) วัดหน้าพระบรมธาตุ
    7.ท่านพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระลาน รูปปัจจุบัน
    ลำดับท่านพระครูการาม
    1.ท่านพระครูการาม (ดี) วัดหน้าพระลาน
    2.ท่านพระครูการม (นาค) วัดหน้าพระลาน
    ลำดับท่านพระครูกาชาด
    1.ท่านพระครูกาชาด (ดำ) วัดท้าวโคตร
    2.ท่านพระครูกาชาด (ขาว) วัดชะเมา
    3.ท่านพระครูกาชาด (ย่อง) วัดวังตะวันตก
    4.ท่านพระครูกาชาด (แก้ว) วัดใหญ่
    5.ท่านพระครูกาชาด (จัด) วัดสระเรียง
    6.ท่านพระครูกาชาด (เจียม) วัดหน้าพระบรมธาตุ รูปปัจจุบัน
    ลำดับท่านพระครูกาเดิม
    1.ท่านพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง (อาจารย์หลวงพ่อทวด วัดช้างให้)
    2.ท่านพระครูกาเดิม (ทอง) วัดจันทาราม
    3.ท่านพระครูกาเดิม (คลิ้ง) วัดจันทาราม
    4.ท่านพระครูกาเดิม (รักษ์) วัดบูรณาราม
    5.ท่านพระครูกาเดิม (เกตุ) วัดบูรณาราม
    6.ท่านพระครูกาเดิม วัดบางสะพาน


    ข้อมูล ( เพิ่มเติมบ้างโดยศิษย์หน้าธาตุ ตามที่จะหาได้ ข้อมูลอาจจะไม่เรียงตามลำดับ)
     
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ นครศรีธรรมราช


    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

    ประวัติความเป็นมา ในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองเมืองตามพรลิงค์อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ ครั้งใหญ่และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 ขณะเตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีภาพเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้น ที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้าผืนนั้นจนสะอาดเห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกกันว่า “ผ้าพระบฏ” และรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากเมืองหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาตรที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดพาขึ้นที่ชายฝั่งปากพนัง เหลือผู้รอดชีวิตสิบคน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้ไม่ใช่พระพุทธบาตตามที่ตั้งใจ แต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

    ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระ พุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่น กัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว

    ระยะเวลา แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร แต่ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ซึ่งมีประชาชนไปร่วมประเพณีกันเป็นจำนวนมาก

    พิธีกรรม
    การ เตรียมผ้าพระบฏ ผ้าที่นำขึ้นแห่องค์พระธาตุเจดีย์ มักจะนิยมใช้สีขาว เหลือง และแดง พุทธศานิกชนคนใดต้องการห่มผ้าพระธาตุ จะตระเตรียมผ้าขนาดความยาว ตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดจะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระบรมธาตุรอบองค์ ได้ หากใครต้องการทำบุญร่วมด้วยก็จะบริจาคเงินสมทบในขบวนผ้าพระบฏนี้ก็ได้ บางคนประดิษฐ์ตกแต่งชายขอบผ้าประดับด้วยริบบิ้น พู่ห้อยแพรพรรณ ลวดลายดอกไม้สวยงามแต่ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษ จะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนยาว โดยช่างผู้ชำนาญเขียนภาพแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมานะพยายามในการทำผ้าพระบฏขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แต่ในปัจจุบัน ผ้าพระบฏซึ่งมีสีขาว สีแดง สีเหลือง ส่วนใหญ่เป็นผ้ายาวเรียบ ๆ ธรรมดา

    ผ้าพระบฏสีขาว เหลือง แดง

    การ จัดขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อถึงวันแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีการจัดอาหารคาวหวาน เครื่องอุปโภคและบริโภคไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยการหาบคอนกันไปเป็นขบวนแห่ที่สวยงามพร้อมนำผ้าพระบฏไปวัดด้วย

    ผ้าพระบฏเขียนภาพพุทธประวัติ

    สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังนครศรีธรรมราช ได้มีการจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาและจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระ บรมธาตุเจดีย์ ชาวบ้านได้นำผ้าที่เตรียมมาแห่งห่มพระบรมธาตุเจดีย์ด้วย

    ใน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิบัติไปจากเดิมบ้าง โดยได้ยกเลิกการนำภัตตาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคที่นำไปทำบุญถวายพระ การประดับตกแต่งผ้าพระบฏก็ลดหรือตัดไปยังมีก็เฉพาะแต่ผ้าพระบฏของบางหน่วย งาน เช่น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นต้น

    เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวน ใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง ต่างคนต่างคณะ ต่างจึงเตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย เดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวน นิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาวบรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่าผ้าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าจึงควรถือไว้ ในระดับสูงกว่าศีรษะ
    การถวายผ้าพระบฏ เมื่อแห่ถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลีแล้วตามด้วยคำแปลซึ่งมีใจความว่า “ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชา ข้าพเจ้าทั้งหลายขอกราบไหว้ซึ่งเจดีย์ทั้งหลายในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศล ของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าและญาติมิตรทั้งหลายเพื่อความสุขความ เจริญตลอดกาลนานเทอญ”
    การนำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ หลังจากกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วน้ำผ้าสู่วิหารพระทรงม้า เมื่อถึงตอนนี้ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียงสามหรือสี่คนสมทบกับเจ้า หน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ไม่สามารถขึ้นไปรอบกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวน เพราะลานภายในกำแพงแก้วคับแคบและเป็นเขตหวงห้าม และเชื่อว่าที่ฐานพระบรมเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ หากเดินบนลานกำแพงแก้วเป็นการไม่เคารพพระพุทธองค์

    นำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์

    ความสำคัญของการเกิดประเพณี พุทธศาสนิกชนมีจิตใจที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ ให้ขาด ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีความสำคัญดังนี้

    1. แสดงให้เห็นถึงลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา เพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า
    2. แสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศจึงประสงค์ห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์อย่างพร้อมเพรียงกัน


    ข้อมูลโดย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2011
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ประวัติสำนักวัดเขาอ้อ

    [​IMG]


    มาดูหลักฐานที่ปรากฏเป็นประวัติของวัดเขาอ้อบ้าง อาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทสำคัญคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดเขาอ้อไว้ในหนังสือ “พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ” ตอนหนึ่งว่า

    “เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระเจ้าของตำรา พระ อาจารย์ทุกรูปในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์และได้ให้ การสั่งสอนแก่ทุกชนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมืองและนักรบมาแต่ครั้งโบราณเริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ ๑ ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้น ทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับที่วัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปาก พะยูนปัจจุบันนี้

    การที่ให้ชื่อเมืองว่าเมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดอาราม, พระพุทธรูป, พระเจดีย์ ทั้งในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่งด้วยกัน


    ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือและปัจจุบัน สถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า “ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ”

    ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโค๊ะให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉัน ท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้าทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบแล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา
    อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะพอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จพะโค๊ะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้น ๆ ถวายพระ
    การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันก็มีการศึกษากันอยู่
    ลำดับพระอาจารย์เท่าที่ทราบชื่อมี ๑๐ ท่าน คือ
    ๑. พระอาจารย์ทอง
    ๒. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
    ๓. พระอาจารย์พรมทอง
    ๔. พระอาจารย์ไชยทอง
    ๕. พระอาจารย์ทองจันทร์
    ๖. พระอาจารย์ทองในถ้ำ
    ๗. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ
    ๘. พระอาจารย์สมภารทอง
    ๙. พระอาจารย์พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)
    ๑๐. พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม
    (๑๑. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ -หลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสรูปล่าสุด มรณภาพ ๒๕๔๙)
    [​IMG]

    พระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ มีความรู้ความสามารถคล้ายคลึงกัน เพราะได้ศึกษากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ พระอาจารย์สำนักวัดเขาอ้อทุกองค์สอนเวทมนต์คาถาเป็นหลักเรียนตั้งแต่ธาตุ ๔ ธาตุทั้ง ๕ แม่ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่าง ๆ ซึ่งใช้ความพยายามและจะต้องอยู่ปฏิบัติอาจารย์ จนอาจารย์เห็นความพยายามที่รักวิชาของศิษย์จึงจะสอนให้ ศิษย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนทำให้ตามตำราก็มีจำนวนมาก
    นอก จากสอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์แล้วยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคจน กระทั้งตำรายาของสำนักเขาอ้อมีทั่วไป ทั้งภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซีย

    วิชาไสยศาสตร์ที่เป็นหลักเดิมเป็นคุณวิเศษประจำอาจารย์ทุกองค์ คือ

    [​IMG]

    ๑. เสกน้ำมันงาให้เดือด ให้แข็ง แล้วทำพิธีป้อนให้ศิษย์เป็นคงกะพัน
    ๒.วิธีอาบว่านแช่ยา เป็นคงกะพันกันโรค
    ๓. พิธีหุงข้าวเหนียวดำกิน เป็นคงกะพัน กันเจ็บเอว เจ็บหลังเป็นอายุวัฒนะ
    ๔. พิธีสอนให้สักยันต์ที่ตัวด้วยดินสอหรือมือ เป็นคงกะพันชาตรีเป็นมหาอุด แคล้วคลาด เป็นเมตตามหานิยม
    ๕. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๕ดอก ๑๖ ดอก
    ๖. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๑๖ ดอก
    ๗.วิชาความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม ตามตำราพิชัยสงคราม
    ๘.วิชาความรู้ทางยารักษาโรค รักษาคนเป็นบ้า รักษาคนกระดูกหัก กระดูกแตก ต่อกระดูก รักษาโรค ตามตำราเขาอ้อ ต้อง
    รักษาเพื่อการกุศลหายแล้วนำอาหารคาวหนาวไปถวายพระ
    ๙. พิธีพิเศษและสูงสุดระดับชาติ ระดับศาสนา คือ ทำไม้เท้ากายสิทธิ์ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ช่วย ชาติในคราวคับขัน เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธพิจารณาแก้ช่วยกัน แก้ได้ โลกจะกลับคืนเข้าสู่สันติตัวจริง สันติตัวปลอมจะหมดไปจากโลก คือ ให้เจริญภาวนาให้เห็นว่าชี้ต้นนาย ชี้เป็นปลายเป็น เป็นตัวโลกุตรธรรม

    ในพงศาวดารยังพูดถึงวัดเขาอ้ออีกครั้ง โดยปรากฏในประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ดังที่อาจารย์ชุม ไชยศีรี ได้เขียนไว้โดยสังเขปในหนังสือเล่มเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น ความว่า

    “... ในพงศวดารกล่าวว่า ครั้งสมัยศรีวิชัย ตอนกลาง ของแหลมมาลายูปรากฏว่ามีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ ๓ เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวง มีเจ้าผู้ครองนคร ตกอยู่ในอำนาจของศรีวิชัยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๔๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๓ ต่อจากนั้นเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยครั้งพ่อขุนรามคำแหงเมืองพัทลุงกับ เมืองไชยาเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครฯ

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งที่พม่ายกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชได้เป็นผลสำเร็จแล้วยกทัพตีมาเรื่อย พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ชาวบ้านน้ำเลือด ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์วัดเขาอ้อมีความรู้เชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ ได้ลงตะกรุดเลขยันต์ผ้าประเจียดให้ไพร่พล แล้วแต่งเป็นกองทัพยกไปคอยรับทัพพม่าอยู่ที่ตำบลท่าเสม็ด(อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน-ผู้เขียน) ทัพพม่ายามาถึงเห็นกองทัพไทยจากพัทลุงมีกำลังมากว่าตน แต่ ที่จริงมีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่าหลายเท่า แต่ด้วยอำนาจเวทมนตร์คาถาที่พระมหาช่วยซึ่งนั่งบริกรรมภาวนาอยู่เบื้องหลัง ทำให้ข้าศึกมองเห็นเป็นจำนวนมาก และมีกำลังร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ

    กองทัพพม่าไม่กล้ารุกเข้าเขตเมืองพัทลุงจึงหยุดอยู่เพียงคนละฝั่งแม่น้ำเป็นหลายวัน จนกองทัพหลวงก็ยกมาถึง พม่าจึงยกทัพกลับไปพระมหาช่วยมีความชอบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ เป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง..
    ปัจจุบัน พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ผู้นี้ ชาวจังหวัดพัทลุงยกขึ้นเป็นวีรบุรุษประจำเมืองโดยร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชา และตั้งเด่นเป็นสง่าราศีแก่เมืองพัทลุงอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ อำเภอเมือง ซึ่งถนนสายสำคัญที่เข้าเมืองพัทลุงต้องผ่านทางนั้น
    ประวัติวัดเขาอ้อ ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางราชการอีกแห่งคือ ในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ที่จัดโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษาซึ่งได้เขียนประวัติวัดเขาอ้อไว้ย่อๆ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง

    วัด เขาอ้อที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวคงจะเป็นการพูดถึงเขาอ้อเพียงสมัยหนึ่ง คือสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่วัดเขาอ้อสร้างมานานกว่านั้นมาก ร้างและเจริญสลับกันเรื่อยมาตราบปัจจุบัน


    วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่เลขที่๑ บ้านเขาอ้อ หมู่ที่๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ]สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี่ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑งาน ๖๗ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๒๓ อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๑๑๕ เมตร ติดต่อกับภูเขาอ้อ ทิศใต้ยาว ๒๗๕ เมตรติดต่อกับลำคลอง ทิศตะวันออกยาว ๒๕ เมตร ติดต่อกับถนนสาธารณะทิศตะวันตกยาว ๑๒๐ เมตร ติดต่อกับบ้านนายขำ มีที่ธรณีสงฆ์ ๔ แปลง เนื้อ ๖๗ ไร่ ๓ งาน ๖๐ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๑๘, ๑๘๑๓, ๑๘๑๑, ๑๘๑๒ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มและเนินเขา อาคารเสนาสนะต่างๆมี อุโปสถกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๗ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ .ศ . ๒๕๒๑ กุฏีสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง โครงสร้างเป็นอาคารไม้ มีกุฎีสงฆ์ ๓ หลัง สร้างสมัยอาจารย์ทองเฒ่า มี ๒ องค์ และโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ เช่น จานและถ้วยฮอลแลนด์ ชามอ่างจีนลายสาหร่าย ถ้วยเบญจรงณ์นรสิงห์ พานพระศรี พระธรรมโรง กาและขันน้ำทองเหลือง

    วัดเขาอ้อ สร้างขึ้นป็นวัดประมาณ พ.ศ. ๑๖๕๑ เดิมเรียกว่า “ วัดประดู่หอม ” ได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดเขาอ้อ” ใน สมัยของพระครูสังฆวิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต เป็นเจ้าอาวาสได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๖๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ มีโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ด้วย โดยมีพระครูปาล ปาลธมฺโม ดำเนินการจัดสร้างขึ้น
    รายชื่อเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอนับได้ มี๑๒ รูปคือรูปที่ ๑ อาจารย์ทอง รูปที่ ๒ สมเด็จเจ้าจอมทอง รูปที่ ๓ อาจารย์พรหมทองรูปที่ ๔ อาจารย์ลงไชยทอง รูปที่ ๕ สมภารทอง รูปที่ ๖ สมภารทองในถ้ำ รูปที่ ๗ สมภารทองหน้าถ้ำรูปที่ ๘ สมภารทองหูยานรูปที่ ๙ พระครูสังฆวิจาณ์ฉัททันต์บรรพต ถึง พ.ศ.๒๔๗๐ รูปที่ ๑๐ พระครูปาล ปาลธมฺโม ถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ รูปที่ ๑๑ พระใบฎีกากลั่น อคฺคธมฺโม ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙


    ความเป็นมาของวัดจากพงศาวดารและจากบันทึกของพระอาจารย์เจ้าของตำราพระ อาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์และเป็น สำนักที่สอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์ให้แก่ชนทุกชั้นตั้งแต่ชันเจ้าเมืองและ นักรบมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เริ่มมาแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์แรก คือพระอาจารย์ทองในสมัยนั้นทางฟากตะวันออกของทะเลสาบ ตรงกับวัดพระเกิด ต. ฝาละมี อ.ปาก พะยูนในปัจจุบัน ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า มีตายาย ๒คน ตาชื่อ ตาสามโม ยายชื่อยายเพชร ตายายมีบุตรและธิดาบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อกุมาร ผู้หญิงชื่อเลือดขาว นางเลือดขาวเป็นอัจฉริยมนุษย์ มีลักษณะพิเศษคือมีสีตัวเป็นสีขาวต่างบุคคลธรรมดา ตาสามโมเป็นนายกองช้างมีหน้าที่จับช้างเลี้ยงถวายพระยากรงทอง ปีละหนึ่งเชือก เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัย ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทองวัดเขาอ้อสอนวิชาความรู้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดีปีกุน เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ. ๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าไรไม่ปรากฎ แต่ทราบว่าเป็นผู้มีวิชาความรู้ อยู่ยงคงกระพัน กำบังตัวหายตัวและวิชาอื่น ต่อมาตายายให้บุตรทั้งสองแต่งงานกัน พระยากรงทองโปรดให้เป็นเจ้าเมือง ชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตกชื่อเมืองลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์ดีวัดตะเขียน(วัดบางแก้ว อ. เขาชัยสน จ. พัทลุง) การให้ชื่อว่าเมืองลุงอาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวได้สร้างวัด พระพุทธรูป พระเจดีย์ในเขตเมืองพัทลุงเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่ง เช่นวัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑วัด(ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่าสมัยเจ้าไสยณรงค์เป็นเจ้ากรุงสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ สร้างพระพุทธรูปปางบรรทม ๑องค์ พอจับเค้าได้ว่าวัดเขาอ้อนี้มีมาก่อนเมืองพัทลุงเพราะกุมารศึกษาวิชาความรู้มาก่อนเป็นเจ้าเมือง


    เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ พ.ศ.๒๑๗๑) พระสามี ราม วัดพะโค้ะ (หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ในสมัยนั้นประชาชนยกยองถวายนามว่า สมเด็จเจ้าพะโค้ะ (เป็นพระญาติวงศ์กับสมเด็จพระนารายณ์)ท่าน ได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนี้ยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์จากประเทศสิงหล มาตั้งปริศนาธรรมแสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหลจึงพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระราชมุนีในสมัยนั้น มีสมเด็จอยู่ด้วยกัน ๔ องค์ คือสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ สมเด็จเจ้าจอมทอง สมเด็จเจ้าเกาะยอ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ เมื่อกลับมาเมืองพัทลุง ได้ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุ ไว้บนเขาพะโค๊ะ สูง ๑ เส้น ๕ วา มีระเบียบล้อมรอบพระเจดีย์


    ตามตำนานเล่าสืบต่อมาว่า ครั้งฉลองเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่าวัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อสมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นเช่นเดียวกันกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ นำพุทธบริษัทไปงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบแสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไป ถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมากทำให้ประชาชนเชื่อในอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่าที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ


    ต่อมาท่านสมเด็จพะโค๊ะให้คนกวนเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า “เหนียวกวน” ทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขาให้นำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทองวัดเขาอ้อครั้นถึงเวลาฉัน ท่านสมเด็จเจ้าจอมทอง สั่งให้เด็กวัดผ่า แบ่งถวายพระ ตลอด ถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้าทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านเอามือลูบ แล้วสั่งให้ศิษย์แบ่งถวายพระองค์ย่างข้าวเหนียวธรรมดา


    อยู่ มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแต่งโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จพะโค๊ะ เด็กวัดนำมีดไปผ่า แต่ผ่าไม่ออก สมเด็จพะโค๊ะทราบเข้าหัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเราท่านรับแตงโมแล้วลูบด้วยมือของท่านเองออกเป็น ชิ้นๆ ถวายพระแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณฌานกีฬาประเภทหนึ่งซึ่งมีมาก อาจารย์ด้วยกัน ต่อมาจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆองค์ได้แสดงอิทธิฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอด มา จึงเป็นที่เคราพนับถือของบุคคลทุกชนชั้นเจ้าเมืองหัวเมืองภาคใต้และเจ้า เมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อปัจจุบันก็มีการศึกษา กันอยู่ถึงแม้พระอาจารย์สำคัญสิ้นบุญไปตามสังขารทิ้งไว้แต่บุญบารมีคุณงาม ความดีจนชั่วลูกหลาน


    ความ รู้ทางเวทมนต์คาถาที่พระอาจารย์วัดเขาอ้อได้สืบต่อกันมา ตำราความรู้ที่เป็นหลักคือ พระอาจารย์สำนักเขาอ้อ เริ่มต้นตั้งแต่ธาตุหนึ่งถึงธาตุห้า แม่ธาตุใหม่ โดยมีปะขาวขุนแก้วเสนา ขุนศรีสมบัติ เป็นหัวหน้าฝ่ายคฤหัสถ์ ช่วยกันซ่อมแซมพระพุทธรูปในถ้ำหนึ่งองค์ซึ่งปรักหักพัง เสร็จแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะอื่นๆ จนเป็นที่สงฆ์อาศัยอยู่ได้ ต่อมาเมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พระมหาอินทราชกับคณะดังกล่าวได้จัดสร้างอุโบสถขึ้น ซึ่งสมัยนั้นเป็นยุคของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๒๔๒ ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าเสือ โปรดเกล้าให้ ออกหลวงเพชรกำแพง(ตาขุนเพชร) ออกมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุง พระครูอินทรเมาฬีศรีญาณสาครบวรนนทราชจุฬามุณีศรีอุประดิษเถระ(พระมหาอินทราช) คณะป่าแก้วเมืองพัทลุงได้เลิกพระศาสนา


    ใน คราวสร้างพระอุโบสถนั้น ปะขาวขุนแก้วเสนาได้มีหนังสือขอพระราชทานคุมเลข(คุมบัญชีการเงิน) ยกเว้นการใช้งานหลวงต่างๆถวายให้แก่วัดเพื่อช่วยเหลือในการสร้างอุโบสถ ๕ คน คือ นายเพ็ง นายนัด นายคง และนายกุมาร ได้ช่วยกันสร้างอุโบสถจนเสร็จเรียบร้อย แล้วมีหนังสือบอกถวายพระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์หนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าฟ้าอิ่ม” และหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปนเงินอีกองค์หนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า“เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ส่งไปประดิษฐานที่วัดเขาอ้อใน พ.ศ.๒๒๔๒ สมัยอยุธยา โดยพระยาราชบังสัน มหันสุริยา ได้รับการโปรดเกล้าให้ลงมารักษาการผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง ได้นำพระพุทธรูปจัดส่งมาจากกรุงศรีอยุธยาโดยมาทางเรือ ผ่านเข้ามาทางคลองปากประ เมื่อมาถึงท่าเรือบ้านปากคลอง ได้นำพระพุทธรูปขึ้นพักที่ศาลาท่าเรือจัดพิธีสมโภชน์เป็นการใหญ่ ศาลานี้เรียกชื่อว่า“ศาลาพักพระ”และ ส่งไป ประดิษฐานไว้วัดเขาอ้อ ต่อจากนั้นพระมหาอินทราช พร้อมด้วย สัตบุรุษ ทายกได้จ้างช่างเขียนลายลักษณ์พระพุทธบาททำมณฑปกว้าง ๕วา สูง๖วา ขึ้นบนไหล่เขาอ้อ เป็นที่ประดิษฐานลายลักษณ์พระพุทธบาท ต่อมาพระมหาอินทราชเห็นว่าลายลักษณ์ที่ช่างเขียนไม่ถาวรจึงพร้อมด้วยขุนศรี สมบัติ เรี่ยไรเงินจากผู้มีจิตศรัทธาได้เงิน ๑๐ตำลึง ตราสังข์(๔๐บาท)จัดซื้อดีบุกจ้างช่างเขียนแผ่นยาง ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ให้ช่างสลักลายพระพุทธบาท ประดิษฐานไว้ในมณฑปแทนรูปลายลักษณ์พระพุทธบาทที่เขียนประดิษฐานไว้แต่คราว ก่อนนั้น แล้วจัดการสร้างพระพุทธไสยาสน์ด้วยอิฐถือปูนขึ้น ไว้ภายในพระมณฑปพระพุทธบาทองค์หนึ่งด้วย มีขนาด๕วาและสร้างพระเจดีย์ไว้บนไหล่เขาข้างมณฑรวม ๓องค์ เมื่อสร้างพระพุทธบาทสำเร็จแล้วนั้น พระมหาอินทราชได้บอกถวาย พระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานที่ดิน กัลปนา สำหรับวัดเขาอ้อ คือ ทิศบูรพา ๓๐เส้น ทิศอาคเณย์ ๓๐ เส้น และทิศหรดี ๓๐ เส้นเพื่อให้อากรค่านามาบำรุงวัด ส่วนพระมหาอินทราชเมื่อได้สร้างพระพุทธไสยาสน์และพระเจดีย์เสร็จแล้วก็ไป เสียจากวัด พระสงฆ์องค์อื่น ๆก็อพยพไปบ้างและคนวัดทั้ง ๕ คน ซึ่งปะขาวขุนแก้วเสนาได้เคยขอพระราชทานคุมเลขไว้ก็กลับถูกพนักงานกรมการ สัสดีเรียกตัวไปใช้งานหลวงเสียทุกคนไม่มีผู้จะช่วยเหลือบำรุงวัด วัดก็เสื่อมลงอีกคราวหนึ่ง ครั้นต่อมาปะขาวขุนแก้วเสนาและขุนศรีสมบัติพร้อมด้วยชาวบ้านแถมบริเวณวัด ได้ไปนิมนต์พระมหาคงแขวงเมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นเจ้าอาวาสวัดต่อไป แล้วขอให้ราชการได้ช่วยอนุเคราะห์แก่วัดให้เป็นไปตามเดิม อย่าให้เจ้าเมืองกรมการผู้ใดไปเรียกเอาคนวัดมาใช้งานโยธาอีกต่อไปจากสารตรา ฉบับนี้พอทราบได้ว่าวัดเขาอ้อเป็นวัดที่เก่าแก่ มาตั้งแต่ครั้งโบราณวัดหนึ่ง หลังจากพระมหาอินทราชเป็นเจ้าอาวาสแล้ว วัดนี้ไม่เคยรกร้านอีกเลย


    ต่อมาถึงสมัยของสมภารทองหูยาน มา ถึงสมัยของท่าน ปรากฎชื่อของวัดเปลี่ยนไป มาเรียกว่าวัดประดูหอม เมื่อท่านสมภารทองหูยานมรณภาพแล้ว ท่านทองเฒ่า(อาจารย์ทอง)ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมาจนได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครู สังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต เพราะมีความรู้ทางไสยศาสตร์มาก เป็นเจ้าคณะตำบลและพระอุปัชฌาย์แล้วเปลี่ยนชื่อวัดประดูหอมมาเป็นวัดเขาอ้อ จนมาถึงปัจจุบันนี้ สมภารทองเฒ่าได้สร้างกุฎีขึ้น ๓หลัง ซึ่งจัดว่าเป็นโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุซึ่งปัจจุบันนี้กำลังจะทรุดโทรม และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น๑หลัง โรงครัว๑หลัง ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว เมื่อท่านพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพตได้มรณภาพแล้ว ท่านพระครูปาน ปาลธมฺโม ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมาได้บูรณะบ่อน้ำ จัดสร้างรางแช่ยาบนไหล่เขาอ้อ ในถ้ำและโรงเรียนประชาบาลขึ้นหนึ่งหลังซึ่งมีมาถึงยุคปัจจุบัน


    วัดเขาอ้อนี้เจ้าอาวาสที่ได้กล่าวมาทุกองค์ล้วนเรืองอำนาจเป็นผู้ทรงอำนาจเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขึ้น ชื่อลือชาทางไสยศาสตร์เป็นผู้มีอาคมขลัง เป็นคณาจารย์ใหญ่ทั่วอาณาจักรก็ว่าได้ จะพูดว่าเป็นต้นกำเนิดทางไสยศาสตร์ทางภาคใต้ก็ว่าได้และก็เจริญรุ่งเรือง ขึ้นตามการสมัยของเจ้าอาวาสดังกล่าวมาแล้วและวัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีของ ชาวบ้านภาคใต้


    นสมัยของเจ้าอาวาสหลวงพ่อกลั่น(พระครูอดุลธรรมกิตติ์)ในสมัยนี้วัดเขาอ้อวัตถุโบราณที่มีเหลืออยู่มีพระพุทธรูปยืน๒องค์ คือ “เจ้าฟ้าอิ่ม” และเจ้าฟ้าดอกเดื่อ”ยัง มีสภาพที่สมบูรณ์ ส่วนพระพุทธรูปในถ้ำ พระพุทธไสยยาสน์ พระพุทธบาทพระเจดีย์และมณฑป ปัจจุบันได้ทรุดโทรมหมด ดั้งนั้นสมัยหลวงพ่อกลั่นได้เริ่มบูรณะตั้งแต่อุโบสถ มณฑปลายลักษณ์ พระพุทธบาทจำลอง เจดีย์ สถานที่บรรจุพระธาตุอรหันต์ที่ประดิษฐ์อยู่บนเขา กุฎีที่อาศัยต่างๆจนเรียบร้อยจากนั้นหลวงพ่อกลั่น(พระครูอดุลธรรมกิตติ์)ได้ มรณภาพในวันที่๑๓เมษายน๒๕๔๙หลังนั้นยังมีการบูรณะสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ที่ ท่านยังดำเนินการยังไม่เสร็จ คืองานบูรณะถ้ำฉัททันต์บรรพต ท่านได้มอบหมายไว้กับ พระอาจารย์ไพรัตน์ เป็นผู้สานเจตนารมณ์ต่อในการพัฒนาถ้ำฉัตรทันต์บรรพต

    ความเป็นมาของถ้ำฉัตรทันต์บรรพต เป็นสถานที่ประกอบพีธีทางไสยศาสตร์มาแต่สมัยโบราณได้มีการบรูณะในสมัยพระมหาอินทราชเจ้าในปี พ.ศ. ๒๒๔๒
    ได้มีการสร้างพระประธานก่อด้วยปูน ตกแต่งถ้ำอย่างสวยงาม และสร้างพระพุทธรูปไว้อีก ๑o องค์คงแทนบารมี ๑o ทัศของ พระพุทธองค์เมื่อกาลเวลาผ่านมาเป็นเวลา ๓๐๗ ปี ได้มีการผุพังสลายไป ในการบูรณะซ่อมแซม และสร้างพระประธานประดิษฐาน เอาไว้ในถ้ำ โดยมีพระปิดตาหล่อโบราณ โดยนำแบบพะปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่า อาจารย์เอียด และพระปิดตา ของพระอาจารย์ปาล มาเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างพระ และมีพระเนื้อว่านสร้างเป็นรูปยอดขุนพล ถอดพิมพ์จากศิลปะแบบศรีวิชัยซึ่งขุดพบได้จากวัดคูหาสวรรค์ (วัดเจ้าคุณจังหวัดพัทลุง) และพระฤๅษีบรมครู
    พระปิดตาหมายถึง การปิดหรือการป้องกันสิ่งที่ไม่ดี เป็นอัปมงคลตลอดอันตรายต่างๆไม่ไห้ข้ามากล้ำกลาย ดั่งคำกลอนที่ว่า ปิดตาทั้งคู่ปิดหูทั้งสอง ปิดปากเสียบ้างนั่งนอนสบาย ถ้าเปิดตาทั้งคู่เปิดหูสองข้าง เปิดปากเสียแล้วนั่งนอนเป็นทุกข์
    พระยอดขุนพล หมายถึง สิ่งที่สูงสุดหรือสัญลักษณ์อันสูงสุดที่พระองค์ทรง แสดงปฎิหาริยเหล่าหมู่มารทั้งปวงย่อมมิกล้ำกลายและบ่งบอกถึงความเป็นเจ้า สฤทธ์เดชทั้งปวงซึ่งผู้ที่เป็นผู้นำของคนทั้งปวง
    พระฤาษีบรมครู หมายถึง ตัวแทนที่นำสิ่งที่ดีความเจริญความรู้มายังสถานที่ในสำนักเขาอ้อแห่งนี้ ผู้นำไปไว้ติดตัวก็จะมีความเจริญและรุ่งเรือง
    เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พระอาจารย์ไพรัตน์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำมา ประดิษฐาน ณ วัดเขาอ้อเพื่อจะได้เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ดังนั้นทางเทศบาลเมืองพัทลุงนำโดยท่านโกสินทร์ ไพศาลศิลป์นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุงพร้อมด้วยคณะและสมาชิกร่วมกันจัดงานพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ณ ศาลาจตุรมุข เพื่อให้พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญทั้งหลายได้มาสักการะบูชาเพื่อเกิดสิริมงคลในชีวิตของพวกเราท่านทั้งหลาย


    การสืบทอดวิชาในสำนักเขาอ้อได้ดำเนินมาจนกระทั่งถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้าย ท่านได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์ว่าไม่สามารถที่จะต้านกระแสศรัทธาของศาสนาพุทธ ได้แน่แล้วจึงคิดหลอมสำนักเขาอ้อเข้ากับศาสนาพุทธและกลัวว่าจะไม่มีผู้ใดรับ สืบทอดวิชา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อซึ่งพราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทย์หลายท่านได้ฝังร่างไว้ที่นี้จะถูกปล่อยให้รก ร้างประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาถึงตัวจังหวัด พัทลุงแล้ว จึงได้ตัดสินใจนิมนต์พระรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยว “วัดน้ำเลี้ยวปัจจุบันเป็นวัดร้างหมดสภาพความเป็นวัดแล้ว” มีนามว่า “พระอาจารย์ทอง”ให้มาอยู่ในถ้ำแทนและมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์ พราหมณ์พร้อมถ่ายทอดวิชาให้และมอบสำนักให้

    กลายเป็นที่พักสงฆ์จึงกลายมาเป็น "วัดเขาอ้อ"แม้ว่าสำนักเขาอ้อจะกลายมาเป็นสำนักสงฆ์แล้ว
    แต่ก็ยังคงสืบทอดหน้าที่เป็นสำนักเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนต่อมาอีก หลายร้อยปี แต่ว่าเมื่ออยู่ในความปกครองของพระภิกษุ บรรดาศิษย์ที่เข้าเรียนในสำนักนี้มีหลายชนชั้นไม่เหมือนกับสมัยพราหมณ์ ปกครองอยู่เปิดโอกาสให้แก่เชื่อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำเท่านั้น
    ต่อมาในปี ๒๒๘๔ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑องค์
    และหล่อด้วยเงิน ๑องค์แก่วัดเขาอ้อสร้างโดยเชื้อพระวงศ์ที่เคยมาศึกษาวิทยาการที่สำนักเขาอ้อมีนามว่า “เจ้าอิ่ม กับ เจ้าฟ้ามะเดื่อ”
    ในสมัยพระมหาอินทราชท่านได้ทำการบูรณะพระพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐องค์ แทนพระบารมี ๑๐ทัดของพระพุทธองค์ สร้างอุโบสถขึ้น ๑หลัง สร้างพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธไสยาสน์ ๑องค์ พร้อมด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขาอ้อ ๓องค์ แล้วท่านก็ไปจากวัดเสีย ต่อมาปะขาวขุนแก้วเสนาและขุนศรีสมบัติพร้อมกับชาวบ้านใกล้เคียง
    ไปนิมนต์พระมาหาคงให้มาอยู่ต่อที่วัด ต่อมาก็มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเขาอ้อต่อกันมาหลายสิบรูปล้วนแต่มีความเชี่ยว ชาญทางไสยเวทย์มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้
    ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
    ลำดับที่
    รายนามเกจิอาจารย์วัดเขาอ้อ เป็นเจ้าอาวาสสมัย
    ๑.พระอาจารย์ทอง ยังไม่มีข้อมูล
    ๒.พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง ยังไม่มีข้อมูล สมัยเดียวกับหลวงพ่อทวด
    ๓.พระอาจารย์พรหมทอง ยังไม่มีข้อมูล
    ๔.พระอาจารย์ไชยทอง ยังไม่มีข้อมูล
    ๕.พระอาจารย์ทองจันทร์ ยังไม่มีข้อมูล
    ๖.พระอาจารย์ทองในถ้ำ ยังไม่มีข้อมูล
    ๗.พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ ยังไม่มีข้อมูล
    ๘.พระอาจารย์ทอง (หูยาน) ยังไม่มีข้อมูล
    ๙.พระครูสังฆวิจารณ์ฉัตทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) พ.ศ.๒๓๙๒ - พ.ศ.๒๔๗๐
    ๑๐.พระอาจารย์พระครูปาน ปาลธัมโม (พระอาจารย์ปาน) พ.ศ.๒๔๗๑ - พ.ศ.๒๕๒๐
    ๑๑.พระครูอดุลธรรมกิต อัคคธัมโม (พระอาจารย์กลั่น) พ.ศ.๒๕๑๙ - พ.ศ.๒๕๔๙
    ๑๒.พระอาจารย์ห้อง ธัมวโร (พระอาจารย์คล้อย)พ.ศ.๒๕๕๐ - ปัจจุบัน
     
  7. THANAT BOON

    THANAT BOON Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +48
    [​IMG] [​IMG]

    Mo....ครับ พี่ขอจอง 2 องค์ นี้ด้วยนะครับ
     
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460

    รับทราบครับ จัดให้ลูกพี่
     
  9. Bugmann

    Bugmann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +159
    สวัสดีครับ!! รบกวนจอง เหรียญรูปไข่ อ.ชุม/ พระผงอาจารย์ทองเฒ่า/ ขุนแผนเสด็จกลับพิมพ์นิยม/ เหรียญรุ่นแรก อ.คง/ พระผงหลวงปู่ทวด 2497 สิ้นเดือนโอนพอไหวมั้ยครับ? อีกหนึ่งผมขอรบกวนหาเหรียญโสฬส อ.ชุมให้อีกเหรียญได้มั้ยครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ แจ้งกลับมาทาง PM ก็ได้ครับ เผื่อมีรายการอื่นๆของ อ.ชุมเพิ่มเติมอีก(deejai)
     
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460

    ถ้าพี่จะเอาจริงๆ ก็ได้นะครับ แต่ก็ต้องคุยกันในรายละเอียดให้ชัดเจนกว่านี้ครับ เพราะในการจองนี้ผมเจอะมาหลายรายสุดท้ายก็ไม่เอา ทำให้ท่านอื่นเสียโอกาศ อะครับ
     
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ภาพพุทธประวัติสวยมากๆนะ อยากให้ดู‏

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>

    _fwdDer.com__-193059601-Resize_of_aa026-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059607-Resize_of_aa015-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059613-Resize_of_aa036-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059619-Resize_of_aa004-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059627-Resize_of_aa023-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059638-Resize_of_aa001-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059654-Resize_of_aa016-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059661-Resize_of_aa027-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059668-Resize_of_aa031-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059681-Resize_of_aa002-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059690-Resize_of_aa014-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059699-Resize_of_aa018-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059710-Resize_of_aa011-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059720-Resize_of_aa009-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059728-Resize_of_aa012-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059733-Resize_of_aa021-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059740-Resize_of_aa017-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059746-Resize_of_aa013-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059750-Resize_of_aa035-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059758-Resize_of_aa037-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059763-Resize_of_aa041-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059769-Resize_of_aa022-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059775-Resize_of_aa032-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059781-Resize_of_aa042-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059785-Resize_of_aa028-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059789-Resize_of_aa007-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059799-Resize_of_aa003-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059804-Resize_of_aa033-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059811-Resize_of_aa005-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059816-Resize_of_aa029-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059823-Resize_of_aa006-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059829-Resize_of_aa025-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059836-Resize_of_aa024-1.jpg
    [​IMG] __fwdDer.com__-193059843-Resize_of_aa034-1.jpg
    [​IMG] <HR>__fwdDer.com__-193059849-Resize_of_aa008-1.jpg
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    สรุปรายการที่คุณbugmannจอง
    เหรียญรูปรุ่นแรกอ.ชุม ปี17/
    พระผงอาจารย์ทองเฒ่า ปี97/ขุนแผนเสด็จกลับพิมพ์เล็ก ปี11/เหรียญรุ่นแรก อ.คง ปี16/พระผงหลวงปู่ทวด ปี97 องค์ใหม่(คนละองค์กับที่คุณTHANATจอง) กำหนดวันโอนตามpm นะครับ
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    สุดยอดประสบการณ์ รูปหล่อ หลวงปู่ศรี มหาวีโร รุ่นสุดท้าย เนื้อนวะ ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ศิษย์น้องหลวงตามหาบัว โค็ท ศ หมายเลข 90 เลขสวย

    [​IMG][​IMG][​IMG]

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • see1.jpeg
      see1.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      53.3 KB
      เปิดดู:
      2,291
    • see2.jpeg
      see2.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      52.2 KB
      เปิดดู:
      2,180
    • see3.jpeg
      see3.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      59.2 KB
      เปิดดู:
      252
    • see4.jpeg
      see4.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      50.8 KB
      เปิดดู:
      2,257
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2012
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    หลวงปู่บุญเลิศ ฐานจาโร หรือพระครูสุนทรศีลวิมล วัดหัวเขา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี


    ถือว่าเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้ดำรงอยู่ในวัตรปฏิบัติแห่งคำสอนพระศาสนา อีกทั้งอยู่เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้เป็นที่พึ่งแก่ผู้ศรัทธาอย่างตลอดมาครับ

    วัตถุมงคลที่หลวงปู่ได้ดำริจัดสร้างนั้น มีมากมายหลายรุ่น เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑..กว่าๆ
    และ ได้รับความนิยมจากคนในท้องที่ตลอดมา จนระยะหลังได้จัดสร้างออกอยากเป็นทางการเกิดประสบการณ์มากมาย และเป็นที่ฮือฮาว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่ช่วยชีวิตคนมานักต่อนักแล้ว

    ลูกอมผงปถมังฝังตะกรุด


    ที่หลวงปู่บุญ วัดหัวเขา จ.ลพบุรี ท่านตั้งใจสร้างและลบผงอักขระปถมังตามสูตร (ปัจจุบันหลวงปู่ท่านไม่ทำผงปถมังแล้ว)ผงปถมังนี้จัดเป็นหนึ่งในห้าแห่งผง วิเศษตามตำราและเป็นผงปฐมบทก่อนจะไปสู่ผงอื่นๆ ผงปถมังมีอานุภาพมากมายหลายด้าน แต่หนักไปทางคงกระพันชาตรีมหาอุด แคล้วคลาด กำบังล่องหนและป้องกันภูตผีปีศาจและคุณไสย์
    นอกจากนั้นหลวงปู่ยังฝัง ด้วยตะกรุดสาริกาเน้นด้านเมตตา มหาเสน่ห์ ลูกค้าแม้อยู่ไกลแค่ไหนก็จะมาซื้อข้าว ซื้อของ นำไปปิดทองจะเป็นมหาสาริกามนต์ เจรจาติดต่อธุรกิจที่ไหนมีแต่ความสำเร็จสมปราถนาทุกประการแล


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_4735.jpg
      SAM_4735.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      253
    • SAM_4736.jpg
      SAM_4736.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.1 KB
      เปิดดู:
      248
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    พระผงเทพนิมิตร อาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2496 พิมพ์ใหญ่

    พระผงเทพนิมิตร พิมพ์ใหญ่ เนื้อดินผสมผง อจ.ชุม ไชยคีรี พศ.2496 เป็นพระเครื่องรุ่นแรกของท่าน สร้างจากนิมิตรของ อจ.ชุม เหตุที่ให้ชื่อว่า "เทพนิมิตร" เพราะท่านได้ตำราการสร้างจากความฝัน มวลสารหลัก ๆ ประกอบด้วยดอกไม้ที่พระสงฆ์ทำวัตรขอขมาโทษซึ่งกันและกันก่อนเข้าพรรษา ดอกไม้หน้าพระประธานวันเข้าพรรษาวันเดียวให้ได้ 108วัด ตะไคร่พระเจดีย์ที่บรรจุบรมธาตุ ตะไคร่ศรีมหาโพธิ์ ผงวิเศษของอาจารย์คง (อาจารย์ของขุนแผน)ปลุกเสกตลอดไตรมาส ปี 2496 ที่วัดบรรพตพินิจ อำเภอ เขาไชยสน จังหวัดพัทลุง แล้วทดลองคุณภาพจนเป็นที่ไว้วางใจได้แล้ว จึงได้แจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ดี ทาง นิมิตบอกโชคดีโชคร้าย ดีทางเลิกรบศัตรูกลายเป็นมิตร กันศาสตราวุธทุกชนิด กันโจรและกันสัตว์ร้าย เน้นหนักไปทางเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ องค์นี้สภาพสวยมาก


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2011
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    พระผงเทพนิมิตร อาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2496 พิมพ์เล็ก(กลีบบัว)

    พระผงเทพนิมิตร พิมพ์ใหญ่ เนื้อดินผสมผง อจ.ชุม ไชยคีรี พศ.2496 เป็นพระเครื่องรุ่นแรกของท่าน สร้างจากนิมิตรของ อจ.ชุม เหตุที่ให้ชื่อว่า "เทพนิมิตร" เพราะท่านได้ตำราการสร้างจากความฝัน มวลสารหลัก ๆ ประกอบด้วยดอกไม้ที่พระสงฆ์ทำวัตรขอขมาโทษซึ่งกันและกันก่อนเข้าพรรษา ดอกไม้หน้าพระประธานวันเข้าพรรษาวันเดียวให้ได้ 108วัด ตะไคร่พระเจดีย์ที่บรรจุบรมธาตุ ตะไคร่ศรีมหาโพธิ์ ผงวิเศษของอาจารย์คง (อาจารย์ของขุนแผน)ปลุกเสกตลอดไตรมาส ปี 2496 ที่วัดบรรพตพินิจ อำเภอ เขาไชยสน จังหวัดพัทลุง แล้วทดลองคุณภาพจนเป็นที่ไว้วางใจได้แล้ว จึงได้แจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ดี ทาง นิมิตบอกโชคดีโชคร้าย ดีทางเลิกรบศัตรูกลายเป็นมิตร กันศาสตราวุธทุกชนิด กันโจรและกันสัตว์ร้าย เน้นหนักไปทางเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ องค์นี้สภาพสวยมาก มีหน้ามีตาซึ่งหายากมากครับ ส่วนใหญ่หน้าจะสึก


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2011
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    เหรียญพระครูญาณวุฒิกร (สวน) รุ่นแรก กะไหล่เงิน กรรมการ สภาพผิวหิ้ง สวยไม่ได้ใช้ สร้างในคราวที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์ ปี2506 วัดบางกระดาน อ.แหลมงอบ จ.ตราด

    พระครูญาณวุฒิกร หรือ หลวงพ่อสวน ฐิติญาโณ วัดบางกระดาน อ.แหลมงอบ จ.ตราด ท่านเกิดเมื่อวันพุธ ที่27 พฤศจิกายน 2438 ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม ที่บ้านชุมแสง ต.ท่าโสม อ.เขาสมิง จ.ตราด ในวัยเยาว์ ท่านได้เรียนหนังสือ ที่วัดปากน้ำเวฬุ เรียนได้ 1ปี ก็มีความรู้อ่านออกเขียนได้ และมีลายมืองดงามมาก เมื่ออายุได้ 20 ปี ท่านก็อุปสมบท โดยมีหลวงพ่อจีน วัดวันยาวบน เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นท่านได้เดินทางไปอยู่ที่วัดสนาม จ.นนทบุรี และได้ลาสิกขาบท ที่วัดสนาม ต่อมาเมื่ออายุ 26 ปี พ.ศ. 2464 ท่านก็อุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดบางขวาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โดยมีหลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ว่า **ฐิติญาโณ *** เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางมาจำพรรษา อยู่ที่วัดท่าหาด 1 พรรษา และย้ายมาอยู่ที่วัดสลัก ในปีพ.ศ. 2478 ท่านจึงได้ย้ายมาอยู่ที่วัดบางกระดาน อ.แหลมงอบ จ.ตราด ในสมัยที่พระเอิ๊ก เป็นเจ้าอาวาส และท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดบางกระดาน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2482 ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2490 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเป็นกรรมการสงฆ์ สาธารณูปการ อ.แหลมงอบ จ.ตราด เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2498 ในปีพ.ศ. 2506 ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณะศักดิ์ ที่***พระครูญาณวุฒิกร *** และได้สร้างเหรียญเป็นที่ระลึก ในการฉลองสมณะศักดิ์ ในปีพ.ศ.2506 ขึ้นด้วย หลวงพ่อสวน ท่านเป็นพระผู้คงแก่เรียน และแก่กล้าในวิชาอาคม มีความรู้ด้านยาสมุนไพร วัตถุมงคลของท่าน มีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน เป็นที่หนึ่ง คนในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าท่านเป็นสุดยอดพระเกจิอาจารย์ ของเมืองตราด เลยที่เดียว หลวงพ่อสวน ท่านมรณะภาพ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2523 สิริรวมอายุ ได้ 85 ปี 59 พรรษา

    เหรียญพระครูญาณวุฒิกร (สวน) รุ่นแรก กะไหล่เงิน กรรมการ สร้างในคราวที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์ ปี2506 วัดบางกระดาน อ.แหลมงอบ จ.ตราด สภาพผิวหิ้ง สวยไม่ได้ใช้แบบนี้ คนในพื้นที่ หากันให้ควักเลยครับ



    [FONT=&quot]ให้บูชา 1,550บ. ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_4968.jpg
      SAM_4968.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      380
    • SAM_4965.jpg
      SAM_4965.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      313
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2011
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    เหรียญท่านเจ้าคุณพระสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อลบ ฐิตาโภ) อดีตเจ้าอาวาส วัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี รุ่นแรก ปี ๒๔๘๗ เนื้อทองแดง สภาพสวยมาก เป็นเหรียญเก่าที่หาได้ยากแล้วนะครับ

    อดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีฝ่ายธรรมยุต และยังเป็นพระราชาคณะรูปแรกของจังหวัดสิงห์บุรี(ท่านเป็นหนึ่งในสัทธิวิหา ริกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)


    ท่านดำรงค์ตำแหน่งพระสิงหบุราจารย์ (ลบ ฐิตาโภ) เป็นตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงหบุรีในยุคนั้นย่อมไม่ธรรมดา (ซึงปัจจุบันผู้ดำรงค์ตำแหน่งนี้คือหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน) ท่านปกครองวัดโบสถ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2447-2497

    เหรียญท่านเจ้าคุณพระสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อลบ ฐิตาโภ) อดีตเจ้าอาวาส วัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี รุ่นแรก ปี ๒๔๘๗ เนื้อทองแดง สภาพสวยมาก เป็นเหรียญเก่าที่หาได้ยากแล้วนะครับ คนเมืิองสิงห์ไม่เก็บไว้ไม่ได้แล้วนะครับ



    [FONT=&quot]ให้บูชา 3,250บ. ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_4957.jpg
      SAM_4957.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      366
    • SAM_4959.jpg
      SAM_4959.jpg
      ขนาดไฟล์:
      994.2 KB
      เปิดดู:
      324
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2011
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    เหรียญฉลองอายุครบ100ปี 23มค.21 ตอกโค๊ตกรรมการ หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี เดิมๆ หายากครับ

    หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบล


    ถ้าพูดถึงจังหวัดบุรีรัมย์พระเครื่องที่มีประสบการณ์สูงสุดคงไม่พ้นหลวงปู่ สุข วัดโพธิ์ทรายทอง แต่ถ้าจ.อุบลต้องหลวงปู่มั่น ทัตโต วัดโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบล พระเกจิผู้เรืองวิชาทั้งทางด้านคาถาอาคมต่างๆและยังเป็นพระเกจิสายวิปัสสะนา กรรมฐานที่เคร่งครัดในวัติปฏิบัติอีกด้วยครับ เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลโดยเฉพาะอำเภอนาจะหลวยสมัยที่ท่านยังมีชิวิตอ ยู่ท่านเปรียบเสมือนเสาหลักของชาวบ้านเพราะอำเภอนาจะหลวยและน้ำยืนติดกับชาย แดนเขมรทำให้พื้นที่แถบนั้นมีความอันตรายจากผู้ร้ายชายแดนและกับระเบิดเป็น อย่างมาก ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านไว้ต่างก็อุ่นใจ วัตถุมงคลแต่ละรุ่นของท่านล้วนมีประสบการณ์นานับประการคนพื้นที่อำเภอนาจะ หลวยรู้ดีครับ ไล่ตั่งแต่เหรียญรุ่นแรก รูปหล่อฐานสูง เหรียญพระเจ้า5พระองค์ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เสือมหาอำนาจ ตะกรุดเขาควายเผือก ปลักขิกเขาความเผือก พระผงดิน9บัง9ป่าช้า ท่านมรณะภาพตอนอายุถึง105ปี ยังความเศร้าสลดเสียใจแก่ลูกศิษ์ทั้งหลาย และที่สำคัญ อัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุอย่างน่าอัศจรรย์ครับ แม้แต่หลวงปู่ชายังให้ความเคารพนับถือในวัติปฏิบัติของท่าน


    วัดป่าโนนเจริญ

    เป็นวัดที่เก่าแก่ก่อตั้งโดย หลวงปู่มั่น ทัตโต ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์สายวิปัสนากรรมฐาน ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2508 ปัจจุบันมีรูปปั้นหลวงปู่มั่น ทัตโต ประดิษฐานอยู่ ภายในบริเวณวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ มีพระภิกษุสามเณร 5 รูป ซึ่งมีพระอาจารย์สมศักดิ์ สุณทโร เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นวัดที่ปฏิบัติธรรมเดินจงกรม มีพุทธศาสนิกชนมนมัสการบุญพระธาตุหลวงปู่มั่นในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

    เหรียญฉลองอายุครบ100ปี 23มค.21 ตอกโค๊ตกรรมการ หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี เดิมๆ จะมีน้อยหายาก ส่วนใหญ่เหรียญนี้จะไม่ตอกโค็ทครับ



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_4945.jpg
      SAM_4945.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      95
    • SAM_4949.jpg
      SAM_4949.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      104
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2011
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,049
    ค่าพลัง:
    +5,460
    หลวงปู่ โง่น โสรโย

    [​IMG]
    หลวง ปู่โง่น โสรโย อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ผู้อุปการะคือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราชมหาวิหาร นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ซึ่งต่อมา เจ้าบุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๕๒๘

    <hr>
    สถิต ณ วัดพระพุทธบาทเขารวก ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
    <dl><dt>ฉายา</dt><dd>โสรโย</dd><dt>อุปสมบท</dt><dd>พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม</dd></dl>
    หลวง ปู่โง่น โสรโย อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ผู้อุปการะคือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราชมหาวิหาร นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ซึ่งต่อมา เจ้าบุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๕๒๘
    พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย
    ณ เมรุชั่วคราว วัดพระพุทธบาทเขารวก
    อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
    จาก หนังสือโลกทิพย์ ฉบับที่ ๓๘๘ ปีที่ ๒๒ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕

    วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนผู้มีความเคารพนับถือได้ร่วมกันประกอบพิธีใน การพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่โง่น โสรโย ณ เมรุวัดพระพุทธบาทเขารวก ตำบลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย ในครั้งนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ มิตรญาติ อย่างหาที่สุดมิได้


    หลวงปู่โง่น โสรโย ได้อุบัติมาใช้ชีวิตในสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์และคุณูปการแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ตลอดถึงสังคมทุกระดับอย่างดียิ่ง เป็นเนติแบบอย่างอันงดงามของผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองด้วย ความสะอาดบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นชีวิตจิตใจ หลวงปู่มีอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา สันโดษ รักสงบ เสียสละ ตามวิสัยของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอุบายแนะนำสั่งสอนเหล่าประชากรโดยพุทธวิธี มีกุศโลบายในการรักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งภายนอกและภายใน มีทัศนวิสัยในการปฏิบัติที่สมสมัย มีจิตใจใฝ่รู้วิชาทุกแขนง นำมาแก้ไขดัดแปลงก่อให้เกิดประโยชน์โสตถิผล ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำความแช่มชื่นให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มีความเยือกเย็นเป็นสุขใจแก่ผู้เข้าใกล้ ด้วยเมตตาบารมีธรรมของท่านอย่างน่าอัศจรรย์


    หลวงปู่โง่น โสรโย อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ผู้อุปการะคือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราชมหาวิหาร นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ซึ่งต่อมา เจ้าบุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๕๒๘


    ส่วน หลวงปูโง่น โสรโยในขณะนั้นเป็นพระนวกะ ได้เรียนนักธรรมและบาลีแบบลาว ซึ่งเจ้ายอดแก้ว บุญทัน ทรงรักใคร่โปรดปรานมาก เพราะดั้งเดิมเป็นสายญาติกัน และใช้งานได้คล่อง พูดไทยได้เก่ง เว้าลาวได้ดี ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสก็อาศัยได้ เพราะในระยะนั้นประเทศลาว ยังเป็นอาณานิคม เมืองขึ้นของฝรั่งเศส ท่านจึงต้องการให้พระภิกษุที่เข้ากับชาวต่างชาติรู้เรื่อง อยู่ด้วย เมื่อเวลาว่างท่านให้เข้าป่าเพื่อแสวงหาต้นไม้ที่เป็นยาสมุนไพร เพราะพระองค์ท่านทรงสนใจรับรู้ในเรื่องยาสมุนไพรมาก ตอนเข้าไปในป่าถึงเขตทุ่งไหหิน โดนทหารลาวและทหารฝรั่งจับในข้อหาเป็นจารชนจากเมืองไทยไปสืบความลับ ถูกขังคุกขี้ไก่ ๓๐ วัน พร้อมพระลาว ๒ รูป กับเด็กอีก ๑ คน เด็กคนนั้น คือ เจ้าสิงคำ ซึ่งต่อมาก็คือ ท่านมหาสิงคำ ผู้ทำงานช่วยพวกลาวอพยพร่วมกับสหประชาชาติ อยู่ที่วัดยานนาวา กรุงเทพฯ ท่านจึงไปมาหาสู่บ่อย เพื่อขอความช่วยเหลือให้พี่น้องชาวลาว หลวงปู่โง่นก็ได้ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ความสามารถจะมี


    เรื่องการติดคุกขี้ไก่อยู่เมืองทุ่งไหหินนั้นสนุกมาก เขาเอาไก่ไว้ข้างบน คนและพระอยู่ข้างล่าง ไก่ขี้ใส่หัวตลอดเวลา เหม็นก็เหม็น ทรมานก็ทรมาน สนุกก็สนุก ได้ศึกษาธรรมไปในตัว ความทราบถึงเจ้ายอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ ท่านได้ร้องขอให้ปล่อยตัว แต่ทหารปล่อยเฉพาะพระลาว ๒ รูป กับเด็ก ๑ คน ส่วนหลวงปู่โง่นเขาไม่ปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นคนไทย ด้วยเหตุที่พูดไทยได้เก่ง ทั้งนี้ ขณะนั้นเป็นช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน ฝรั่งยุให้คนไทยกับคนลาวเป็นศัตรูกัน เห็นคนไทยก็จับขังหรือฆ่าทิ้งเสีย จึงมารู้ตัวเข้าคราวหลังว่า เรามันคนปากเสีย ปากพาเข้าคุก เพราะพูดภาษาไทย


    ภายหลังสมเด็จพระสังฆราชลาว ท่านออกใบสุทธิให้ใหม่ โอนเป็นพระลาวเป็นคนลาวไป เขาจึงปล่อยตัวออกมา แต่ก็ยังไม่พ้นสายตาของพวกนักสืบอยู่นั่นเอง จึงกราบทูลลาผู้มีพระคุณ หาทางมุ่งกลับเมืองไทย แต่ไม่รู้จะมาอย่างไร จึงตัดสินใจไปพบคนที่รู้จักรักใคร่คือ ท้าวโง่น ชนะนิกรซึ่งเป็นข้าราชการลาวอยู่ในระยะนั้น ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง มีแต่หลุมหลบภัยและเสียงปืน ที่พี่ไทยกับน้องลาวยิงกันไม่ขาดระยะ ต้องธุดงค์ปลอมแปลงตัว เดินเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงลงมาทางใต้ ถึงใกล้เมืองท่าแขก ได้รับความช่วยเหลือจากพระลาวที่รู้จักกัน คือ ครูบาน้อย หาทางให้ได้เกาะเรือของชาวประมงข้ามฝั่งมาไทย พอถึงแผ่นดินไทยก็โดนร้อยตำรวจเอกเดช เดชประยุทธ์ และ ร้อยตำรวจโทแฝด วิชชุพันธ์ จับในข้อหาเป็นพระลาวหลบเข้ามาสืบราชการลับในราชอาณาจักรไทย ถูกจับเข้าห้องขัง ฐานจารชน อยู่ ๑๐ วัน ร้อนถึงพระพนมคณานุรักษ์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมือง ได้เจรจาให้หลุดรอดออกมา


    พอพ้นจากห้องขังมาได้ ก็เข้ากราบพระอุปัชฌาย์คือ ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณี สั่งให้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานกับ พระอาจารย์วัง ที่ถ้ำไชยมงคล ภูลังกา และไปหา พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตอนเข้าพรรษา พระอุปัชฌาย์ให้มาจำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม


    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาหนีออกธุดงค์เข้าถ้ำ จำพรรษาที่ถ้ำบ้านยางงอย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กับอาจารย์สน อยู่ ๑ ปี พระอุปัชฌาย์รู้ข่าวเรียกตัวกลับ สั่งให้มาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม โดยบังคับให้เป็นครูสอนนักธรรมโท อยู่วัดศรีเทพ ๒ ปี เพราะวัดทั้งสองอยู่ใกล้กัน ไปกลับได้สบาย ผลของการสอนได้ผลดีมาก นักเรียนสอบได้ยกชั้นทั้ง ๒ ปี พระอุปัชฌาย์ชมเชยมาก และปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็นครูสอนนักธรรมเวลาเช้า ส่วนเวลาบ่าย หลวงปู่เป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์


    ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ สอบเปรียญธรรม ป.ธ.๓ แต่ต้องตกโดยปริยาย เพราะข้อสอบรั่วทั่วประเทศ จึงต้องสอบกันใหม่ เกิดความไม่พอใจในวิธีการเรียนแบบสกปรก จึงย้อนกลับไปพึ่งใบบุญของสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศลาว และได้ตั้งใจเรียนแบบลาว สอบเทียบได้เปรียญ ๕โดยสมเด็จพระยอดแก้วสกลมหาปรินายก ออกใบประกาศนียบัตรให้ จากนั้นท่านสั่งให้ไปเรียนต่อที่ประเทศพม่า พอดีขณะนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพม่าพากันเดินขบวนขับไล่รัฐบาลของอูนุ มีการจับพระชาวต่างชาติเข้าคุก หลวงปู่โง่นก็พลอยโดนด้วย แต่โชคดีที่พระมหานายกของพม่า คือ ท่านอภิธชะมหา อัตฐะคุรุ ได้ขอร้องและทำใบเดินทางให้เข้าประเทศอินเดีย เลยเข้าไปเมืองฤๅษีเกษ แคว้นแคชเมียร์ ไปฝึกฝนอบรมวิชาโยคะ ๑ ปี เมื่อมีเพื่อนนักโยคะชักชวนขึ้นไปเมืองยางเซะ และเมืองลาสะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศธิเบต เพื่อศึกษาภูมิประเทศ และหลักการทางพระพุทธศาสนามหายาน


    พ.ศ. ๒๔๙๔ กลับมาเมืองไทย ท่านเจ้าคุณรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ ส่งให้ไปเป็นหัวหน้าก่อสร้างพระอุโบสถจตุรมุขหลังใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ที่วัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อยู่ได้ ๕ ปี พระอุโบสถจวนเสร็จ ขออำลาหนีไปพักผ่อนชั่วคราว ไปพักอยู่กับญาติๆ ที่เมืองอังกานุย ประเทศนิวซีแลนด์ แล้วไปอยู่แคนเบอร่า ประเทศออสเตรเลีย อยู่แห่งละ ๑ ปี แล้วไปอาศัยอยู่กับญาติโยมเก่า ที่เขาเคยอุปการะอยู่ประเทศลาว ที่เมืองรียอง ประเทศฝรั่งเศส


    พ.ศ. ๒๔๙๘ กลับเมืองไทย ไปช่วยท่านมหาโฮม คือ เจ้าคุณราชมุนี วัดสระประทุม ที่ปากช่อง จากนั้นเดินธุดงค์เข้าป่าเข้าถ้ำหลายแห่ง คือ ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วล่องใต้ไปอยู่ถ้ำจัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ถ้ำขวัญเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แล้วมาถ้ำมะเกลือ เหมืองปิล็อก จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขึ้นถ้ำฤๅษี (ถ้ำมหาสมบัติ) ถ้ำเรไร จังหวัดเพชรบูรณ์


    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงพ่อแพร คือ ท่านเจ้าคุณเพชราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์องค์ก่อน ได้นิมนต์มาสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดท่าข้าม และสร้างพระประธานใหญ่ ไว้ที่เขตอำเภอชนแดน แล้วท่านร้องขอให้ไปอยู่แคมป์สน เขตอำเภอหล่มสัก อยู่ได้ปีเดียว ท่านเจ้าคุณวิมลญาณเวที วัดมงคลทับคล้อ ซึ่งเป็นเครือญาติกันมาก่อน ขอให้มาสร้างฌาปนสถาน และบูรณะศาลาการเปรียญวัดมงคลทับคล้อ พอเสร็จเรียบร้อย ท่านร้องขอให้มาช่วยเหลือประจำอยู่วัดพระพุทธบาทเขารวก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เพราะเป็นแดนทุรกันดาร หน้าแล้ง จะขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ด้วยความเห็นชอบและเลื่อมใสของท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยม ได้ลงมือพัฒนาสถานที่นี้ให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้นหลายอย่าง อาทิ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในบริเวณหมู่บ้าน เก็บน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี สร้างถนนจากบ้านวังหลุมถึงเขารวก เป็นระยะทาง ๕.๕ กิโลเมตร และสร้างโรงเรียนประถมศึกษา เป็นอาคารชั้นเดียว ยาว ๕๐ เมตร มีห้องเรียน ๘ ห้อง อีกทั้งปั้นหล่อรูปสมเด็จพระปิยมหาราชไว้ที่หน้าเสาธง มีขนาด ๑ เท่าครึ่ง ตั้งอยู่ตลอดจนถึงทุกวันนี้ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี จะให้มีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป และแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนไม่น้อยกว่าปีละ ๑๐๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท ตลอดมาจนทุกวันนี้


    หลวงปู่ได้แปรผันสังขารของท่านเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๒ รวมสิริชนมายุได้ ๙๔ ปีเศษ นับว่ามีอายุมากในปัจจุบัน แต่สังขารของหลวงปู่ไม่แก่เฒ่าอย่างที่ทุกคนคิด เพราะท่านมีวิธีรักษาจิต เพื่อชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัติ มีธรรมสมบัติเป็นจิตใจ จึงเป็นใจที่สงบ อันใจที่สงบนั้น ย่อมไม่แก่ชราคร่ำคร่าดังพระพุทธภาษิต ว่า สตญฺจ ธมโม นชรํ อุเปติ ธรรมของผู้มีใจสงบนั้น ย่อมไม่เข้าถึงความแก่ชราคร่ำคร่า ก็คือการชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัตินั่นเอง


    คนส่วนมากมักปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม แต่หลวงปู่ท่านใช้ชีวิตของท่านเดินย้อนรอยกรรม โดยการนำตัวแฝงเข้ามาเป็นอุปกรณ์การเดินทางเพื่อย้อนรอยกรรม จึงทำให้ชีวประวัติของท่านโดดเด่น โลดโผน เป็นวรธรรมคติแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติได้เป็นอย่างดี


    อันปฏิปทาของหลวงปู่โง่น โสรโย นั้น ตรงกับคำว่า “ปะฐะ วิปปะภาโส” แปลว่า ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างไสว เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยที่เป็นดวงตาของโลก มีความชื่นชมยินดีเป็นที่รวมใจ มีรัศมีสีทองผ่องอำไพส่องโลกนี้ เป็นคาถาที่ปรากฏใน โมรปริตร์ ถ้าคิดถึงหลวงปู่ก็ให้เจริญมนต์บทนี้ จะได้รับความคุ้มครองจากธรรมสมบัติตามปฏิปทาบารมีของหลวงปู่โง่น โสรโย เหมือนท่านอยู่กับเราในฐานะตัวแฝง ตลอดไป



    (ข้อมูลจากหนังสือ พระราชทานเพลิงศพ)



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...